หากพูดถึงคริปโต สิ่งที่คริปโตมอบให้แก่ผู้ใช้คือการไม่ระบุตัวตน อย่างเช่น Bitcoin เราสามารถรู้ได้ว่ากระเป๋าไหนส่งไปหากระเป๋าไหน แต่เราก็ไม่รู้ว่าใครคือเจ้าของกระเป๋า นี่คือความเป็นส่วนตัวระดับพื้นฐานที่จะได้รับจากคริปโต แล้วถ้าอยากส่วนตัวมากกว่านี้หล่ะ ไม่อยากให้ใครรู้เลยว่าส่งไปให้ใคร ทำได้ไหม ทำได้สิ ยุคหลังของคริปโตเรามีสิ่งที่เรียกว่า Privacy Coin หรือเหรียญที่มีการปกปิดไม่ให้ติดตามได้ เพราะในช่วง 2009 – 2013 คริปโตได้แสดงบทบาทของมัน ทั้งในด้านดีคือผลักดันนวัตกรรมการบันทึกข้อมูล และในด้านที่ไม่ดีอย่างการใช้เป็นสื่อกลางในตลาดมืด ซึ่งเว็บที่โด่งดังในช่วงนั้นก็คือ Silk Road แปลว่าทางสายไหม เว็บนี้มีการทำธุรกรรมซื้อขายของผิดกฎหมายจำนวนมาก และBitcoinเป็นที่นิยมในฐานะสื่อกลางของอาชญากร ภายหลังจากเจ้าของ Silk Road ถูกจับ วงการอาชญากรรมก็ตื่นตัวเรื่องนี้มากขึ้น พวกเค้าต้องการเหรียญที่มีความเป็นส่วนตัวมากกว่านี้ จนกระทั่งปี2014 Bytecoin ได้ถือกำเนิดขึ้นมา และBytecoinถือเป็นต้นแบบของ Privacy Coin ในเวลาต่อมาเช่น Dash Monero Zcash Zcoin
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!Benefit ประโยชน์
การไม่เปิดเผยตัวเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน
นักลงทุนจะได้รับความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ผ่านการที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน ตรงนี้อาจเป็นข้อดีสำหรับใครที่ต้องการความเป็นส่วนตัว นักลงทุนพวกนี้จะได้รับความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้น แต่ที่น่ากังวลก็คือ นักลงทุนที่ฉลาดและหลอกลวงจะทำงานง่ายขึ้น เป็นเรื่องปกติที่เราทราบกันดีว่า ตลาดหลักทรัพย์มีคนที่ถือครองหุ้นอยู่เยอะ หรือคนที่ถนัดในการปั่นราคา อย่างเคสที่ปรากฎเมื่อเร็วๆนี้ก็คือ หมอเสริฐ หรือนายแพทย์ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่ปั่นหุ้น BA (Bangkok Airway) และไม่ได้มีเพียงแค่หมอเสริฐเท่านั้น แท้จริงแล้วตลาดทุนเต็มไปด้วยคนเหล่านี้ ที่พร้อมจะเข้ามาดึงเงินออกจากมือนักลงทุนหน้าใหม่ และนักลงทุนที่พลาดท่าตกเป็นเหยื่อเสมอๆ
เร็ว ค่าธรรมเนียมต่ำ มีการเข้ารหัสธุรกรรม
อย่างที่เรารู้กันว่า ข้อดีพื้นฐานของคริปโตก็คือ ค่าธรรมเนียมต่ำ เร็ว และมีการเข้ารหัส เรื่องแรกคือความเร็ว ปัจจุบันคริปโตโอนเร็วขึ้นมาก ผ่านการพัฒนามาตลอดเวลา แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า จะเหมาะสมกับการนำมาใช้งานไหม เพราะหากนำมาใช้งานจริง จำนวนคนที่ใช้จะมีเยอะมาก และหากมีคนโอนเยอะมาก อาจเกิดเคสส่งล่าช้าเหมือนนปรากฏการณ์คอขวดที่เคยเกิดขึ้นสมัยที่นักเทรดคริปโตแห่ไปเล่นเกม Crypto Kitty บนบล็อกเชนของ Etherum, เรื่องที่สอง ในเรื่องของค่าธรรมเนียมต่ำ หากเป็นเหรียญที่มีค่าส่งถูกมากเหมือนฟรีอย่าง Ripple หรือ Stellar ค่าธรรมเนียมถูกมาก และเหมาะนำมาใช้ แต่ถ้าเป็นแบบ Ethereum ค่าธรรมเนียมที่อาจจะไม่ได้แพงมาก แต่ถ้าใช้บ่อยๆก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนไม่น้อยเลย เรื่องสุดท้าย การเข้ารหัส ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นมาก เพราะบล็อกเชนจะมีการเข้ารหัส ทำให้เงินดิจิทัลเหล่านี้มีความปลอดภัย
Risk ความเสี่ยง
การเพิ่มขึ้นของ Cryptocurrency สามารถเป็นภัยคุกคามต่อสิทธิพิเศษของธนาคารกลางในการออกและควบคุมปริมาณเงิน
ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ การที่ประเทศใดควบคุมเงิน ทำให้ออกนโยบายที่เหมาะสมกับสถานการณ์และช่วงเวลาได้ แต่หากไม่สามารถควบคุมเงินได้แล้ว อาจส่งผลถึงเสถียรภาพของประเทศในหลายเรื่อง เช่นโดนแทรกแซง หรือเงินเอามาใช้มีปริมาณเพิ่มขึ้นแล้วรัฐไม่สามารถจัดการได้
ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินในขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงถึง 1 ล้านล้านล้านดอลลาร์
เมื่อเราใช้ระบบดิจิทัลในการส่งเงินหากัน ใช้แทนเงินกระดาษได้แล้ว ความเสี่ยงที่ตามมาคือ การที่ระบบถูกแฮก หรือการล่มของระบบ อาจส่งผลให้เศรษฐกิจหยุดชะงักได้ ดังนั้นค่าความเสียหายในอนาคตจึงถูกประเมินไว้ที่1ล้านล้านดอลลาร์ บนโครงสร้างทางการเงินที่เป็นดิจิทัล
การยอมรับอย่างกว้างขวางของระบบชำระเงิน โดยมีการกำกับดูแลน้อยหรืออาจไม่มีการกำกับดูแลจากภาครัฐเลย
หากใช้คริปโตนอกจากรัฐจะเข้ามายุ่งกับจำนวนคริปโตไม่ได้แล้ว สิ่งที่ตามมาคือการกำกับดูแลจากภาครัฐอาจส่งผลน้อยลง หรือไม่ส่งผลเลย เพราะรัฐไม่สามารถตามธุรกรรมเหล่านี้ รัฐอาจรู้ว่ากระเป๋าไหนกำลังส่งอะไร หากเป็น Public Blockchain และหากเป็น Privacy Coin รัฐอาจไม่สามารถตามตัวได้ ว่าเงินถูกส่งไปให้ใคร ที่ไหน และจำนวนเท่าไหร่ ณ จุดนี้ อาจมีช่องโหว่ให้เหล่าอาชญากรไม่สนใจกฎของรัฐได้ แต่ในความเป็นจริงก็คือ ทุกประเทศรู้ทันและพยายามหาตรวจสอบอยู่เสมอ อย่างเช่นการที่กลต.ไทย ให้ทำ KYC แก่ผู้เทรดทุกท่าน และผู้เขียนเองเห็นต่างจากทาง Cointelegraph และเชื่อว่ารัฐจะกำกับดูแลหนักแน่นอน