หลายครั้งที่เราซื้อเหรียญ ขายเหรียญ หรือถือเหรียญ เพียงเพราะคำพูดการตลาดสอพลอ
และหลายครั้งคำพูดเหล่านี้ก็สร้างมูลค่ามากกว่าสิ่งที่มันเป็นจริงๆอย่างอเนกอนันต์
แต่ก็เป็นหลายครั้งที่พาคนไปชมดอย ส่วนมากวิธีการก็ไม่ต่างจากตลาดหุ้นมากนัก
คำพูดประมาณที่ว่า เค้าบอกว่า… วงในบอกว่า… คิดว่า… คาดว่า… มันน่าจะขึ้น…
แน่นอนครับ เมื่อไม่เป็นไปตามคาด มันจะจบด้วยคำๆเดียวกัน รู้งี้…
วันนี้เราจะพามารู้จักกับการสร้างมูลค่าเหรียญให้แก่ชาวคริปโตผ่านเครื่องมือชิ้นนึงที่ทรงอนุภาพ
เปลี่ยนคนธรรมดาให้เป็นคนเสียสติประหนึ่งดมกาว เปลี่ยนคนไม่รู้ให้เป็นคนคาดหวัง
เป็นคนผิดหวังให้เป็นคนมีกำลังใจ เครื่องมือชิ้นนี้คือการโปรโมทและการตลาด
จากชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ และการเชิญชวนให้เข้ามาสนใจผลิตภัณฑ์
เรามาดูกันดีกว่าว่า วงการคริปโตอันหนาวเหน็บแห่งนี้มีเหรียญไหนกันบ้างที่ทำการตลาดจนปัง !!!
Valuation from Promoting&Marketing มูลค่าที่มาจากการโปรโมทและการตลาด
ในครั้งนี้จะกล่าวถึงเหรียญที่ราคาเพิ่มขึ้น จากการโปรโมท การโฆษณาและการตลาด ทำให้เหรียญนั้นมีมูลค่าขึ้นมา และคนต่างพากันเข้ามาเก็งกำไร
ถ้าใครเข้าช้าไปเข้าตอนราคาสูง ก็จะได้เป็น VI เพราะติดดอย (ฮา)
สำหรับหัวข้อนี้เราจะยกตัวอย่างด้วยเหรียญ OmiseGo (OMG) ซึ่งคนไทยรู้จักกันดี
Omg จะทำอะไร ?
เดิมที จุน ฮาเซกาวะ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ และ ดอน-อิศราดร หะริณสุต ผู้ร่วมก่อตั้งและซีโอโอ สนใจทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปี 2013 แต่พบว่าระบบบริการชำระเงินออนไลน์หรือ Payment Gateway ในตลาดยังมีปัญหา การใช้งานบนเว็บไซต์และโทรศัพท์มือถือมีช่องโหว่ ทำให้เกิดโอกาสที่ลูกค้าจะ drop off หรือยกเลิกการชำระเงินไประหว่างทาง จึงเปลี่ยนมาทำธุรกิจ Online Payment แทน โดยเน้นการออกแบบ UX/UI ที่ดี และตอบสนองผู้ใช้งานจริง
โดย OmiseGo เป็นสายธุรกิจนึงของ Omise ที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ พัฒนาบริการอยู่บน Ethereum อีกที โดยหลักๆOmiseจะทำด้าน Payment หรือระบบจ่ายเงินโดยไม่อาศัยตัวกลางอย่างธนาคาร (Unbank the Banked) โดย OmiseGo จะใช้ token ชื่อ OMG ซึ่งเป็น token ERC20 ของ Ethereum
Omg ICO เมื่อไหร่ ?
27 June 2017
สกุลเงินที่รับ : BTC XBT ETH CHF EUR USD GBP DKK SGD
ยอดระดมทุนขั้นต่ำ Minimum Contribution Size : 5000$
ยอดระดมทุนขั้นสูง Maximum Contribution Size : 100,000$
อัตราระดมทุนต่อETH : 1000OMG / 1ETH
Note : ICO ย่อมาจาก Initial Coin Offering
แปลว่าการเสนอขายเหรียญครั้งแรก เหมือนกับ IPO ที่เป็นการเสนอขายหุ้นแรกเข้าตลาด
OMG ราคาเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ ?
OMG ราคาขึ้นช่วงกลางเดือนกรกฎาและช่วงต้นสิงหาคม โดยราคาไปหยุดอยู่ที่ประมาณ 400บาท
และได้มีการลิสต์เข้ากระดานเทรด Poloniex และการดานเทรด Bitfinex
14Aug2017
OmiseGo ทวิตถึงการสนับสนุนผู้สร้าง Ethereum
20Aug2017
OmiseGo ราคาปรับขึ้นจากการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กระทรวงการคลัง
7Sep2017
Omise ได้ประกาศเป็น Partner กับ Google Thailand
20Sep2017
Jun Hasegawa ได้ทวิตถึงรางวัลที่ได้รับจากนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ซึ่งรางวัลนั้นคือ Startup of the year award
21Sep2017
คุณดอนอิศราดร หะริณสุต ได้ทวิตถึงรางวัล Startup of the year ที่ได้รับจากนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา
25Sep2017
Jun Hasegawa ได้ทวิตถึงการจ่ายเงินที่ร้าน McDonalds ผ่านแพลทฟอร์ม Omise
ไม่ใช่ OmiseGo ตรงนี้อาจมีสาวก OmiseGo หลายคนเข้าใจผิดได้
OMG ตอนนี้ราคาเท่าไหร่ ?
ราคาของ OMG ณ วันพุธ ที่5กรกฎาคม2018 เทียบกับมูลค่าเริ่มต้น
19.91x เท่าของราคาระดมทุนด้วยเงินดอลลาร์ (USD)
14.82x เท่าของราคาระดมทุนด้วยEthereum (ETH)
6.89x เท่าของราคาระดมทุนด้วยBitcoin (BTC)
อ้างอิงจากวันที่27กรกฎาคม2018
OMG ทำการตลาดอย่างไร ทำไมคนถึงเข้ามาซื้อ จนราคาขึ้นอย่างมหาศาล ?
OMG ใช้การตลาดรูปแบบ WoM หรือบอกปากต่อปาก โดยการทวิตถึงความคืบหน้าของ OmiseGo ผ่านทวิตเตอร์
และการจับมือเป็นพาสเนอร์กับหลากกลุ่มธุรกิจ รวมถึงการได้รางวัลจากหลายที่ . . .
หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ OMG ถ้าไม่มีทวิตเตอร์ก็อาจจะไม่มี OMG ในวันนี้
หลังจากที่คนเข้ามาศึกษา OMG จากการAirdropแล้ว หลายคนได้ถือเหรียญนี้ไว้ และอีกส่วนนึงได้เข้าไปซื้อเหรียญตัวนี้เพิ่ม โดยที่มา มาจากการที่Vitalikผู้สร้างEthereumได้กล่าวว่า “นี่เป็นโปรเจคที่ชอบ” , จากการที่ทีมงานมีพาร์ทเนอร์และที่ปรึกษาที่ดี , ตัวโปรเจคที่ทำน่าสนใจ คนส่วนมากจึงมาติดตาม Jun Hasegawa ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวของเขา จากนั้นการทวิตของจุนในแต่ละครั้งก็ได้รับความสนใจจากเหล่าสาวกที่เฝ้ารอการเติบโตของ OMG และแน่นอนว่ากลุ่มเหล่านี้ก็พูดแบบปากต่อปากกับเพื่อนๆของพวกเค้าในวงการว่า OMG จะทำอะไร และดีอย่างไร เนื่องด้วยคนที่เข้ามาส่วนมากเป็นนักลงทุน ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ จึงไม่สามารถประเมินความเป็นไปได้เชิงเทคนิคได้มากนัก ส่วนมากเน้นการวิเคราะห์เชิงการเงินเข้ามาช่วยลดความเสี่ยง หากมองดีแล้ว ตัวคอนเซ็ปโปรเจคของ Omise นั้นดีจริง
แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นนั้นยังต้องรอการเกิดของ Plasma ที่เข้ามาช่วยเรื่องจำนวนการทำธุรกรรมให้มากขึ้นซะก่อน
Partner
การจับมือเป็นพาร์ทเนอร์เป็นสิ่งนึงที่เพิ่มความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน และสิ่งที่ OMGทำก็คือ
จับมือกับ McDonalds Thailand และการจับมือกับ Google Thailand แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีโปรดักร่วมกัน
Airdrop
หลายคนที่ถือ ETH ล้วนรู้จัก OMG จากการ Airdrop ทำให้เข้ามาดูว่า เหรียญที่ส่งมาฟรีทำอะไร
แล้วมีมูลค่าไหม แน่นอนว่าหากได้ลองศึกษา OMG สิ่งแรกที่พบคือหน้าของผู้ก่อตั้ง Ethereum
ที่อยู่บอร์ดที่ปรึกษา การAirdropของOMGใช้เหรียญประมาณ5% แต่กลับทำให้คนที่ถือETHทุกคนเข้ามาสนใจได้
นับว่าเป็นการทำการตลาดที่ยอดเยี่ยมและคุ้มค่า เพราะETHในตอนกรกฎาคมปีที่แล้ว
เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีติดพอร์ท เพราะกระแสของการระดมทุนกำลังร้อนแรง และส่วนมากระดมทุนด้วยETH
สรุป
OMGเป็นโปรเจคที่คอนเซ็ปดี มีพาร์ทเนอร์ดี มีทีมที่ดี และโปรเจคน่าสนใจมากถึงขนาดที่สามารถตัดธนาคารออกไปได้ แต่ยังไม่มีโปรดักออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน ตรงนี้ทำให้นักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนในธุรกิจ เกิดคำถามที่ว่า ราคาการขึ้นของ OMG มาจากการตลาดหรือการโฆษณาไหม เพราะหากเป็นธุรกิจการที่ราคาขึ้นลงของหุ้นมักจะมาจากผลประกอบการ
จึงสรุปได้ว่าการขึ้นลงของราคา OMG ในปัจจุบันเป็นการขึ้นลงจากการเก็งกำไร โดยที่ผู้เก็งกำไรคาดหวังสิ่งที่ OMG จะทำในอนาคต และราคาที่ขึ้นมาแบบไม่มีผลงานทุกวันนี้ก็มาจากการโปรโมททั้งสิ้น
ปิดท้ายด้วยคำพูดของคุณปู่ Warren Buffett สุดยอดนักลงทุนสาย VI
“Risk comes from not knowing what you’re doing.”
“ความเสี่ยงมักมาพร้อมกับการที่คุณไม่รู้ว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่”
การที่คุณไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ เช่น การลงทุนในตลาดหุ้นอย่างไม่มีจุดหมาย ซื้อๆ ขายๆ แบบไม่มีหลักการ มองไม่เห็นความเสี่ยงที่มี อาจจะทำให้คุณสูญเสียเงินจำนวนมากให้กับความไม่รู้ของคุณได้ในที่สุด…
Happy Learning ครับ
Cr : https://keeepwriting.wordpress.com/2014/12/21/5quotesfrombuffett/
Cr : https://techsauce.co/tech-and-biz/omise-omisego-thai-startups-ico/
Cr : https://www.iconfinder.com/