ต้องกล่าวก่อนว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศนั้นมีหน้าที่ ที่สำคัญ คือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศ และรองรับความเสี่ยงจากภาคต่างประเทศ โดยสามารถนำไปใช้แทรกแซงเพื่อดูแลค่าเงินในภาวะที่ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง และการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงของค่าเงินอาจส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงได้
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!ในปัจจุบัน ทุนสำรองระหว่างประเทศ ไม่ได้ถูกเก็บในรูปแบบของเงินตราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีสินทรัพย์อื่นๆที่ธนาคารกลางได้เจียดเงินสำรองส่วนหนึ่งไปซื้อไว้เพื่อให้งอกเงย เช่น พันธบัตร, ทองคำ, หุ้น,สิทธิพิเศษในการถอนเงิน เป็นต้น
ซึ่ง เป็นทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำมั่นคง มีสภาพคล่องสูง โดยส่วนใหญ่จะเป็นตราสารหนี้ทางการเงินในตลาดเงินที่ให้ผลตอบแทนคงที่ หรือในรูปของเงินฝากธนาคารพาณิชย์ เป็นสินทรัพย์ระยะสั้น
ถ้าแปลง่ายๆ คอนเซปต์ของทุนสำรองระหว่างประเทศ คือ ควรจะเป็นทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำมากและสภาพคล่องของตลาดสูง เผื่อเวลาที่เกิดปัญหากับเศรษฐกิจ จะต้องนำออกมาใช้รักษาเสถียรภาพและแก้ปัญหาได้ทัน
แล้ว…… ถ้าหาก Bitcoin ถูกนำมาใช้เป็นทุนสำรองและใช้เป็นสกุลเงินหลักของโลก(โลกที่ไม่มี Fiat Currency อีกแล้ว) จะเป็นอย่างไร
อันดับแรก
ทุนสำรองจะค่อยๆหมดคลังไปเรื่อยๆ แม้จะสามาถเก็บเข้าคลังได้ในช่วงแรกก็ตาม เพราะ Bitcoin มีปริมาณจำกัด จึงอยู่ในสภาวะที่ฝืด ในสภาวะที่ฝืดแบบที่เงินสกุลหลักของโลกยังมีจำกัดอีก จะไม่ทำให้เกิดการเติบโตอะไรเลย
อันดับสอง
กิจการไม่มีคำว่ากำไร เพราะกำไรที่เติบโตขึ้นของบริษัท คือสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาวะเงินเฟ้ออ่อนๆ
บริษัทจ่ายเงินเดือนที่สูงขึ้นให้กับพนักงานไม่ได้เลย เพราะเงินหายากคนไม่ใช้เงิน
เมื่อเงินเดือนไม่สูงขึ้น อีกทั้งเจอกับสภาวะเงินฝืด เงินหายาก ทำให้คนเก็บออมอย่างเดียว ไม่มีใครนำออกมาใช้ เมื่อไม่มีใครนำออกมาใช้ พวกบริษัทก็จะไม่มีกำไร สุดท้ายก็ต้องลดพนักงานและเจ๊ง
อันดับสาม
ทำให้ไม่เกิดการลงทุนเกิดขึ้นเลย เนื่องจากจะไม่มีบริษัทไหนที่ทำการค้าแล้วได้กำไรในสภาวะเงินฝืดเพราะ ไม่เกิดการซื้อขายสินค้าและบริการ ไม่เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่เกิดการจ้างงาน ไม่เกิดเงินส่วนเกินที่ทำให้เกิดกำไรขึ้นมา
อันดับที่สี่
เมื่อเกิดเงินฝืดในระดับโลก จนทำให้เศรษฐกิจเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ เพราะมีแต่คนออม
ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือ รัฐและธนาคารกลางต้องนำเงินส่วนที่มีที่เป็นทั้งทุนสำรองระหว่างประเทศ และ เงินคงคลัง (ซึ่งในกรณีนี้ตามที่ผู้เขียนสมมติไว้ด้านบนคือ ทุกๆใช้แต่ Bitcoinกันหมดแล้ว ไม่มี Fiat Currency และ Local Currency อื่นๆแล้ว)
รัฐและธนาคารกลางจะเริ่มนำเงินเข้ามาอัดฉีดในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่า มันคือการกระทำที่ไม่คุ้มเสียและไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนใดๆเลย เพราะนอกจากจะพยุงเศรษฐกิจได้แค่ในระยะสั้นแล้ว(ตามงบที่มี) ในระยะยาว ผู้คนยังคงเก็บออมเท่าเดิม จะบริโภคในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
อันดับห้า
จึงทำให้ธุรกิจที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตเท่านั้นที่พอจะอยู่ได้ในระยะแรกถึงระยะกลางเท่านั้น แต่สุดท้าย ถ้าเงินยังคงมีจำกัด ซึ่งเท่ากับเงินจะหายาก และคนก็จะเก็บออมกันอยู่ดี จึงทำให้สุดท้ายธุรกิจพวกนี้ทำได้แค่พออยู่ได้ ไม่มีการพัฒนา และกำไรก็จะเริ่มหดลง
อันดับหก
ซึ่งจะเกิดปัญหาที่กระทบความเสถียรภาพระหว่างประเทศจนอาจจะเริ่มทำให้คนกลับเข้าสู่ยุคที่ เอาทรัพยากร มาแลกกันอาจจะดีซะกว่า เพราะ แม้แต่ต้นไม้ ยังมีสิทธิ์ที่จะงอกเงยได้ แต่ Bitcoin ที่เขาใช้ซื้อขายอยู่ มันกลับงอกเงยไม่ได้เสียแล้ว
อันดับเจ็ด
ถ้าหากคนแลกเปลี่ยนสินค้ากันเองแน่นอนว่ามันอาจจะดีกว่า แต่มันก็จะขาดความปลอดภัยอย่างมาก เพราะไม่มีใครรับประกันถึงสิ่งที่พวกเขาจะได้รับจากการแลกสินค้าเลยด้วยซ้ำ และ การรักษาเสถียรภาพของรัฐและธนาคารก็อาจจะไม่สามารถทำได้เลยในขณะนั้น
ซึ่งปัญหาเงินฝืดที่เกิดจากการนำ Bitcoin มาใช้เป็นทั้งเงินสกุลหลัก และ ทุนสำรอง มันอาจจแน่กว่านโยบายรัดเข็มขัดเวลาเงินในคลังไม่พอจ่ายหนี้เสียอีก
(ผู้เขียนเขียนโดยอิงจากหลักเศรษฐศาสตร์ มิได้เขียนโดยอคติ เขียนตามความเห็น หากทุกๆอย่างเกิดขึ้นจริง)
Petchy Econ Vision