fbpx

Smart Contract Application 4 : Trade Finance การประยุกต์สัญญาอัจฉริยะกับเรื่องการเงินในระบบการค้า

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe! สัญญาอัจฉริยะที่สามารถปรับปรุงการโอนเงินระหว่างประเทศผ่าน Letter of Credit , การชำระเงินทางการค้าในขั้นต้นได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้สินทรัพย์ทางการเงินมีสภาพคล่องสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินสำหรับผู้ซื้อซัพพลายเออร์และสถาบัน การสร้างสัญญาอัจฉริยะให้ได้มาตรฐานในระดับอุต

Smart Contract Application 4 : Trade Finance การประยุกต์สัญญาอัจฉริยะกับเรื่องการเงินในระบบการค้า

6 Jul 2018

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

สัญญาอัจฉริยะที่สามารถปรับปรุงการโอนเงินระหว่างประเทศผ่าน Letter of Credit ,
การชำระเงินทางการค้าในขั้นต้นได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้สินทรัพย์ทางการเงินมีสภาพคล่องสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินสำหรับผู้ซื้อซัพพลายเออร์และสถาบัน

การสร้างสัญญาอัจฉริยะให้ได้มาตรฐานในระดับอุตสาหกรรม
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

ผลกระทบทางกฎหมาย จากความผิดพลาดของการดำเนินงานจะลดลง
จะต้องมีการกำหนดที่เหมาะสมในสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของข้อพิพาทและการผิดนัด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของวงการมาหลายยุคหลายสมัย

การพัฒนาระบบการชำระบัญชีนั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาระบบ
และระบบนิเวศนอกระบบเครือข่าย ซึ่งสองสิ่งนี้ถือเป็นหัวของความสำเร็จในระบบการชำระบัญชีของยุคต่อไป

Current Stage ระดับปัจจุบัน
การทำข้อตกลงทางการค้า (Trade Agreement ) ในปัจจุบันมักมีการใช้ L/C หรือ Letter of Credit ซึ่งคล้ายๆเช็ค เป็นเอกสารที่มีขึ้นเพื่อยืนยันการชำระเงินในการซื้อขาย ที่ผู้ซื้อขอให้ธนาคารเป็นผู้ชำระให้แทน โดยเอกสารดังกล่าวหากผู้ขายทำตามข้อตกลงจะได้รับเงินตามที่กำหนดใน L/C และขึ้นเงินได้ตามเวลาที่ระบุใน L/C

ข้อดีของ L/C คือ
– ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความเสี่ยงต่ำ
– ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดในการมัดจำหรือสั่งซื้อสินค้า ทำให้สามารถได้รับสินค้ามาขายก่อนและค่อยนำเงินที่ได้จากการขายสินค้ามาชำระเคลียกับทางธนาคาร L/C ภายใน 90 วัน ช่วยให้ธุรกิจไม่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
– สำหรับฝ่ายผู้ขายสินค้า ก็ได้รับประโยชน์จากการรับ L/C เช่นกัน ถ้าหากผู้ขายสินค้าได้รับ L/C at sight 100% (คือ L/C ประเภทเพิกถอนไม่ได้) ก็สามารถไว้วางใจได้ว่าเมื่อส่งสินค้าไปให้กับผู้ซื้อแล้วจะได้รับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อจริง

โดยทั้งหมดเริ่มจากที่
1ผู้ซื้อผู้ขายทำสัญญากัน
2จากนั้นผู้ซื้อทำการของ L/Cจากธนาคาร
3ผู้ซื้อรับมอบสินค้าและผู้ซื้อมอบ L/C แก่ผู้ขายแทนการจ่ายเงิน และผู้ขายสามารถไปขึ้นเงินได้ตามวันและเวลาที่กำหนด
4ผู้ขายนำ L/C ไปขึ้นเงิน
5ธนาคารจ่ายเงินให้ก่อน และผู้ซื้อได้ของมาตั้งแต่ข้อที่3แล้ว
6ผู้ซื้อมาชำระเงินแก่ธนาคารภายใน90วัน หลังจากที่มีการขึ้นเงินหรือตามข้อตกลงกับธนาคารที่ระบุไว้ใน L/C แผ่นนั้นๆ

Future Stage ระดับอนาคต
ในอนาคตยังมีการขอ L/C เหมือนเดิม โดยที่ผู้ซื้อเป็นฝ่ายขอ และนำไปทำสัญญา
– จุดที่1 สัญญาการค้า หรือ Trade Agreement นั้นทำเป็น
Smart Contract ( Trade Agreement ) โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องมาเจอกัน
และสัญญาสามารถตรวจสอบได้
– จุดที่2 เมื่อครบเงื่อนไขที่ขึ้นเงินได้ ผู้ขายทำการขอขึ้นเงินผ่าน
Smart Contract ( Letter of Credit ) และสามารถรอรับเงินตามกระบวนการได้เลย
โดยที่ไม่ต้องไปธนาคารอีกต่อไป
– จุดที่3 ก่อนที่จะจ่ายเงิน ผู้ขายต้องสามารถยืนยันได้ว่า ได้ส่งมอบสินค้าบริการหรือสินทรัพย์ตามข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว โดย
สัญญาการรับมอบสินค้านี้ ถูกเก็บไว้ใน Smart Contract ( Deffered Payment Asset )

ข้อดีของการใช้ Smart Contract กับการประยุกต์ระบบการเงินของการค้า
– กระบวนการทั้งหมดเป็น Automate เป็นกระบวนกระอัตโนมัติ
คำถามที่สำคัญคือ เราจำเป็นต้องใช้คนอีกไหม
คำตอบคือ เราไม่จำเป็นต้องมีคนในส่วนงานนั้นๆอีกแล้วใช่ไหม
– เอกสารทั้งหมดมีสภาพคล่องสูง สามารถเก็บบนคลาวด์ได้
ไม่สิ้นเปลืองพื้นที่ ค่าบำรุงรักษาเพียงแค่ค่า Server เล็กน้อยเท่านั้น
– กระบวนการส่วนมากไม่จำเป็นต้องไปธนาคารอีกแล้ว
ทั้งหมดสามารถเป็นไปตามข้อตกลงได้เลย บน Smart Contract
– ต้นทุนทางการเงิน และต้นทุนทางเวลา ลดลงหมด ทั้งเจ้าของธนาคาร และผู้ซื้อขาย

ส่วนข้อเสียนั้น ไปวัดกับที่
1.ประสิทธิภาพของระบบ
2.ความผิดพลาดของผู้ใช้
3.ความไร้สติของคนทำสัญญา
4.การวางยาแบบไม่จริงใจของคนที่ระบุข้อตกลงในสัญญา

Cr : https://www.ccn.com/smart-contracts-12-use-cases-for-business-and-beyond/

Article
Writer

Maybe You Like

Recent Post