“ซื้อ XRP สิเหรียญใหญ่คนเทรดเยอะน่าเล่น” นั้นเป็นประโยคที่ผมได้ยินจากเพื่อนคนหนึ่งในช่างปลายปี 2017 ที่ราคา Ripple พุ่งแบบก้าวกระโดดและ หลังจากนั้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ผมก็ได้ยินประโยคจากเพื่อนคนนั้นว่า “ติดดอย XRP 93 บาท” และไม่ใช่แค่เพื่อนผมคนนี้คนเดียวหลายๆคนก็พบเจอกับประสบการณืเดียวกันแล้ว Ripple คืออะไรหละส่วนใหญ่แล้วคนที่ซื้อมักจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไรซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟัง
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!Ripple คืออะไร?
Ripple นั้นเป็นชื่อของระบบชำระเงิน (Payment gateway) ที่คิดค้นโดยบริษัท Ripple โดยมี Head Quater อยู่ที่ San Francisco โดยแนวคิดของ Ripple นั้นเริ่มมาจาก Ryan Fugger หลังจากที่เขาทำงานให้กับบริษัทแลกเปลี่ยนเงินแห่งหนึ่งใน Vancuver แนวคิดของเขาคือการสร้างระบบการเงินที่มีรูปแบบ Decentralized และทำให้ใครก็ตามสามารถสร้างเงินของตัวเอง ซึ่งหลังจากนั้น Fugger ก็ได้สร้างระบบที่ชื่อว่า RipplePay ขึ้นมา
ในเดือนพฤษภาคมปี 2011 Jed McCaleb ก็เริ่มคิดค้นระบบเงินดิจิทัลที่ธุรกรรมจะสามารถถูกยืนยันโดยคนทุกคนในระบบได้โดยไม่ต้องใช้การขุด (Proof of work) เหมือน Bitcoin หลังจากนั้น Jed McCaleb ก็ได้จ้าง Chris Larsen มาเข้าร่วมและได้ร่วมสนทนากับ Ryan Fugger หลังจากการสนทนาครั้งนั้น McCaleb ก็ได้เข้าร่วมกับ Ripple Community และ Fugger ก็ได้ส่งต่อโปรเจคให้แก่เขาและได้ก่อตั้งบริษัทชื่อว่า OpenCoin ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น Ripple Lab ในปี 2013 และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น Ripple ในปี 2015
แนวคิดของ Ripple ระบบเทคโนโลยี Infrastruceture สำหรับการทำธุรกรรมของธนาคาร โดย Ripple นั้นจะมาแก้ไขปัญหาของการทำธุรกรรมข้ามประเทศอย่าง Swift โดยปัจจุบันทาง Ripple มีผลิตภัณฑ์อยู่ 3 อย่างได้แก่ Xcurrent Xrapid และ Xvia
ระบบ SWIFT
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการโอนเงินนั้นยังทำด้วยระบบ Swift ซะส่วนมากแล้วไอระบบ Swift นี่มันมีปัญหาอะไรทำไมถึงต้องแก้ไขมัน ก่อนอื่นให้เราดูภาพด้านล่างนี้
ลองนึกภาพเมื่อเราโอนเงินเราต้องเดินไปที่ธนาคารเปิดใบโอนจากธนาคารท้องที่แล้วธนาคารจะส่งคำร้องของเราไปยังธนาคารอีกประเทศนึงและผู้รับจะได้เลข Swift code ไว้อ้างอิง ซึ่งจุดที่ทำให้ระบบนี้ล่าช้าคือ TimeZone นั้นเองเพราะเวลาโอนเงินข้ามประเทศนั้นเวลาการทำการของธนาคารจะแตกต่างกันเพราะมันเป็นระบบที่ใช้คนในการตรวจสอบทำให้เป็นเรื่องปกติที่ การโอนจะล่าช้าได้ตั้งแต่ 1-3 วัน และธนาคารก็จะเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงมากและนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
XCurrent
XCurrent จะเป็นระบบที่มาช่วยในเรื่องการโอนเงินข้ามโลกโดยใช้ InterLedger (ไม่ใช่ Blockchain) ซึ่ง Ledger ตัวนี้นั้นไม่ได้ใช้ XRP เลยแม้แต่น้อยและเป็นบริการที่นิยมที่สุดในแพลทฟอร์มของ Ripple ซึ่งการทำงานของมันนั้นคล้ายกับระบบ Swift มากแต่จุดที่แตกต่างคือระบบ InterLedger จะเป็นตัวที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องในการโอนเงินได้โดยไม่ต้องใช้ระบบคนมาตรวจสอบและยังมีการใช้ Cryptograpic มาช่วยในเรื่องการเป็นส่วนตัว ทำให้ธุรกรรมที่ทำผ่าน XCurrent เกิดขึ้นแทบจะ Real Time
Xrapid
Xrapid นั้นเป็นส่วนที่ใช้ XRP ที่เป็นเงินดิจิทัลที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ในปัจจุบัน ซึ่งระบบนี้จะเป็นอีกตัวเลือกให้กับธนาคารที่ไม่ได้ทำข้อตกลงกันไว้ เพราะด้วย Xcurrent นั้นจะทำให้ธนาคารสามารถทำธุรกรรมข้ามธนาคารด้วยเงิน Fiat ได้อย่างรวดเร็วแต่กลับมีข้อแม้ว่าธนาคารทั้งคู่นั้นจะต้องมีระบบที่รองรับกันรวมถึงอาจจะต้องมีเงินค้ำประกันบางส่วน แต่กับธนาคารอื่นๆไม่ได้เป็นอย่างนั้นเช่น หากมีธนาคาร A ในอาเจนตินาที่ใช้เงินเปโซหากมีธนาคาร B ที่คิดจะทำธุรกรรมกับธนาคาร A ธนาคารจะต้องมีเงินสกุลเปโซคงคลังไว้ และจะต้องมีค่าดำเนินการอย่างอื่นเช่นเช็ครวมถึงอาจจะมีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อที่อาาจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย XRP จึงถูกใช้แก้ปัญหาในจุดนี้โดยมันโดยหากธนาคาร A จะโอนเงินให้ธนาคาร B ก็เพียงแค่ซื้อ XRP แล้วส่งไปขายให้ธนาคาร B เป็นต้น และนี่เป็นการแก้ไขสภาพคล่องของการโอนเงินโดยมันมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำมมากและใช้เวลาเพียง 3 วินาทีในการโอน อย่างไรก็ตามผลิตภัณที่ธนาคารต่างๆใช้อยู่นั้นกลับเป็น Xcurrent ซะส่วนใหญ่ให้ XRP ถูกสงสัยในมูลค่า
Xvia
xVia เป็น API ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบของ Payment ของ Xcurrent หรือ Xrapid ได้อย่าสะดวกรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมข้ามโลกอย่างสะดวกสบาย เหมือนมันเป็น User Interface ที่ทำให้ Third Party สามารถนำไปใช้งานได้ง่ายๆโดยขึ้นอยู่กับระบบว่าจะใช้หรือไม่ใช้ XRP ก็ได้
เงินดิจิทัลที่รวดเร็วและถูกที่สุด
ในเดือนมีนาคม 2018 มีรายงานว่า Ripple สามารถรองรับธุรกรรมได้ถึง 50,000 ธุรกรรมต่อวินาทีในขณะที่ VISA ทำได้เพียง 24,000 ธุรกรรมเท่านั้น ทำให้มันกลายเป็นเงินดิจิทัลที่มีความรวดเร็วที่สุดแต่สิ่งที่น่าสนใจคือระบบของ Ripple นี้เป็นระบบ Centralized และเป็น Private Blockchain ระบบนี้ไม่มีการเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาขุดหรือร่วมกันเป็นผู้ยืนยันทำธุรกรรมได้ ผู้ที่สามารถยืนยันธุรกรรมของระบบได้มีเพียงธนาคารหรือหน่วยงานจำนวนหนึ่งที่จำกัดไว้เฉพาะกับระบบของ Ripple เท่านั้น และนั้นหมายความว่าระบบ Ripple นั้นมีคนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจในการปิดบัญชีหรือผลิตเงินเพิ่มตามใจชอบได้ ในเดือนพฤษภาคมปี 2015 มีรายงานว่า Jed McCaleb Co-founder ของ Ripple ถูกอายัดบัญชีที่มีมูลค่า 96 ล้าน XRP แนวคิดการโอนเงินของ Ripple นั้นจะแตกต่างจากระบบของเงินดิจิทัลสกุลเงินอื่นๆ โดยเมื่อเกิดการโอน Ripple จะมีเหรียญ XRP จำนวนหนึ่งถูกเบิร์นไปในกระบวนการโอนเป็นค่าธรรมเนียม
แม้จะมีข้อกังขาในด้านความเป็น Centralized แต่ประสิทธิภาพในด้านการทำธุรกรรมของ Ripple นั้นนับว่าดีกว่า Cryptocurrency ตัวอื่นๆ เป็นไหนๆ ไม่ว่าจะด้านความรวดเร็วและค่าธรรมเนียม ในเดือนธันวาคมปี 2017 ได้เกิดธุรกรรมของ Ripple เป็นปริมาณ 900 ล้าน XRP ซึ่งมีมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 0.000012 XRP หรือไม่ถึง 1 สตางค์ ทำให้นวัตกรรมการโอนเงินข้ามประเทศแบบเดิมๆ ได้ถูกยกระดับขึ้นไปอีกขั้นถ้าเทียบกับระบบการโอนเงินข้ามประเทศแบบ Swift