fbpx

มาก่อนกาล Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้ทำนายการมาของ Bitcoin และ Cryptocurrency ตั้งแต่ปี 1999

ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง ตลาดคือผู้กำหนดว่าอะไรคือเงิน ทองผู้ชนะที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ เงินเฟียตเมื่อเงินเริ่มถูกผูกขาด เทคโนโลยีกับการพยายามทำลายการผูกขาด ระบบการเงินที่ถูกผูกขาด อันนี้เป็นเนื้อหาในหนังสือ Cryptocurrency & Digital asset 101 บทที่ 1 จาก Internet สู่ Cryptocurrency ที่เพิ่งตีพิมพ์ไปนะครับถ้าชอบกันสามารถสนับสนุนได้นะครับ (

มาก่อนกาล Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ได้ทำนายการมาของ Bitcoin และ Cryptocurrency ตั้งแต่ปี 1999

26 Apr 2024

อันนี้เป็นเนื้อหาในหนังสือ Cryptocurrency & Digital asset 101 บทที่ 1 จาก Internet สู่ Cryptocurrency ที่เพิ่งตีพิมพ์ไปนะครับถ้าชอบกันสามารถสนับสนุนได้นะครับ (เอาฉบับ Draft มาเนื้อหาอาจจะพิมพ์ผิดบ้างนะ)

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

“ผมคิดว่าอินเทอร์เนตจะเป็นกำลังหลักที่ลดบทบาทของรัฐบาลลง แตสิ่งที่ขาดไปที่น่าจะถูกพัฒนาขึ้นในเร็วๆนี้คือเงินอิเล็คทรอนิคส์ที่เชื่อถือได้ โดยคุณสามารถส่งเงินจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งด้วยอินเทอร์เนตโดยที่ทั้งสองคนนี้ไม่รู้จักกันด้วยซ้ำ”

นี่เป็นประโยคที่ Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้พูดไว้บนเวที National Taxpayers union foundation ในปี 1999 ซึ่งเป็นการทำนายถึงการมาของ Bitcoin หรือแม้แต่ Cryptocurrency ทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งทำไม Milton ถึงสามารถทำนายสิ่งนี้ออกมาได้กัน

 

มิลตันนั้นเป็นผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีตลาดเสรีโดยมีความเชื่อที่ว่าการแข่งขันนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าและนวัตกรรม และการควบคุมดูแลและกำกับจากรัฐบาลหรือตัวกลางนั้นให้ผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากว่ารัฐบาลไม่มีทางจัดสรรทรัพยากรได้ดีไปกว่าตลาดและราคา หรือพูดง่ายๆคือการที่คิดว่ารัฐบาลจะรู้ว่าผู้คนมีความต้องการในทรัพยากรหนึ่งมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เว้นแต่ให้ผู้คนเป็นผู้ให้คำตอบผ่านกลไกตลาดเองเท่านั้น และเงินเองก็เป็นหนึ่งในสิ่งนั้นเช่นกัน

 

ตลาดคือผู้กำหนดว่าอะไรคือเงิน

ในยุคที่ทุกคนคุ้นเคยกับเงินกระดาษหรือสิ่งใดที่นอกเหนือจากรัฐบาลบอกว่าคือเงินนั้นเราอาจจะคิดภาพยากเสียหน่อย แต่ถ้าเราย้อนไปในอดีตเงินถือเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่มีการแข่งขันกันในรูปแบบตลาดเสรี หรือเราจะเรียกได้ว่าสื่อกลางทีได้รับการยอมรับมากที่สุดในตลาดคือเงิน และมันมีแนวโน้มที่เงินที่ถูกยอมรับมากกว่าจะกลืนกินเงินที่ถูกยอมรับน้อยกว่าเช่นกัน

ตัวอย่างเช่นในยุคสมัยหนึ่งที่ เปลือกหอยหรือเกลือนั้นถูกนำมาใช้เป็นเงินเพื่การแลกเปลี่ยน แม้ว่าอาจจะดูแปลกที่ในสมัยหนึ่งเราต้องพกเปลือกหอยหรือเกลือเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยใดๆ แต่ในยุคสมัยนั้นมันก็เป็นสิ่งที่พกพาสะดวกในระดับหนึ่ง

จนกระทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยีการเดินเรือหรือการคมนาคมก็ทำให้เปลือกหาอยและเหลือเป็นสิ่งหาง่ายขึ้นเรื่อยๆจนไม่มีใครนำมันมาใช้เป็นสกุลเงินอีกต่อไปซึ่งเราจะเห็นว่านี่คือรูปแบบการแข่งขันที่สกุลเงินที่ดีกว่าจะมาแทนที่จากประสิทธิภาพที่ดีกว่า

ทุกวันนี้การใช้สิ่งของเพื่อเป็นเงินนั้นแทบจะไม่เห็นอีกแล้วจากการแพร่หลายของสกุลเงินกระดาษแต่เราก็ยังเห็นได้จากบางที่ เช่นในคุกนั้นนักโทษจะใช้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือบุหรี่แทนที่จะใช้เงินปกติในการแลกเปลี่ยนและซื้อในสิ่งที่พวกเขาต้องการแทน

 

ทองผู้ชนะที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์

ในยุคสมัยก่อนเงินเฟียจสินค้าที่ถูกยอมรับเป็นเวลานานมากที่สุดและในปัจจุบันก็ยังเป็นผู้ชนะในแง่การเก็บรักษามูลค่านั้นคือ ทองคำ อันที่จริงแล้วในโลกเรานั้นมีโลหะหรือแม้แต่แร่รัตนชาติหลายชนิดมาก ซึ่งในอดีตก็มีการแข่งขันกันเหมือนสินค้าทั่วไปในตลาดเช่นกัน

โดยสาเหตุที่ทองคำเป็นผู้ชนะในตลาดนั้นไม่ได้เกิดจากการที่มันมีคุณสมบัติที่คงทน หรือมันมีความแวววาวแต่อย่างใด เหตุผลสำคัญที่สุดคือการที่มันมีการเฟ้อของอุปทานต่อปีที่ต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับสิ่งอื่นๆ หนึ่งสิ่งที่เราควรรู้ไว้คือในตลาดเสรีที่เป็นไปตามกลไกของอุปสงค์และอุปทาน หากสิ่งใดมีอุปสงงค์เพิ่มขึ้นจะมีความพยายามในการสร้างอุปทานตามมา

ตัวอย่างเช่นหากในย่านๆหนึ่งมีร้านกาแฟหรือร้านชานมไข่มุกที่ขายดีมากๆก็จะส่งผลให้เกิดคุ๋แข่งที่อยากมาเปิดสินค้าในประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงเพื่อตอบสนองต่อตลาด ส่งผลให้ราคาของสินค้าชนิดนั้นมักจะปรับตัวลดลงจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นจนถึงจุดสมดุลย์

แต่ทองนั้นเป็นสิ่งที่มีอุปทานในการเฟ้อต่อปีที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับทองคำทั้งหมดที่มีบนโลกโดยในปี 2024 อุปทานของทองคำอยู่ที่ประมาณ 171,300 ตันซึ่งเป็นทองคำที่สำรวจได้จากตลาดต่างๆไม่นับรวมทองคำในมือคนทั่วไปที่ไม่สามารถสำรวจได้ ซึ่งในปี 2023 ที่ผ่านมามีการผลิตทองคำเพิ่มขึ้น ราวๆ 2500 ตันคิดเป็นการเฟ้อของอุปทานแค่ 1.5% ในขณะที่โลหะอื่นๆมีการเฟ้ออยู่ที่ 5-10%

เงินเฟียตเมื่อเงินเริ่มถูกผูกขาด

 

เมื่อพ้นผ่านยุคสมัยของทองคำ เข้าสู่ยุตของเงินเฟียตที่เป็นประกาศิตจากรัฐบาล ทองคำก็เริ่มมีบทบาทน้อยลง การเงินก็เริ่มถูกผูกขาดจากรัฐบาลด้วยคำพูดที่ว่า “ความมั่นคงของประเทศ” เราจะเห็นการที่รัฐบาลพยายามควบคุมดอกเบี้ยในเชิงเศรษฐกิจไปจนถึงนโยบาย หรือถ้าเรามองเงินเป็นสินค้าหรือเทคโนโลยีประเภทหนึ่งเราจะพบว่ามันจะถูกผูกขาดไปกับประเทศ แม้เราอาจจะพูดได้ว่ามีการแข่งขันในระดับประเทศก็ตาม

 

หนึ่งในเหตุการณ์ที่ความพยายามควบคุมที่ชัดเจนที่สุดคือช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของปี 1933 หรือ The Great depression ประธานาธิบดีรูสเวลต์สั่งห้ามการครอบครองทองคำของประชาชนโดยให้ประชาชนนำทองคำมาขายที่ธนาคารในราคา 20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยให้เหตุผลว่าการเก็งกำไรในทองคำจะก่อให้เกิดความไม่เสถียรของเศรษฐกิจ

 

ซึ่งหากเรามองว่าทองคำเป็นสินค้าหรือเงินที่แข่งขันกับทองคำ ผลลัพท์ของการแข่งขันนี้ก็เห็นได้ชัดว่าใครเป็นผู้ชนะจากมูลค่าของทองคำ ในขณะที่ใช้กฎหมายและความเข้าใจทั่วไปที่เปลี่ยนให้เงินคือเงินที่รัฐบาลเป็นผู้ออกเท่านั้น และรัฐบาลทุกประเทศก็เก็บออมทองคำเพื่อเสถียรภาพมากกว่าในอดีตเสียอีก ในอดีตแล้วเงินที่ออกโดยรัฐบาลยังมีความเชื่อมโยงกับทองคำแต่ในปัจจุบันเรียกได้ว่ามันเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจอันเปราะบางที่รัฐบาลสามารถขึ้นหรือลดได้ตามใจชอบไป

 

เทคโนโลยีกับการพยายามทำลายการผูกขาด

 

ในทุกวันนี้ไม่มีใครที่ปฎิเสธว่าอินเทอร์เนตเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตคนเราได้อย่างไร ไม่ว่าจะวีดีโอ สื่อการเรียนการสอน ไลฟ์สไตล์ การช็อปปิ้ง ต่างมีอิทธิพลต่อเราทั้งสิ้น แต่ถ้าเราย้อนกลับไปในจุดตั้งต้นสมัยที่อินเทร์เนตเริ่มถูกคิดค้นขึ้นในปี 1960 เราจะพบว่ามันเป็นแค่โครงการค้นคว้าสำหรับการสร้างระบบสื่อสารที่สามารถทนทานต่อการโจมตีทางการทหารก่อนจะถูกพัฒนาขึ้นเป็น Wold Wide Web ในปี 1989

 

สิ่งที่น่าสนใจคือแม้จุดประสงค์ตั้งต้นในการสร้าง Internet กับ Cryptocurrency จะต่างกันแต่มันกลับให้ผลลัพท์ที่คล้ายคลึงกันคือ “เครือข่ายที่ทนทานและยากต่อการทำลาย” และสิ่งที่ตามมาคือความเสรีของตลาดและการแข่งขัน หลายคนอาจจะมองอินเทอร์เนตและเทคโนโลยีต่างๆในแง่ของการ Disruption ที่ทำให้ธุรกิจบางอย่างล้มหายตายจากลงไป แต่ในอีกแง่นึงนั้นมันสร้างความสามารถที่ทำให้คนสามารถเข้าถึงตลาดและลดการผูกขาดได้อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนี่คือสิ่งมิลตันได้พูดถึงในแนวคิดของ

 “ตลาดเสรี”

 

ตัวอย่างนึงที่อาจจะใกล้ตัวหน่อยคือ Uber หรือ Airbnb โดยแพลทฟอร์มเหล่านี้เห็นได้ชัดว่ามันมีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมดั้งเดิมเช่นโรงแรมและบริการแท็กซี่ แต่มันก็ทำลายการผูกขาด โดยเฉพาะบริการแท็กซี่ที่มีเสียงวิพากน์วิจารย์ไปแทบทุกมุมของโลก และสามารถส่งมอบบริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า ในทางกลับกันเพื่อให้อยู่รอดผู้บริการเดิมก็ต้องปรับปรุงตนเองเพื่อที่จะแข่งขันกับผู้มาใหม่

 

หรือในอุตสหกรรมสื่อบันเทิงที่แพลทฟอร์มออกไลน์มากมายเข้ามามีอิทธิพลไม่ว่าจะ Youtube Tiktok หรือ Facebook ที่ทำให้คนทั่วไปสามารถสร้างตัวเองเป็นสื่อหรือ Content Creator และส่งผลให้อุตสหกรรมรายการบันเทิงเดิมๆต้องปรับตัว ซึ่งบางครั้งก็ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆที่ฉีกกรอบเดิมจากการที่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์พยายามหาดาราหรือคิดรายการที่สนุดที่สุดออกมาแต่กลับมียอดผู้ชมน้อยกว่า Youtuber คนนึงที่แค่ออกมาไลฟ์ทานอาหาร

 

ระบบการเงินที่ถูกผูกขาด

 

เมื่อมาถึงระบบการเงิน (Financial System) ด้วยการผูกขาดของเงินทำให้เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องก็ตามนั้นค่อนข้างถูกผูกขาดเช่นกัน ใบอนุญาติเป็นสิ่งที่สงวนไว้สำหรับบริษัทที่มีอำนาจทางการเงินหรือการเมืองเท่านั้น หากใครที่คิดอยากจะประกอบกิจการทางการเงินหรือแม้แต่คิดค้นอะไรใหม่ๆต้องเจอกับกำแพงของกฎระเบียบที่จะต้องจัดการด้วยการจ่ายค่าจ้างนักกฎหมายจำนวนมหาศาล

 

ในอดีตมีผลิตภัณฑ์มากมายที่ต้องปิดตัวลงด้วยกำแพงเหล่านี้เช่น E-gold หรือ Cybercash แต่หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ใครหลายคนรู้จักกันดีคือ Libra ที่เป็นความพยายามในการสร้างสกุลเงินของเฟสบุ้ค ด้วยการรองรับค่าเงินด้วยสกุลเงินหลายๆสกุลบนโลก

 

ด้วย User กว่า 3000 ล้านคนของ Facebook เรียกได้ว่านี่เป็นเรื่องที่สั่นสะเทือนไปทั่วโลกเรียกได้ว่านี่อาจจะเป็นความพยายามสร้างประเทศบนอินเทอร์เนตก็ว่าได้ ในตอนแรก Libra ได้รับการสนับสนุนมากมายจากบริษัทชั้นนำเช่น Uber Shopify Paypal Mastercard Visa แต่หลังจากนั้นไม่นานด้วยการกดดันทางการกำกับดูแลจึงมีบริษัทมากมายถอนตัว ซึ่งสุดท้ายโครงการก็ได้เปลื่ยนชื่อเป็น Diem และในต้นปี 2022 โครงการก็ปิดตัวลง

 

เมื่อ Bitcoin และ Cryptocurrency เกิดขึ้นนฐานะสกุลเงินดิจิทัลแน่อนว่ามันก็ได้รับการต่อต้านมากมาย คำพูดที่ว่า Bitcoin เป็นเงินที่เอาไว้ใช้ทำธุรกรรมผิดกฎหมายและฟอกเงินนั้นเป็นคำที่พบได้บ่อยๆตาหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่ง Milton ก็เคยพูดไว้เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ว่า

 

“แน่นอนว่ามันมีด้านลบของมันด้วย นั่นหมายความว่าแก๊งค์อาชญากร, ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย, จะมีวิธีที่ง่ายขึ้นในการดำเนินธุรกิจของพวกเขา”

 

แต่หากเราพินิจเคราะห์ดูแล้วก่อนที่เราจะมีระบบการเงินที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดโลกเราก็เติบโตมาด้วยระบบเงินไม่ได้ถูกตรวจสอบอย่างเงินสด ในตลาดเสรี เงินสดมีข้อเด่นอย่างมากเมื่อเทียบกับระบบการเงินที่มีการตรวจสอบ เนื่องจากมันให้ความเป็นอิสระและความยืดหยุ่นในการทำธุรกรรม ทำให้ผู้คนสามารถซื้อขายได้โดยไม่ต้องพึ่งพาหรือต้องการการอนุมัติจากระบบการเงินที่ซับซ้อน

 

แม่ว่าในบางประการระบบการเงินที่มีการตรวจสอบนั้นสามารถให้ความสะดวกสบายในการใช้งานกว่าเงินสดมาก แต่จะมีข้อจำกัดและผูกพันธ์มากกว่า ทำให้ผู้ใช้ต้องเผชิญกับขั้นตอนที่ซับซ้อนและข้อกำหนดในการทำธุรกรรมที่มากขึ้น

 

ในโลกที่ระบบการเงินมีการผูกขาดการมาของ Cryptocurrency จึงเป็นความพยายามในการท้าทายต่อระบบเดิมที่มีอยู่ ซึ่สุดท้ายก็เป็นเหมือนทุกเทคโนโลยีที่มันจะนำไปสู่การแข่งขันและให้สิ่งที่ดีกว่าต่อผู้บริโภค ถึงแม้มันอาจจะดูทำอะไรไม่ได้มาก หรือแม้สุดท้ายมันล้มเหลวก็ตาม มันก็เป็นการกระตุ้นให้ระบบการเงินที่ผูกขาดโดยดั้งเดิมนั้นพัฒนาเป็นสิ่งที่ดีกว่านั้นเอง

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะคิดว่า “แล้ว Cryptocurrency มันทำอะไรได้บ้างหละ?” เราจะมาเล่าและหาคำตอบกันในบทถัดๆไป

 

Article
,
Writer

Maybe You Like