fbpx

เศรษฐศาสตร์ Austrian กับเงินที่มั่นคง ทฤษฎีที่เป็นรากฐานของแนวคิดของ Bitcoin

แนวคิดของการใช้ “เงินที่มั่นคง” ที่ไม่สูญเสียมูลค่าอย่างทองคำนั้นมีมานานแต่ทำไมทุกวันนี้เราถึงยอมรับเศรษฐกิจที่เงินสามารถถูกควบคุมโดยรัฐบาล

เศรษฐศาสตร์ Austrian กับเงินที่มั่นคง ทฤษฎีที่เป็นรากฐานของแนวคิดของ Bitcoin

29 Oct 2019

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาเล่าถึงเรื่องของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กันหน่อย ซึ่งเราจะเล่าถึงทฤษฎีของเศรษฐศาสตร์ Austrian ซึ่งเป็นแนวทางเศรษฐศาสตร์ที่มีความคล้ายคลึงกับ Bitcoin บทความนี้จะนำเสนอมุมมองของเศรษฐศาสตร์ Austrian กับ Bitcoin ซึ่งเป็นมุมมองหนึ่งที่อาจจะไม่สอดคล้องกับตำราทางเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจในปัจจุบัน  ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าผู้เขียนไม่ได้เรียนจบเศรษฐศาสตร์แต่อย่างใดหากผิดพลาดประการใดขออภัยด้วย

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

 

แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์

ในทางเศรษฐศาสตร์แล้วบนโลกเราจะมีแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่แบ่งออกเป็นหลายสำนักนั้นแต่แนวคิดที่มักจะหยิบยกมาเป็นประเด็นอยู่บ่อยๆ คือเศรษฐศาสตร์สำนัก Keynesian และเศรษฐศาสตร์สำนัก Austrian โดยปัจจุบันทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ส่วนมากที่เขียนอยู่ในตำราเรียนคือเศรษฐศาสตร์ของสำนัก Keynesian โดยที่เศรษฐศาสตร์สำนัก Austrian มักจะไม่ได้รับการกล่าวถึงเท่าไหร่ซึ่งเราจะมาเล่าให้ฟังกันคร่าวๆว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และเหตุใดศรษฐศาสตร์สำนัก Austrian ถึงถูกหลงลืม

 

เศรษฐศาสตร์สำนัก Keynesian เมื่อรัฐควรควบคุมเศรษฐกิจ

แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ Keynesian คือแนวคิดที่บอกว่ารัฐบาลหรือตัวกลางควรเป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่าระบบเศรษฐกิจนั้นจะไม่ได้ทำงานอย่างราบรื่นเสมอไป  เมื่อเศรษฐกิจเกิดปัญหาใดๆก็ตามรัฐควรเป็นผู้แทรกแทรงผ่านนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อเติมเต็มในจุดนั้น เช่นการที่รัฐออกนโยบาย ชิบช็อปใช้ หรือผ่านการควบคุมอัตราภาษีเช่นกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดภาษีหรือแม้แต่การผลิตเงินเพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดเศรษฐกิจในแนวทางของ Keynesian คือการใช้จ่าย (Spending) ยิ่งมีการใช้ง่ายมากเท่าไหร่ เศรษฐกิจจะหมุนเวียนดีขึ้น นโยบายที่ทำให้เงินเฟ้อที่ทำให้คนใช้จ่ายมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อเศรษฐกิจหรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ GDP

 

เศรษฐศาสตร์สำนัก Austrian เศรษฐกิจควรจัดการตัวเองแทนที่จะถูกควบคุม

แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ Austrian  คือแนวคิดที่บอกว่าเศรษฐกิจนั้นสามารถจัดการตัวเองได้ (Free market) การแทรงแทรงของรัฐนั้นจะทำให้เกิดผลgเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากทุกครั้งที่รัฐออกนโยบายจะทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเมื่อเกิดความไม่เท่าเทียมมันก็ต้องราคาที่ต้องจ่าย Austrian จะมองว่าวิกฤติเศรษฐกิจเป็นยาขมที่อาจจะรสขมแต่มันก็ดีต่อเศรษฐกิจ แต่การที่รัฐเข้าแทรกแซงนั้นอาจจะก่อให้ภาวะเศรษฐกิจนั้นรุนแรงขึ้นและเกิดความไ่เท่าเทียมกัน 

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในแนวทางของ Austrian คือการเก็บออมและการผลิต (Saving and Production) โดยใช้อัตราดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเศรษฐกิจมีการอดออมมากเท่าใดที่จะใช้ในการผลิต 

 

แนวคิดเกี่ยวกับเงินตราที่มั่นคงของ Austrian

แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ Austrian จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจใช้ “เงินที่มั่นคง” (Sound Money) หรือก็คือเงินที่จะไม่สูญเสียมูลค่าในระยะยาว เพราะเชื่อว่าการผลิตเงินนั้นควรมีความเชื่อมโยงกับอะไรก็ตามที่ไม่ขึ้นกับระบบ เช่นเมื่อระบบการเงินถูกรองรับด้วยทองคำ เนื่องจากทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีจำนวนจำกัด เพราะอย่างนั้นรัฐบาลจะไม่สามารถผลิตเงินเพิ่มขึ้นได้หากไม่ได้มีทองคำ และเมื่อผู้คนมีความมั่นคงทางการเงินก็จะก่อให้เกิดการลงทุนและนำไปสู่การผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งจริๆงแล้วแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ทำให้ผู้คนมีอำนาจการเงินเป็นของตัวเอง แต่ในระยะสั้นแล้วมันไม่ดีกับผู้ที่มีอำนาจ เพราะจะทำให้ผู้ที่มีอำนาจไม่สามารถควบคุมการเงินผ่านการออกนโยบายการเงินใดๆ และนั้นทำให้แนวคิดของ Keynesian เริ่มเข้ามามีบทบาลหลังสมคารโลกด้วยกการ introduce concept ใหม่ๆ ที่ดูระยะสั้นเหมือนจะดี concept ของ debt is money, deficit spending ซึ่งเพิ่มอำนาจแก่รัฐบาล 

แนวคิดของ Keynesian จะคิดว่า Bussiness cycle และการที่เกิดภาวะทางเศรษฐกิจนั้นเกิดจาก “animal spirit” เป็นเพราะ Keynesian ความเชื่อว่าตลาดพังเพราะ trader soeculator marketmaker แทนที่ขะมองว่าเศรษฐกิจพังเพราะนโยบายที่ห่วยแตกไม่มองผลระยะยาว

 

ความล้มเหลวของเงินที่ไม่มั่นคง

ปัจจุบันโลกเราใช้ระบบเงิน Fiat ซึ่งไม่ได้อ้างอิงกับทองคำนั้นหมายความว่ารัฐสามารถผลิตเงินได้ออกมาตามแต่นโยบายทางการเงิน ซึ่งสิ่งนี้ขัดกับแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ Austrian เมื่อระบบเงินตราไม่ได้ขึ้นกับทองคำ รัฐบาลได้กระตุ้นให้ผู้คนใช้จ่ายด้วยเงินสกุลของรัฐ ทำให้เงินกระดาษถูกรองรับด้วยรัฐและผู้คนเชื่อถือในรัฐ แต่นั้นหมายความว่าเมื่อใดที่รัฐบาลต้องการเงิน รัฐจะทำการผลิตเงินให้เกิดเงินเฟ้อ มันก็ไม่ต่างกับการที่รัฐบาลฉกฉวยความมั่นคั่งของประชาชน โดยทำให้รัฐมีเงินเยอะขึ้นและทำให้เงินของประชาชนมีมูลค่าลดลง

ในอดีตสมัยที่ผู้คนยังใช้ทองคำอัตราแลกเปลี่ยนของระหว่างสกุลเงินนั้นจะถูกอ้างอิงจากทองคำที่แต่ละสกุลเงินรองรับ แต่เมื่อทองคำไม่ได้ถูกนำมารองรับ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความผันผวนทางอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน ในเดือน เมษายนปี 2016 ตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินมีมูลค่าอยู่ที่ 5.1 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน ซึ่งเท่ากับ 1860 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่ GDP ของทั่วประเทศทั่วโลกมีมูลค่าเพียง 75 ล้านล้านดอลลาร์ เท่ากับว่าการยกเลิกการรองรับทองคำสกุลเงินนั้นได้สร้างตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราที่มีมูลค่ามากกว่า GDP ของทุกประเทศทั่วโลกถึง 25 เท่า โดยไม่ได้ก่อเกิดให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจใด

เมื่อเศรษฐกิจถูกกำหนดโดย GDP ที่นับรวมถึงการส่งออกเราจะว่าหลายๆประเทศมักจะกระตุ้นการส่งออกด้วยการลดค่าเงินในเพื่อให้สินค้าของประเทศตัวเองนั้นมีราคาลดลง แต่ในระยะยาวนั้นการลดค่าเงินไม่ดีต่อเศรษฐกิจ นโยบายเพิ่มหนี้ต่างๆมีแต่จะทำให้ภาคครัวเรือนมีหนี้เพิ่มขึ้นและมีความมั่งคั่งที่ลดลงจากเงินเฟ้อ ซึ่งประเทศที่มีความสำเร็จทางเศรษฐกิจอย่าง เยอรมัน ญี่ปุ่น สวิตเซอแลนด์ สามารถเพิ่มการส่งออกได้โดยไม่ต้องมีการลดค่าเงินแต่อย่างใด 

การใช้เงินที่ถูกควบคุมโดยตัวกลางยังเป็นการกระตุ้นให้ตัวกลางอย่างรัฐนั้นทำทุกทางให้รัฐมีอำนาจและควบคุมระบบการเงินได้ ซึ่งผลก็คือเมื่อรัฐมีอำนาจมากๆและเกิดข้อผิดพลาดทางเศรษฐกิจ วิกฤตจะรุนแรงดังเช่น วิกฤษ Subprime ที่ทำให้อเมริกาต้องผลิตเงินเพิ่มถึง 4 เท่าในระยะเวลา 10 ปีเพื่ออุ้มเศรษฐกิจ โดยพยายามคงค่าเงินของตัวเองไว้ด้วยการทำสงครามทางการค้าหรืออำนาจทางการทหารหรือในกรณีอย่างซิมบับเวหรือเวเนวูเอล่าที่เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดจนทำให้เงินกระดาษที่ผู้คนเก็บสะสมความมั่งคั่งมาเป็นเวลานานไม่ต่างจากกระดาษทั่วไปในไม่กี่ปี

Bitcoin เงินที่มั่นคงในอุดมคติ

หนึ่งในสิ่งที่หลายคนอาจจะหลงลืมคือระบบ Fiat Money ที่เราใช้กันอยู่นั้นมีอายุไม่ถึง 100 ปีด้วยซ้ำในขณะที่เงินที่มั่นคงอย่างทองคำถูกใช้มาตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ข้อดีของทองคำคือหากอ้างอิงตามประะวัติศาสตร์แล้วทองคำเป็นสินทรัพย์เดียวที่มนุษย์ไม่สามารถผลิตขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพื่อทำให้ไม่เกิดการเสื่อมมูลค่าผ่านภาวะเฟ้อ แต่ด้วยทองคำนั้นก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างรวดเร็วแม้ว่ามันจะถูกใช้งานมันก็มีโอกาสที่ รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงระบบทำให้ระบบล่มสลายเหมือนที่เคยเกิดกับ Nickson Shock ในปี 1971

Bitcoin นั้นเป็นสกุลเงินที่มีจำนวนจำกัดและเป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ไม่สามารถถูกแทรกแซงจากรัฐบาลใดๆได้ Bitcoin คือเงินที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว แต่ใช้ต้นทุนมหาศาลในการผลิต ไม่สามารถปลอมแปลง และมีจำนวนจำกัด คล้ายคลึงกับทองคำ และนั้นทำให้ Bitcoin ถูกมองว่าเป็นเงินในอุดมคติการใช้ Bitcoin คือการที่ผู้คนใช้เงินที่มีอธิปไตยเป็นของตัวเอง ไม่มีรัฐบาลใดๆที่สามารถขโมยมันไปจากเราหรือสั่งอายัดบัญชีได้ แม้มูลค่าในปัจจุบันมันยังน้อยแต่คุณสมติของมันที่ไม่ถูกควบคุมนั้นคล้ายคลึงกับทองคำอย่างมาก

ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน

ถ้าผู้เขียนไม่รู้จักเทคโนโลยี Blockchain หรือ Bitcoin หรือเทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้เกิดขึ้น แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ Austrian นั้นน่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะแม้จะมีผู้คนที่โหยหาอิสระภาพหรืออธิปไตยในตัวเองก็ตามในความเป็นจริงแล้วยังมีผู้คนจำนวนมากที่เคยชินกับการถูกควบคุม และไม่มีเทคโนโลยีและสิ่งใดๆที่สามารถช่วยให้เราต่อกรกับผู้มีอำนาจที่นับวันจะมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆได้ แต่ด้วย Bitcoin และ Blockchain ผู้เขียนกลับมองว่าแนวคิดนี้อาจจะเป็นไปได้ หรืออย่างน้อยจะได้รับการพูดถึงที่มากขึ้น โลกเราน่าจะมีแนวโน้มที่จะมีความเป็น Decnetralized ที่มากกว่าปัจจุบัน และมันน่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

Article
, ,
Writer

Maybe You Like