Stable Coin 1ในกลุ่มเหรียญที่ได้รับความสนใจจากนักเทรดคริปโต เพราะมีมูลค่าค่อนข้างคงที่ ตามแนวคิดของเหรียญเหล่านี้คือมูลค่าจะถูกกับสกุลเงินนึงไว้ ทำให้มีราคาเท่ากับเงินสกุลนั้น และบริษัทที่ออกเหรียญเหล่านี้ก็ต้องมีเงินจำนวนดังกล่าวสำรองไว้ในจำนวนที่เท่ากัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ บริษัทสามารถออกเหรียญมามากกว่าจำนวนสินทรัพย์ค้ำประกันที่บริษัทถือไว้ได้ และเราไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแท้จริง ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จะมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่า ไม่ได้เสกเหรียญออกมาเพื่อปั่นตลาด แต่ในปัจจุบัน เราก็ยังไม่สามารถตรวจสอบมันได้อย่างแท้จริง
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!เหตุการณ์สำคัญของเหรียญ Stable Coin คือช่วงที่เกิดการปั่นของ Bitcoin ในช่วงเวลานึง มีคนสังเกตว่า เหรียญ USD Tether มีจำนวนเพิ่มขึ้นมา และการปั่นราคาก็เกิดขึ้นที่ Bitfinex ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือครองหุ้นร่วมกัน โดย USD Tether ก็ถือครองหุ้นบางส่วนของ Bitfinex และ Bitfinex ก็ถือครองหุ้นบางส่วนของ USD Tether ดังนั้นสองบริษัทไม่ได้มีสิทธิ์ขาดต่อกัน แต่เป็นการช่วยเหลือกันแบบอิงอาศัยบนผลประโยชน์ร่วมมากกว่า
โดยเหรียญมูลค่าคงที่เหรียญแรกนั้นกำเนิดในปี2014 จำนวน3เหรียญแต่มีเพียง USD Tether ที่เป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน และหลังจากนั้นก็มีเหรียญมูลค่าคงที่พวกนี้ออกมาอีกจำนวนมาก ในปี2015-2016 จำนวน2เหรียญ คือ Bitpay และ Steem Dollars ที่มีมูลค่าเหรียญละ 1ดอลลาร์ ถือเป็นปีที่ผู้คนไม่ค่อยสนใจเหรียญมูลค่าคงที่สักเท่าไหร่ แต่ในปี2017และ2018 มีเหรียญมูลค่าคงที่ออกมาจำนวนมาก โดยปี2017จำนวน5เหรียญ ในจำนวนนี้มีเพียง Dai ของ Bittrex เท่านั้นืที่ได้รับความนิยมและเชื่อมั่นจากผู้ใช้ และในปี2018 ถือเป็นปีของเหรียญมูลค่าคงที่ก็ว่าได้ เพราะมีการออกเหรียญประเภทนี้ออกมาเยอะมาก ทั้ง Gemini, Paxos Standard, DigixDao, True USD, Circle และอื่นๆอีกมากมายเป็นจำนวน10กว่าสกุลเงิน
เป็นไปได้ไหมที่รัฐเองก็จะออกสกุลเงินคงที่เช่นกัน เพราะสกุลเงินเหล่านี้มีต้นทุนที่ต่ำมาก ทั้งรัฐยังได้อำนาจการตรวจสอบแบบเต็มที่ หากเป็นระบบธนาคารรัฐจะต้องทำเรื่องไปยังธนาคาร ซึ่งรัฐตรวจสอบได้ แต่ก็ไม่คล่องตัวเท่ากับการเป็นเจ้าของระบบเอง อีกทั้งผลประโยชน์ทางภาษีรัฐก็สามารถแทรกย้อนหลังได้หมดเลย ถือว่ารัฐได้อำนาจการตรวจสอบติดตามที่เพิ่มขึ้นบนต้นทุนระบบการเงินที่ต่ำลง แต่โครงสร้างเหล่านี้ยังความเปราะบางอยู่มาก เพราะปัญหาเรื่องบัคอาจส่งผลให้ระบบล่มได้เลย เราเองก็เคยเห็นว่าระบบธนาคารมีการอัพเดตหรือถูกแฮก ผู้ใช้งานจะไม่สามารถใช้งานได้ แต่ในระบบของบล็อกเชนนั้นต่างออกไป ความน่ากลัวก็คือ ถ้าระบบถูกแฮกและมีการสร้างไอดีใหม่ สร้างเหรียญสู่ไอดีใหม่นั้น จากนั้นนำเงินไปซื้อสินค้า อาจทำให้ระบบของรัฐมีปัญหาเรื่องปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นมาจากการถูกแฮกได้ โดยแนวคิดระบบบล็อกเชนนั้น ดีกว่าระบบแบบเดิม แต่ความจริงคือไม่มีระบบที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นความเสี่ยงจากการใช้งานเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หากรัฐจะนำระบบนี้ไปใช้งาน ต้องมีการสำรองข้อมูลและสร้างระบบสำรองหากเกิดความเสี่ยงตรงนี้ขึ้น เพื่อให้ระบบการเงินสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบลื่น หากเกิดปัญหาในระบบหลัก
Cr https://www.blockchain.com/ru/static/pdf/StablecoinsReportFinal.pdf