fbpx

ล้วงลึกโปรเจคต์อินทนนท์ การพัฒนา Blockchain กับระบบการเงินของประเทศชาติ เฟสที่ 1

ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง โครงการอินทนนท์คืออะไร? การพัฒนาแต่ละช่วงของโครงการอินทนนท์ ระบบ Interbank Settlement คืออะไร ระบบ Central bank payment systems เฟสแรกของโครงการอินทนนท์จึงต้องการสร้างระบบ DLT เพื่อให้ธนาคารแต่ละแห่งทำ Settlement ด้วยกันเองได้ โครงสร้างพื้นฐานของโปรเจคต์อินทนนท์ในเฟสที่ 1 Cash Tokenization หรือระบบเงิดสดดิจิทัล Decentralised

ล้วงลึกโปรเจคต์อินทนนท์ การพัฒนา Blockchain กับระบบการเงินของประเทศชาติ เฟสที่ 1

5 Mar 2020

สวัสดีครับทุกคนพอดีเมื่อเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมาแอดมินได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลที่ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย และได้พบกับทีมที่ดูแลโครงการ อินทนนท์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เลยคิดว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะมาเล่าเรื่องโครงการนี้ให้ฟังกัน

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

 

โครงการอินทนนท์คืออะไร?

โครงการอินทนนท์เป็นหนึ่งในโครงการที่ ธปท. ริเริ่มขึ้น โดยร่วมกับสถาบันการเงิน 8 แห่ง และบริษัท R3 (ผู้พัฒนา DLT ใน Corda Platform) ในการทดสอบความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ DLT กับระบบการชำระเงินของประเทศ ผ่านการลงมือพัฒนาและจำลองระบบต้นแบบ รวมไปถึงยกระดับโครงสร้างพื้นฐานการเงินของประเทศไทยให้ทำงานดีขึ้น หรือถ้าพูดง่ายๆก็คือโครงการนี้คือการค้นหาความเป็นไปได้ว่าจะเอา DLT มาพัฒนาอะไรให้กับโครงสร้างระบบการเงินของประเทศไทยได้นั้นแหละครับ

Note: DLT นั้นย่อมาจาก Distributed Ledger Technology ซึ่งหมายถึงการบันทึกข้อมูลบัญชีโดยกระจายไปหลายๆแห่ง ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่ามันคือ Blockchain แต่จริงๆแล้ว DLT นั้นเป็น Concept ที่กว้างกว่า Blockchain หรือจะเรียกว่า Blockchain เป็น Subset ของ DLT ก็ว่าได้

https://tradeix.com/distributed-ledger-technology/

 

การพัฒนาแต่ละช่วงของโครงการอินทนนท์

โปรเจคต์อินทนนท์จะแบ่งออกเป็น 3 เฟสดังต่อไปนี้

  • เฟสที่ 1 สร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบ Decentralized สำหรับการการชำระเงินแบบทันทีผ่านการกู้ยิมระหว่างธนาคารด้วยกัน (Decentralized Real Time Gross Settlement for interbank settlement)
  • เฟสที่ 2 ใช้ประโยชน์จาก Smart Contract มาจำลองวงจรชีวิตของพันธบัตร ตั้งแต่การแปลงพันธบัตรให้อยู่ในรูป Token การส่งมอบพันธบัตรและชำระเงินค่าพันธบัตรในเวลาเดียวกัน (Delivery Versus Payment: DVP) การจ่ายดอกเบี้ย จนถึงการจ่ายคืนเงินต้นในวันที่พันธบัตรครบกำหนด รวมทั้งออกแบบระบบให้รองรับการซื้อขายพันธบัตรระหว่างธนาคาร (Bond Trading)
  • เฟสที่ 3 เชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินในต่างประเทศผ่านการใช้ CBDC ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตไปสู่การชำระเงินข้ามประเทศระหว่างสถาบันการเงิน

และเนื่องจากแอดมินได้อ่าน Report ของโครงการนี้พบว่ามันยาวมากเลยตัดสินใจว่าจะแบ่งบทความออกเป็นสามตอนโดยตอนนี้จะมุ่งไปที่เฟสที่ 1 ครับ

 

ระบบ Interbank Settlement คืออะไร

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจว่าเฟสที่ 1 ของโครงการอินทนนท์ทำอะไรบ้าง เราต้องเข้าใจระบบที่เรียกว่า Interbank Settlement ก่อน Interbank นั้นคือระบบการทำธุรกรรมด้วยกาโอนเงินระหว่างธนาคาร เช่นสมมติว่า สมชาย ต้องการโอนเงินในบัญชีที่อยู่ในธนาคาร A ที่มีเงินอยู่ 1000 บาทไปให้นาย สมหมาย ที่มีบัญชีอยู่ในธนาคาร B เป็นจำนวน 100 บาทธนาคารแต่ละธนาคารจะทำอย่างไร

กรณีแรกคือระบบ Correspondent bank accounts หรือการที่แต่ละธนาคารเปิดบัญชีระหว่างธนาคารเช่นหากธนาคาร A เปิดบัญชีในธนาคาร B และธนาคาร B เปิดบัญชีไว้ในธนาคาร A สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือแต่ละธนาคารก็จะตัดเงินของแต่ละบัญชีเพื่อโอนเงินให้สมหมาย

ซึ่งปัญหาของระบบ Correspondent bank accounts คือธนาคารแต่ละธนาคารจะต้องมีเงินสำรองซึ่งกันและกัน นั้นหมายความว่ายิ่งเปิดบัญชีกับหลายๆธนาคารเงินสำรองที่ต้องใช้ก็ต้องมากขึ้น และจะเกิดอะไรขึ้นหากเงินที่เปิดบัญชีนั้นมีไม่พอ

 

ระบบ Central bank payment systems

ในเมื่อปัญหาเรื่องการเปิดบัญชีระหว่างธนาคารกลายเป็นเรื่องยุ่งยากและมีปัญหาเรื่องเงิน ทำให้เกิดแนวคิดระบบตัวกลางที่ชื่อว่า Central bank payment systems โดยทำให้ตัวกลางหรือธนาคารกลางเป็นคนจัดการ โดยให้ธนาคารต่างๆเปิดบัญชีกับธนาคารกลาง ซึ่งปัจจุบันการโอนเงินระหว่างธนาคารในประเทศไทยใช้ระบบนี้โดยมีระบบชื่อว่า Bathnet ซึ่งก็เป็นวิธีที่ดูจะแก้ปัญหาของ Interbank settlement ได้

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นคือต้นทุนในเรื่องความเสี่ยงในการบริหารเงิน เพราะธนาคารต่างๆต้องนำเงินจำนวนมากมาฝากไว้ในบัญชีที่ธนาคารกลางเพื่อให้ทุกธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกสบาย และนั้นเป็นหนึ่งในเหตุผลว่าทำไม

เฟสแรกของโครงการอินทนนท์จึงต้องการสร้างระบบ DLT เพื่อให้ธนาคารแต่ละแห่งทำ Settlement ด้วยกันเองได้

 

โครงสร้างพื้นฐานของโปรเจคต์อินทนนท์ในเฟสที่ 1

ในเฟสแรกของโปรเจคต์อินทนนท์จะมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานของระบบระหว่างธนาคาร โดยใช้ระบบ Corda สร้างโครงสร้างขึ้นมาโดยให้แต่ละธนาคารมี Node เป็นของตัวเองในระบบ (Node หมายถึงคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนร่วมในระบบ) ซึ่ง Node เหล่านี้เราจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 

  • Node ของธนาคารกลางที่เรียกว่า LSM Oracle Node โดย Node นี้จะทำหน้าที่ในการ
    • เป็น Node ที่ทำการสร้างหรือทำลาย Token ทั้งที่เป็นรูปแบบของเงินหรือพันธบัตรหรือเราจะบอกได้ว่าเป็น Node ที่ทำการเสกเหรียญเหมือนการผลิตเงินก็ว่าได้
    • เก็บข้อมูล Liquidity ของ Node อื่นๆเพื่อควบคุมและคาดคะเน (ภาษาเทคนิคเรียกจุดนี้ว่า Oracle) Liquidity ของแต่ละ Node ในการทำ settlement ระหว่างธนาคาร (อาจจะงงนิดๆแต่อะอธิบายอีกที)
  •  Node ของธนาคารอื่นๆ ที่จะทำให้ธนาคารอื่นๆนั้นสามารถทำ Settlement ผ่านเครือข่ายกับ Node ของธนาคารกลางได้

 

Cash Tokenization หรือระบบเงิดสดดิจิทัล

เพื่อเป้าหมายในการยกระดับการเงินหนึ่งในสิ่งที่โครงการอินทนนท์ทำคือการสร้างเงินสดดิจิทัลหรือที่เราอาจจะเรียกมันว่า CBDC (Central Bank Digital Currency) ซึ่งตอนนี้มันยังเป็น Token ที่ใช้ในโครงการอินทนนท์เท่านั้นไม่ได้ถูกออกนำไปใช้สารธารณ โดยในการสร้างเหรียญธนาคารต่างๆจะต้องนำเงินสดมาเข้าบัญชีไว้เพื่อสร้างมันออกมาในรูปดิจิทัล เพื่อเอาไว้ Settlement ในระบบ Node หรือธนาคารอื่นๆนั้นสามารถแลก Token คืนเป็นเงินสดได้โดยการส่งคำสั่งไปที่ Node หลักของธนาคารกลาง

Note ทำไมเราต้องทำเงินให้เป็น Token: ระบบเงินดิจิทัลแบบเก่าๆที่มีศูนย์รวมจากตัวกลางเดียวนั้นมีข้อเสียในแง่ความเสี่ยงเรื่องความน่าเชื่อถือของตัวกลาง เช่น คำถามที่บอกว่าธนาคารสร้างเงินดิจิทัลขึ้นมาโดยมีอะไรรองรับหรือเปล่า การสร้าง Token ที่ถูกรองรับโดยเครือข่าย DLT นั้นจะทำให้ Token นั้นน่าเชื่อถือนอกจากนี้ในแง่เทคนิคการที่มันจะ Implement หรือ Program Token เหล่านั้นเข้ากับระบบอื่นๆยังทำได้ง่ายกว่าระบบรวมศูนย์

 

Decentralised Bilateral Transfers

นี่เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ระบบอินทนนท์นั้นดีกว่าระบบรวมศูนย์แบบเก่า เพราะมันทำให้ธนาคารต่างๆสามารถทำธุรกรรมแก่กันโดยที่ไม่ต้องมีตัวกลางในแบบเก่ามาคอยจัดการได้ ซึ่งเราเรียกว่า Peer to Peer โดยวิธีการนั้นคือแทนที่จะมีตัวกลางตัวเดียวมาคอยตรวจสอบ แต่ธุรกรรมที่ถูกส่งออกไปจะถูกตรวจสอบ Node หรือธนาคาร ต่างๆโดยอ้างอิงจาก Ledger ที่ตัวเองมี ทำให้กระบวนการโอนเงินนั้นน่าเชื่อถือได้ภายในกระบวนการเดียว

ในการ Settlement แบบปกติหากธนาคารที่ส่งนั้นมี Token เพียงพอที่จะทำ Settlement ธุรกรรมจะถูก Sign (ยืนยัน) โดยทั้งผู้รับและผู้ส่งรวมไปถึง Notary node หรือก็คือ Node ที่ตรวจสอบว่าธุรกรรม ถูกใช้ซ้ำไหม เมื่อถูกต้องแล้วก็จะเกิดการ Settlement 

แต่ในกรณีที่ธนาคารนั้นไม่มี Token เพียงพอที่จะทำ Settlement การทำธุกรกรรมและการ Sign ก็จะเกิดขึ้นเช่นกัน เพียงแต่ธุรกรรมนั้นจะถูกใส่ลงไปใน Queue ของระบบซึ่งต้องรอให้ธนาคารที่เป็นผู้ส่งนั้นต้องไปหา Token เติมให้เพียงพอ จึงจะทำการ Settlement

Note:ในระบบ Central bank payment systems หากเงินในบัญชีของธนาคารใดมีไม่พอสิ่งที่ธนาคารทำคือธนาคารจะนำพันธบัตรมาค้ำประกันไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อกู้เงินแล้วค่อยทำ Settlement ซึ่งเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างช้ากว่าเมื่อเทียบกับระบบ Token 

 

Liquidity Saving Mechanisms

ธนาคารนั้นจะต้องมีสภาพคล่องมากพอที่จะทำ Settlement และนั้นหมายความว่าธนาคารต้องถือเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่มีดอกเบี้ยเลย (Zero Cash Interest) ซึ่งสิ่งนี้นั้นทำให้ธนาคารเสียโอกาส ระบบ LSM จึงมีขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้เพื่อควบคุมเงินให้น้อยที่สุดที่จะทำการ Settlement ได้ โดยมีระบบสองระบบช่วย

  • Queue mechanism ในกรณีที่ธนาคารไม่มีเงินมากพอที่จะทำ Settlement ได้ธุรกรรมจะถูกใส่ลงใน Queue โดยจะมีการจัดลำดับแบ่งความสำคัญของธุรกรรม
  • Gridlock Resolution นี้เป็นส่วนสำคัญที่จะจัดการความยุ่งเหยิงมื่มีการ Settlement ระหว่างธนาคารที่ซ้ำซ้อน เช่นเมื่อมีธนาคารมากกว่าสองธนาคารต้องการส่งเงินไปมาในเวลาเดียวกัน ระบบนี้จะคำนวณเพื่อไม่ให้เกิดการ Settlement ที่ไม่จำเป็นและซ้ำซ้อน โดย Node ที่ทำการคำนวณตรงนี้คือ LSM Node หรือก็คือ Node ของธนาคารแห่งประเทศไทย

Note ความเป็นส่วนตัวในการแก้ Grid Lock: ในรายงานของโครงการนั้นได้กล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อแก้ Grid Lock คือข้อมูลการทำ Settlement ของแต่ละธนาคารจะเป็นความลับหรือเปล่า ซึ่งในรายงานได้กล่าวว่าข้อมูลผู้ส่งและผู้ลับจะถูกเก็บเป็นความลับ แต่จำนวนเงินที่ถูกส่งนั้นจะถูกเปิดเผย ซึ่งปัญหานี้จะถูกแก้เมื่อจำนวน Node นั้นมีมากขึ้นจะทำให้การตรวจสอบที่มาที่ไปทำได้ยากขึ้น

Note: การที่ Node ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็น Node เดียวที่ควบคุม Liquidity Saving จะทำให้เกิด Single point of Failure แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือหาก Node ของธนาคารกลางถูกปิดไปชั่วคราวการทำ Settlement ของธนาคารก็ยังทำได้เพียงแต่ไม่มีระบบ LSM ในการช่วยจัดการนั้นเอง

 

การทำให้พันธบัตรอยูในรูป Token (Tokenization of Bond)

ในกรณีที่ธนาคารขาดเงินธนาคารสามารถนำพันธบัตรที่ตัวเองมีไปค้ำประกันกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อแลกออกมาเป็นเงินได้ ทำให้แนวคิดการทำให้พันธบัตรอยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้กระบวนการโอนย้ายรวมถึงแลกเป็นเงินของมันทำได้ง่ายขึ้น

ในปัจจุบันตราสารนั้นจะถูกเก็บอยู่ที่ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และธนาคารแห่งประเทศไทยจะบริหารพันธบัตรผ่านระบบ Bathnet เมื่อเกิดคำสั่งโอนพันธบัตรขึ้น ธนาคารกลางก็จะสร้าง Account พิเศษในระบบ Bathnet และสร้าง Token ในระบบ DLT และส่งมันไปยังธนาคารที่ร้องขอ

 

ระบบจัดการสภาพคล่องอัตโนมัติ (Automated Liquidity Provision)

ระบบ ALP นั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลคล้ายๆกับ Liquidity Saving Mechanisms เพียงแต่จะเป็นในส่วนของการบริหารพันธบัตรที่นำมาค้ำประกันเพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการทำ Settlement เพราะการที่ธนาคารนำพันธบัตรมาค้ำประกันเพื่อแลกเงินนั้นก็มีต้นทุนค่าเสียโอกาสของแต่ละธนาคารเช่นกัน

 

 

 

ในระบบนี้ Bond Token จะเป็นส่วนประกอบสำคัญ เพราะมันช่วยให้การค้ำประกันแลกเงินนั้นทำได้แบบอัตโนมัติแทนที่จะผ่านระบบ manual ซึ่งจะล่าช้ากว่า ส่วนสำคัญคือมันทำให้ธนาคารสามารถเพิ่ม liquidity แบบ on-demand และรวดเร็วขึ้น

 

ปัญหาด้านกฎหมาย

แม้ว่าโปรเจคต์อินทนนท์จะมีเป้าหมายในการยกระดับระบบการเงิน แต่อย่างไรก็ตามมันก็มีข้อกังวลด้านกฎหมายอยู่ได้แก่

  • สถานะทางกฎหมายของ Bath Token หากมันจะกลายเป็น legal tender มันจะต้องมีการปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • การกำกับและดูแลในการที่ธนาคารกลางจะสร้าง Token ที่มีลักษณะเหมือนเงินสดจะเป็นอย่างไร
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการทำ Settlement และ Payment System เพราะระบบเหล่านี้เข้าข่ายระเบียบที่เกี่ยวข้อง

 

สรุปรายงานผลจากเฟสที่ 1 

จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นได้กล่าวว่าระบบ DLT มีศักยภาพในการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบการชำระเงิน ทั้งการลดต้นทุนการบริหารจัดการสภาพคล่อง การขยายเวลาการโอนเงิน และการชำระดุล

ระหว่างสถาบันการเงินนอกเวลาทำการ อย่างไรก็ดี การนำระบบต้นแบบดังกล่าวมาใช้จริงอาจต้องใช้เวลาอีก

ระยะหนึ่ง เนื่องจากจำเป็นต้องทดสอบขีดความสามารถและศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมให้

สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อาทิความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมที่มีจำนวนมาก

ความปลอดภัยด้านข้อมูล และความเสถียรของระบบโดยรวม

 

ไว้มาต่อกันกับ phares ที่ 2 นะครับกว่าจะย่อย Report ได้บทนึงใช้เวลาพอควร

 

Article
, , ,
Writer

Maybe You Like