fbpx

บทความเนื่องในโอกาส DeFi ทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

บทความเนื่องในโอกาส DeFi ทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐThank you for reading this post, don't forget to subscribe!   ตอนนี้จำนวนเงินคริปโตที่ถูกล็อคไว้ใน DeFi ทะลุ 1 พันล้าน USD เป็นครั้งแรก น่าจะเป็น milestone สำคัญอันนึงที่คนคงให้ความสนใจกัน   ธันวาคม 2017 จนถึง มกราคม 2018 เรียกได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของตลาดคริปโต หลังจากนั้นถึงเริ่มจะกลับมาได

บทความเนื่องในโอกาส DeFi ทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

7 Feb 2020

บทความเนื่องในโอกาส DeFi ทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

 

ตอนนี้จำนวนเงินคริปโตที่ถูกล็อคไว้ใน DeFi ทะลุ 1 พันล้าน USD เป็นครั้งแรก น่าจะเป็น milestone สำคัญอันนึงที่คนคงให้ความสนใจกัน

 

ธันวาคม 2017 จนถึง มกราคม 2018 เรียกได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของตลาดคริปโต หลังจากนั้นถึงเริ่มจะกลับมาได้บ้างแต่ก็ยังไปไม่ถึงจุดเดิม แต่ในขณะเดียวกัน ช่วงเวลานั้น Decentralize Finance ค่อยๆเริ่มมีการใช้งานจริงแล้วก็ทำจุดสูงสุดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

 

อะไรคือ DeFi

ย้อนกลับไปพื้นฐานที่สุดอย่างนึงของ blockchain คือความน่าเชื่อถือ การที่เราไม่ต้องไว้ใจใครเลย ไว้ใจแค่พื้นฐานความเป็นจริงอย่างคณิตศาสตร์ หรือ game theory การใช้งานจริงอันแรกก็คือ bitcoin อย่างที่เรารู้กันดี พอ bitcoin เริ่มพิสูจน์ตัวเองขึ้นมาได้ว่าผ่านมาหลายปีก็ยังไม่ได้มีความผิดพลาดร้ายแรง ความในเชื่อถือในทางทฤษฏีกลายเป็นความน่าเชื่อถือในความเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ เลยเริ่มมีความคิดขึ้นมาว่า ถ้าระบบมันน่าเชื่อถือขนาดนี้ น่าจะลองเอามาสร้างเป็นอะไรเพิ่มเติมได้

 

หนึ่งในการใช้งานที่คนคิดถึงกันก็คือการเอามาสร้างระบบการเงินขึ้นมาใหม่ อาจจะไม่ถึงขั้นแทนที่ระบบธนาคารเดิมๆ แต่ก็มองไปถึงการใช้งานคู่ขนานกันไปแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้งาน เลยเป็นที่มาของชื่อเรียก Decentralize Finance หรือระบบการเงินกระจายศูนย์ 

 

คร่าวๆ ในระบบเดิมๆ ธนาคารรวบรวมเงินจากคนทั่วไปในรูปแบบของเงินฝาก อาจจะให้ดอกเบี้ย 1-3% เป็นค่าตอบแทน หลังจากนั้นธนาคารก็เอาไปปล่อยกู้ต่อ ดอกเบี้ย 3-36%(แล้วแต่ใบอนุญาต อย่างบริษัทเงินทุนเต็มรูปแบบก็จะปล่อยได้ถึง 36%) นี้ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมต่างๆที่ไม่แน่ใจว่าถูกควบคุมในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยรึเปล่า ด้วยความที่ประเทศอย่างเราเจ็บตัวจากสมัยต้มยำกุ้งcrisisมาเยอะ เราเลยplay safe ไม่ได้ออกใบอนุญาตใหม่มาซักพักแล้วบริษัทเงินทุนเต็มรูปแบบเข้าใจว่ามีแค่ 2 บริษัทที่ได้ (ซึ่งจริงๆก็อาจจะถูกแล้วที่ทำแบบนี้ ดีกว่าออกเยอะๆแล้วปล่อยธนาคารเจ๊ง เดือดร้อนคนฝากเงิน) แต่ผลกระทบคือการแข่งขันไม่สมบูรณ์เท่าไหร่ ในขณะเดียวกันก็แน่นอนว่าระบบการเงินแบบเดิมๆจะให้ต้นทุนต่ำแบบฝั่ง Decentralize Finance ที่ทำทุกอย่างออนไลน์แบบแทบจะอัตโนมัติ

ผลก็คือจากที่ธนาคารให้จ่ายผลตอบแทนได้ไม่กี่% แต่ ณ ตอนนี้การปล่อยกู้ผ่าน defi ที่แทบจะเอา คนต้องการกู้กับคนปล่อยกู้มาเจอกันตรงๆอัตโนมัติ ให้ดอกเบี้ยได้ถึง 9% (เหรียญ stable coin DAI 9.11%) แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนด้วยว่าในทางเศรษฐศาสตร์แล้วดอกเบี้ยสูงขนาดนี้เพราะมีค่าความเสี่ยงในตัวอยู่ด้วย อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เงินสูญหายได้อย่างเช่นใน bug ใน smart contract อะไรประมาณนี้

อัตราดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้ผ่าน Fulcrum

 

ตัวอย่างการใช้งานจริงของ DeFi

 

Stablecoin – MakerDAO (MKR)

stable coinแบบเดิมๆอย่าง Tether USDT สร้างความกังวลให้กับผู้ใช้งานไม่มากก็น้อย เพราะจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีอะไรยืนยันได้ 100% ว่าจะสามารถแลกคืนได้เท่ากับ 1 USD จริงๆ ที่ผ่านมาโดนregulatorจ้องเล่นงานอยู่เรื่อยๆ แม้แต่เหรียญที่มีความน่าเชื่อเพิ่มขึ้นมานิดนึงอย่าง USDC ซึ่งมีบริษัทข้างหลังที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือ ผ่านการกำกับดูแลจากรัฐบาลอเมริกาทั้ง GeminiและCoinbase แต่สิ่งที่ตามมาก็คือความเสี่ยงในการโดนอายัติหรืออื่นๆตามคำสั่งของรัฐบาลอเมริกา 

 

สิ่งที่ MakerDAO ทำคือแทนที่จะปล่อยให้บริษัทอย่าง Tether บอกว่าเรามีเงินค้ำประกันตามจำนวนจริงๆนะ ซึ่งสิ่งที่ Tetherทำที่ผ่านมาคือการโชว์ว่ามีเงินฝากเท่านี้จริง แต่หนี้สินมีเท่าไหร่อีกเรื่อง (ไม่ได้บอกว่าtetherเชื่อไม่ได้ แต่ก็ต้องเผื่อไว้) สำหรับ Maker อาศัย smart contract ให้คนทั่วไปเอา ethereum หรือเหรียญอื่นๆอย่าง BAT มาค้ำประกันให้กันจะๆว่ามีเงินค้ำประกันอยู่จริงๆนะ

 

MakerDAO เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกๆของวงการคริปโตที่มี Venture Capital เจ้าดังของSilicon Valley อย่าง Andressen Horowitz เข้ามาลงทุนโดยการซื้อเหรียญโดยตรงเป็นจำนวน 6% ของ Supply ทั้งหมด ปัจจุบันถ้าดูจาก contractแล้ว ถึงแม้ครึ่งนึงของ supply จะไม่ได้ถูกล็อคไว้แต่ Andressen Horowitz ก็ไม่เคยขายออกมาเลย (อาจจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีก็ได้เพราะไม่ขายแต่ไม่ซื้อเพิ่มเหมือนกัน หรือไม่ก็อาจจะขายOTCไปแบบไม่ได้โอนก็ได้ 55)

Andressen Horowitz (a16z) กองทุนดังจาก Silicon Valley ยังถือเหรียญ MKR ที่ซื้อมา 6% ไว้ก่อน

 

Synthetix Asset (SNX)

อาศัยหลักการเดียวกันกับ Maker คือให้คนทั่วไปเอาเงินมาค้ำประกันแล้วก็สร้างเป็น derivative asset หรืออนุพันธ์ตามภาษาไทยเรียกง่ายๆว่าสินทรัพย์กระดาษ สมมุติอย่างทองคำ เราสามารถซื้อทองคำแท่งมาถือไว้ก็ได้แต่เก็บรักษายาก หรือซื้อสัญญาติที่มีมูลค่าเท่ากับทองคำ ถึงเวลาราคาขึ้น เราเอาสัญญาว่าเราถือทองคำ ไปขายก็ได้ผลตอบแทนเหมือนกันแต่สะดวกกว่า

 

แนวคิดเรื่อง Synthetix Asset หรือสินทรัพย์ประยุกต์บน blockchain น่าสนใจมากเพราะ derivative asset มีมูลค่ามหาศาลมากๆในตลาดการเงินโลก สูงกว่าตลาดหุ้นหรือ อสังหาริมทรัพย์รวมกันซะอึก ปัจจุบันนี้เราสามารถซื้อสินทรัพย์เสมือนบนplatform synthetix ได้หลายอย่างอย่างเช่น usd btc eth ไปจนถึงทองคำ แต่ในอนาคตจะสามารถซื้อสินทรัพย์อย่างหุ้น AAPL(Apple) ได้โดยไม่ต้องติดกฏระเบียบต่างๆ ก็นับว่าน่าสนใจเลยทีเดียว

Platform อนุพันธ์ดิจิตอล ปัจจุบันมีเหรียญstable coin และcryptocurrencyต่างๆ รวมไปถึงคอมโมดิตี้อย่างทองคำ ในอนาคตก็วาดฝันไว้ล่วงหน้าว่าจะได้เห็นโปรดัคใหม่ๆอย่างหุ้น Apple หรือ Tesla ด้วย

 

ปล่อยกู้ –  Compound Finance / Fulcrum / Nuo

การใช้งานแบบค่อยข้างจะตรงไปตรงไม ไม่ซับซ้อนเหมือน2ตัวก่อนหน้า คือเราเอาเหรียญคริปโตไปปล่อยกู้ platform ปล่อยกู้ก็เอาไปปล่อยต่อให้คนที่ต้องการกู้เงินต่ออีกที

 

ตลาดแลกเปลี่ยน – Uniswap / Kyber Network (KNC)

ทำหน้าที่เหมือน exchange อย่างที่เรารู้จักกันคือให้คนที่ต้องการจะซื้อขายเหรียญต่างๆมาใช้งาน แต่หลักการทำเงินก็จะเหมือนกับพวกบริษัทแลกเปลี่ยนเงินตราอย่าง Superrich ในเมืองไทย คือการกินส่วนต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน แต่พอมาเป็นโลก DeFi ก็จะช่วยให้คนทั่วสามารถเอาเงินไปวางแล้วก็ได้กำไรจากส่วนต่างตรงนี้ไป(อันนี้คือกรณีของ Uniswap)

Kyber Network ตลาดแลกเปลี่ยนแบบnon custodial ไม่ต้องเอาเหรียญไปฝากไว้ในมือตัวกลางแต่แลกเปลี่ยนตรงกับผู้ใช้คนอื่นได้เลย

 

ตลาดคาดการณ์อนาคต – Augur

อันนี้จะคล้ายๆกับบริษัทพนัน ในรูปแบบเดิมๆประเทศที่การพนันถูกกฏหมาย บริษัทพนันก็จะให้rateมาอย่างเช่นใครแพ้ชนะเท่าไหร่ จ่ายเท่าไหร่ แต่ในโลกDeFi แทนที่จะให้บริษัทพนันคำนวนอัตราที่เข้าข้างบริษ้ัท Augur เปิดโอกาสให้คนทั่วไปเลือกอัตราที่เหมาสมได้เองเหมือนกับที่เราเลือกจะซื้อเหรียญคริปโตที่ราคาที่เราเห็นว่าเหมาะสม พูดง่ายๆก็คือให้ตลาดเป็นตัวกำหนดแทนที่จะให้บริษัทเป็นตัวกำหนด

ในอนาคตเมื่อการใช้งานมากพอเราก็จะได้เห็นการนำไปใช้งานในรูปแบบสร้างสรรขึ้่น อย่างเช่น เกษตรกรอยากจะประกันว่า ฝนฟ้าจะตกเพียงพอมั๊ย ถ้าตกไม่พอเกษตรกรที่ซื้อเหรียญพยากรณืไว้ล่วงหน้า ก็จะได้เงินชดเชยไป

ตลาดทำนายอนาคตผ่านระบบของ Augur ในรูปเป็นการทำนายว่าการเลือกผู้แทนของพรรค Democrat รัฐ Iowa จะเป็นใคร โดยที่เฉพาะตลาดนี้มีมูลผู้ใช้งานมูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ก็มีการประยุกต์ใช้ DeFiอย่างเช่น หวยแบบไม่มีใครเสียเงิน

หลักการก็ง่ายๆ ใครอยากซื้อก็ซื้อไป เอาเงินมารวมตัวกันตรงกัน ผ่านsmart contract ซึ่งsmart contract ตรงนั้นก็จะนำเงินไปปล่อยกู้ผ่าน platform ปล่อยกู้ DeFi อีกที่ ดอกเบี้ยทั้งหมดที่ได้จะเอาไปให้เป็นรางวัลกลับผู้โชคดีคนนึง คนที่เหลือก็ได้เงินต้นคืนกลับไป

 

PoolTogether ล็อตเตอรี่แบบไม่เสียเงินต้น

ทั้งหมดนี้ เป็นแค่จุดเริ่มต้น DeFi เริ่มมีการใช้งานจริงๆจังๆตั้งแต่กลางปี 2017 ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไป และความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ่้นเรื่อยๆ infrastructure ต่างๆที่จำเป็นอย่างเช่นการเพิ่มความเร็วและจำนวนtransactionรองรับได้มากขึ้น หรือplatformประกันความเสี่ยงความเสียหายจากการที่smart contractมีข้อผิดพลาด เริ่มใช้งานได้จริง ในอนาคต 5-10ปีข้างหน้า เราคงได้เห็นการใช้งานจริงของ DeFi ก้าวกระโดด

Nexus Mutual platform ประกันในกรณีที่ Smart Contract มีปัญหา ถ้าทำได้จริง ก็น่าจะเป็นจิ๊กซอชิ้นสำคัญสำหรับการadoptionเพราะทำให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้มากขึ้นว่าจะไม่เสียหายจากเหตุการณ์แบบ The DAO หรือ Parity

บทความโดยคุณ Trakarn Buris นะครับ

Article
Writer

Maybe You Like