Smart Contract คืออะไร?
สัญญาอัจฉริยะหรือที่เราคุ้นหูในชื่อ Smart Contract
Smart Contract เป็นความหมายตรงตัว เริ่มจากคำว่า “Contract” ที่แปลว่า “สัญญา”
สัญญาในที่นี้อาจเป็น สัญญาการค้าขาย สัญญาการจ้างงาน สัญญาการเช่าห้อง หรือเอกสารของทางการ
สัญญาอัจฉริยะเป็นไอเดียที่ถูกเสนอครั้งแรก โดย Nick Szabo ในปี 1994 โดยเสนอไอเดียว่า
บล็อกเชนสามารถใช้ในการบันทึกข้อตกลงของสัญญาที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมีคนกลาง
หรือใช้พนักงานในการมานั่งตรวจสอบเอกสาร ทุกอย่างให้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมจัดการ และมันยังโกงไม่ได้อีกด้วย
เพราะทุกคนใน Blockchain จะเป็นพยานว่าสัญญานี้เกิดขึ้นและบรรลุจริงๆ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นที่มาของคำว่า Smart Contract เพราะมันคือเงื่อนไขที่จะไม่มีวันถูกเปลี่ยนแปลงได้ในโลกดิจิทัล
Vitalik Buterin โปรแกรมเมอร์เบื้องหลัง Ethereum วัย 22 ปี ได้นิยาม Smart Contract เอาไว้ว่า
มันคือการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์หรือเงินตราเข้าไปในตัวโปรแกรม และโปรแกรมนี้จะทำงานด้วยตัวของมัน
และ ณ จุดจุดหนึ่งมันจะทำการเช็คเงื่อนไขว่า สินทรัพย์นี้ควรจะถูกส่งต่อไปที่ใคร หรือควรจะถูกโอนคืนกลับไปให้เจ้าของ
Smart Contract เปรียบเสมือนตู้กดน้ำ เราใส่เงินไปจำนวนหนึ่งที่เพียงพอกับราคาของน้ำที่เราจะต้องการจะซื้อ
ตู้กดน้ำก็จะปล่อยเครื่องดื่มนั้นออกมาให้เรา และจะเก็บเงินจำนวนนั้นไป ถ้าเงินนั้นเกิน ก็ทอนกลับมาให้เรา
หรือถ้าเราใส่เงินยังไม่พอ ตู้น้ำก็จะยังไม่ให้สินค้ากับเรา และเรายังเลือกที่จะขอเงินคืนได้โดยการกดปุ่ม
หรือเมื่อรอถึงระยะเวลาหนึ่งมันจะดีดเหรียญคืนออกมาให้เอง
พอจะเห็นภาพเปรียบเทียบไปแล้ว มาทำความเข้าใจความเป็นจริงเลยดีกว่า
การทำงานของ Smart Contract คือ คุณเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา
โดยโค้ดนี้จะบอกว่า ถ้าเกิด….แล้วจะเกิด…… จากนั้นนำชุดคำสั่งโค้ดนี้ไปใส่ไว้ในบล็อกเชน
สัญญาอัจฉริยะนี้ก็จะพร้อมทำงาน
จุดประสงค์ของ Smart Contract คือ
-ความปลอดภัยที่ดีกว่าสัญญาแบบดั้งเดิมที่เป็นกระดาษ
ขยายความคำว่าปลอดภัยที่เด่นชัดในที่นี้คือ จะไม่มีการทำเอกสารซ้ำซ้อน
ป้องกันการ บิดเบือนสัญญา ซึ่งเป็นปัญหาคลาสสิคของหน่วยงานราชการ
และกลุ่มงานธนาคาร
-ต้นทุนที่ถูกกว่า(ตามแต่ละระบบ ราคาไม่แน่นอน)
เพราะเราไม่ต้องใช้กระดาษปริมาณมหาศาลและค่าหมึกอีกจำนวนนึงเพื่อร่างสัญญา
แต่เราจ่ายค่าไฟเพื่อเขียนสัญญาลงในระบบดิจิตอลแทน
-มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ไม่มีใครไปปลอมแปลงเพราะไม่สามารถย้อนไปแก้ไขบล็อกเก่าๆของบล็อกเชนได้
ไฟล์ถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอลมีความคล่องตัวมากกว่าสัญญาแบบเดิมๆที่เป็นกระดาษ สามารถเรียกดูได้ทุกเวลา
Decentralized Cryptocurrency Protocol นับเป็น Smart Contract
และเป็น Smart Contract ที่มีระบบรักษาความปลอดภัยไม่รวมศูนย์
มีการเข้ารหัส จำกัดบุคคลที่น่าเชื่อถือ
1.การรักษาความปลอดภัยแบบกระจายศูนย์ด้วยการเก็บข้อมูลไว้กับNodeต่างๆทั่วโลก
2.การเข้ารหัส ข้อมูลที่ถูกบันทึกจะมีการเข้ารหัสด้วยอัลกอริธึม
3.จำกัดกลุ่มคนที่น่าเชื่อถือ ตรงนี้คือ Validator หมายถึงคนที่แก้โจทย์บล็อกนั้นๆหรือคนที่ได้สิทธิ์เข้าไปตรวจสอบ
ถือเป็นคนน่าเชื่อถือและได้สิทธิ์ในการบันทึกบล็อกควบตำแหน่ง Validator หรือผู้ตรวจสอบข้อมูลของบล็อคก่อนหน้านี้
พร้อมรับ “Reward” ในแต่ละบล็อกไปด้วย
Note : Protocol คืออะไร
Protocol คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์
หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
ปัจจุบันเรามักได้ยินคำว่า Smart Contract บ่อยขึ้น ซึ่งเป็นจุดเด่นของ Ethereum
Ethereum เป็นบล็อกเชนที่ถูกออกแบบมาเพื่อ Smart Contract ผู้ใช้สามารถเขียนโค้ดเพื่อออกแบบ Smart Contract ตามที่ต้องการ โดยค่าการใช้ระบบในการประมวลผลต้องจ่ายด้วยETHสำหรับการประมวลผล Smart Contract ในแต่ละครั้ง
เราสามารถนำ Smart Contract ไปประยุกต์ใช้ได้กับการทำสัญญาหลากหลายรูปแบบ
แต่จะเป็นสัญญาแบบไหน ข้อกำหนดอะไร ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับผู้ทำสัญญา . . .
ปัญหาของ Smart Contract
Smart Contract นำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่สุดโต่งมากๆ อาจจะมากกว่าบิทคอยน์ซะด้วยซ้ำ เพราะเราไม่ได้แค่แลกเงินกันผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว เรากำลังแลกเอกสาร แลกตัวตน แลกทรัพย์สิน เรียกได้ว่า แทบจะแลกเปลี่ยนกันได้เกือบทุกอย่าง และการแลกเปลี่ยนนี้ก็โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ด้วย แต่ถ้าเกิดว่าโค้ดใน Smart Contract มันมีปัญหาล่ะ? ถ้าเกิดสมมติจ่ายตังพอแล้ว แต่ Smart Contract ไม่ทำงาน ถ้าเป็นคนทั่วไป เราคงไปฟ้องศาลได้ แต่นี่เราคงฟ้องอะไรกับระบบบล็อกเชนไม่ได้ แล้วถ้าความผิดพลาดทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินมหาศาลหรือถึงขั้นเสียชีวิตล่ะ? รัฐบาลจะจัดการการใช้ Smart Contract อย่างไรไม่ให้เป็นผลเสียกับประชาชน? คำถามและอุปสรรคมากมายเหล่านี้ กำลังรอการถูกแก้ไขเพื่อให้ Smart Contract เป็นจริง
ในตอนนี้ Smart Contract อาจจะยังไม่ออกมาโลดแล่นในบล็อกเชนอย่างเต็มตัว เหล่าผู้พัฒนาและผู้ที่มีไอเดียเจ๋งๆกำลังขัดเกลาให้มันดียิ่งขึ้น เพื่อนำนวัตกรรมใหม่นี้มาเปลี่ยนชีวิตในทุกๆวันของคุณ แล้วคุณล่ะครับ พร้อมรับมือ เจ้า Smart Contract แล้วหรือยัง
Cr : https://en.wikipedia.org/wiki/Smart_contract#In_popular_culture
https://www.thecreditsolutionprogram.com/5-things-you-need-to-know-about-judgments-and-your-credit/?all=1