fbpx

Covid-19 กับวิกฤตการณ์ในโลก Cryptocurrency

ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง ฉนวนจาก Covid-19 สงครามน้ำมันในวันที่ COVID-19 ครองโลก โลกการเงินปีหงค์ดำ M3 มูลค่า(ความมั่งคั่ง)ที่พังทลาย นโยบาย QE และการลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง Cash is King เมื่อสังคมโหยหาในเงินสด เมื่อตลาดทองและ Bitcoin ไม่ใช่ Safe Haven ตลาด Cryptocurrency จะเป็นอย่างไรต่อไป สวัสดีครับทุกคนวันนี้เราจะมาเล่าเรื่องสถานการณ์ของ Covid-19

Covid-19 กับวิกฤตการณ์ในโลก Cryptocurrency

2 Apr 2020

สวัสดีครับทุกคนวันนี้เราจะมาเล่าเรื่องสถานการณ์ของ Covid-19 รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับวงการ Cryptocurrency ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างและจะเป็นอย่างไรต่อไป อย่างไรก็ตามบทความนี้เป็นเพียงการรวมรวมข้อมูลความเห็นและการวิเคราะห์โดยส่วนตัวเท่านั้นยังไงโปรดใช้วิจารณญาณในการคิดวิเคราะห์

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

 

ฉนวนจาก Covid-19

ปีใหม่นี้เราก็พบกับอีกปัญหานึงซึ่งร้ายแรงมากนั่นคือเรื่อง Corona Virus ซึ่งตอนหลังมีการตั้งชื่อใหม่ว่า COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในหลายภาคส่วนของไทยและของโลกหยุดชะงัก COVID-19 ส่งผลให้หลายประเทศต้องออกมาตรการต่างๆ ทั้งในด้านของสุขภาพและด้านการเศรษฐกิจ ในด้านของสุขภาพมีการออกนโยบายที่ห้ามคนออกจากบ้าน เพื่อพยุงปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต้องแลกมากับการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ

การที่คนไม่ออกจากบ้านเลย ทำให้ไม่มีการบริโภค-อุปโภคสินค้าและบริการหรือมีน้อยมาก ดังนั้นร้านอาหารที่เปิดหน้าร้านก็จะมีลูกค้ามานั่งกินน้อยลง ต้องขายแบบส่งเท่านั้น หากร้านไหนไม่ได้เตรียมการมาก่อนก็ยากที่จะปรับตัว เพราะกลุ่มลูกค้าในโลกออนไลน์นั้นหลากหลายและตนก็ไม่ได้มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว แต่การปรับตัวอย่างฉับพลันก็ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะทำได้

 แท้จริงแล้วโลกเราทุกวันนี้ยังขับเคลื่อนด้วยการที่ทุกคนออกจากบ้าน แล้วออกมาใช้สินค้าและบริการอยู่ เมื่อคนไม่ออกจากบ้านธุรกิจจำนวนมากก็ได้รับผลกระทบ บริษัทต่างๆมีรายได้ลดลง ก็ต้องมีการบริหารต้นทุนเกิดขึ้น บางที่บังคับหยุดงาน บางที่ลดเงินเดือน และบางที่เลิกจ้างงาน 

แม้บางกลุ่มธุรกิจอาจได้รับอานิสงค์จากเหตุการณ์นี้ เมื่อคนไม่ออกจากบ้าน ทางเดียวที่ผู้คนจะยังคงทำงานได้ตามปกติ หรือสื่อสารกันในองค์กรก็ตือการใช้อินเทอร์เนตและแพลทฟอร์ม และเราทำงานผ่านอุปกรณ์จึงที่ใช้ไฟฟ้าดังนั้นค่าไฟฟ้าเดือนนี้ของแต่คนจะเพิ่มขึ้น และแพลทฟอร์มในการประชุมงานหรือคุยงานมียอดใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน 

สงครามน้ำมันในวันที่ COVID-19 ครองโลก

สถานการณ์ของ COVID-19 ทำให้หลายประเทศเริ่มทำการปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้เดินทางเข้าประเทศ กระทบโดยตรงกับกลุ่มอุตสาหกรรมการขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะเครื่องบินพาณิชย์ที่ปกติแล้วจะมีเที่ยวบินบริการหลายเที่ยวบินก็ได้ลดลงจนถึงขั้นปิดการให้บริการชั่วคราวไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เมื่อคนไม่เดินทางความต้องการใช้น้ำมันในระดับท้องถิ่นก็ลดลง ทั้งจากประชาชนในพื้นที่เอง ที่ปกติแล้วจะโดนสารรถขนส่งสาธารณะหรือขับรถยนต์ไปทำงานเองก็ลดลงมาก ทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงอีก (Demand Drops) พี่วินหน้าปากซอยก็มีลูกค้าน้อยลง 

อีกส่วนนึงที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันคือปริมาณที่ขุดเจาะขึ้นมาได้ ในสถานการณ์ที่โลกมีความต้องการใช้น้ำมันลดลงราคาย่อมต้องลดลงเป็นธรรมดา ผู้นำประเทศซาอุดีอาระเบียอย่าง มูฮัมหมัด บิน ซัลมาน กับผู้นำแดนหมีขาว วลาดิเมียร์ ปูติน ได้มีการเจรจากันโดยทางฝั่งซาอุเสนอให้ลดปริมาณการผลิตน้ำมันเพื่อเป็นการพยุงราคาน้ำมัน แต่ทางรัสเซียบอกว่า เราจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ซึ่งภายหลังทางซาอุก็ตอบโต้ว่าเราก็จะเพิ่มการผลิตน้ำมันเช่นกัน (จะมาตีกันทำไมตอนนี้)  ทำให้โลกเต็มไปด้วยน้ำมันที่มากเกินกว่าผู้ที่จะต้องการนำมันไปใช้ ราคาน้ำมันเริ่มดิ่งลงเหว ซึ่งกระทบไปถึงบริษัทที่ผลิตน้ำมัน แหล่งขุดเจาะไหนต้นทุนสูงก็ไปไม่รอด ต้องหยุดการขุดเจาะน้ำมัน บางบริษัทเริ่มออกมาตรการลดเงินเดือนพนักงาน เริ่มปลดคนงาน ทำให้มีคนตกงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นอีก

สรุปสั้นๆง่ายๆคือ น้ำมันถูกผลิตขึ้นมาเยอะมาก ทั้งจากรัสเซีย ซาอุดิอาราเบีย แต่ปริมาณที่โลกต้องการต่อวันมันลดลง จากเหตุการณ์ COVID-19 ที่ทำให้คนไม่ออกจากบ้าน ทำให้โลกมีน้ำมันส่วนเกินในทุกๆวัน ราคาของน้ำมันก็ปรับตัวลดลงแบบตกเหว และจากเหตุการณ์สงครามน้ำมันทำให้โลกที่ไม่มั่นคงเพราะ COVID-19 เกิดความระส่ำระส่ายอย่างหนักแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 

โลกการเงินปีหงค์ดำ

หลังสงครามราคาน้ำมัน เราจะได้เห็นการพังทลายของตลาดการเงิน สินทรัพย์จำนวนมากราคาลดลงมากและที่เลวร้ายกว่านั้นคือ ในรอบ 12 ปีตั้งแต่เกิดวิกฤติซัพไพร์ม เป็นเรื่องปกติที่ตัวเลขประมาณการผลกำไรของบริษัทจะลดลง  ช่วงแรกๆคนคิดว่าสถานการณ์ COVID-19 ไม่ได้รุนแรงแต่จะทำให้ตัวเลขผลกำไรในช่วงนี้แย่ลง ทำให้มีคนเทขายหุ้นออกมาเพราะคิดว่าหุ้นแพงไป แต่พอสถานการณ์เริ่มมีทิศทางที่เลวร้ายลงผู้คนเริ่มกังวลและเทขายเพราะอยากได้เงินมาเก็บไว้ 

คนไม่หวังที่จะรอปันผลหรือฝากไว้กับสินทรัพย์ในสถานการณ์เช่นนี้ นั่นทำให้อัตราการเก็บออมเงินของหลายประเทศทั่วโลกพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทั้งการเก็งกำไรจากหายนะครั้งนี้ ทั้งการที่คนขาดสภาพคล่องจึงต้องเทขายสินทรัพย์เพื่อเอาเงินมาประทังชีวิต และเราได้เรียนรู้ว่าการที่ Downjones ขึ้นลงวันละพันสองพันจุดเป็นปกติในความไม่ปกติ ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกกด Circuit Breaker เพื่อยุติการการซื้อขายชั่วคราวอย่างต่อเนื่อง และบทสรุปของเรื่องราวอันน่าทึ่งนี้คือดัชนี Dowjones ตกลงไปต่ำกว่า 18,500 จุด และดัชนี SET ของตลาดหุ้นไทยก็ตกลงไปต่ำกว่า 1,000 จุด ทำให้รัฐบาลทั่วโลกต้องยื่นมือเข้ามาช่วย

 

M3 มูลค่า(ความมั่งคั่ง)ที่พังทลาย

ในทางเศรษฐศาสตร์ว่าการจะพิมพ์เงินคุณต้องมีสินทรัพย์ค้ำบางส่วน นั่นคือระบบทุนสำรองสัดส่วน Fractional Reserve ซึ่งแต่ละประเทศจะมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันไป สินทรัพย์ที่อยู่ใน M3 ทำหน้าที่เป็น Store of Value หรือเก็บมูลค่าได้ดี แต่ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสักเท่าไหร่ เนื่องจากมีสภาพคล่องต่ำด้วยหลายเหตุผล ส่วนมากเป็นหุ้น ตราสารหนี้, ตั๋วแลกเงินที่ต้องมีการต่อสัญญาในเวลาอันสั้น ซึ่งส่วนมากกินเวลาสองปี 

เป็นปกติวิสัยของธุรกิจที่ไม่สามารถคืนเงินที่ยืมมาได้ในเวลาอันสั้น ดังนั้นหากสภาพคล่องขาดมือธุรกิจจะล้ม หากธุรกิจนึงล้มจะกลายเป็นหนี้เสียในระบบเศรษฐกิจ เมื่อธุรกิจขนาดกลางล้มละลายกันจำนวนมากจากเหตุการณ์ขาดสภาพคล่อง (เพราะหาเงินมาจ่ายตราสารไม่ได้ และต่อสัญญาตราสารเก่าไม่ได้) อาจทำให้เศรษฐกิจล้มตามไปด้วย รัฐบาลจะอัดฉีดเงินเข้ามาพร้อมใจซื้อของถูกแบบช่วยประเทศครึ่งนึง อีกครึ่งนึงก็ช่วยให้ตัวเองรวยขึ้นไปพร้อมๆกัน ก่อนจะปั่นราคาสินทรัพย์ขึ้นไปทำ All-time high ใหม่หลังจากนี้

พูดง่ายๆคือถ้าลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายเงินเจ้าหนี้ได้มากๆธุรกิจของเจ้าหนี้ก็จะพัง เพราะฉะนั้นก็อัดฉีดเงินให้ลูกหนี้ซะ

 

นโยบาย QE และการลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง

ธนาคารกลางของสหรัฐจึงทำการลดดอกเบี้ยทันทีรวมถึงทำการผลิตเงินเพิ่มเพื่ออุ้มเศรษฐกิจ แต่มันกลับให้ตลาดเลวร้ายลงกว่าเดิมในชั่วขณะหนึ่งเพราะนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปีที่ FED ลดดอกเบี้ยทีเดียว 0.5% และลดอย่างต่อเนื่องไปอยู่ที่ระดับ 0.00-0.25% ทำให้มีความเห็นว่า FED นั้นสิ้นหวังแล้วถึงต้องทำขนาดนี้

แต่อย่างไรก็ตามในความเห็นของแอดมินได้คุยกับเจ้าของเพจ Coinman ซึ่งได้ข้อมูลมาว่าที่ FED ทำอย่างนี้เพราะเป็นบทเรียนจากวิกฤติ Subprime เมื่อปี 2008 ที่ FED ค่อยๆลดดอกเบี้ยลงทีละน้อยซึ่งมันไม่รวดเร็วพอที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้ Lehman ธนาคารที่เปิดมาเกือบ 100 ปีต้องยื่นล้มละลายและส่งผลกระทบเป็น Domino การกระทำครั้งนี้ของ FED จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ FED ยังพิมพ์เงินเพิ่มถึง 7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อซื้อพันธบัตรกลับจากธนาคารและให้ธนาคารนำเงินไปหมุนเวียนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นตลาดก็ไม่ได้ดูดีไปกว่าเดิมซักเท่าไหร่ แม้จะมีการปรับตัวขึ้นมาบ้างแต่ก็ไม่ได้ดีนัก นอกจากนี้เมื่อเงินดอลลาร์จำนวนมากไหลเข้าสู่ตลาดแทนที่จะเกิดการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สิ่งที่เกิดขึ้นกลับสวนสามัญสำนึกมากเพราะเงินดอลลาร์กลับเเข็งตัวขึ้นในระยะสั้นๆ

 

Cash is King เมื่อสังคมโหยหาในเงินสด

M1 คือปริมาณเงินในระบบ ซึ่งเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูงมาก เกือบจะสูงที่สุดรองจาก M0 ปกติแล้วเงินพวกนี้จะไหลในระบบเศรษฐกิจ ควบคู่กับระบบหนี้บัตรเครดิต หนี้เครดิตบูโร แต่ในสถานการณ์ COVID-19 ผนวกกับตลาดทุนที่ตกต่ำ 

เกิดเป็นมหกรรมพร้อมใจกันใช้เงินอย่างระมัดระวัง ทำให้สภาพคล่องหายไปจากระบบเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด ปัญหานี้รัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือแน่นอน แต่ก็แค่พอเยียวยา ด้วยการแจกเงิน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ลดดอกสองสามปี กระหน่ำอัดสภาพคล่องเพื่อกู้วิกฤติแบบการคลังเต็มรูปแบบ 

แต่ค่าเงินสหรัฐไม่เฟ้อแต่กลับแข็งค่าเนื่องมากจาก สถานการณ์ปัจจุบันนั้นไม่ใช่อะไรที่พบเจอบ่อยๆ รัฐบาลสหรัฐรวมถึงประเทศต่างๆบนโลกต่างแก้ปัญหาค่าเงินมาตลอด ซึ่งค่าเงินนั้นเป็นปัญหาระยะยาวที่ใช้เวลานานแต่สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นวิกฤติระยะสั้นที่เกิดขึ้นกระทันหัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนทั่วไปรวมถึงธุรกิจระยะกลางนั้นขาดสภาพคล่องอย่างมาก ทำให้เกิดความต้องการเงินสดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 

สภาพในตลาดทุนนั้นก็เกิดความเป็นกังวลเกินกว่าที่นักลงทุนจะกล้าลงทุนอะไรก็ตาม ทุกคนมักจะมีความคิดคล้ายๆกันว่ารอให้ตลาดนิ่งก่อนถึงจะเริ่มลงทุน นั้นทำให้เงินที่ถูกผลิตออกมานั้นแทนที่จะถูก นำไปใช้ในตลาดทุนกลับกลายเป็นว่า เกิดความต้องการเงินสดไปทั่วทุกภาคส่วนเงินดอลลาร์จึงแข็งค่าขึ้นจากหลายปัจจัยเช่นนี้

 

เมื่อตลาดทองและ Bitcoin ไม่ใช่ Safe Haven

ทองคำนั้นเป็นสินทรัพย์ที่ถูกเรียกว่า Safe heaven เช่นเดียวกับ Bitcoin ที่มีเป็นเหมือนทองคำดิจิทัล ราคาทองคำตกลงต่ำกว่า 1500 ดอลลาร์ส่วน Bitcoin นั้นตกลงต่ำกว่า 4000 ดอลลาร์ในช่วงขณะหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในเวลาที่เกิดภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจแล้วทองคำนั้นมักจะมีราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ในเวลานี้กลับมาสถานการณ์ที่ย่ำแย่

สาเหตุเป็นเพราะการร่วงลงของตลาดทั่วโลกอย่างรวดเร็วรวมนั้นเกิดจากตลาด Credit เพราะสินทรัพย์ประเภทนี้นักลงทุนต้องสำรองเงินทุนไว้เสมอเื่อป้องกันการโดนล้างพอร์ท เมื่อพอร์ทของนักลงทุนทั่วโลกนั้นขาดทุนอย่างนักทำให้ส่วนที่เป็นเงินสดที่ใช้เป็นหลักประกันในการรักษาพอร์ทนั้นมีไม่พอนักลงทุนจึงต้องทำการขายสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อแลกเป็นเงินสดในการรักษาพอร์ทของตัวเอง Bitcoin นั้นเป็น Safe Haven ในทางทฤษฎีเท่านั้นในปัจจุบันมันยังมีมูลค่าโดยรวมที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ

 

ตลาด Cryptocurrency จะเป็นอย่างไรต่อไป

ตลาด Cryptocurrency นั้นเป็นตลาดที่มีความเสี่ยงสูงรวมไปถึงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในปัจจุบันทำให้อะไรก็เกิดขึ้นได้ในตลาด Cryptocurrency ความผันผวนที่รุงแรงอยู่แล้วก็จะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย นักลงทุนที่ไม่เชี่ยวชาญในตลาดนั้นควรหลีกเลี่ยงการซื้อขายระยะสั้นหรือการ Leverge แต่อย่างไรก็ตามการผันผวนที่มากก็ทำให้มีโอกาสมากขึ้นเช่นกัน 

สำหรับผู้เขียนมีความเห็นว่าการอัดฉีดสภาพคล่องมากมายขนาดนี้อาจทำให้สินทรัพย์บางรายการราคาปรับตัวเพิ่มมหาศาล แต่มันยังไม่เกิดขึ้นตอนนี้ มันจะเกิดขึ้นในวันที่สถานการณ์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะสงบและคนส่วนใหญ่ได้นำเงินไปลงทุนเพราะหวังผลกำไร คนเหล่านั้นจะกลับมาเทเงินเข้าสู่ตลาดอีกครั้งด้วยอารมณ์และความคาดหวัง

หลังวิกฤติครั้งนี้ บิทคอยน์อาจมีสิทธิ์ปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงก็ได้ หากมองที่เรื่องปริมาณเงิน เงินพวกนั้นมีโอกาสน้อยมากที่จะเข้ามาสู่โลกคริปโต อีกทั้งการอัดฉีดสภาพคล่องดังกล่าวไม่ได้สร้างมาเพื่อช่วยตลาดคริปโต แต่เป็นเพื่อช่วยเศรษฐกิจต่างหาก ดังนั้นราคาบิทคอยน์จะเพิ่มขึ้นได้จากสาเหตุเดียวคือ เงินที่เข้ามาเพิ่มสภาพคล่องเหล่านั้น เริ่มไหลเข้ามาที่ตลาดคริปโตในวันที่โลกกลับสู่สภาวะปกติกว่านี้

อย่างไรก็ตามเราควรจับตามองช่วงเวลาหลังการ Halving ของ Bitcoin ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นจุดชี้วัดทางจิตวิทยาที่อาจทำให้เกิดความผันผวนของราคาอย่างมาก

 

Article Guide & Analytics
,
Writer

Maybe You Like