fbpx

Cryptolingo รวมคำศัพท์ในวงการ Blockchain ตอนที่ 1

ขอนำเสนอ Cryptolingo ซี่รี่ย์ที่จะไปแนะนำให้คุณรู้จักกับคำศัพท์ในวงการ Blockchain ครับ ว่าแล้วก็ไปกันเลยครับ
==========================

follow blockchain review community:
telegram channel: https://buff.ly/2z99gfW
telegram group: https://buff.ly/2z99gws
twitter: https://buff.ly/2IVjQXv
web site : https://buff.ly/2lZPR89
youtube : https://tinyurl.com/y9tcko3a

Cryptolingo รวมคำศัพท์ในวงการ Blockchain ตอนที่ 1

23 Aug 2018

สวัสดีครับทุกท่านผู้อ่านทุกท่านไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก่าที่เข้ามาในวงการ Blockchain ก็คงจะพบกับคำศัพท์แปลกๆมากมายซึ่งทำให้หลายคนอาจจะงงว่ามันคืออะไรกันแน่ เราจึงขอนำเสนอ Cryptolingo ซี่รี่ย์ที่จะไปแนะนำให้คุณรู้จักกับคำศัพท์ในวงการ Blockchain ครับ ว่าแล้วก็ไปกันเลยครับ

 

Fiat

Fiat (ฟีอาท) เป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่สำคัญและเราควรทราบเป็นอย่างยิ่ง ในวงการเงิน, การธนาคาร, และในวงการคริปโตด้วยเหมือนกันครับ คำๆนี้หาใช่ “แบรนด์” รถยนต์สัญชาติอิตาเลียน แต่อย่างใดครับผม Fiat ที่ผมจะกล่าวถึงในทีนี้หากแปลกันในความหมายตรงๆตัวแล้วจะได้ความว่า คำสั่ง,พระราชกฤษฎีกา,พระบรมราชโองการ หรือ คำพิพากษา ครับ

 

Fiat Money ในความหมายของเราคือ “เงินที่ไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง” หรือเงินกระดาษที่ไม่ได้มีเครื่องการันตีมูลค่าจากสิ่งอื่นใด นอกเหนือจาก “คำสั่งของรัฐบาล” ที่กำหนดให้เงินกระดาษเหล่านี้มีมูลค่าและสามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

 

ต้นเรื่องมันมีอยู่ว่า ในสมัยก่อนนั้นเงินจะได้รับการตีมูลค่าจากทองคำซึ่งเรียกว่าระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) มันเป็นระบบมาตรฐานการเงินระหว่างประเทศระบบแรก ในโลกตัวอย่างเช่น ในช่วง1970 ทองคำ 1 ออนซ์ = $35 รัฐบาลจะต้องมีทองคำคงคลัง 1 ออนซ์ ถึงจะสามารถ พิมพ์เงินมูลค่า $35 ออกมาใช้ในระบบได้

 

ระบบนี้(gold standard) ถูกใช้งานจริงประมาณ 50 ปีก่อนที่จะถูกยกเลิกไป เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 โดย นาย ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ประธานาธิบดีคนที่ 37 แห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกคำสั่งว่า เงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่ใช้ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) เป็นตัวค้ำประกันการพิมพ์ธนบัตรอีกต่อไป สั่งกันดื้อๆแบบ นี้หล่ะ (“ช่างแม่ม”)

 

Ethereum

Ethereum (อี-เธอะ-เรี่ยม) แปลตามความหมายได้โดย แยกออกเป็น 2 คำ คือ “Ether” หมายความว่า ฟ้า, อากาศธาตุ หรือ สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่ง มีสูตรทั่วไปเป็น R-O-R โดยทั่วไปมักหมายถึง ไดเอทิลอีเทอร์ ซึ่งมีสูตร C2H5-O-C2H5 ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี เป็นวัตถุไวไฟมาก

 

และคำว่า “-eum” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีความหมาย โดยส่วนตัวแอตมินเข้าใจว่า คำๆนี้น่าจะใช้คำพ้องเสียงกับ (สะกดไม่เหมือนกัน) “-ium” เป็นคำต่อท้าย ของธาตุหลายๆชนิดใน Periodic table ตัวอย่างเช่น ไอน์สไตเนียม (Einsteinium)

 

Ethereum (ETH) ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นปี 2014 โดย Vitalik Buterin ชาวรัสเซีย ที่วัยไม่ถึง 20 ปีและเคยเป็นหนึ่งในทีมพัฒนา Bitcoin Core

 

โดยจุดมุ่งหมายของทีมพัฒนาคือต้องการให้ Ethereum สามารถใช้งานได้ไม่ต่างกับ Bitcoin แต่แก้ไขข้อบกพร้องต่าง ๆ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถของ ETH ให้หลากหลายขึ้น ทำอะไรได้มากกว่า Bitcoin และมันก็ทำได้จริง ๆ เนื่องจากในปัจจุบัน ETH เป็นสกุลเงินดิจิตัล ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจประเภทต่างๆได้หลากหลาย

 

Smart Contract หรือเจ้า “สัญญาอัจฉริยะ” มันเป็นความความสามารถเฉพาะตัวของ Ethereum ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งาน เขียนคำสั่งลงไปในระบบของเหรียญได้ ตัวอย่างเช่นการการสร้างเงื่อนไขขึ้นตามที่เรากำหนดไว้ เมื่อมีใครทำตามเงื่อนไขนั้นสำเร็จ ก็จะได้รางวัลที่เรากำหนดไว้เป็นการตอบแทน ทำให้นักพัฒนาจำนวนมากหันมาสนใจ Ethereum และนำระบบ Smart Contract ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจทั่วโลก.

 

Fork

Fork (โฟร์ค) แปลกันตามความหมาย เป็น”คำนาม”จะได้ความว่า ส้อม, คราด หรือไม้ง่าม หากแต่ถ้าแปลเป็น”คำนาม” จะแปลได้ว่า การถูกแบ่งแยกออกจากกัน

 

เราคงจะพอได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้วในวงการคริปโตสำหรับคำๆนี้ เจ้า Fork ที่ว่านี้ก็คือการแยก “โซ่หลัก”ของ Blockchain ของเหรียญออกมา ซึ่งสาเหตุของการแยกโซ่นี้ก็มีมากมายหลายหลายเหตุผล ตัวอย่างเช่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบให้เร็วขึ้น หรือ การเพิ่มมาตราการรักษาความปลอดภัยของระบบ เป็นต้น

 

ไอ้เจ้าส้อมที่ว่ามานี้ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Soft Fork และ Hard Fork

 

ในส่วนของ Soft Fork หรือ เจ้าส้อมนิ่ม คือการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่างๆแบบเบาๆตามที่เคยถูกใช้ใน Blockchain โซ่เดิม แต่อาจจะมีการเพิ่มขนาด Block หรือเปลี่ยนคำสั่ง Protocol ใหม่บางตัว แต่ Block เดิมก็ยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติไม่ได้กระทบคำสั่งหลักของระบบ

 

Hard Fork หรือเจ้าส้อมแข็ง ค่อนข้างจะดุร้าย และโหดสักหน่อย มันจะเป็นการเปลียนแปลงขนานใหญ่แบบเต็มรูปแบบของทั้งระบบ จะคล้ายๆกับการสร้างระบบขึ้นมาใหม่ที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบเดิมได้ โดยการแก้ไข SOURCE CODE ของระบบเดิมและสร้างระบบคำสั่งใหม่แยกออกมาเป็นของตัวเอง กลายเป็นเหรียญตัวใหม่เลยในทันที ตัวอย่างเช่น Bitcoin Cash และ Ethereum Classic นะครับ

 

Decentralize

Decentralize (ดี-เซ็น-ทรัล-ไลซ์) แปลความได้ว่า การกระจาย หรือ แบ่ง แยกอำนาจออกจากศูนย์กลาง ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกับ Centralize (เซ็น-ทรัล-ไลซ์) ซึ่งแปลว่าการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง

 

“Decentralize” ได้กลายมาเป็นคำที่ได้ยินติดหูผู้คนในวงการคริปโตมากขึ้นนับตั้งแต่ Bitcoinได้ก้าวเข้ามาเป็นแม่ทัพในการปฏิวัติระบบการเงินใหม่ โดยใช้ Decentralize เป็นหัวหอกสำคัญที่จะใช้ทำลายโล่ของระบบการเงินแบบเดิมที่เป็นแบบ Centralize โดยมีธนาคารเป็นศุนย์กลางที่สำคัญของระบบเดิม

 

โดยเดิมทีนั้นธนาคารจะเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการระบบการเงินหรือสามารถแม้กระทั้งตั้งราคาค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่างๆได้ตามต้องการ ในทางกลับกัน Blockchain Technology นั้นกลับใช้ระบบการกระจายอำนาจตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินโดยใช้พยานการตรวจสอบเป็นผู้ใช้งานในระบบเองช่วยกันดูแลซึ่งทำให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่ามากและเป็นการกำจัดตัวกลางของการทำธุรกรรมอย่างเช่น ธนาคาร ออกจากระบบเสียอีกด้วย

 

เราคงต้องมาตามดูกันยาวๆว่าในท้ายที่สุดแล้ว หอกที่ชื่อว่า “Decentralize” จะสามารถทำลาย โล่ของธนาคารและสถาบันการเงินอย่าง”Centralize”ลงได้หรือไม่

 

Altcoin

Altcoin (อัล-คอยน์) คำๆนี้เกิดจากการผสมคำกันระหว่าง Alternative (อัล-เทอร์-เน-ทีฟ) ซึ่งแปล ว่าทางเลือกอื่นๆ กับคำว่า Coin (คอยน์) ซึ่งแปลว่าเหรียญ รวมกันแล้วได้ความว่า “เหรียญทางเลือก”

 

ซึ่ง “เหรียญทางเลือก” หรือ Alternative Coin จะเรียกกันย่อๆ ว่า “Altcoin” เจ้าอัลคอยน์ ที่ว่านี้ จะหมายถึงเหรียญทุกๆเหรียญที่ไม่ใช่ Bitcoin ซึ่งถือกันว่าเป็นเหรียญ Master ของวงการคริปโต Ethereum, Ripple, Bitcoin Cash, Litecoin, Stellar, NEO และเหรียญอื่นๆอีกกว่าพันเหรียญล้วนเป็น เหรียญ Altcoin (อัล-คอยน์) ทั้งสิ้น

 

Blockchain

Blockchain (บล็อก-เชน) เกิดจากการรวมคำกัน 2 คำ ระหว่าง Block (บล็อก) = กล่อง และ Chain (เชน) = ห่วงโซ่

 

ในความหมายแล้วคือ ระบบเครือข่ายการจัดเก็บบัญชีธุรกรรมทางออนไลน์ ที่สามารถเก็บสถิติการทำธุรกรรมต่างๆไว้ภายใน”กล่อง” ที่เชื่องโยงระบบบนเครือข่ายกันในลักษณะเรียงต่อๆกันคล้ายกับห่วงโซ่

 

ข้อมูลธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินจะถูกบันทึกใน “กล่อง” ที่ว่านี้ เมื่อถูกบันทึกลงกล่องแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆได้อีกเลย เพราะทุกคนจะมี Copy ข้อมูลการทำธุรกรรมทั้งหมดอยู่กับตัวเองอยู่แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนอื่นจะมาแก้ไขปลอมแปลงข้อมูลของเราได้ โดยปราศจากการตรวจสอบ

 

นอกจากนี้ ระบบ Blockchain ยังถือเป็นระบบ Decentralized

โดยเป็นการทำธุรกรรมที่จะไม่ผ่านตัวกลางหรือไม่มีตัวกลางในระบบ เช่น ธนาคารหรือ สถาบันการเงิน อย่างที่เคยเป็นมาในอดีตอีกต่อไป

 

Bounty

Bounty (เบ้าน์-ทิ) = คือ เงินรางวัลหรือผลประโยชน์อื่นใด โดยรางวัลนี้จะแลกเปลี่ยนกับการทำงานให้กับทางเจ้าของโปรเจค นั้นๆตามข้อตกลงที่ระบุไว้

 

ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณสามารถช่วยเจ้าของโปรเจค แปล white Paper หรือเอกสารอื่นๆ เป็นภาษาไทยได้ คุณก็จะได้รับ Bounty เป็นรางวัลจากเจ้าของ Project นั้นๆ ซึ่งจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ตกลงนะครับ

 

ด้วยจำนวน Project ICO ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีเยอะมาก และรางวัลจากBounty ก็ได้ไม่น้อยในแต่ละงาน จึงทำให้มีหลายๆคน กลายเป็น”Bounty Hunter” กันเลยทีเดียวครับ

 

Airdrop

Airdrop (แอร์-ดร็อป) = แปลกันตรงๆตัวได้ความว่า การทิ้งสิ่งของจากเครื่องบินโดยใช้ร่มชูชีพ หรือให้เข้าใจกันง่ายๆคือ ของที่ทิ้งลงมาให้เราสามารถเก็บไปได้ฟรีๆนั้นเอง

 

มันเป็นวิธีการง่ายๆวิธีหนึ่งที่เจ้าของ Project ทำการกระจายเหรียญของตนเองออกสู่ตลาดในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว

 

โดยการแจกเหรียญอาจมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะแจกเหรียญนั้นๆให้กับผู้ที่กดติดตาม หรือลงทะเบียนรับข่าวสารของตัว Project ไว้ แล้วก็สามารถรับรางวัลเหรียญกันไปได้แบบฟรีๆ

 

ตัวอย่างเช่น เหรียญ Ont (Ontology) ซึ่งแจก Airdrop ออกมาเที่ยบมูลค่าได้นับแสนบาทเลยที่เดียวครับ

 

 

Crypto Currency

“Crypto Currency” (คริปโต-เคอร์-เรน-ซี่) มาจากการผสมคำ ระหว่าง Crypto Graphy (คริปโต-กราฟฟี่) แปลว่า วิทยาการ การเข้ารหัสครับ ซึ่งเป็นคนละคำกับแร่ “Kryptonite” (คริป-โต-ไนท์) จากดาวบ้านเกิดของ ซูเปอร์แมน ที่ชื่อว่า Krypton (คริป-ตอน)

 

เข้ากับ Currency (เคอร์-เรน-ซี่) แปลว่า สกุลเงิน

 

รวมความแล้วหมายถึง เงินในสกุลดิจิตอลที่ทำการเข้ารหัส และทำงานในระบบ decentralized ที่ไม่ผ่านตัวกลางนั้นเองครับ

 

รวมความแล้วหมายถึง เงินในสกุลดิจิตอลที่ทำการเข้ารหัสไว้ และทำงานอยู่ในระบบ decentralized ซึ่งไม่ผ่านตัวกลางนั้นเองครับผม

 

Token

Token (โท-เค่น) แปลได้ตามความในภาษาไทยว่า สิ่งที่ใช้แทนสัญลักษณ์,ของที่ระลึก หรือ เหรียญพลาสติกหรือโลหะที่สมมุติมูลค่าขึ้นมาแทนเงิน

 

Token มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเยอรมันต่อมา เป็นคำว่า”tacen” ซึ่งแปลว่าเครื่องหมาย,สัญลักษณ์ หรือ ชิ้นของเหรียญโลหะ คำๆนี้ถูกพบหลักฐานการใช้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1590

 

สำหรับความหมายในวงการคริปโตแล้วก็มีความหมายใกล้เคียงกันคือ สิ่งสมมุติแทนมูลค่าของโปรเจคนั้นๆ (Virtual Currency) ตัวอย่าง คุณเอาเงินมาให้ผม $10,000 ผมจะให้ Token คุณไป 10 Tokens เป็นเครื่องสมมุติมูลค่า $10,000 ซึ่งคุณและผมยอมรับมูลค่าตามนั้น ณ วันซื้อขาย

 

โดยเจ้า Token นี้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะการใช้งานได้ดังต่อไปนี้

Utility token หรือโทเคนที่จะใช้ประโยชน์ได้เท่าที่ผู้เป็นเจ้าของโปรเจคโทเคนกำหนดเอาไว้เท่านั้น ซึ่งโทเคน ประเภทนี้จะใช้ในการเข้าถึงแพลตฟอร์ม,แอปพลิเคชัน หรือ Ecosystem บางอย่างที่ถูกกำหนดเอาไว้ตั้งแต่ต้น เช่นtoken ที่ใช้ซื้อขาย items ในวงการเกมส์ หรือ Esport เป็นต้น

 

Payment token เป็นโทเคนที่ใช้ชำระหนี้ โทเคนประเภทนี้จะมีจุดประสงค์หลักเพื่อใช้ในการชำระราคาสินค้าและบริการแทนเงินสด ตัวอย่างของโทเคนประเภทนี้ที่สำคัญคือ บิตคอยน์ (Bitcoin) และอีเธอเรียม (Ethereum) ครับ

 

Asset token เป็นโทเคนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ “ทรัพย์สิน” โดยโทนเคน ประเภทนี้จะมีลักษณะของการเป็นเจ้าของ หรือเจ้าหนี้ ต่อผู้ที่เสนอขายโทเคน ยกอย่างอย่างเช่น ผู้ถือโทเคนนี้ อาจมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรในอนาคตของโปรเจคผู้ออกเหรียญ ซึ่ง Asset token จะคล้ายๆกับ ตราสารหนี้

 

ก็จบกันไปแล้วนะครับกับตอนแรกของ Cryptolingo คำศัพท์ในวงการ Blockchain แล้วตอนหน้ามาพบกันใหม่ใรคำศัพท์ชุดต่อไปหรือติดตามได้ในแฟนเพจ Blockchain Review ครับ

 

5 2 votes
Article Rating
Article
Writer
การสมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนสำหรับ
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Maybe You Like

0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x