fbpx

สภาวะถดถอย(Recession) คืออะไร

สภาวะถดถอยคือสิ่งที่ถูกพูดถึงมากในช่วงเวลานี้
แล้วสภาวะถดถอยคืออะไร และกำลังส่งผลกระทบอะไรกับเรากันแน่

สภาวะถดถอย(Recession) คืออะไร

11 Feb 2019

Recession หรือสภาวะถดถอย เป็นสภาวะที่ประชาชนในประเทศหาเงินได้น้อยลง มีกำลังซื้อลดลง จนไม่อาจดันเศรษฐกิจได้ เมื่อสินค้าขายไม่ดี ส่งผลให้เศรษฐกิจเป็นขาลง หลายโรงงานต้องปรับโครงสร้าง ลดขนาดองค์กร หรือนำเทคโนโลยีที่คุ้มกว่าเข้ามาใช้งาน

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

Recession 1937 vs 2019

Recession เคยเป็นเหตุการณ์ระดับประเทศมาแล้ว เหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 1937 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์คือ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น (Unemployment Rate) ในปี1937นั้น การจ้างงานและแรงงานมนุษย์ยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ส่วนนึงก็เพราะยุคนั้นนวัตกรรมเข้ามาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ แต่ไม่ได้แทนที่มนุษย์มากนัก (คือยังทำงานพื้นฐานแทนมนุษย์ไม่ได้) ยุคนั้นการปลดคนเลยมีปัจจัยมาจากการสภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนอกจากสภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฝืดจากกำลังซื้อคนลดลง ซึ่งปัจจัยนี้เหมือนปี1937 แต่สิ่งที่ต่างคือ นวัตกรรม ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมาก ในระดับที่เข้ามาทดแทนการทำงานประจำของมนุษย์ได้ งานอะไรทีเป็นงานพื้นฐาน ดังนั้นภาวะถดถอยของปี2019 จะมีปัจจัยด้านนวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

1937 : ภาวะเศรษฐกิจถดถอย นวัตกรรมเข้ามาอำนวยความสะดวก มีการนำนวัตกรรมเข้ามาแทนที่มนุษย์บ้าง แต่ในปริมาณที่น้อยมาก แรงงานมนุษย์ยังเป็นปัจจัยสำคัญ
2019 : ภาวะเศรษฐกิจถดถอย นวัตกรรมเข้ามาแทนที่มนุษย์ในหลายภาคส่วน และในบางภาคส่วนคุ้มค่ากว่าการใช้มนุษย์ไปแล้ว ผลผลิตอันเกิดจากจักรผล ส่วนมากมีมาตรฐานและคุณภาพที่มากกว่าผลผลิตจากมนุษย์ อีกทั้งยังต้นทุนต่ำกว่า ทำให้สินค้าที่ผลิตโดยมนุษย์มีราคาที่แพงกว่า นอกจากนี้ปริมาณการผลิตของจักรผลก็มากกว่ามนุษย์ ทำให้เกิดมีปริมาณมากกว่าความต้องการ จึงเกิดการแข่งขันด้านราคาขึ้น

สิ่งที่แตกต่างคือปี2019เรามีนโยบายการเงินและการคลังที่ดีกว่า จากการผ่านวิกฤต1937มา ทำให้โลกของการเมืองการปกครองมีการพัฒนามากขึ้น เช่น นโยบายช็อปช่วยชาติที่รัฐจะยอมรับเงินภาษีลดลง แลกกับการยื่นข้อเสนอที่ว่า คุณต้องนำเงินนี้จับจ่ายใช้สอยในกลุ่มสินค้าที่รัฐกำหนดเท่านั้น สินค้ากลุ่มที่รัฐนำมาจัดแคมเปญส่วนมากจะเป็นสินค้าที่ผลิตจากบริษัทชั้นนำ ที่มีการจ้างงานพนักงานมหาศาล เพราะหากสินค้าของบริษัทเหล่านี้ขายออก พวกเค้าก็ไม่จำเป็นต้องลดพนักงาน เพราะผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นภายใต้แคมเปญของรัฐหนุน ทำให้บริษัทเหล่านี้มีเงินเพียงพอที่จะจ้างคนงานต่อไปอีกระยะนึง

เงินที่จ่ายเพื่อจ้างแรงงานเหล่านี้ในระบบอุตสาหกรรมสำคัญมาก เพราะคนเหล่านี้คือประชากรที่แท้จริงที่คอยหมุนเศรษฐกิจ คนเหล่านี้คือกลุ่มคนชั้นกลางและชนชั้นรากหญ้า เงินส่วนมากที่พวกเค้าหาได้จะหมดไปกับการซื้อสินค้าจำเป็นเพื่ออุปโภคบริโภค มีการเก็บออมส่วนนึงแต่ไม่มาก

กลับกันคนรวยจะมีรายรับที่มหาศาล พวกเค้าใช้จ่ายส่วนตัวมาก แต่นั่นก็เป็นเพียงเงินส่วนน้อยของคนรวยเท่านั้น เงินที่กลุ่มผู้มั่งคั่งใช้ในการดำเนินชีวิต จะอยู่ที่ 5-10%ของเงินที่พวกเค้าหาได้ในแต่ละปีเท่านั้น แต่เงินอีก 90% พวกจะเป็นเงินที่พวกเค้าหาได้ แต่ไม่ได้ใช้ในการดำเนินชีวิต ดังนั้นเงินก้อนนี้ของคนเหล่านี้มักจะถูกนำไปลงทุนต่อหรือเก็บออม การลงทุนซื้อที่ดินไม่ได้ดันเศรษฐกิจของประเทศมากนัก แน่นอนการลงทุนหุ้นก็เช่นกัน หุ้นและที่ดินเป็นเพียงภาพสะท้อนของเศรษฐกิจประเทศ

ยกตัวอย่างหุ้น

ทุกคนชอบเงิน และหุ้นเป็นสินทรัพย์ยอดนิยมเสมอ ในการนำเงินมาออม เรามักได้ยินติดหูมากขึ้นกับคำที่ว่า “ออมเงินทำไม ออมหุ้นดีกว่า”คำนี้สามารถใช้ได้ แต่ขึ้นกับว่า คุณกำลังออมหุ้นในช่วงเวลาไหนด้วย สิ่งนึงที่เพิ่มขึ้นมากับหุ้น ไม่ใช่แค่ผลประกอบการที่ดีขึ้น แต่เป็นจำนวนหนี้ที่มากขึ้น ดังนั้นจุดแรกให้ระวังดอกเบี้ย จุดต่อมาคือ P/E หากท่านลองย้อนดู โลกนี้มีการเก็งกำไรอย่างบ้าคลั่งที่สุด ตั้งแต่มีอุตสาหกรรมการเงินมา เพราะเงินไม่มีที่จะไป มันจึงมากองรวมกัน และกองรวมกันมากในสินทรัพย์ยอดนิยมอย่างหุ้น หลายคนคงได้ยินเรื่องของการQEมาบ้าง ผมแนะนำให้กลับไปแกะโมเดลของ Fed หรือธนาคารกลางของอเมริกา ว่าเค้าเสกเงินออกมายังไงในปี2008 2011 2014 ในการทำQEถึง3ครั้ง ทำให้เกิดภาวะเงินล้นโลก แต่ไม่เคยถึงมือเรา เงินเหล่านี้ไปนอนในหุ้น ไปนอนในที่ดิน ภายหลังจากปี51 หุ้นของCPราคาเพิ่มจากจุดเดิมราว3บาท 4บาท มาจรดที่ราคาราว80บาทได้อย่างไร และมีการปันผลหุ้นแบบ1:1ในปี2012 ด้วยนำ คิดเป็นการเติบโต 52เท่า ในเวลาเพียง10ปีเท่านั้น หากสังเกตดูให้ดีว่า ผลประกอบการโตจริง แต่ไม่ถึง52เท่าอย่างแน่นอน หากสังเกตดูอีกครั้งจะพบกว่า P/E เพิ่มขึ้นมา

หากท่านใดไม่เคยรู้จัก P/E มาก่อน อ่านตรงนี้นิดนึง
P/E ย่อมาจาก Price / Earning
โดย Price คิดจากราคาปัจจุบัน
ส่วน Earning คิดจากผลประกอบการซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 4 ไตรมาสล่าสุด

ถ้าผลประกอบการ(Earning) 1บาท บนราคาหุ้น(Price) 10บาท คือ P/E 10เท่า
ถ้าผลประกอบการ(Earning) 2บาท บนราคาหุ้น(Price) 40บาท คือ P/E 20เท่า
ถ้าผลประกอบการ(Earning) 3บาท บนราคาหุ้น(Price) 90บาท คือ P/E 30เท่า
ถ้าผลประกอบการ(Earning) 4บาท บนราคาหุ้น(Price) 160บาท คือ P/E 40เท่า
หากผลประกอบการในอนาคตไม่ขึ้น จากภาวะถดถอย แปลว่า P/Eคือจำนวนปีที่หุ้นเหล่านั้นจะคืนทุน
โลกของเราตลอดช่วง10ปีที่ผ่านมา อาจจะกำลังสร้างฟองสบู่ในราคาหุ้น
กำไรมากขึ้น ราคาหุ้นเลยเพิ่มขึ้น แต่ราคาหุ้นไปเร็วกว่าผลกำไรเสียอีก

ยกตัวอย่างที่ดิน

ที่ดินที่ไม่ได้ใช้งาน หรือซื้อเพื่อการเก็งกำไร จะเป็นที่ดินว่างเปล่า ไม่มีการตั้งโรงงาน ไม่มีการสร้างสรรค์สินค้าอุปโภคบริโภคใดๆ ดังนั้นที่ดินส่วนนี้จะไม่มีผลต่อ GDPของประเทศ ปัจจุบันโรงงานไม่ได้ต้องการที่ดินมากเหมือนแต่ก่อน อย่างที่เราทราบกันดีว่านวัตกรรมทำให้เราใช้ที่ดินน้อยลงเพื่อสร้างสรรค์สินค้าในปริมาณเท่าเดิน ถ้าพูดให้เห็นภาพคือ เราเคยใช้ที่ดิน100ไร่ในการสร้างโรงงาน เพื่อสร้างผลผลิตจำนวนนึง แต่ด้วยนวัตกรรมปัจจุบัน เราอาจใช้ที่ดินเพียงแค่ 10ไร่ ในการตั้งโรงงานสมัยใหม่ เพื่อผลิตสินค้าในปริมาณเดิมหรืออาจมากกว่าปริมาณเดิม

Article
,
Writer

Maybe You Like