ยาวไปอยากเลือกอ่าน
แสดง
คุณเคยถามตัวเองไหมว่าเหรียญนี้ดียัง ?
บางครั้งเมื่อเหรียญราคาขึ้นมักมีคนมาบอกว่าเหรียญนั้นดี
ผมอยากเสนอว่า คุณลองตั้งคำถาม “แล้วมันดียังไง”
คนที่ดูราคาจะตอบคำถามพวกนี้ไม่ค่อยได้
เพราะพวกเค้าซื้อตามความโลภ และมักลงเอยด้วยการที่ขายตามความกลัว
ผมเคยย้อนกลับไปถามคนพวกนี้ในภายหลังเมื่อราคาตกว่า
ด้วยคำถามที่ว่า “ตอนนี้สนใจซื้อไหมครับ”
และคำตอบที่ได้กลับมาคือ ตอนนี้ไม่สนแล้ว
จากตอนที่1เราได้กล่าวถึงมูลค่าที่มาจากการใช้งาน ในตอนที่4นี้
เราจะมากล่าวถึงมูลค่าที่มาจากการที่ต้องถือครองเหรียญนั้นไว้
และเหตุผลที่ต้องถือมัน ว่าทำไมต้องถือ แล้วไม่ถือได้ไหม อะไรคือสิ่งที่น่าสนใจในโปรเจคเหล่านั้น
ส่วนมากการที่คนส่วนมากถือครองไว้ด้วยผลประโยชน์ (Benefit) สองอย่าง
1.ถือเพื่อรับปันผล (Dividend)
2.ถือเพื่อสิทธิโหวต (Voting)
ปัจจุบัน Consensus ที่ให้ประโยชน์แก่ Holder หลักๆคือ
1.การทำConsensus แบบStake เช่น Proof of Stake , Delegate proof of stake
2.การทำNodeแบบต่าง เช่น Node ,Super Node , Master Node
เพิ่มเติม : บางเหรียญ Holder อาจโชคดีได้รับ Airdrop จากการแจกเหรียญจากผู้สร้างเหรียญลูกหรือแคมเปญต่างๆ
คำอธิบาย DPoS ของพี่หนูเนย
ในระบบ Proof of Stake ผู้ที่ต้องการจะสร้าง Node จะต้อง Stake เหรียญไว้เพื่อรอรับโอกาสในการจะสร้าง Block ซึ่งดู ๆ
แล้วระบบจะเอื้อกับคนที่มีเหรียญเยอะ (หรือพูดง่าย ๆ ว่ารวย) ส่วนคนที่จน ๆ หรือมีน้อย ๆ นี่แทบไม่มีสิทธิ์มีเสียงในระบบเลย
Delegated Proof of Stake จึงเกิดขึ้นมาโดยเปลี่ยนแนวคิดว่า ทุกคนไม่ว่าจะถือน้อยหรือถือมากก็ควรจะมีสิทธิ์ใน Blockchain ตัวนี้
มิฉะนั้นระบบก็อาจจะถูกครอบครองโดยกลุ่มคนบางคนได้ จึงเกิดเป็นโครงสร้างแบบใหม่ขึ้นมาที่การ Stake เหรียญไม่ได้มีไว้สร้าง Node อีกต่อไป
แต่เอาไว้เพื่อ “โหวต” ผู้ที่จะสร้าง Node และตั้งตัวเป็นผู้ยืนยัน Transaction แทนทุกคนในระบบนั่นเอง
โดยกลุ่มผู้ที่ตั้งตัวเป็นผู้ยืนยัน Transaction และสร้าง Block นี้จะเป็นคนกลุ่มที่เราเรียกว่า Witness ครับ โดยคนกลุ่มนี้ไม่ต้อง Stake เหรียญใด ๆ
อยากจะตั้งก็ตั้งได้เลย (แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายนิดหน่อยในการเปิด Node ใหม่ เช่น ค่าลงทะเบียน) แต่เดี๋ยว ! พอสร้าง Node ขึ้นมาแล้วไม่ได้แปลว่าจะยืนยัน Transaction ได้เลยนะ
เพราะคนกลุ่มนี้จะไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรเลยในแรกเริ่ม ก็เลยต้องให้คนอีกกลุ่มที่มีการ Stake เหรียญไว้ทำการโหวตเลือกว่าคุณเชื่อใจ Witness รายไหน (โหวตเลือกได้มากกว่า 1 คน)
และ Witness ที่ถูกเลือกจากคนในระบบนี่แหละที่จะเป็นผู้ช่วยกันยืนยัน Transaction และสร้าง Block ออกมาให้ระบบขับเคลื่อนไปได้
DPoS จึงเอื้ออำนวยให้ทุกเสียงมีค่า ไม่ว่าจะถือเหรียญมากหรือน้อยก็ล้วนสามารถเข้าร่วมโหวตได้หมด นอกจากที่จะโหวตได้ว่าจะไว้ใจ Witness รายไหน
เรายังสามารถโหวตเพื่อปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ในระบบได้ด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน ขนาดบล็อค ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับรางวัลจะเป็นกลุ่ม Witness ไม่ใช่กลุ่มที่ Stake เหรียญครับ
ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจ คนกลุ่ม Witness เลยมีการหาเสียงอย่างเต็มที่ เพื่อให้คนโหวตตัวเอง (เพราะตัวเองได้ผลประโยชน์) แต่แน่นอน
การแข่งขันมันสูง แต่ละคนก็เลยจะมีนโยบายต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้คนในคอมมูนิตี้มีความสุขที่สุด ตัวเองจะได้ถูกเลือก ก็เลยกลายเป็นการ Win-Win ด้วยวิธีนี้ครับ
และการโหวตไม่ใช่เป็นเรื่องถาวรด้วย วันไหนที่มี Witness คนไหนเริ่มทำตัวแปลก ๆ ผู้คนไม่ชอบ คนก็สามารถถอนโหวตได้ทุกเมื่อ
ดังนั้นเลยบอกได้ว่าระบบจะไปทางไหนก็ขึ้นอยู่กับคนในระบบเลยจริง ๆ
โดยรวมแล้ว DPoS เลยเป็นระบบที่ Decentralized มาก ๆ เพราะไม่มีคนกลุ่มไหนเลยที่สามารถเข้าควบคุมได้ ระบบปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ จากทุกพลังเสียง
ด้วยเหตุนี้ DPoS จึงถือเป็นหนึ่งในความหวังของ Blockchain ในยุคหลังจากนี้
สามารถติดตามเรื่อง Consensus อื่นได้ที่เพจของพี่หนูเนยตามลิ้งด้านล่างนี้
https://nuuneoi.com/blog/blog.php?read_id=933
อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆคือ Staker (เป็นประชาชน) Withness (คล้ายๆกับ วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือตัวแทนประชาชน) DPoS (เป็นวุฒิสภา),
Transaction (เป็นร่างกฎหมายหรือหนังสือเวียนที่ต้องการความเห็นชอบจากคนที่น่าเชื่อถือ), Staker ทำการเลือก Withness เข้าไปใน DPoS
เพื่อเป็นคนยืนยันธุรกรรม(Transaction) เป็น Validator
โดยการทำ Consensus แบบนี้คนที่ถือเหรียญแล้วทำ Stake เป็น Staker จะได้สิทธิในการโหวต แต่Withnessเป็นคนรับรางวัล ไม่ใช่Staker
ดังนั้นอาจมีบางกรณีที่ Withness อาจแจกจ่ายรางวัลบางส่วนตรงนี้ให้กับ Staker เพื่อจูงใจให้เลือกตน
จะว่าไปมันก็คล้ายกับการหาเสียงบ้านเราเลย . . .
แต่แค่ไม่โดนรัฐประหารเท่านั้นเอง . . .
การทำ Node ต่างๆที่ทำให้คนอยากถือเหรียญนั้นไว้
กรณีตัวอย่างเช่น DASH and XZC มีการทำโหนดเหมือนกัน
โดยขั้นต่ำของจำนวนเหรียญที่ถือ ตามแต่ละเหรียญกำหนด
ส่วนมากจะอยู่ในช่วง 1,000 เหรียญ ถึง 10,000 เหรียญ
ผู้ถือโหนดจะได้รับส่วนแบ่งจากการคอนเฟิร์มโหนดในแต่ละครั้งแต่ที่กำหนด
ซึ่งถ้าหากมีโหนดมาก ก็เหมือนคนต่อคิวมาก เราก็จะได้เหรียญช้าลงเรื่อยๆตามลำดับ
DASH ใช้ทั้งหมด 1,000 DASH
ZCOIN ใช้ทั้งหมด 1,000 ZCOIN (XZC)
มีนักลงทุนหลายท่านนำไปเปรียบเทียบว่า เป็น Passive Income
แม้เราจะได้เหรียญมากขึ้นตามระยะเวลา แต่มูลค่าเหรียญกลับลดลง
เพราะในเวลานั้นเหรียญราคาขึ้นการเทรนและการเก็งกำไรบนเทรนของการทำ MasterNode
ดังนั้นเมื่อหมดเทรนแล้ว ทำให้ราคาของเหรียญตกลงมาค่อนข้างมาก ประกอบกับการตกลงของมูลค่าตลาด
ดังนั้นคนที่จะทำโหนด ให้คำนวณความเสี่ยงให้ดีก่อนลงทุน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนเป็นสิ่งหลักที่ขับเคลื่อนโลกแห่งคริปโต ในด้านการผันผวนของราคา
ดังนั้น DPoS หรือ MasterNode ในช่วงที่เป็นเทรนหลัก และมีคนสนใจจำนวนมากนั้น
ได้สร้างให้เกิดสถานการณ์การเก็งกำไรแก่เหรียญเหล่านั้น
#กราฟ BTS ในช่วงที่เป็นกระแส
#กราฟ ARK ในช่วงที่เป็นกระแส
#กราฟ DASH ในช่วงที่เป็นกระแส
#กราฟ XZC ในช่วงที่เป็นกระแส
—– ปิดท้ายด้วยคำพูดของคุณปู่ Warren Buffett —–
“Someone is sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago.”
“บางคนกำลังนั่งอยู่ใต้ร่มเงในวันนี้เพราะเค้าได้ปลูกต้นไม้มาเมื่อนานมาแล้ว”
การลงทุนนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือระยะเวลาที่นานมากพอที่เราจะได้เห็นผลลัพธ์ที่งอกเงยในอนาคต
Happy Learning ครับ
Cr : https://keeepwriting.wordpress.com/2014/12/21/5quotesfrombuffett/
Writer