fbpx

สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยเชิญชวนคนร่วมแสดงความคิดเห็นแก้กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ    ก.ล.ต. ได้เปิดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับหลักทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีเนื้อความให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีคุณสมบัติคล้ายหลักทรัพย์ถูกย้ายไปถูกกำกับภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์แทนThank you for reading this post, don't forget to subscri

สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยเชิญชวนคนร่วมแสดงความคิดเห็นแก้กฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล

21 Dec 2020

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ    ก.ล.ต. ได้เปิดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับหลักทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีเนื้อความให้สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีคุณสมบัติคล้ายหลักทรัพย์ถูกย้ายไปถูกกำกับภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์แทน

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวงการสินทรัพย์ดิจิทัล ทางสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยได้อธิบายเกี่ยวกับการรับฟังความเห็นเพื่อปรับปรุงกฏหมายในครั้งนี้ เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจในวงการเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้

 

กฎหมายของโลกสินทรัพย์ดิจิทัลในปัจจุบัน

 

ในปี 2018 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้ พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ออกมาเพื่อเป็นกฎหมายในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยได้ทำการนิยาม “คริปโทเคอร์เรนซี” กับ “โทเคน” รวมไปถึงการกำกับดูแลธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล

 

การที่ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล ถูกประกาศใช้ ณ เวลานั้น เป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบว่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลมีกฎหมายรับรองอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เราสามารถกล่าวได้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง “คริปโทเคอร์เรนซี่” และ “โทเคน”  นั้น ถูกกฎหมายในเมืองไทยเพราะมีกฎหมายรองรับ

 

หนึ่งในสาระสำคัญของ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล คือการควบคุมการระดมทุนด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง ICO (Initial coin offering) ซึ่งทำให้ธุรกิจใด ๆ ก็ตามที่ต้องการทำการระดมทุนจะต้องผ่านการตรวจสอบจาก ICO Portal หรือก็คือ หน่วยงานเอกชนที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นผู้ให้ใบอนุญาติ ทำให้ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ไม่ได้มีการระดมทุน ICO ในไทยเกิดขึ้นแม้แต่รายเดียวแม้ว่าจะมีธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาติก็ตาม

 

สาเหตุก็เป็นเพราะว่า หลังจากที่ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลได้ถูกประกาศใช้ ทาง ก.ล.ต. ได้ทำการนิยามสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถูกเรียกว่า โทเคนเพื่อการลงทุน (Investment Token) ว่าเป็น “ หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการร่วมลงทุน” 

 

ถึงแม้ว่า Investment Token จะเป็นโอกาสที่ทำให้เอกชนเริ่มสนใจใน ICO Portal เพราะจะทำให้ธุรกิจนั้นสามารถออกหรือระดมทุนสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีรูปแบบคล้ายกับการลงทุนในโลกเก่า โดย Investment Token ที่เป็นโครงการนำร่องส่วนใหญ่ที่มีการประกาศออกมามักจะเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่คล้ายคลึงกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Reit)

 

และด้วยความที่ Investment Token นั้นมีความคล้ายคลึงกับกับหลักทรัพย์ และในประเทศอื่น ๆ เองก็มีการกำกับดูแลซึ่งจัดประเภทสินทรัพย์ในลักษณะนี้ไว้ภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ ทำให้ประเด็นนี้ถูกยกขึ้นมาให้ผู้คนได้วิพากษ์วิจารณ์และเกิดเป็นการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ขึ้นมา

 

หนึ่งสาระสำคัญของการรับฟังความเห็นในครั้งนี้ คือการที่ Investment Token รวมถึง Utility Token ที่ยังไม่มีการใช้งานจะต้องถูกกำกับภายใต้กฏเกณฑ์ของกฎหมายหลักทรัพย์หรือไม่อย่างไร เพราะคำถามนี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่การกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจ

 

โปรดร่วมกันแสดงความเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความเห็นได้ที่

https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=674

 

เพื่อประโยชน์ของการสนับสนุนอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในระยะยาว

Article News
Writer

Maybe You Like