บทที่ 3
เหรียญโลหะ
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
ลองนึกภาพเศรษฐีคนหนึ่งตัดสินใจเก็บสินทรัพย์มูลค่าสักหมื่นล้านเหรียญ เอาไว้ในรูปของทองแดง ขณะที่นายธนาคารของเศรษฐีคนนั้นต้องเที่ยวตระเวนกว้านซื้อทองแดงมากถึงร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตทั่วโลกในแต่ละปี มันเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้เลยที่การกระทำนั้นจะส่งผลให้ราคาของทองแดงพุ่งสูงขึ้น แรกเริ่มดูเหมือนว่านี่เป็นสิ่งยืนยันถึงความฉลาดของกลยุทธ์ทางการเงินของมหาเศรษฐี: กล่าวคือ ทรัพย์สินที่เขาต้องการซื้อนั้น เริ่มมีราคาสูงขึ้นตั้งแต่ก่อนที่เขาจะทำการซื้อสำเร็จเสียอีก มหาเศรษฐีผู้นั้นก็ให้เหตุผลกับตัวเองว่า การเพิ่มขึ้นของราคาทองแดงนั้น จะส่งผลให้ผู้คนแห่กันหาซื้อทองแดงเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่า และทำให้ราคาของมันยิ่งสูงขึ้นไปอีก
แม้ว่าจะมีผู้คนจำนวนมากร่วมมือกับมหาเศรษฐีในการสร้างรายได้จากทองแดง แต่มหาเศรษฐีสมมุติผู้ลุ่มหลงในทองแดงของเรากำลังตกที่นั่งลำบาก ด้วยราคาที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ทองแดงกลายเป็นเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรเย้ายวนเหล่าแรงงาน และเงินทุนทั่วโลก ปริมาณทองแดงใต้พื้นโลกมีมากเกินกว่าที่เราจะสามารถขุดมันขึ้นมาทั้งหมดได้ มันมากเกินกว่าที่เราจะสามารถประมาณปริมาณได้ด้วยซ้ำ จึงทำให้เมื่อเรามองในทางปฏิบัติแล้ว สิ่งเดียวที่เป็นตัวกำหนดปริมาณการผลิตทองแดงนั้น มีเพียงกำลังทุนและแรงงานที่อุทิศให้กับการผลิตมันเท่านั้น
ยิ่งราคาสูงขึ้นเท่าไหร่ ทองแดงก็จะสามารถถูกผลิตเพิ่มขึ้นได้มากเท่านั้น ราคาและปริมาณของทองแดงจะเพิ่มขึ้นจนกว่ามันจะถึงจุดที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนทางการเงินได้; สมมุติว่าจุดนั้นเกิดขึ้นเมื่อปริมาณทองแดงเพิ่มขึ้น 10 ล้านตัน และมีราคา $10,000 ต่อตัน (หรือประมาณ 320,000 บาทต่อตันt2) เมื่อถึงจุดหนึ่ง อุปสงค์ทางการเงินของทองแดงจะต้องลดลง และเมื่อถึงจุดนั้น ผู้ที่ถือทองแดงอยู่ในมือ ย่อมต้องการปล่อยทองแดงที่เค้ามีออกสู่ตลาดเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าประเภทอื่น เพราะท้ายที่สุดแล้วนั้นจุดประสงค์ที่พวกเขาซื้อทองแดงนั่นเอง
หลังจากอุปสงค์ทางการเงินของทองแดงลดลง โดยที่ปัจจัยอื่นไม่เปลี่ยนแปลง ตลาดทองแดงจะกลับคืนสู่สภาวะอุปสงค์และอุปทานเดิม โดยมีปริมาณการผลิต 20 ล้านตันต่อปี ที่ราคาขาย $5,000 ต่อตัน (ประมาณ 160,000 บาทต่อตันt2) แต่เมื่อผู้ถือทองแดงเริ่มเทขายทองแดงของพวกเขา ราคาจะลดลงต่ำกว่าราคานั้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้มหาเศรษฐีจะต้องสูญเสียเงินแก่กระบวนการนี้; เนื่องจากในขณะที่เขาทำให้ราคาทองแดงสูงขึ้น มหาเศรษฐีได้ซื้อทองแดงที่ราคามากกว่า $5,000 ดอลลาร์ต่อตัน แต่ทองแดงทั้งหมดของเขาในปัจจุบันกลับมีมูลค่าต่ำกว่า $5,000 ดอลลาร์ต่อตัน และคนอื่น ๆ ที่แห่ตามกันซื้อทองแดงในราคาที่สูงกว่า จะยิ่งสูญเสียเงินมากกว่ามหาเศรษฐีคนดังกล่าวเสียอีก
รูปแบบเราเพิ่งพูดไปนั้นสามารถใช้ได้กับสินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิด เช่น ทองแดง, สังกะสี, นิกเกิล, ทองเหลือง, หรือน้ำมัน รวมถึงสินค้าที่ผู้คนไม่ได้นำไปเก็บ แต่มักนำไปบริโภคและทำให้หมดไปเป็นส่วนใหญ่ ปริมาณของสินค้าประเภทนี้มักจะมีสัดส่วนของปริมาณในระดับเดียวกับอัตราการผลิตต่อปีอยู่เสมอในทุกช่วงเวลา อุปทานใหม่ถูกสร้างขึ้นและใช้บริโภคหมดไปอย่างต่อเนื่อง หากผู้เก็บออมตัดสินใจเก็บความร่ำรวยของตนไว้ในหนึ่งในสินค้าเหล่านี้ ทุนทรัพย์ของเขาจะสามารถซื้อสินค้าได้เพียงจำนวนหนึ่ง ก่อนที่ราคาของมันจะถูกผลักให้สูงขึ้นเพื่อดูดซับเงินลงทุนของเขาทั้งหมดเนื่องจากเขากับลังแย่งกันซื้อสินค้ากับผู้บริโภคคนอื่นๆ ที่นำเอาสินค้าไปใช้ในการผลิตในอุตสาหรรมของเขา เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นก็จะทำให้รายได้ของผู้ผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ผู้ผลิตสามารถลงทุนในกระบวนการผลิตสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาของสินค้าถล่มลงมาอีกครั้ง ส่งผลให้ผู้เก็บออมจำต้องสูญเสียความร่ำรวยจากมูลค่าของทรัพย์สินที่ลดลง ผลรวมของกระบวนการทั้งหมดนี้ คือการเปลี่ยนผ่านความมั่งคั่งจากผู้เก็บออมที่หลงผิด ไปสู่มือของผู้ผลิตสินค้าที่เขาซื้อมานั่นเอง
นี่คือองค์ประกอบของตลาดฟองสบู่: อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการผลักดันให้เกิดความต้องการเพิ่มเติม ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นไปอีก เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการผลิต และ การสร้างอุปทานมากยิ่งขึ้น ซึ่งในที่สุดจะทำให้ราคาตกลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ เป็นการลงโทษผู้ที่ซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าราคาในตลาดปกติ ขณะที่นักลงทุนในช่วงวิกฤติฟองสบู่สิ้นเนื้อประดาตัวผู้ผลิตสินค้ากลับได้รับผลกำไรจำนวนมาก ตลอดประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก กลไกดังกล่าวเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าจะกับทองแดง หรือสินค้าอื่นใดในโลกใบนี้ เป็นกลไกที่คอยลงโทษผู้ใดก็ตามที่เลือกใช้สินค้าเหล่านี้เป็นเงิน ผ่านการลดค่าของทรัพย์สิน ส่งผลให้พวกเขาต้องสูญเสียสิ้นเนื้อประดาตัวในระยะยาว และทำให้สินค้าโภคภัณฑ์เหล่านั้นกลับคืนสู่บทบาทของสินค้าทั่วไปตามธรรมชาติที่มันควรจะเป็น ไม่ใช่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
อะไรก็ตามที่จะทำหน้าที่รักษามูลค่าได้ดี จำเป็นต้องฝ่าฟันกับดักนี้ไปให้ได้: กล่าวคือ มันจะต้องมีมูลค่าสูงขึ้นเมื่อผู้คนต้องการที่จะใช้มันเป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่า, และผู้ผลิตจะต้องถูกควบคุมไม่ให้สามารถอัดฉีดอุปทานได้มากพอที่จะทำลายมูลค่าของมัน ทรัพย์สินที่มีลักษณะเช่นนี้ จะให้คุณประโยชน์แก่ผู่ที่เลือกใช้มันเป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่า เพิ่มพูนความมั่งคั่งของเขาในระยะยาวเมื่อมันกลายมาเป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่าหลักของสังคม เนื่องจากผู้ที่ตัดสินใจเลือกสินค้าชนิดอื่นจะมีทางเลือกเพียงสองทาง คือกลับลำแล้วหันมาเลียนแบบการตัดสินใจของผู้ที่ประสบความสำเร็จ หรือยอมสูญเสียความมั่งคั่งของตนไปโดยปริยาย
ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โลหะที่เป็นผู้ชนะการแข่งขันนี้เสมอมาคือทองคำ ที่สามารถรักษาบทบาททางการเงินของมันเอาไว้ได้ด้วยลักษณะจำเพาะทางกายภาพสองประการ ที่ทำให้มันแตกต่างจากสินค้า หรือวัตถุอื่นๆ: ประการแรกเนื่องมาจากการที่ทองคำมีเสียรภาพทางเคมีที่สูงมาก จนทำให้มันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะถูกทำลาย และ ประการที่สอง ทองคำนั้น ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาจากวัตถุอื่นใดได้ (แม้จะขัดแย้งกับคำอวดอ้างของนักเล่นแร่แปรธาตุก็ตาม) นอกจากการสกัดจากสินแร่ทองคำเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากอย่างยิ่งบนโลกของเรา
ความเสถียรทางเคมีของทองคำ ทำให้เราสามารถสรุปโดยนัยหนึ่งได้ว่า ทองคำทั้งหมดที่ถูกผลิตขึ้นโดยมนุษย์นั้น ยังอยู่ในการครอบครองของมนุษย์ไม่มากก็น้อย เนื่องจากมนุษยชาติได้เก็บสะสมทองคำจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดมา ในรูปแบบของเครื่องประดับ, เหรียญ, หรือ ทองคำแท่ง โดยทองคำเหล่านั้น ไม่เคยถูกใช้อุปโภคบริโภค หรือสลายตัวไปด้วยสนิมแม้แต่น้อย การที่ทองคำไม่สามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารเคมีอื่นๆ ได้นั้น หมายความว่า วิธีเดียวที่จะสามารถเพิ่มปริมาณอุปทานของทองคำได้ มีเพียงการขุดของคำขึ้นมาจากผืนโลก ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีต้นทุนสูง เป็นพิษต่อผู้ขุด และมีความไม่แน่นอน ซึ่งที่มนุษย์เพียรพยายามกระทำมาเป็นพันๆ ปี แลกกับผลผลิตที่ลดลงตลอดเวลา นั่นหมายความว่าทองคำที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดปัจจุบันนั้น เป็นผลผลิตจากขบวนการผลิตทองคำของมนุษย์ในเวลานับหลายพันปี และมันมีจำนวนที่ยิ่งใหญ่มหาศาลเมื่อเทียบกับจำนวนทองคำที่สามารถผลิตขึ้นได้ใหม่ในแต่ละปี โดยในช่วงเจ็ดทศวรรษที่ผ่านมา สถิติการเติบโตของอุปทานทองคำ มีอัตราการเจริญเติบโตที่เสถียรอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 2 ต่อปี (รูปที่ 1)2
รูปที่ 1 ปริมาณทองคำทั้งหมดบนโลก และ อัตราการเจริญเติบโดในแต่ละปี
เพื่อทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างทองคำ และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ให้ลองจินตนาการถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสินค้าต่างๆ เมื่อสินค้าเหล่านั้น มีอุปสงค์ที่เกิดขึ้นจากความต้องการในการใช้มันเป็นแหล่งเก็บรักษามูลค่า (store of value) เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลให้เกิดการระเบิดขึ้นของราคา ตามมาด้วยการเพิ่มอัตราการผลิตต่อปีขึ้นเป็นสองเท่า สำหรับสินค้าใดๆที่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ การเพิ่มขึ้นของอัตราการผลิต จะมีขนาดยิ่งใหญ่กว่าปริมาณของอุปทานที่มีอยู่เป็นอย่างมาก ส่งผลให้ราคาของสินค้านั้นพังทลายลงอย่างรวดเร็ว และนำมาสู่ความความเจ็บช้ำของผู้ที่เป็นเจ้าของสินค้าเหล่านั้น แต่สำหรับทองคำ การพุ่งขึ้นของราคาที่จะทำให้อัตราการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากร้อยละ 1.5 ขึ้นมาเป็นร้อยละ 3.0 นั้นแทบจะไม่มีผลกระทบใดๆ และถ้าอัตราการผลิตที่สูงขึ้นนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ ปริมาณของทองคำทั้งหมดที่ถูกผลิตก็จะเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้นด้วย ส่งผลให้ปริมาณของทองคำที่ถูกผลิตเพิ่มขึ้นมามีผลกระทบน้อยลงเรื่อยๆ มันจึงยังเป็นไปไม่ได้ที่นักขุดทองคำ จะสามารถผลิตทองคำได้เป็นจำนวนมากพอที่จะกดราคาทองคำลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
ในประเด็นข้างต้น มีเพียงเงิน (โลหะเงิน) เท่านั้นที่มีสามารถขึ้นมาคู่คี่สูสีกับทองคำ ด้วยอัตราการเจริญเติบโตของอุปสงค์ในอดีตอยู่ราวๆ ร้อยละ 5 ถึง 10 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในสมัยปัจจุบัน เหตุผลที่ทำให้อัตราการผลิตเงินสูงกว่าทองคำมีอยู่สองประการด้วยกัน: ประการที่หนึ่งเนื่องมาจากการที่เงิน สามารถผุกร่อน และถูกบริโภคในกระบวนการทางอุตสาหกรรมได้ ส่งผลให้อัตราส่วนปริมาณที่คงเหลืออยู่ ต่ออัตราการเจริญเติบโตของเงินนั้นไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับทองคำ, ประการที่สอง เนื่องมาจาก เงิน นั้นมีความหายากน้อยกว่าทองคำ และยังสกัดได้ง่ายกว่าทองคำ เนื่องด้วยเงินเป็นโลหะที่มีอัตราส่วนปริมาณ-ต่อ-กระแสที่สูงเป็นอันดับสองรองจากทองคำ และมีมูลค่าต่อน้ำหนักน้อยกว่าทองคำ จึงทำให้ตลอดหลายสหัสวรรษ โลหะเงิน ทำหน้าที่เป็นเงินในธุรกรรมขนาดเล็ก ควบคู่กับทองคำที่ด้วยมูลค่าที่สูงกว่า ทำให้ไม่เหมาะสมนักที่จะนำมาแบ่งเป็นหน่วยย่อยที่มีขนาดเล็ก ๆ
การยอมรับระบบมาตรฐานทองคำในระดับโลก ส่งผลให้การทำธุรกรรมด้วยกระดาษที่มีทองคำหนุนหลังสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ขนาดและปริมาณดังที่จะอภิปรายในรายละเอียดในภายหลังนั้น ได้นำมาสู่การขจัดบทบาทหน้าที่ทางการเงินของโลหะเงินไปโดยสิ้นเชิง เมื่อความจำเป็นต้องใช้โลหะเงินในการทำธุรกรรมขนาดเล็กหมดลงไป มันก็สูญสิ้นหน้าที่ใดๆ ทางการเงิน และกลายสภาพเป็นโลหะทางอุตสาหกรรม ส่งผลให้มูลค่าของมันตกลงเมื่อเทียบกับทองคำ แม้โลหะเงินจะยังคงความหมายถึงตำแหน่งรองชนะเลิศในทางกีฬา แต่เมื่อเทคโนโลยีศัตวรรษที่ 19 ทำให้การทำธุรกรรมสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการขนย้ายวัตถุที่เป็นหน่วยทางการเงินใดๆ ทำให้การได้ที่สองของเงินก็ไม่ต่างอะไรกับการพ่ายแพ้นั่นเอง.
เหตุผลเหล่านี้อธิบายให้เห็นได้ว่าเพราะเหตุใด ฟองสบู่(โลหะ)เงิน จึงได้แตกลงในอดีต และเพราะเหตุใดมันจะระเบิดอีกครั้งเมื่อมีการพองโตขึ้นมาใหม่: เนื่องจากเมื่อใดที่มีเม็ดเงินหลังไหลเข้ามาในสินค้าโลหะเงิน มันไม่ใช่เรื่องยากเลยที่ผู้ผลิตจะเพิ่มจำนวนอุปสงค์ของเงินอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลให้ราคาของมันถล่มลงมาอย่างรวดเร็วพร้อมๆกับทรัพย์สินและความั่งคั่งของผู้ที่เลือกจะเก็บออมในรูปแบบของโลหะเงิน ตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดของกำดักเงินผลิตง่าย ก็มาจากตัวโลหะเงินนั่นเอง โดยจากสินค้าอื่นๆ ทั้งหมด ในช่วง ปลายทศวรรษ 1970 สามพี่น้องตระกูลฮันต์ได้ทำการตัดสินใจที่ส่งผลให้เกิดการยกเลิกการใช้แร่เงินเป็นเงิน โดยการกว้านซื้อแร่เงินจำนวนมหาศาล เพื่อผลักดันให้ราคาพุ่งสูงขึ้น
เราสามารถอธิบายได้ว่าทำไมวิกฤติฟองสบู่ของแร่เงินนั้นได้เกิดขึ้นก่อนที่จะปรากฏขึ้นให้เห็นอีกครั้งในเมื่อแร่เงินเฟ้อเฟ้อ ทันทีที่การลงทุนทางการเงินไหลเข้าสู่แร่เงินจึงไม่ใช่เรื่องยากหากผู้ผลิตจะเพิ่มอุปทานและทำให้ราคาของแร้เงินลดลง ซึ่งเป็นนำความมั่งคั่งของนักสะสมแร่เงินเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ ตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดของกับดักของเงินอ่อนก็คือ แร่เงินนั่นเอง เมื่อช่วงปลายทศวรรษ 1970 สามพี่น้องตระกูลฮันต์ได้ทำการตัดสินใจที่ส่งผลให้เกิดการยกเลิกการใช้แร่เงินเป็นเงิน โดยการกว้านซื้อแร่เงินจำนวนมหาศาล ผลักดันให้ราคาพุ่งสูงขึ้น
เหตุผลในการกระทำเช่นนั้นของพวกเขาคือ เมื่อราคาของเงินสูงขึ้น ผู้คนก็จะอยากซื้อเงินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาของมันยิ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆ และจะทำให้ผู้คนต้องการที่จะรับค่าจ้างเป็นเงินแทนนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเหล่าพี่น้องตะกูลฮันต์จะซื้อเงินมากเท่าใด ทรัพย์สินของพวกเขากลับเทียบไม่ได้เลยกับปริมาณของเงินที่อยู่ในมือของกลุ่มผู้ถือครอง และนักขุดเงิน ที่สามารถนำเงินมาขายในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด ราคาของเงินก็พังทลายลง และเหล่าพี่น้องตระกูลฮันต์ต้องสูญเสียทรัพย์สินมูลค่ากว่า 1หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งอาจเป็นค่าเล่าเรียนที่แพงที่สุดที่เคยมีใครจ่ายเพื่อการเรียนรู้ถึงความสำคัญของอัตราส่วนปริมาณ-ต่อ-กระแส และ บทเรียนที่ว่า ไม่ใช่ทุกอย่างที่เปล่งประกายแวววาวจะเป็นทองคำเสมอไป3 (ดูรูปที่ 24)
รูปที่ 2 อัตราส่วนปริมาณของสินค้าทั้งหมด ต่ออัตราการผลิตในแต่ละปี
ด้วยอัตราการผลิตที่ต่ำนี่เอง ที่เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ทองคำสามารถรักษาบทบาทหน้าที่ทางการเงินของมันเอาไว้ได้ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ด้วยบทบาทที่มันยังคงรักษาไว้ได้ถึงปัจจุบันในขณะที่ธนาคารกลางต่างๆ ยังคงถือทองคำจำนวนมากไว้เพื่อปกป้องมูลค่าของเงินกระดาษของพวกเขา ตัวเลขทุนสำรองของธนาคารกลางอยู่ที่ราว 33,000 ตัน หรือประมาณหนึ่งในหกของปริมาณทองคำเหนือผิวโลกทั้งหมด ด้วยอัตราส่วนปริมาณ-ต่อกระแสที่สูงของทองคำ ทำให้มันเป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นของอุปทานต่อราคาน้อยที่สุด (Price Elasticity of Supply, PES) ซึ่งโดยนิยาม หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอุปทาน หารด้วย อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคา หมายความว่า เมื่อปริมาณอุปทานของทองคำทั้งหมดที่อยู่ในมือของผู้คนทั่วโลก เป็นผลจากการผลิตทองคำเป็นเวลานานับพันปี การเพิ่มขึ้น X% ของราคานั้น อาจส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอัตราการผลิตทองคำ แต่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมานั้น กลับมีจำนวนที่เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณทองคำที่มีอยู่ทั้งหมด ยกตัวอย่างกรณีที่เราได้เห็นการเพิ่มขึ้น 36% ของราคาทองคำในตลาดแลกเปลี่ยน ในปีค.ศ.2006 ในกรณีที่เป็นสินค้าอื่นๆ การเพิ่มขึ้นของราคาที่สูงขนาดนี้จะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอัตราการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้มีสินค้าจำนวนมากไหลเข้าสู่ตลาดและทำให้ราคาของสินค้านั้นลดลง แต่ในกรณีของทองคำ ผลผลิตประจำปีค.ศ. 2006 นั้นกลับมีเพียง 2,370 ตัน ซึ่งต่ำกว่าปีค.ศ. 2005 100 ตัน และมันยังลดลงอีก 10 ตันในปีค.ศ. 2007 ในขณะที่อุปทานที่เกิดขึ้นใหม่ในปีค.ศ. 2005 มีปริมาณ 1.67% ของอุปทานที่มีอยู่เดิมทั้งหมด มันหลับลดลงเป็น 1.58% ในปีค.ศ. 2006 และเหลือเพียง 1.54% ในค.ศ.2007 แม้กระทั่งการเพิ่มขึ้นกว่า 35% ของราคาก็ไม่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณทองคำใหม่ที่ไหลเข้าสู่ตลาดได้ จากผลการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่า ปีที่อัตราการผลิตทองคำเพิ่มขึ้นสูงที่สุดคือปีค.ศ. 1923 อยู่ที่ประมาณ 15% ซึ่งส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณทองคำเพียง 1.5% เท่านั้น แม่กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว ก็อาจส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของปริมาณทองคำทั้งหมดเพียง 3-4% เท่านั้น โดยปีที่มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณทองคำสูงสุดคือปีค.ศ. 1940 ที่ปริมาณทองคำเพิ่มขึ้นราวๆ 2.6% โดยยังไม่เคยมีครั้งใดที่ปริมาณทองคำเพิ่มขึ้นสูงกว่าครั้งนั้นอีกเลย และหลังจากค.ศ.1942 ก็ไม่เคยมีปีใดที่ปริมาณทองคำนั้นเพิ่มขึ้นสูงกว่า 2% อีกแม้แต่ครั้งเดียว
เมื่อการผลิตโลหะเริ่มแพร่หลายขึ้น อารยธรรมโบราณทั้งในจีน, อินเดีย, และอียิปต์ก็เริ่มใช้ทองแดง และต่อมาก็เริ่มใช้โลหะเงิน ในฐานะของเงิน เนื่องจากโลหะทั้งสองประเภทผลิตได้ค่อนข้างยากในเวลานั้น จึงทำให้มันมีความสามารถในการขายเชิงเวลาและสถานที่ที่สูง แม้ทองคำจะเป็นสิ่งที่มีค่าสูงมากในอารยธรรมเหล่านี้ แต่ความหายากของมันทำให้ความสามารถในการขายสำหรับการทำธุรกรรมของมันนั้นถูกจำกัด จนมาถึงสมัยของกรีซ ที่ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของอารธรรมสมัยใหม่ ที่ทองคำได้ถูกนำมาผลิตเป็นเหรียญขึ้นเพื่อใช้ในการค้าขายเป็นครั้งแรกภายใต้การปกครองของกษัตริย์โครเอซุส เหตุการณ์นี้กระตุ้นให้เกิดตลาดค้าขายระดับโลก เนื่องจากคุณสมบัติของทองคำที่ส่งผลให้เกิดการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ก็พัวพันกันอย่างใกล้ชิดกับปัจจัยทางความมั่นคงของเงินมาเสมอ โดยอารยธรรมของมนุษย์จะเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาและสถานที่ที่มีการใช้เงินที่มีความมั่นคงอย่างแพร่หลาย ขณะที่เงินที่ไร้ความมั่นคงนั้น มักจะเกี่ยวพันกับการถดถอยของอารธรรม และการล่มสลายของสังคมอยู่บ่อยครั้ง
Note:ผลงานแปลนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างเพจ Blockchain Review และ คุณพิริยะ สัมพันธารักษณ์ MD ของ Chaloke dotcom ยังไงฝากติดตามด้วยนะครับ