การลักหลับ
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
บทที่ 3 ได้อธิบายให้เห็นว่าเหตุใดสินค้าใดก็ตามที่ได้รับบทบาททางการเงินจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้คนมุ่งผลิตสินค้านั้นเพิ่มเติม เงินที่สามารถผลิตได้ง่ายจะทำให้เกิดการอุทิศทรัพยากรทางเศรษฐกิจและทรัพยากรทางเวลาไปกับการผลิตมันเพิ่มขึ้น เนื่องจากเงินนั้นไม่ได้เป็นที่ต้องการเพราะคุณสมบัติของตัวมันเองแต่เพราะความสามารถในการแลหเปลี่ยนมันเป็นสินค้าและบริการอื่นๆ อำนาจในการจับจ่ายของเงินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าจำนวนของมัน
ดังนั้นมันจึงไม่มีประโยชน์ใดๆต่อสังคมที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมใดๆที่ทำให้ปริมาณอุปทานของเงินเพิ่มขึ้น นี่เป็นเหตุว่าเพราะอะไรในตลาดเสรี อะไรก็ตามที่ได้ทำหน้าที่เป็นเงินย่อมมีอัตราส่วนสต็อค-ทู-โฟลวที่สูงและมั่นคงเสมอ กล่าวคืออัตราการเพิ่มขึ้นของอุปทานของเงินนั้นเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณอุปทานที่มีอยู่ทั้งหมด สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้มั่นใจได้ว่าจะการอุทิศแรงงานและกำลังทุนของสังคมในปริมาณที่น้อยที่สุดไปกับการผลิตสื่อกลางที่เป็นเงินเพิ่มขึ้น โดยแรงงานและกำลังทุนส่วนใหญ่จะถูกผันไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นประโยชน์ สินค้าและบริการที่ปริมาณของมันนั้นมีความสำคัญแตกต่างจากเงิน ทองคำกลายมาเป็นมาตรฐานทางการเงินระดับโลกที่ได้รับความนิยมสูงสุดเนื่องมาจากปริมาณทองคำที่สามารถผลิตขึ้นได้ใหม่นั้นมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณของอุปทานที่มีอยู่ก่อนหน้า ทำให้การทำเหมืองทองเป็นธุรกิจที่มีความไม่แน่นอนสูงและไม่สร้างผลกำไร ทำให้เงินทุนและแรงงานของโลกปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆถูกผลักไปสู่การผลิตสินค้าที่ไม่ใช่เงิน
สำหรับจอห์น เมนาร์ด เคนส์ และมิลตัน ฟรีดแมน หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ดึงดูดให้พวกเขาหนีห่างออกจากมาตรฐานทองคำคือการลดต้นทุนในการขุดทองคำที่จะเกิดจากการเปลี่ยนไปสู่ระบบของเงินที่ออกโดยรัฐบาลที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าทองคำอย่างมากมาย พวกเขาไม่เพียงแต่ไม่เข้าใจว่ามีการใช้ทรัพยากรไปกับการผลิตทองคำในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับสินค้าอื่นที่สามารถทำการเพิ่มปริมาณอุปทานได้ง่ายๆ แต่พวกเขายังประเมินต้นทุนที่แท้จริงที่ตกสู่สังคมจากการรูปแบบของเงินซึ่งสามารถถูกเพิ่มปริมาณอุปทานได้ตามใจรัฐบาลที่อยู่ภายใต้แรงกดดันจากประาธิปไตยและกลุ่มผลประโยชน์ต่ำไปอย่างรุนแรงอีกด้วย ต้นทุนที่แท้จริงในการผลิตเงินนั้นไม่ได้อยู่ที่ค่าใช้จ่ายโดยตรงที่เกิดขึ้นจากโรงพิมพ์ แต่มันเป็นผลรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ต้องหายไปจากการที่ทรัพยากรอันมีค่าถูกนำมาใช้ไปกับการวิ่งไล่ตามเงินที่รัฐบาลเป็นผู้ผลิต แทนที่จะนำไปใช้ในการสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง
การสร้างสินเชื่อเงินเฟ้ออาจมองได้ว่าเป็นสิ่งที่จอห์น เคนเนธ กาลเบรธ 19 เรียกว่า “การลักหลับ (the bezzle)” ในระดับสังคมในวงกว้างในหนังสือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ เมื่อปริมาณสินเชื่อทะยานสูงขึ้นในช่วงปีค.ศ. 1920 บริษัทและองค์กรต่างๆล้วนจมอยู่ในกองเงินและมันเป็นเรื่องง่ายดายที่ผู้คนจะยักยอกเงินเหล่านั้นด้วยวิธีต่างๆนาๆ เพราะตราบใดที่สินเชื่อยังคงไหลมาเทมา เหยื่อของการยักยอกนั้นไม่มีทางรู้ตัวได้เลย ภาพลวงตาของความมั่งคั่งถูกสร้างขึ้นไปทั่วทั้งสังคมเมื่อทั้งเหยื่อและโจรต่างคิดว่าพวกเขามีเงิน การสร้างสินเชื่อโดยธนาคารกลางก่อให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจเฟื่องฟูอย่างไม่ยั่งยืนโดยปล่อยให้มีการลงทุนในโครงการที่ไม่มีผลกำไรและปล่อยให้โครงการเหล่านั้นกอบโกยเอาทรัพยากรไปใช้อย่างเปล่าประโยชน์
ในระบบของเงินที่มั่นคง ธุรกิจใดที่อยู่รอดล้วนแล้วแต่รอดมาได้ด้วยการสร้างคุณค่าให้แก่สังคม โดยการรับรายรับจากผลิตภัณฑ์ที่สูงกว่าต้นทุนในการผลิต ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เพราะมันสามารถแปลงเอาต้นทุนที่มีราคาตลาดในระดับหนึ่งให้กลายเป็นผลผลิตที่มีราคาตลาดในระดับที่สูงกว่า บริษัทใดที่ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าน้อยกว่าต้นทุนของมันย่อมต้องปิดกิจการลง ทำให้ทรัพยากรต่างๆถูกโยกย้ายไปสู่บริษัทอื่นที่สร้างผลผลิตได้มากกว่าในรูปแบบที่นักเศรษฐศาสตร์ โจเซฟ ชุมปีเตอร์เรียกไว้ว่าการทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์
ในตลาดเสรีกำไรไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีความเสี่ยงของการสูญเสียและทุกคนจะถูกบังคับให้มีส่วนได้ส่วนเสีย กล่าวคือ: ความล้มเหลวเกิดขึ้นได้เสมอ และมันอาจมีราคาสูงอีกด้วย อย่างไรก็ตามเงินไม่มั่นคงที่ผลิตโดยรัฐบาลสามารถทำให้กระบวนการดังกล่าวหยุดชะงักลงได้โดยการรักษาให้ธุรกิจที่ไม่สร้างผลผลิตไม่ให้ตายลงไปแต่ก็ไม่สามารถเรียกได้ว่ามีชีวิตอย่างแท้จริง เป็นเสมือนผีดิบหรือผีดูดเลือดทางเศรษฐกิจที่คอยดูดกินทรัพยากรของคนที่ยังมีชีวิตและยังสร้างผลผลิตอยู่เพื่อนำไปผลิตสิ่งที่มีมูลค่าน้อยกว่าทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตมัน มันสร้างชนชั้นทางสังคมขึ้นมาใหม่ ชนชั้นที่มีตัวตนอยู่บนพื้นฐานกฏเกณฑ์ที่ต่างจากคนอื่นๆ ชนชั้นที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในเหมเศรษฐกิจ ชนชั้นที่ไม่ต้องเผชิญกับการทดสอบโดยตลาด พวกเขามีเกราะกำบังป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของพวกเขา โดยชนชั้นนี้มีอยู่ในทุกกลุ่มธุรกิจด้วยเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะประเมินอย่างแม่นยำว่าในโลกเศรษฐกิจสมัยใหม่นั้นมีสัดส่วนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใดที่ถูกนำไปใช้ในการวิ่งไล่ตามเงินที่พิมพ์โดยรัฐบาล แทนที่จะนำมาใช้ในการสร้างผลผลิตสินค้าและบริการที่มีประโยชน์ต่อสังคมโดยแท้จริง แต่มันก็พอจะเดาได้จากการดูว่าบริษัทและกลุ่มธุรกิจใดที่อยู่รอดได้เพราะสามารถเอาชนะบททดสอบของตลาดเสรีได้ และใครที่อยู่รอดได้เพียงเพราะความช่วยเหลือจากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือทางการเงินหรืองบประมาณก็ตาม
การช่วยเหลือทางงบประมาณนั้นเป็นวิธีการสร้างผีดิบอย่างตรงไปตรงมาที่ง่ายต่อการตรวจพบ บริษัทใดก็ตามที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยตรง และบริษัทที่อยู่รอดได้ด้วยการขายสินค้าและบริการให้แก่หน่วยงานรัฐเป็นส่วนใหญ่ ล้วนแล้วแต่เป็นผีดิบทั้งสิ้น หากบริษัทเหล่านี้มีประโยชน์ต่อสังคมโดยแท้จริง เสรีชนในสังคมย่อมยินดีที่จะมอบเงินของพวกเขาเพื่อแลกกับสินค้าและบริการ แต่การที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยเงินที่ได้รับมาด้วยความสมัครใจแสดงให้เห็นว่าบริษัทเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ที่เป็นภาระมากกว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม
แต่การสร้างผีดิบที่แยบยลกว่านั้นไม่ได้กระทำผ่านการจ่ายเงินโดยรัฐบาลโดยตรง แต่เป็นการกระทำผ่านความสามารถในการเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้ เมื่อเงินของรัฐบาลค่อยๆกัดเซาะความสามารถในการเก็บออมของสังคม เงินทุนสำหรับการลงทุนก็ไม่ได้มาจากเงินเก็บของผู้เก็บออมอีกต่อไป แต่กลับมาจากหนี้ที่สร้างโดยรัฐบาลที่ทำให้มูลค่าของสินทรัพย์ที่มีอยู่ลดลงแทน ในสังคมของเงินที่มั่นคง ยิ่งผู้ใดเก็บออมได้มาก ผู้นั้นก็ย่อมสามารถที่จะรวบรวมทุนทรัพย์ได้มากขึ้น และสามารถลงทุนได้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งแปลว่าเจ้าของเงินทุนในการลงทุนนั้นจึงมักเป็นผู้ที่มีความเอนเอียงทางเวลาที่ต่ำ แต่เมื่อเงินทุนมาจากการสร้างสินเชื่อรัฐบาล ผู้จัดสรรปันส่วนเงินทุนจึงไม่ใช่ผู้มองการไกลอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นเหล่าเจ้าหน้าที่พนักงานในหน่วยงานราชการต่างๆแทน
ในตลาดเสรีที่มีเงินที่มั่นคง เจ้าของเงินทุนเลือกที่จะวางเงินทุนของเขาในการลงทุนที่เขาเห็นว่าจะเกิดประโยขน์สูงสุด และพวกเขาสามารถใช้ธนาคารเพื่อการลงทุนในการบริหารจัดการกระบวนการในการจัดสรรเงินทุนนี้ กระบวนการดังกล่าวมอบผลรางวัลให้แก่บริษัทที่สามารถตอบแทนลูกค้าได้สำเร็จ และนักลงทุนที่สามารถมองเห็นบริษัทเหล่านี้ พร้อมกับลงโทษผู้ผิดพลาดไปในขณะเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในระบบเงินของรัฐบาลธนาคารกลางเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการจัดสรรเงินทุนในทางพฤตินัย ธนาคารกลางควบคุมและดูแลธนาคารที่ทำการจัดสรรเงินทุน ตั้งเกณฑ์ข้อจำกัดในการกู้ยืมเงิน และพยายามที่จะคำนวณความเสี่ยงในเชิงปริมาณในรูปแบบที่ไม่สนใจว่าความเสี่ยงในโลกแห่งความจริงนั้นทำงานอย่างไร 20 บททดสอบของตลาดเสรีถูกนำขึ้นไปพักไว้บนหิ้งขณะที่การควบคุมแนวทางสินของเชื่อโดยธนาคารกลางเข้ามาบดบังกฏแห่งความเป็นจริงของผลกำไรและการขาดทุน
ในโลกของเงินรัฐบาล ความสามารถในการเข้าถึงปากท่อทางการเงินของธนาคารกลางนั้นสำคัญกว่าการให้บริการลูกค้า บริษัทที่สามารถได้เงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับการปฏิบัติการย่อมมีข้อได้เปรียบอันคงทนถาวรเหนือคู่แข่งที่ไม่สามารถทำได้ เกณฑ์ที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จในตลาดค่อยๆเปลี่ยนไปสู่ความสามารถในการจัดหาเงินทุนที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมากกว่าการให้บริการต่อสังคม
ปรากฏการณ์ง่ายๆนี้ทำให้เราเข้าใจถึงสภาวะความเป็นจริงของเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เช่นในกรณีที่มีอุตสาหกรรมจำนวนมากที่สามารถทำกำไรได้แม้ว่าจะไม่ได้ผลิตสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใดเลยก็ตาม หน่วยงานของรัฐเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด และสิ่งเดียวที่อธิบายถึงชื่อเสียงอันฉาวโฉ่ไปทั่วทั้งโลกที่องค์กรเหล่านี้ได้มาจากความไร้ความสามารถของพนักงานของพวกเขาคือการที่เงินสนับสนุนหน่วยงานเหล่านี้มาจากเงินทุนลักหลับที่ตัดขาดจากความเป็นจริงทางเศรษฐศาสตร์โดยสิ้นเชิง แทนที่จะต้องผ่านบททดสอบอันหนักหน่วงของกลไกตลาดด้วยการให้บริการแก่ประชาชน องค์กรของรัฐกลับทำการทดสอบกันเองแล้วสรุปกันเองว่าต้นเหตุของความล้มเหลวทั้งหมดมาจากการขาดงบประมาณที่เพียงพอ ไม่ว่าจะไร้ความสามารถขนาดไหน ปล่อยปะละเลยหน้าที่มากเท่าใด หรือล้มเหลวบ่อยแค่ไหน หน่วยงานของรัฐและข้าราชการกลับแทบไม่เคยต้องรับผลกรรมจากการกระทำอย่างแท้จริงเลย แม้ว่าเหตุผลในการมีตัวตนอยู่ของหน่วยงานของรัฐจะถูกยกออกไปแล้ว หน่วยงานนั้นก็จะยังคงปฏิบัติการอยู่และสรรหาหน้าที่และความรับผิดชอบใหม่ๆขึ้นมาได้เสมอ ยกตัวอย่างเช่นหน่วยงานการรถไฟแห่งประเทศเลบานอนที่ยังคงทำงานอยู่แม้รถไฟทั้งหมดจะถูกปลดประจำการและรางรถไฟที่เหลืออยู่ก็ถูกสนิมกัดกร่อนผุพังไปหลายทศวรรษแล้วก็ตาม21
ในโลกโลกาภิวัฒน์ การลักหลับนั้นไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงองค์กรของรัฐในระดับประเทศเพียงเท่านั้น แต่มันกลับขยายขอบเขตครอบคลุมไปถึงองค์กรรัฐในระดับนานาชาติอันเป็นที่เลืองชื่อระดับโลกในแง่ของการเป็นแหล่งสูบเวลาปละความตั้งใจไปในงานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับใครเว้นแต่พนักงานในองค์กรนั้นเอง และเนื่องจากองค์กรเหล่านี้ตั้งอยู่ในที่ไกลหูไกลตาจากประชาชนผู้เสียภาษี จึงทำให้พวกเขาไม่ต้องเผชิญกับการตรวจสอบมากเท่าองค์กรในประเทศ จึงทำให้พวกเขายิ่งทำงานด้วยความรับผิดชอบที่น้อยลง ใช้งบประมาณอย่างไม่ระมัดระวัง และไม่ค่อยใส่ใจกับวันกำหนดส่งงานและหน้าที่การงานอีกด้วย
องค์กรเกี่ยวกับการศึกษาก็เป็นตัวอย่างที่ดีอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่นิสิตนักศึกษาต้องจ่ายค่าเทอมที่ขูดเลือดขูดเนื้อมากขึ้นทุกวันเพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เพียงเพื่อจะได้รับการสอนโดยอาจารย์ที่ใช้เวลาและความพยายามเอาใจใส่เพียงน้อยนิดในการสอนและให้คำปรึกษานักเรียน โดยหันไปใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการตีพิมพ์งานวิจัยที่อ่านไม่รู้เรื่องเพื่อชิงเอาทุนวิจัยรัฐบาลและไต่ขั้นบันไดองค์กรการศึกษาให้สูงยิ่งๆขึ้นไป ในตลาดเสรีนักวิชาการจำเป็นต้องสร้างคุณค่าผ่านการสอนหรือการเขียนผลงานที่ผู้คนสามารถอ่านได้และได้ประโยชน์จากมันจริงๆเท่านั้น แต่บทความทางวิชาการส่วนใหญ่นั้นแทบไม่มีใครอ่านนอกจากภายในวงเล็กๆของนักวิชาการในแต่ละแขนงกันเอง ที่คอยอนุมัติทุนวิจัยให้กันและกัน และสร้างมาตรฐานที่คิดเองเออเองและแฝงไปด้วยวาระทางการเมืองที่แสร้งตัวว่าเป็นความเข้มงวดทางวิชาการ
ตำราเศรษฐศาสตร์ที่โด่งดังและทรงอิทธิพลมากที่ในยุคหลังสงครามโลกคือตำราที่เขียนโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบล พอล แซมวลสัน (Paul Samuelson) เราได้เห็นในบทที่ 4 แล้วว่าหลังจากที่แซมวลสันได้พยากรณ์ว่าการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จะนำมาสู่ความถดถอยทางเศรษฐกิจอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯกลับประสบกับการเฟื่องฟูครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯแทน แต่มันมีที่เจ๋งกว่านั้นอีก แซมวลสันได้เขียนตำราทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคหลังสงครามโลกชื่อว่า Economics: An Introductory Analysis ซึ่งมียอดขายหลายล้านเล่มในระยะเวลากว่าหกทศวรรษ22 เลวี่ และ เพิร์ธ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหนังสือแต่ละฉบับของแซมวลสันและพบว่า แซมวลสันได้เสนอซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ารูปแบบเศรษฐกิจแบบโซเวียตนั้นเป็นรูปแบบที่เหมาะแก่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าอยู่เสมอ โดยเขาได้พยากรณ์ไว้ในตำราฉบับปีค.ศ.1961 ว่าเศรษฐกิจของโซเวียตจะแซงหน้าสหรัฐฯได้ในช่วงปีค.ศ. 1984 ถึง 1997 คำพยากรณ์ว่าสหภาพโซเวียตจะสามารถแซงหน้าสหรัฐฯได้เหล่านี้ได้ถูกตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยความมั่นใจที่สูงขึ้นเรื่อยๆตลอดเจ็ดฉบับของตำราดังกล่าว จนถึงฉบับที่สิบเอ็ดในปีค.ศ. 1980 โดยมีการคาดคะเนว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ในฉบับที่สิบสามซึ่งตีพิมพ์ในปี 1989 และมาถึงมือนักศึกษามหาวิทยาลัยในช่วงเวลาที่สหภาพโซเวียตกำลังเริ่มล่มสลาย แซมวลสันและวิเลียม นอร์ดเฮาส์ ผู้ร่วมเขียนในตอนนั้นยังคงเขียนว่า “เศรษฐกิจของโซเวียตเป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่า ต่างจากที่เหล่าผู้กังขาทั้งหลายคาดคิดในช่วงก่อนหน้านี้ เศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้บัญชาการสังคมนิยมนั้นสามารถทำงาน และเจริญรุ่งเรืองได้”24
ความคิดเช่นนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในตำราเล่มเดียวนี้เท่านั้น เลวี่ และ เพิร์ธ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวนั้นพบเห็นได้ทั่วไปในหลายต่อหลายฉบับการตีพิมพ์ของตำราเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองชื่อว่า Economics, Principles, Policies and Problems ของแมคคอนเนล และในตำราอื่นๆอีกมากมาย นิสิตนักศึกษาผู้ใดที่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์ในยุคหลังสงครามในมหาวิทยาลัยที่สอนตามหลักสูตรของอเมริกา (ซึ่งหมายถึงนิสิตนักศึกษาส่วนมากทั้งโลก) จะได้เรียนว่าการบริหารจัดการเศรษฐกิจแบบโซเวียตนั้นเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า แม้หลังจากที่สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายไปอย่างสิ้นซากแล้ว ตำราเล่มเดิมเหล่านี้ก็ยังคงถูกสอนในมหาวิทยาลัยเดิมๆ โดยในฉบับใหม่ๆได้มีการนำเอาบทสรรเสริญความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของโซเวียตออกไปโดยไม่มีการตั้งคำถามใดๆเกี่ยวกับมุมมองทางเศรษฐศาสตร์และเครื่องมือในการวิเคราะห์ต่างๆของพวกเขาเลยแม้แต่น้อย เป็นไปได้อย่างไรที่ตำราอันล้มเหลวโดยสิ้นเชิงเหล่านี้ยังถูกนำมาสอนอยู่ถึงทุกวันนี้ และเป็นไปได้อย่างไรที่มุมมองทางเศรษฐศาสตร์แบบเคนเซียน ที่ถูกโลกแห่งความเป็นจริงทำลายจนไม่เหลือซากมาตลอดช่วงเวลากว่าเจ็ดทศวรรษ ตั้งแต่การเฟื่องฟูของเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปจนถึงการถดถอยของเศรษฐกิจในยุคปีเจ็ดศูนย์ ไปจนถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้นยังคงถูกสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ? พอล ครุกแมน (Paul Krugman) ผู้นำของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนเซียนในปัจจุบัน ยังได้เขียนไว้อีกว่า การรุกรานของแรงงานต่างด้าวนั้นจะเป็นสิ่งที่วิเศษสุดต่อเศรษฐกิจเนื่องจากมันจะทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องทำการใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรสูงขึ้น25
ในระบบเศรษฐกิจตลาดเสรี จะไม่มีมหาวิทยาลัยที่ยังพอมียางอายใดต้องการที่จะสอนสิ่งที่ผิดมหันต์และไร้สาระเหล่านี้ให้แก่นักเรียน เนื่องจากพวกเขาจะต้องพยายามที่จะติดอาวุธทางความรู้ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน แต่ในระบบการศึกษาที่ถูกเงินของรัฐบาลทำให้เสื่อมทรามอย่างถึงที่สุดนั้น หลักสูตรไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดโดยความสอดคล้องกับความเป็นจริงอีกต่อไป แต่กลับถูกกำหนดโดยความสอดคล้องกับวาระทางการเมืองของรัฐบาลที่เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนแทน และรัฐบาลทั่วโลกต่างรักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนเซียนในวันนี้ด้วยเหตุผลเดียวกันที่ทำให้พวกเขารักมันในช่วงปี1930 นั่นคือ: มันสร้างความชอบธรรมและเหตุผลอันชาญฉลาดที่ทำให้พวกเขาสามารถมีอำนาจและเงินได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
บทสนทนานี้ยังสามารถครอบคลุมไปถึงศาสตร์แขนงอื่นๆในโลกวิชาการสมัยใหม่ได้เช่นกัน โดยรูปแบบเดิมๆเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า กล่าวคือ: ทุนวิจัยจากหน่วยงานของรัฐนั้นถูกผูกขาดโดยกลุ่มนักวิชาการที่มีความคิดเห็นและความเอนเอียงทางความคิดไปในทิศทางเดียวกัน การหางานหรือเงินทุนวิจัยในระบบนี้ไม่ได้มาจากการสร้างผลงานที่สำคัญ เกิดผลิตผล และเป็นประโยชน์ต่อคนในโลกแห่งความเป็นจริง แต่กลับมาจากการสานต่อวาระของผู้ให้เงินทุน การที่ทุนวิจัยมาจากแหล่งเดียวยิ่งเป็นการตัดโอกาสที่จะทำให้เกิดตลาดเสรีแห่งความคิดขึ้น การถกเถียงทางวิชาการนับวันยิ่งกลายเป็นเรื่องจุกจิกลึกลับซับซ้อน และทุกฝ่ายในการถกเถียงกันเองนี้จะสามารถลงเอยกันด้วยข้อสรุปว่าทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องได้รับทุนเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะสามารถทำการถกเถียงอันมีความสำคัญยิ่งเหล่านี้ต่อไปได้ การถกเถียงกันของนักวิชาการนั้นแทบจะไม่มีความสลักสำคัญใดๆต่อโลกแห่งความเป็นจริงเลย และบทความในวารสารของพวกเขาก็แทบไม่เคยมีใครอ่านเลยนอกเหนือจากผู้คนที่เขียนมันที่อ่านเพื่อต้องการเลื่อนขั้นในวิชาชีพของพวกเขา แต่การลักหลับของรัฐบาลก็ยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากไม่มีกลไกใดที่จะทำให้งบประมาณรัฐบาลสามารถลดน้อยลงได้เมื่อมันไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับใครเลย
ในสังคมของเงินที่มั่นคง ธุรกิจธนาคารเป็นอาชีพที่สำคัญและสร้างประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยนายธนาคารจะประกอบหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งสองหน้าที่ด้วยกันคือ: การรักษาความปลอดภัยให้กับเงินฝาก และการจับคู่ระยะเวลาและความเสี่ยงในการลงทุนระหว่างนักลงทุนและโอกาสในการลงทุน นายธนาคารได้ผลตอบแทนเป็นส่วนแบ่งจากผลกำไรในกรณีที่เขาทำงานได้สำเร็จ แต่จะไม่ได้อะไรเลยหากเขาทำงานผิดพลาด จะมีเพียงนายธนาคารและธนาคารที่ประสบความสำเร็จเท่านั้นที่อยู่รอดได้ เนื่องจากทุกธนาคารจะต้องเก็บสำรองเงินฝากทั้งหมดเอาไว้ และจับคู่กับการลงทุนที่มีระยะเวลาเหมาะสม อีกนัยหนึ่งก็คือการขาดสภาพคล่องและการไม่สามารถชำระหนี้สินได้หรือการล้มละลายจะหมายถึงสิ่งเดียวกัน และมันจะไม่เกิดความเสี่ยงเชิงโครงสร้างที่จะทำให้มีธนาคารใด “ใหญ่เกินกว่าจะล้มได้” ธนาคารที่ล้มเหลวจะเป็นปัญหาของกลุ่มผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของธนาคารนั้น ไม่ใช่ปัญหาของผู้อื่นผู้ใด
เงินที่ไม่มั่นคงทำให้การจับคู่ระยะเวลาการลงทุนที่ผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้โดยการสำรองเงินสดเพียงส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของปัญหาเท่านั้น สิ่งนี้ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤติทางสภาพคล่อง หรือการแห่ถอนเงินอยู่เสมอ การจับคู่ระยะเวลาการลงทุนคลาดเคลื่อน หรือในกรณีพิเศษของการสำรองเงินสดเพียงบางส่วนนั้นจะต้องแบกรับความเสี่ยงต่อการขาดสภาพคล่องอยู่เสมอหากเมื่อใดก็ตามที่ผู้ฝากเงินและผู้ให้กู้ยืมเงินต้องการทำการถอนเงินพร้อมๆกัน หนทางเดียวที่จะทำให้สามารถเกิดการจับคู่ระยะเวลาคลาดเคลื่อนได้อย่างปลอดภัยคือการมีผู้ให้กู้ยืมในฐานะแหล่งสุดท้าย (lender of last resort) ที่พร้อมจะให้ธนาคารกู้ยืมเงินได้ตลอดเวลาในกรณีที่เกิดการแห่ถอนเงินขึ้น 26 ในสังคมของเงินที่มั่นคง ธนาคารกลางจำเป็นจะต้องเก็บภาษีจากทุกคนที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารเพื่อที่จะนำเงินมาช่วยชีวิตธนาคาร ในสังคมของเงินที่ไม่มั่นคง ธนาคารกลางสามารถที่จะผลิตเงินขึ้นมาเพิ่มเติมเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องให้แก่ธนาคาร เงินที่ไม่มั่นคงจึงสร้างความแตกต่างระหว่างสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้สินขึ้น
กล่าวคือธนาคารจะยังมีความสามารถในการชำระหนี้สินได้ในเชิงของมูลค่าปัจจุบันสุทธิของสินทรัพย์ (Net present value) แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาการขาดสภาพคล่องที่ทำให้ธนาคารไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามข้อตกลงได้ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่การขาดสภาพคล่องนั้นสามารถที่จะกระตุ้นให้เกิดการแห่ถอนเงินได้ด้วยตัวมันเองเมื่อผู้ฝากและผู้ให้กู้พยายามที่จะถอนเงินของพวกเขาออกจากธนาคาร ซ้ำร้ายการขาดสภาพคล่องในธนาคารหนึ่งยังสามารถส่งผลให้เกิดการขาดสภาพคล่องในธนาคารอื่นๆที่มีการทำธุรกิจกับธนาคารแห่งนี้อีกด้วย ก่อให้เกิดเป็นปัญหาความเสี่ยงในระดับโครงสร้าง แต่อย่างไรก็ตาม หากธนาคารกลางสามารถมอบสภาพคล่องให้กับธนาคารในกรณีดังกล่าวอย่างวางใจได้แล้ว มันก็จะไม่มีเหตุต้องหวาดกลัววิกฤติใดๆ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดการแห่ถอนเงินและทำให้ระบบการธนาคารอยู่รอดปลอดภัยได้นั่นเอง
ในระบบธนาคารที่เก็บสำรองเงินสดเพียงบางส่วน หรือการจับคู่ระยะเวลาการลงทุนคลาดเคลื่อนโดยรวมนั้นย่อมจะสร้างวิกฤติทางการเงินต่อไปเรื่อยๆหากไม่มีธนาคารกลางที่ใช้อุปทานเงินที่ยืดหยุ่นได้มาคอยช่วยเหลือธนาคารเหล่านี้ แต่การมีธนาคารกลางที่สามารถช่วยเหลือธนาคารต่างๆได้นี้ได้สร้างปัญหาใหญ่ในเชิงจริยธรรมให้กับธนาคารเหล่านี้ พวกเขาสามารถที่จะเพิ่มความเสี่ยงของพวกเขาให้มากจนเกินไปได้เนื่องจากพวกเขารู้ว่าธนาคารกลางจะต้องคอยช่วยเหลือพวกเขาเสมอเพื่อป้องกันใม่ให้เกิดภัยภิบัติในระดับโครงสร้างขึ้น จากเหตุนี้เองเราจึงได้เห็นว่าเหตุใดธนาคารจึงกลายพันธุ์ไปเป็นธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยงให้กับนายธนาคาร และสร้างความเสี่ยงโดยไม่มีผลตอบแทนให้กับคนอื่นๆได้ในขณะเดียวกัน
ในทุกวันนี้ธุรกิจธนาคารกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ดูเหมือนจะเติบโตอย่างไม่มีการหยุดชะงัก และธนาคารก็ไม่สามารถที่จะล้มละลายได้เลย เนื่องจากความเสี่ยงในระดับโครงสร้างที่มาพร้อมกับการประกอบกิจการการธนาคาร ความล้มเหลวใดๆของธนาคารจะสามารถถูกมองเป็นปัญหาเชิงสภาพคล่องได้ทั้งสิ้นและมักจะได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารกลางอยู่เสมอ ไม่มีธุรกิจอื่นใดในภาคเอกชนที่จะสามารถได้รับสิทธิพิเศษที่สูงส่งขนาดนี้อีกแล้ว มันคือการรวมเอาอัตราการทำกำไรที่สูงที่สุดในธุรกิจภาคเอกชนเข้ากับความปลอดภัยของการทำงานในภาครัฐบาล ส่วนผสมนี้เองที่ทำให้งานของพนักงานธนาคารกลายเป็นงานที่สร้างสรรและสร้างประโยชน์พอๆกับงานของข้าราชการในหน่วยงานของรัฐแต่กลับให้ผลตอบแทนที่สูงกว่างานอื่นๆส่วนใหญ่ ผลลัพธ์คือการที่อุตสาหกรรมการเงินเจริญเติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อนในขณะที่สหรัฐก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมการเงินมากขึ้นทุกวัน หลังจากการยกเลิกพระราชบัญญัติกลาส-สตีกัล ในปีค.ศ. 1999 การแบ่งแยกธนาคารเงินฝากและธนาคารเพื่อการลงทุนก็ถูกยกเลิกลงไป
ทำให้ธนาคารเงินฝากที่มีประกันเงินฝากกับสถาบัณประกันเงินฝาก (FDIC deposit guarantee) ก็สามารถหันมาทำการลงทุนได้เช่นกัน โดยมีการรับประกันจากสถาบันประกันเงินฝากคอยป้องกันพวกเขาจากการขาดทุนจากการลงทุน นักลงทุนที่มีประกันการขาดทุนก็เทียบได้กับนักลงทุนที่มี option ฟรีๆ หรือเรียกได้ว่ามีใบอนุญาติในการพิมพ์เงินได้นั่นเอง พวกเขาสามารถรับผลกำไรจากการลงทุนที่มีผลกำไรได้ทั้งหมด ในขณะที่ผลจากการขาดทุนถูกแบกรับโดยผู้ฝากเงิน ใครก็ตามที่ได้รับการค้ำประกันในลักษณะดังกล่าวย่อมสามารถทำเงินได้มหาศาลโดยเขาเพียงต้องกู้ยืมเงินมาลงทุนเท่านั้น เขาจะได้รับผลกำไรทั้งหมด แต่ไม่ต้องจ่ายผลขาดทุนแม้แต่น้อย มันจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่สิ่งนี้นำมาสู่การจัดสรรทรัพยากรเงินทุนและแรงงานไปสู่ธุรกิจทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันคือสิ่งที่ใกล้เคียงกับของฟรีที่สุดที่โลกนี้มีให้นั่นเอง
นักเศรษฐศาสตร์โธมัส ฟิลิปปอน 27 ได้ทำการศึกษาขนาดของกลุ่มธุรกิจทางการเงินต่ออัตราผลิตภันฑ์มวลรวมอย่างละเอียดเป็นสัดส่วนร้อยละตลอดช่วง 150 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราส่วนอยู่ที่ต่ำกว่าร้อยละ 3 ในช่วงปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่มันกลับพุ่งสูงขึ้นหลังจากนั้น และถล่มลงมาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจซบเซาครั้งใหญ่ก่อนที่จะกลับมาโตอย่างฉุดไม่อยู่หลังจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อมองย้อนกลับไปเราจะสามารถเห็นสิ่งนี้สะท้อนออกมาในอัตราส่วนนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนมากที่สนใจในอาชีพเกี่ยวกับการเงินมากกว่าวิศวกรรม การแพทย์ หรืออุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า
เมื่อการสื่อสารทางไกลพัฒนาชึ้นเรื่อยๆ เราก็อาจคาดหวังได้ว่างานของอุตสาหกรรมทางการเงินจะสามารถกลายเป็นเรื่องอัตโนมัติหรือทำงานแบบจักรกลได้ ส่งผลให้อุตสาหกรรมการเงินมีขนาดเล็กลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ในความเป็นจริงมันกลับโตขึ้นเหมือนดอกเห็ด ไม่ใช่เพราะความต้องการพื้นฐานใดๆ แต่เป็นเพราะมันถูกปล่อยให้เจริญเติบโตอยู่ได้ภายใต้ร่มเงาการคุ้มกันจากรัฐบาล
การลักหลับเห็นได้ชัดที่สุดในวงการการเงิน แต่มันไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น มันยังเป็นสิ่งที่สามารถถกเถียงได้ว่าเป็นตัวแทนของความได้เปรียบทางการแข่งขันที่บริษัทขนาดใหญ่มีเหนือบริษัทขนาดเล็กกว่า ในสังคมที่เงินสำหรับการลงทุนมาจากเงินเก็บออม เงินทุนจะเป็นสมบัติของผู้มีความเอนเอียงทางเวลาที่ต่ำ และพวกเขาจะจัดสรรมันไปตามการคาดการณ์ความน่าจะเป็นที่โครงการจะประสบความสำเร็จในตลาดได้และรับผลกำไรเมื่อพวกเขาคาดการณ์ถูกต้องพร้อมกับรับผลขาดทุนเมื่อพวกเขาผิดพลาด แต่ด้วยเงินที่ไม่มั่นคงนั้น เงินออมถูกทำลายและเงินทุนกลับถูกสร้างขึ้นมาจากการสร้างเงินเฟ้อผ่านสินเชื่อธนาคาร โดยมีธนาคารกลางและธนาคารสาขาต่างๆเป็นผู้จัดสรรปันส่วนเงินทุนนั้น แทนที่จะให้ผู้ที่มีความรอบคอบสูงที่สุด มีความเอนเอียงทางเวลาต่ำที่สุด และมีวิสัยทัศน์ทางตลาดที่กว้างไกลที่สุดในสังคมเป็นผู้จัดสรรเงินทุน หน้าที่ดังกล่าวกลับตกอยู่กับข้าราชการและพนักงานของรัฐผู้ซึ่งมีเป้าหมายเพียงแค่ต้องการปล่อยเงินกู้ให้ได้มากที่สุด ไม่ใช่ถูกต้องที่สุด เนื่องจากพวกเขาได้รับความคุ้มกันจากความผิดพลาดอย่างแน่นหนา
การวางแผนจัดสรรสินเชื่อโดยส่วนกลางก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการวางแผนส่วนกลางรูปแบบอื่นๆ มันล้วนลงเอยด้วยการให้ข้าราชการมานั่งกาช่องในแบบฟอร์มและกรอกเอกสารเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดโดยหัวหน้างานชองพวกเขาในขณะที่เหตุผลที่แท้จริงของงานถูกหลงลืมไปโดยสิ้นเชิง วิสัยทัศน์ของนายธนาคารและความหมั่นเพียรในการตรวจสอบมูลค่าที่แท้จริงของการลงทุนถูกแทนที่ด้วยการกาเครื่องหมายลงในช่องเอกสารข้อกำหนดในการกู้ยืมของธนาคารกลางเท่านั้น สิ่งที่ทำให้เกิดความได้เปรียบในการกู้ยืมเงินจากแหล่งสินเชื่อแบบรวมศูนย์กลางคือขนาดของธุรกิจ ยิ่งธุรกิจมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสูตรของความสำเร็จที่แน่นอน มีทรัพย์สินค้ำประกันที่มากกว่าในกรณีที่เกิดความล้มเหลวขึ้น และทำให้พนักงานธนาคารรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในการให้เงินกู้ตามเกณฑ์ในการกู้ยืมเงินของธนาคารกลางยิ่งขึ้นเท่านั้น แม้ว่ามีอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ได้รับผลประโยชน์จากขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่การรวมศูนย์การอนุมัติสินเชื่อนั้นทำให้ข้อได้เปรียบที่เกิดจากขนาดนั้นเด่นชัดขึ้นมากกว่าที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้ตลาดเสรี อุตสาหกรรมใดก็ตามที่สามารถกู้เงินได้มากเกินความจำเป็นล้วนเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งสิ้น เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในโลกที่เงินทุนมาจากเงินออมอย่างแน่นอน
ยิ่งบริษัทใหญ่เท่าใด ยิ่งเป็นเรื่องง่ายที่จะสามารถได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้ ทำให้บริษัทขนาดใหญ่มีความได้เปรียบผู้ประกอบการอิสระที่มีขนาดเล็กกว่า ในสังคมที่เงินลงทุนมาจากเงินออม ร้านอาหารครอบครัวขนาดเล็กสามารถแข่งขันเพื่อชิงลูกค้าและเงินลงทุนกับร้านอาหารขยะรายใหญ่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันนั่นคือ: ทั้งลูกค้าและนักลงทุนสามารถเลือกที่จะจัดสรรเงินของพวกเขาระหว่างทั้งสองอุตสาหรรมได้อย่างอิสระ ข้อได้เปรียบจากขนาดของธุรกิจจะต้องแข่งขันกับความเอาใจใส่และความสัมพันธ์ระหว่างพ่อครัวและลูกค้าของร้านอาหารขนาดเล็ก และบททดสอบของตลาดจะเป็นผู้ตัดสิน แต่ในโลกที่ธนาคารกลางเป็นผู้จัดสรรเงินสินเชื่อ ธุรกิจขนาดใหญ่จะมีข้อได้เปรียบจากการความสามารถในการได้เงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่คู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่าไม่สามารถได้รับได้28 สิ่งนี้ช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดผู้ผลิตอาหารรายใหญ่จึงสามารถขยายตัวได้อย่างกว้างขวางไปทั่วได้เนื่องจากพวกเขามีสัดส่วนกำไรที่เหนือกว่าอันเนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่านั่นเอง ชัยชนะของของอาหารขยะไร้รสชาติที่ถูกผลิตเป็นจำนวนมากไม่สามารถเป็นผลจากเหตุอื่นใดเลยนอกเสียจากผลประโยชน์อันเกิดจากการมีขนาดที่ใหญ่ของผู้ผลิต
ในโลกที่แทบทุกบริษัทได้รับเงินทุนที่มาจากการขยายวงเงินสินเชื่อของธนาคารกลาง มันไม่มีวิธีการใดเลยที่จะแยกแยะว่าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมไหนเป็นผลมาจากการอัดฉีดเสตียรอยด์ด้วยเงินที่ได้มาจากการลักลับ แต่มันก็ยังพอมีอาการให้สังเกตุได้อยู่บ้าง อุตสาหกรรมใดก็ตามที่ผู้คนในอุตสาหกรรมล้วนบ่นถึงความงี่เง่าบัดซบของหัวหน้านั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลักหลับ เนื่องจากมีเพียงในโลกจอมปลอมของเงินลักหลับเท่านั้นที่หัวหน้างานสามารถที่จะทำตัวงี่เง่าแล้วยังอยู่รอดได้ ในบริษัทที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมผ่านสินค้าและบริการนั้น ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ พนักงานจะได้รับผลตอบแทนมากน้อยขึ้นอยู่กับว่าเขาทำหน้าที่ได้ดีเพียงใด และหัวหน้าที่ปฏิบัติไม่ดีต่อพนักงานก็จะต้องสูญเสียพนักงานของเขาให้กับคู่แข่งหรือทำลายธุรกิจของเขาลงเองอย่างรวดเร็ว ส่วนในบริษัทที่ไม่สร้างประโยชน์ใดๆให้กับสังคมแต่พึ่งพาอาศัยความใจบุญของรัฐบาลเพื่อความอยู่รอดนั้นล้วนไม่มีมาตรฐานที่มีความหมายใดๆในการตัดสินให้รางวัลหรือลงโทษพนักงานเลย โลกของเงินลักหลับนั้นอาจดูน่าหลงไหลจากภายนอก เนื่องมาจากอัตราค่าตอบแทนที่สูงและมั่นคงโดยแทบไม่ต้องทำงานที่เป็นงานจริงๆเลย แต่สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่เศรษฐศาสตร์สอนเรามาเสมอคือการที่ของฟรีไม่มีอยู่จริง การหยิบยื่นเงินให้กับผู้คนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์จะดึงดูดให้ผู้คนจำนวนมากต้องการที่จะเข้ามาทำงานเหล่านี้ ซึ่งจะผลักดันให้ต้นทุนของการทำงานเหล่านี้ยิ่งสูงขึ้นไปกว่าเดิมทั้งในแง่ของเวลาและศักดิ์ศรีที่ต้องเสียไป
การว่าจ้าง เลิกจ้าง เลื่อนขั้น และ คาดโทษล้วนเกิดขึ้นในระดับชั้นของการตัดสินใจที่ซ้อนกันหลายต่อหลายชั้นของระบบราชการ ไม่มีงานใดที่มีค่าสำหรับบริษัท ไม่มีใครมีความสำคัญ และหนทางเดียวที่ผู้คนในองค์กรเหล่านี้จะรักษาหน้าที่การงานของพวกเขาเอาไว้ได้คือการทำตัวให้มีค่าสำหรับคนที่อยู่ในระดับสูงกว่าเท่านั้น การทำงานในบริษัทลักษณะนี้ก็คือการตกอยู่ในวังวนการเมืองสำนักงานตลอดเวลา มีเพียงแต่ผู้คนที่ตื้นเขินและหลงไหลในวัตถุนิยมที่มีความสุขกับการมีอำนาจเหนือผู้อื่นเท่านั้นที่จะต้องการทำงานลักษณะนี้ พวกเขาตรากตรำฝืนทนการถูกทารุณกรรมนานนับปีเพียงเพื่อแลกกับเงินเดือนและความหวังที่ว่าสักวันหนึ่งพวกเขาจะสามารถกระทำทารุณเช่นเดียวกันกับผู้อื่นได้บ้าง มันไม่น่าประหลาดใจเลยที่ผู้คนที่ประกอบอาชีพเหล่านี้มักจะมีอาการซึมเศร้าอยู่ตลอดเวลาและจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยยาและการบำบัดอาการทางจิตอยู่เสมอเพื่อที่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้ ไม่ว่าเงินลักหลับจำนวนมากเท่าใดที่จะคุ้มค่ากับการทำลายล้างทางจิตวิญญาณที่สภาพแวดล้อมเช่นนี้จะกระทำต่อผู้คนได้ แม้องค์กรเหล่านี้ไม่ต้องเผชิญกับความรับผิดชอบที่แท้จริงใดๆ แต่ในอีกมุมหนึ่งของการไม่มีผลผลิตที่เป็นประโยชน์นั้นก็ทำให้มันเป็นเรื่องง่ายดายที่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือกตั้งขึ้นมาใหม่จะเข้ามามีอำนาจและตัดงบประมาณองค์กรเหล่านี้จนสิ้นซากได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ นี่เป็นชะตากรรมที่เลวร้ายยิ่งกว่าสำหรับผู้คนที่ทำงานในองค์กรเหล่านี้เนื่องจากพวกเขาส่วนมากล้วนไม่มีความสามารถหรือความเชี่ยวชาญใดๆที่สามารถโยกย้ายไปสู้หน้าที่การงานอื่นๆได้เลย
ยาเดียวที่จะรักษาอาการป่วยเหล่านี้ได้คือเงินที่มั่นคง ซึ่งจะกำจัดความคิดของการทำงานแบบสักแต่ว่าทำไปตามคำสั่งเพียงเพื่อจะเอาใจเหล่าหัวหน้าสุดโหด และทำให้กลไกตลาดเป็นสิ่งเดียวที่จะตัดสินรายได้ของผู้คน ถ้าคุณพบว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเอาชีวิตไปโยนทิ้งอยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ ที่ความเครียดในการงานของคุณวนเวียนอยู่กับการทำให้หัวหน้างานของคุณพอใจมากกว่าการสร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ และคุณไม่มีความสุขกับมันเลย คุณอาจโล่งใจหรือหวาดกลัวได้เมื่อคุณตระหนักว่าโลกนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้ และงานของคุณอาจไม่อยู่ยงคงกระพัน เพราะโรงพิมพ์เงินของรัฐบาลของคุณอาจไม่สามารถทำงานได้ตลอดไป แต่ขอให้คุณกัดฟันอ่านต่อไปอีกเถิด เพราะคุณงามความดีของเงินอันมั่นคงนั้นอาจดลบันดาลให้คุณได้พบกับโลกแห่งโอกาสใบใหม่ของคุณ
Notes
1 Bettina Bien Greaves, Ludwig von Mises on Money and Inflation: A Synthesis of Several Lectures , p. 32.
2 John Matonis, “Bitcoin Obliterates ‘The State Theory of Money,’” Forbes (April 2, 2013). Available at http://www.forbes.com/sites/jonmatonis/2013/04/03/bitcoin‐obliterates‐the‐state‐theory‐of‐money/#6b93e45f4b6d
3 And in capital theory, accept no substitutes for Austrian Capital Theory, as expounded by Böhm‐Bawerk, Mises, Hayek, Rothbard, Huerta de Soto, Salerno, among others.
4 J. M. Keynes, A Tract on Monetary Reform (1923), Ch. 3, p. 80. It is worth remarking that modern‐day Keynesians reject the interpretation of this quote as signifying Keynes’s concern for the present at the expense of the future. Instead, Keynesians like Simon Taylor argue that this signifies Keynes’s prioritizing of tackling unemployment immediately rather than worrying about the remote threat of inflation. This defense unfortunately serves only to expose Keynes’s modern disciples to be as short‐termist as he, and exactly as ignorant of the fundamental reality that it is precisely the inflationist policies that cause the unemployment in the first place. See “The True Meaning of ‘In the Long Run We Are All Dead.’” Available at http://www.simontaylorsblog.com/2013/05/05/the‐true‐meaning‐of‐in‐the‐long‐run‐we‐are‐all‐dead/
5 “Remarks by Governor Ben S. Bernanke Before the National Economists Club,” Washington, D.C., November 21, 2002, Deflation: Making Sure “It” Doesn’t Happen Here .
6 See Campbell McConnell, Stanley Brue, and Sean Flynn, Economics (New York: McGraw‐Hill, 2009), p. 535.
7 Carl Menger, On the Origins of Money (1892).
8 Ludwig von Mises, Human Action (1949). p. 421.
9 Rothbard, Murray. “The Austrian Theory of Money.” The Foundations of Modern Austrian Economics (1976): 160 C184.
10 Ludwig von Mises, Human Action (1949), p. 575.
11 See Murray N. Rothbard, Economic Depressions: Their Cause and Cure (Ludwig von Mises Institute, 2009).
12 Human Development Report 2005 (New York: United Nations Development Programme, 2005).
13 Source : United Nations Development Programme’s Human Development Report (2005).
14 Jacques Barzun, From Dawn to Decadence .
15 Élie Halévy and May Wallas. “The Age of Tyrannies,” Economica , New Series, vol. 8, no. 29 (February 1941): 77–93.
16 Murray Rothbard, “The End of Socialism and the Calculation Debate Revisited,” The Review of Austrian Economics, vol. 5, no. 2 (1991).
17 J. M. Keynes, “The End of Laissez‐Faire,” in Essays in Persuasion , pp. 272–295.
18 Murray Rothbard, “A Conversation with Murray Rothbard,” Austrian Economics Newsletter , vol. 11, no. 2 (Summer 1990).
19 John Kenneth Galbraith, The Great Crash 1929 (Boston, Ma: Houghton Mifflin Harcourt, 1997), p. 133.
20 If for some reason you haven’t already, you really should read Nassim Nicholas Taleb’s works on this: Fooled by Randomness , The Black Swan , Antifragility , and Skin in the Game .
21 For more on this topic, see James M. Buchanan and Gordon Tullock, The Calculus of Consent: Logical Foundations of Constitutional Democracy (1962).
22 Mark Skousen, “The Perseverance of Paul Samuelson’s Economics,” Journal of Economic Perspectives , vol. 11, no. 2 (1997): 137–152.
23 David Levy and Sandra Peart, “Soviet Growth and American Textbooks: An Endogenous Past,” Journal of Economic Behavior & Organization , vol. 78, issues 1–2 (April 2011): 110–125.
24 Mark Skousen, “The Perseverance of Paul Samuelson’s Economics,” Journal of Economic Perspectives , vol. 11, no. 2 (1997): 137–152.
25 Paul Krugman, “Secular Stagnation, Coalmines, Bubbles, and Larry Summers,” New York Times , November 16, 2003.
26 For a formal modeling of this statement, see D. W. Diamond and P. H. Dybvig, “Bank Runs, Deposit Insurance, and Liquidity,” Journal of Political Economy , vol. 91, no. 3 (1983): 401–419.
27 Thomas Philippon and Ariell Reshef. “An International Look at the Growth of Modern Finance,” Journal of Economic Perspectives, vol. 27, no. 2 (2013): 73–96.
28 The centralization of credit issuance can be viewed as a government intervention in the operation of Coase’s Law, described by Coase in his essay: “The Nature of the Firm,” Economica , vol. 4, no. 16 (1937): 386–405. According to Coase, the reason firms exist is that the individual contracting of tasks can be more expensive because it involves transaction costs, such as search and information, bargaining, contracting, and enforcement costs. A firm will thus grow for as long as it can benefit from doing activities in‐house to overcome higher external contracting costs. In a world of depreciating currency and centrally allocated credit, achieving financing becomes one of the main cost advantages of growing in size. Large firms have more capital goods and collateral, which allows them lower funding terms. The incentive for every business is thus to grow beyond what consumers would prefer. In a free market for capital where firms had to rely much more on their revenues and securing credit on free markets, the output will favor the scale of production most suited to consumers’ preferences.