fbpx

Blockchain The disruption of Technology EP-2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain กับการเลือกตั้ง

ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง การถูกบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร การถูก Hack ข้อมูลที่ลงทะเบียน การ Hack อุปกรณ์ที่ใช้ในการโหวต “หลังจากจบงานวันนี้เราพบว่าอุปกรณ์ทุกชนิดใน Voting Village ถูก นั้นถูกเจาะได้สำเร็จ โดยมีผลลัพท์ที่แตกต่างกันไป ผู้เข้าร่วมงานบางคนที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญและไม่ได้มีเครื่องมือเฉพาะทางอะไร ก็ยังสามารถที่จะเจาะระบบได้” การปลอมข้อมูลหลั

Blockchain The disruption of Technology EP-2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain กับการเลือกตั้ง

21 Feb 2019
ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง

สวัสดีครับเมื่อประมาณสองเดือนก่อนผมประกาศไว้ในเพจว่าจะมาเล่าเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain กับการเลือกตั้ง ซึ่งหลังจากนั้นผมก็ดองบทความไปยาวๆ จนกระทั่งเมื่อวันสองวันก่อน กระแสการเมืองนั้นร้อนแรงมาก (แรงจนเพจร้าง) ผมก็เลยนึกขึ้นได้ว่าเคยพูดไว้ก็เลยวันนี้จะมาเล่าให้ฟัง

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

สำหรับคนที่ไม่รู้จัก Blockchain นะครับผมขออธิบายสั้นๆนะครับว่า Blockchain คือเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่จะกระจายข้อมูลไปเก็บหลายๆ แห่งเพื่อทำให้ข้อมูลปลอมแปลงได้ยาก ส่งผลทำให้ข้อมูลดิจิทัลที่เคยถูกมองว่าถูกปลอมแปลงง่าย กลายเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้จากการรับรองข้อมูลจากหลายสถานที่

ที่คำถามคือแล้วมันเกี่ยวอะไรกับการเลือกตั้ง ปัจจุบันการเลือกตั้งในหลายๆประเทศนั้นใช้ระบบกากระดาษครับ แทบไม่มีประเทศใดใช้ระบบดิจิทัลเลย เหตุผลนั้นก็คือ คนไม่เชื่อถือระบบดิจิทัลครับลองคิดดูว่าเราเลือกผู้สมัครคนหนึ่งแล้วมันกลายเป็นว่ากลายเป็นลงอีกคนหนึ่งจะจับมือใครดมได้ (แต่กลับกันกรณีรถขนส่งบัตรเลือกตั้งโดนสับเปลี่ยนก็มีเหมือนกันนะในอดีต)

อย่างไรก็ตามระบบกระดาษเดิมนั้นมีจุดอ่อนหลายอย่างครับเช่นค่าใช้จ่ายในการจัดการระบบนั้นไม่ถูกเลยครับไม่ว่าจะการนับคะแนนการขนส่งใบเลือกตั้ง รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเลือกตั้ง เพราะอย่างงั้นในปัจจุบันการเลือกตั้งจึงไม่ได้มีบ่อยๆ (ก็นะผ่านมาสี่ห้าปีแล้ว) แต่ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ถ้าเราสามารถสร้างระบบที่น่าเชื่อถือในการเลือกตั้งให้กลายเป็นเเบบดิจิทัล ในอนาคตต้นทุนในการจัดการเลือกตั้งจะลดลง การลงคะแนนเสียงใดๆทำได้ง่ายขึ้น ง่ายซะจนเราอาจจะสามารถลงคะแนนเสียงในมือถือ หรือการทำประชามติกลายเป็นเรื่องที่สามารถทำได้เรื่อยๆ จนในที่สุดถ้าเราพูดถึงอุดมคติเราอาจจะพูดถึงความเป็นไปได้ของการสร้างรูปแบบ “ประชาธิปไตยแบบเต็มใบ” เลยทีเดียว

 

*Note: ปัจจุบันรูปแบบระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย(???) และในหลายๆประเทศเป็นรูปแบบประชาธิปไตยที่เราเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบผู้แทน ที่เราจะเลือกผู้แทนไปมีปากเสียงแทนเราในสภา แต่ประชาธิปไตยแบบเต็มใบคือการที่ให้ประชาชนทุกคนเข้าไปนั่งและโหวตในสภา

 

เอาหละก่อนอื่นผมจะไปเล่าให้ฟังก่อนว่าถ้าเราไม่มีระบบ Blockchain แล้วปัญหาของการสร้างระบบเลือกตั้งแบบดิจิทัลมีอะไรบ้าง

 

การถูกบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร

อันที่จริงคนไทยเราห่างหายจากการเลือกตั้งไปนานมากครับ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือในระหว่างนั้นระบบ Social Network นั้นเติบโตเป็นอย่างมาก เลยอาจจะไม่รู้สึกถึงเรื่องนี้เท่าไหร่แต่เรื่องนี้เป็นประเด็นมากในปี 2016 ในการเลือกตั้งของอเมริกา ซึ่งมี Facebook มีเพจจำนวนมากที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลและประเด็นต่างๆทางการเมืองที่ผิด ซึ่งกลายเป็นประเด็นจนไปสู่การฟ้องร้อง Facebook ในปีที่แล้วเลยทีเดียว

 

การถูก Hack ข้อมูลที่ลงทะเบียน

 

มีความเป็นไปได้ที่ฐานข้อมูลที่ลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ อาจจะสามารถถูก Hack ได้ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือ Hacker นั้นจะสามารถทำอะไรก็ได้กับฐานข้อมูล เขาอาจจะทำการลบชื่อผู้มีสิทธิในการเลือกตั้งได้

ซึ่งในกรณีการเลือกตั้งในปี 2016 ของอเมริกาก็มีประเด็นนี้เช่นกันเพราะว่ามีการตรวจพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัสเซียนั้นสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลส่วนหนึ่งของการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่ของอเมริกาต้องเข้ามาตรวจสอบว่าฐานข้อมูลนั้นได้มีการถูกเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลออกหรือเปล่า

 

การ Hack อุปกรณ์ที่ใช้ในการโหวต

การที่อุปกรณ์ในการโหวตถูก Hack ทำให้เกิดการปลอมแปลงเสียงโหวตได้ เช่นผู้สมัครคนหนึ่งอาจจะได้คะแนนเสียงจากการถูกปลอมแปลง

สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือในทาง cybersecurity แล้วอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ทุกชนิดล้วนรวมถึงซอฟต์แวร์แล้วเป็นสิ่งที่สามารถูก Hack ได้ยิ่งถ้ามันต่อกับอินเทอร์เนตด้วยแล้วหละ

 

ในงาน DEF CON ปี 2018 ซึ่งเป็นหนึ่งในงาน Conference ของ Hacker ที่ใหญ่ที่สุดได้จัดหัวข้อ Voting machine village ซึ่งจะเป็นงานที่จะให้ Hacker ได้ทดสอบความปลอดภัยของระบบอิเล็คทรอนิคส์ต่างๆที่ใช้ในการโหวตทุกๆส่วนไม่ว่าจะระบบลงทะเบียน ระบบการลงคะแนน ซึ่งในตอนผลผู้กล่าวงานก็ได้พูดถึงผลของการโหวตว่า

“หลังจากจบงานวันนี้เราพบว่าอุปกรณ์ทุกชนิดใน Voting Village ถูก นั้นถูกเจาะได้สำเร็จ โดยมีผลลัพท์ที่แตกต่างกันไป ผู้เข้าร่วมงานบางคนที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญและไม่ได้มีเครื่องมือเฉพาะทางอะไร ก็ยังสามารถที่จะเจาะระบบได้”  

สิ่งที่น่ากลัวคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลถูกปลอมแปลง สิ่งที่น่ากลัวในสุดในการเก็บข้อมูลแบบศูนย์กลาง หากมีการ Hack อุปกรณ์และเวลาผ่านไปเมื่อเรามาตรวจระบบมันอาจจะไม่มีข้อมูลหลงเหลือว่ามีการปลอมแปลงอะไรไปบ้าง แล้วหากมีส่วนใดส่วนหนึ่งโดนเจาะแล้วจะทราบได้อย่างไรว่าส่วนที่เหลือยังปลอดภัย

ลองคิดดูว่าถ้ามี ATM ธนาคารหนึ่งตัวโดนเจาะ แล้วระบบที่เหลือจะโดนเจาะหรือเปล่าปลอดภัยแค่ไหน เงินที่หายไปจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามีแค่ ATM ตัวเดียวเท่านั้น

ซึ่งหลังจากงานนี้แลวก็ได้มีการรายงานจุดบ่งพร่องไปให้แก่ผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตจากจีน ซึ่งลองนึกภาพตามนะครับ เครื่องมือที่ใช้ในการโหวตนั้นถูกสร้างมาจากชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์หลายส่วน ถ้า Hacker ตั้งเป้าไปที่การเจาะอุปกรณ์ซักชิ้นหนึ่งและทำได้สำเร็จก็เท่ากับว่าเครื่องมือทั้งชุดโดนเจาะไปแล้ว

 

การปลอมข้อมูลหลังเลือกตั้ง

แน่นอนว่าหากระบบเลือกตั้งที่เป็นดิจิทัลถูกเจาะ ผลเลือกตั้งก็คงจะไม่เหลืออะไร แต่เรามาพูดถึงในกรณีที่เป็นระบบกระดาษกันดีกว่า ในระบบลงคะแนนที่เป็นกระดาษนั้นการนับคะแนนจะเป็นการใช้มือและมีการตรวจสอบ แต่ก็แน่หละมันไม่ได้แปลว่าจะไม่มีโอกาสที่มีคนสมรู้ร่วมคิดในการเปลี่ยนแปลงเสียง หรือแม้แต่เหลี่ยนหีบเลือกตั้ง สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นที่ผมคิดว่าทุกคนก็คงเคยคิด นั้นคือเสียงที่เราได้ลงคะแนนแล้วมันไม่ได้โดนปลอมแปลงจริงๆหรือ เราที่เป็นประชาชนสามารถจะตรวจสอบได้หรือเปล่า

 

แล้ว Blockchain จะแก้ปัญหาได้หรือเปล่า

แล้ว Blockchain จะแก้ไขปัญหาได้หรือเปล่า ซึ่งในเชิงแนวคิดนั้นก็มีคนออกมาถกเถียงกันถึงโอกาสถึงความเป็นไปได้ แต่บางคนก็บอกว่ามันเป็นเรื่องที่ยากและมีความเสี่ยง เพราะการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและผิดไม่ได้ และก็ยังมีคนตั้งแง่ในเรื่องความปลอดภัยมากมาย

ใช้ Blockchain แบบไหนดี

นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งเลยว่า ถ้าจะสร้างระบบ Blockchain ที่ใช้ในการเลือกตั้งเราต้องสร้างระบบ Blockchain ที่ปลอดภัยขนาดไหนและความปลอดภัยนั้นจะถูกยอมรับโดยใครบ้าง?

Private Blockchain

ระบบการเลือกตั้งนั้นคงจะเป็น Private Blockchain แน่นอนระบบ Private Blockchain เป็นระบบที่ข้อมูลจะถูกเก็บไว้บน Node จำนวนหนึ่ง แต่คำถามที่น่าสนใจคือ Node ทั้งหมดนั้นเชื่อใจได้หรือเปล่า ใครจะเป็นผู้มีอำนาจใน Node และมีกี่ Node ซึ่งถ้าเราเอาไปเปรียบเทียบกับระบบเลือกตั้งในปัจจุบันก็อาจมองได้ว่า ผู้ถือครอง Node จะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มการเลือกตั้งจนไปถึงคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งมันอาจจะปลอดภัยถ้า Node เหล่านั้นหรือนั้นก็คือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่คิดจะแก้ข้อมูลพร้อมกัน ด้วยการเป็น Private Blockchain มันถูกมากครับ แต่ก็นำมาซึ่งคำถามที่ว่าแล้ว Node ทั้งหมดจะปลอดภัยต่อการโจมตีหรือเปล่าก็เป็นปัญหาในเชิงความปลอดภัยเช่นกัน

Public Blockchain

Public Blockchain อาจจะดูมีภาษีกว่าในแง่ที่ว่า Node นั้นจะถูกตั้งโดยใครก็ได้แต่สิ่งที่ตามมาคือเราจะใช้ Blockchain ตัวไหนดีและต้นทุนในการโหวตจะแพงขนาดไหน เพราะการที่เราใช้ Public Blockchain ในการโหวตคือการที่เราฝังค่า Hash ที่มีข้อมูลการลงคะแนนไปในธุรกรรมของ Blockchain ซึ่งนั้นแปลว่ามันจะต้องใช้ธุรกรรมกับค่าธรรมเนียมที่มากกว่า Private Blockchain แต่อาจจะได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่

Public Blockchain นั้นก็มีปัญหาเช่นกันว่าเราจะเลือก Public Blockchain ตัวไหนที่มีประสิทธิภาพและความปลอดถัยที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่นถ้าเราจะใช้ Bitcoin ซึ่งมีความปลอดภัยสูงสุดด้วยกำลังขุดมหาศาล กลับกับค่าธรรมเนียมนั้นก็แพงเช่นกัน แม้ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำของ Bitcoin จะไม่มาก แต่เมื่อมีธุรกรรมจำนวนมากอัดเข้าไปก็อาจะทำให้ธุรกรรมติดขัดได้ถ้าโชคไม่ดี ธุรกรรมอาจจะถูก Reject จาก mem pool ได้ซึ่งแน่นอนว่าในกรณีนี้ Blockchain ที่ใช้ก็อาจะเป็น Blockchain อื่นๆ อย่าง Stellar Nem หรือแม้แต่ Zcoin แต่ในแง่ความปลอดภัย หาก Blockchain เหล่านี้ใช้ในการเลือกตั้งมันมีโอกาสถูกโจมตีได้ แม้อาจจะไม่ถึงกับทำให้ระบบถูกทำลายแต่ก็อาจทำให้ระบบช้าลง ในกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็เป็นไปได้ที่มันจะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย 51% Attack

ในปี 2018 ที่ผ่านมาก็มีกรณีตัวอย่างของการใช้งาน Public Blockchain ในการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปปัตย์ที่ใช้ Public Blockchain ของ Zcoin โดยการฝังข้อมูลลง IPFS และฝังไปกับ Hash ซึ่งในจากทาง คุณปรมินทร์ได้กล่าวว่างบประมาณในการเลือกตั้งครั้งนั้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทซึ่งถ้าเราลองคิดกลับกันว่าถ้าเราใช้ Bitcoin งบประมาณมากแต่อาจจะอาจจะไม่มากเท่าซึ่งในการเลือกตั้งที่จะถึงนั้นใช้งบสูงถึง 5800 พันล้านบาท ถ้าเราตีว่าประชาชนไทย 69 ล้านคน ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีประมาณ 50 ล้านคน (ประมาณเอา) เท่ากับว่าค่าใช้จ่ายต่อคนจะตกอยู่ที่ 116 บาทซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากเกินพอแล้วสำหรับการทำธุรกรรมบนเครือข่ายของ Bitcoin ซึ่งในความเป็นจริงอาจจะตกอยู่ที่ไม่ถึง 10 บาทต่อคน

 

Cryptography และ E-Identity

 

สำหรับใครที่เคยใช้ Bitcoin หรือ Cryptocurrency อื่นๆก็คงจะรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Address และ Private key กันมาบ้าง สำหรับคนที่ไม่รู้จักนะครับ Private key นั้นเป็นเสมือนกุญแจที่จะยืนยันความเป็นเจ้าของ Address หรือ Public Key ซึ่งในปัจจุบันในทางปฏิบัติยังไม่มีใคร Hack หลักการนี้ในสำเร็จ นั้นหมายความว่า Private key จะเป็น Password ที่ถ้าคุณไม่ได้มอบให้ใคร จะไม่มีใครล่วงรู้ ทีนี้หลักการ Public key และ Private Key นี้จึงสามารถนำมาสร้างเป็น E-Identity สำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้

ก่อนอื่นคือให้ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งลงทะเบียนโดยใช้กล้อง Webcam กับบัตรประชาชนและส่ง public key ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างได้เอง ไปเป็นการยืนยันตัวตนในการเลือกตั้ง โดย Private Key ผู้ใช้งานจะเป็นคนเก็บไว้ และผู้ใช้งานสามารถใช้ Private key นี้ในการโหวตที่อ้างอิงกับ Public key ด้วยรูปแบบนี้ผู้ลงคะแนนจะสามารถตรวจสอบได้ว่าโหวตที่เราโหวตไปนั้นถูกต้องหรือเปล่า รวมถึงยังสามารถตรวจสอบคะแนนเสียงทั้งหมดได้ด้วยว่าถูกต้องหรือเปล่า คล้ายกับ Blockexplorer

ทีนี้เราก็จะได้ระบบเลือกตั้งบน Blockchain ที่สามารถตรวจสอบได้รวดเร็วต้นทุนต่ำ ซึ่งเราลองคิดดูว่าหากกระบวนการทั้งหมดรวดเร็วและตรวจสอบได้ขนาดนี้เป็นไปได้ว่าเราอาจจะสามารถทำได้แม้กระทั้งนั่งลงคะแนนเสียงอยู่ที่บ้านก็ได้ เมื่อการโหวตใช้งบประมาณน้อยลง การทำประชามติอาจจะง่ายขึ้น เพราะต้นทุนทั้งเรื่องเงินและระยะเวลาลดลง และเป็นอย่างที่เกริ่นไว้ในตั้งต้นคือประชาชนทุกคนอาจจะสามารถโหวตในทุกๆนโยบายของรัฐบาล โดยใช้แค่โทรศัพท์มือถือก็ได้

 

ความเสี่ยงและข้อโต้แย้งด้านการใช้ Blockchain ในการเลือกตั้ง

แต่ก็แน่นอนครับแต่ก็มีความคิดเห็นถึงความเสี่ยงของการนำ Blockchain ไปใช้ในการเลือกตั้งเหมือนกันถึงขนาดที่ว่า Josh Benaloh  senior cryptographer ของ Microsoft ถึงกับกล่าวว่า

“Blockchain เป็นเทคโลยีที่น่าสนใจและมีประโยชน์มากที่สามารถทำงานได้โดนไม่ต้องมีตัวกลาง เพียงแต่ว่ามันไม่เหมาะกับระบบเลือกตั้ง”

ซึ่งประเด็นเหล่านั้นมีอะไรบ้างผมจะเล่าให้ฟัง

  • ระบบ Blockchain นั้นมีความปลอดภัยแต่อาจอุปกรณ์ที่ใช้ในการโหวตอาจจะไม่ปลอดภัย ยิ่งันต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนต ลองคิดดูว่าถ้าเป็นอุปกรณ์จากรัฐบาลที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์มากมายเราจะแน่ในอย่างไรว่ามันไม่ถูกเจาะ ยิ่งถ้าเป็นโทรศัพท์มือถือของแต่ละคนที่มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน
  • ความปลอดภัยของ Blockchain ชนิดๆนั้น ซึ่งโดยปกติความปลอดภัยของ Private Blockchain จะขึ้นกับ Node ที่มีอำนาจแล้วเราจะต้องการมี Node เท่าไหร่ หากเราใช้ Public blockchain แม้จะปลอดภัยมากขึ้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามัน 100% เช่นกัน
  • ประชาชนยังขาดความเข้าใจในเทคโนโลยีนี้อย่างมากไม่ใช่เรื่องง่ายที่ประชาชนทุกคนจะสามารถรักษาข้อมูล Idnetity ส่วนบุุคลได้
  • มีโอกาสที่จะมีการซื้อสิทธิขายเสียง แม้ระบบเลือกตั้งที่สามารถตรวจสอบได้จากประชาชนจะเป็นข้อดี แต่หากมองกลับกันนั้นเท่ากับว่าผู้ที่คิดจะซื้อสิทธขายเสียงก็ทำได้เช่นกันเพราะมีข้อมูลที่ระบุความเป็นเจ้าของเสียง

 

หนึ่งในสิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนปรับแนวคิดก่อนว่า มันไม่มีอะไรที่ 100% หรอกครับ แม้แต่ Bitcoin ที่ใช้ Blockchain ในทางทฤษฎีมันก็มีโอกาสที่จะถูกจู่โจม ในทุกวันนี้เราเชื่อถือในกระดาษลายเซ็นเอกสารเพราะคิดว่ามันแม่นยำ แต่อยากให้ทุกคนย้อนคิดไปว่าเอกสารพวกนี้ไม่ใช่หรือที่มีการปลอมแปลงที่นำไปสู่คอรัปชั่นมากที่สุด แม้แต่การลงคะแนนแบบกระดาษก็มีความเป็นไปได้ที่มันจะถูกปลอมแปลงหรือแม้กระทั่งมีการนับคะแนนที่ผิด การใช้ Blockchain เป็นแค่แนวคิดที่มันจะดีหรือไม่ต้องยังใช้เวลาอีกมากในการตัดสิน

 

Article Blockchain the disruption technology
Writer

Maybe You Like