fbpx

Smart Contract Application 5 : Derivatives การประยุกต์สัญญาอัจฉริยะกับตราสารทางการเงิน

ความสามารถของ Smart Contract ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับตราสารทางการเงินคือ
สัญญาอัจฉริยะที่ช่วยให้กระบวนการหลังการเทรดเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว
ลดกระบวนการผิดพลาด กระบวนการที่ซ้ำซ้อนของคู่ค้าแต่ละราย ในการตรวจสอบธุรกิจการค้าและการดำเนินการทางการค้าที่เหมาะสม โดยใช้ชุดเงื่อนไขสัญญาที่เป็นมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการหลังการซื้อขายของอนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังสามารถทำหน้าที่สำคัญ อย่างการตรวจทานความถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดอันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง โดยเป็นการตรวจสอบใน ณ ขณะนั้นเลย

Smart Contract Application 5 : Derivatives การประยุกต์สัญญาอัจฉริยะกับตราสารทางการเงิน

9 Jul 2018

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

มารู้จักกันก่อนว่า ตราสารทางการเงิน หรือ Derivative คืออะไร
คือ เอกสารทางการเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน
อาจนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงินอาจแบ่งออกได้เป็นตราสารแห่งหนี้ ตราสารแห่งทุน ตราสารอนุพันธ์ และ ตราสารที่มีลักษณะผสม (เช่น กึ่งหนี้กึ่งทุน)

ตัวอย่างตราสารทางการเงินได้แก่
หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นกู้
หุ้นกู้แปลงสภาพ
ใบสำคัญแสดงสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิระยะสั้น
ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์
ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
หน่วยลงทุนและใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง

ความสามารถของ Smart Contract ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับตราสารทางการเงินคือ
สัญญาอัจฉริยะที่ช่วยให้กระบวนการหลังการเทรดเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว
ลดกระบวนการผิดพลาด กระบวนการที่ซ้ำซ้อนของคู่ค้าแต่ละราย ในการตรวจสอบธุรกิจการค้าและการดำเนินการทางการค้าที่เหมาะสม โดยใช้ชุดเงื่อนไขสัญญาที่เป็นมาตรฐานและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการหลังการซื้อขายของอนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังสามารถทำหน้าที่สำคัญ อย่างการตรวจทานความถูกต้อง และลดข้อผิดพลาดอันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง โดยเป็นการตรวจสอบใน ณ ขณะนั้นเลย

ความสำคัญที่คนทั่วไปมองไม่เห็น . . .
หากรองพิจารณาจะพบว่า สัญญาสัญญาอัจฉริยะนั้นเป็นสื่งสำคัญในการแก้ไขการเปลี่ยนแปลง Protocol เพื่อให้ทั้งหมด สื่อสารกันด้วยภาษารูปแบบเดียวกันทั้งระบบ และมีการปฏิรูปกฎระเบียบเพื่อใช้ร่วมกัน

Note : Protocol คืออะไร
Protocol คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์
หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน

Current Stage ระดับปัจจุบัน
ในสถานการณ์ปัจจุบัน การทำสัญญาทางการเงินนั้น เกิดขึ้นแบบ Paper Agreement หรือการทำสัญญาลงบนกระดาษ และต่างฝ่ายต่างเก็บข้อมูลไว้ด้วยตัวเอง ไว้ใน ( Data Source ) นอกจากนี้ทั้งคู่ยังต้องเก็บข้อมูลอ้างอิงไว้ใช้เองไว้ที่ ( Refference Data ) อีกทั้งทั้งคู่ยังต้องประเมินการจ่ายเงินตามแต่ละช่วงเวลาในสัญญาเอง จากนั้นเอาข้อมูลเหล่านั้นมาคุยกันอีกที

ข้อสังเกตุที่อาจจะเป็นปัญหา
– Paper Agreement เป็นกระดาษ
– ต่างฝ่ายต่างต้องเก็บข้อมูลหรือ Data Source เอง
– ต่างฝ่ายต่างต้องเก็บข้อมูลอ้างอิงหรือ Refference Data เอง
– ต่างฝ่ายต่างประเมิน Periodic Payment หรือการชำระเงินเป็นงวดเอง

Future Stage ระดับอนาคต
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหากนำ Smart Contract มาประยุกต์ใช้คือ
– การทำ Paper Agreement เปลี่ยนเป็น Smart Contract ที่มีข้อดีเรื่องความคล่องตัว
ความโปร่งใส มากกว่าที่กระดาษเป็น
– Data Source จะใช้ร่วมกัน โดยมีการออกกฎ Business Rules และ Term of trade ใช้ร่วมกัน
ทั้งคู่เก็บข้อมูลอ้างอิงกันเองตามเดิม แต่เพิ่มฐานข้อมูลส่วนกลาง
– Periodic Payment จะประเมินจาก Business Rules และ Term of trade ที่ตกลงร่วมกัน

ข้อดี
– ลดการใช้คน
– ลดการใช้กระดาษ
– มีข้อมูลกลางอ้างอิงร่วมกัน
– มีกฎและข้อตกลงสากลใช้ร่วมกัน
– สัญญาเก็บในรูปแบบ Smart Contract ตรวจสอบได้ เปลี่ยนไม่ได้ มีสภาพคล่องสูง
– ระบบมีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์โดยไม่จำเป็น

ส่วนข้อเสียนั้น ไปวัดกับที่
1.ประสิทธิภาพของระบบ
2.ความผิดพลาดของผู้ใช้
3.ความไร้สติของคนทำสัญญา
4.การวางยาแบบไม่จริงใจของคนที่ระบุข้อตกลงในสัญญา

Cr : https://www.ccn.com/smart-contracts-12-use-cases-for-business-and-beyond/
Cr : https://th.wikipedia.org/wiki/ตราสารทางการเงิน

Article
Writer

Maybe You Like