สวัสดีครับสำหรับโปรเจคแปลหนังสือ Mastering Bitcoin นี้คุณ Piriya Sambandaraksa ได้เป็นคนชวนผมตอนที่นั่งประชาคุมสมาคมอยู่ จริงๆแล้วทางผมก็ได้เคยออกหนังสือชื่อ Bitcoin Blockchain 101 ไปแล้วซึ่งก็เป็นหนังสือทั่วๆไปที่อธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Bitcoin และ Blockchain แต่จะเป็นเล่นที่เนื้อหา Overall ที่ค่อนข้างง่าย(แม้จะมีคนบอกว่ายากบ้าง) แต่หนังสือ Mastering Bitcoin นี้ก็เป็นหนังสืออีกเล่มที่จะอธิบายการทำงานของ Bitcoin ได้อย่างครอบคลุมมากๆ ซึ่งอาจจะลึกนิดหน่อยซึ่งผมกับคุณ Piriya Sambandaraksa ก็อยากแปลหนังสือเล่นนี้เพื่อเป็นหนังสือพื้นฐานของคนที่สนใจ Bitcoin อย่างจริงจัง หนังสือ Mastering Bitcoin นี้เขียนโดย andreas antonopoulos หนึ่งในเซเลปนักพูดที่ดังที่สุดของวงการคริปโตหนังสือเล่มนี้มีลิขสิทธ์แบบ CC-BY-SA ซึ่งนั้นหมายความว่าทุกคนสามารถนำไปแจกคัดลอกดัดแปลงตีพิมพ์หรือแม้กระทั่งขายได้ตามใจชอบ (แต่ให้เครดิตหน่อยก็ดี) สำหรับโปรเจคการแปลนี้ทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ที่ https://www.transifex.com/aantonop/mastering-bitcoin/ อยากให้มีคนมาร่วมเยอะๆนะครับหนังสือเล่มนี้จะได้มีฉบับภาษาไทยให้คนไทยอ่าน เราจะพยายามเอามาลงทีละบท แล้วไปรับชมได้เลยครับ (ยาวหน่อยนะ)
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!บทที่ 1
เริ่มต้นกับ bitcoin
บิทคอยน์คืออะไร?
บิทคอยน์ (Bitcoin) เป็นรากฐานของระบบนิเวศน์เงินดิจิทัล (digital money ecosystem) ที่เกิดมาจากการรวมตัวกันของแนวความคิดและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก หน่วยสกุลเงินที่เรียกว่า bitcoin ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรักษา และ ส่งผ่านมูลค่าระหว่างผู้ใช้งาน bitcoin โดยผู้ใช้งานจะติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่าน Bitcoin protocol ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก และยังสามารถใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นๆได้อีกด้วย ชุดซอฟต์แวร์สำหรับ Bitcoin protocol (bitcoin protocol stack) เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่สามารถทำงานได้บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หลายรูปแบบ ตั้งแต่คอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค ไปจนถึงอุปกรณ์สมาร์ตโฟน ทำให้ bitcoin เป็นเทคโนโลยีที่ง่ายต่อการเข้าถึง
ผู้ใช้งาน bitcoin สามารถส่ง bitcoin ผ่านโครงข่ายเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ ได้แทบไม่ต่างกับการใช้เงินตราทั่วๆไป ตั้งแต่การซื้อขายสินค้า การส่งเงินให้บุคคล หรือองค์กรต่างๆ ไปจนถึงการให้สินเชื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ Bitcoin นั้น ยังสามารถนำมาซื้อ ขาย หรือ แลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นๆได้ ผ่านทางตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราเฉพาะทาง และ ด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย และไร้พรมแดน นี้เอง ทำให้ Bitcoin อาจเรียกได้ว่าเป็นเงินที่สมบูรณ์แบบสำหรับอินเตอร์เน็ต
สิ่งที่ทำให้ bitcoin แตกต่างจากสกุลเงินทั่วไป นั่นก็คือการที่ Bitcoin นั้น เป็นเงินเสมือน กล่าวคือ bitcoin ไม่มีตัวตนทั้งทางกายภาพ และทางดิจิทัลด้วยซ้ำ หากแต่ ‘เหรียญ’ (coin) เป็นเพียงจำนวนที่ถูกระบุลงในการทำธุรกรรม เพื่อเคลื่อนย้ายมูลค่า ระหว่างผู้ส่ง ถึงผู้รับนั่นเอง ผู้ใช้งานจะสามารถพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ Bitcoin ของตนเองได้ผ่านการถือครอง ‘กุญแจ’ ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานต้องการที่จะทำการส่ง Bitcoin ของตนเองไปให้ยังผู้รับ ก็จะสามารถใช้กุญแจของตนเอง ปลดล็อคและทำการ ‘เซ็นต์อนุมัติการทำธุรกรรม’ (sign transaction) ได้ทันที โดยปรกติแล้ว ‘กุญแจ’ จะถูกเก็บอยู่ใน ‘กระเป๋าสตางค์ดิจิทัล’ (Digital Wallet) ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่สมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน และด้วยเหตุที่การครอบครองกุญแจ เป็นสิ่งเดียวที่จำเป็นสำหรับการอนุมัติธุรกรรม ทำให้ผู้ใช้งานทุกคนเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจในการควบคุมเงินของตนเองโดยสมบูรณ์
เนื่องจาก Bitcoin ทำงานบนระบบกระจายศูนย์ ในรูปแบบ บุคคล-ถึง-บุคคล (peer-to-peer) จึงเป็นเหตุให้ Bitcoin ไม่มีศูนย์ควบคุมหรือผู้ให้บริการ ‘กลาง’ ที่จะคอยตรวจสอบดูแลระบบ การผลิต Bitcoin ใหม่ จึงกระทำผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ‘การขุด’ (mining) ซึ่งเป็นการแข่งขันกันหาคำตอบในชุดสมการคณิตศาสตร์ และตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมไปพร้อมกัน โดยที่ ‘นักขุด’ (miner) (ซึ่งหมายถึงบุคคลใดก็ได้ที่เปิดใช้งานชุดซอฟต์แวร์ Bitcoin เต็มรูปแบบ) จะเป็นผู้ช่วยกันทำหน้าที่ตรวจสอบ และบันทึกธุรกรรมต่างๆ โดยอาศัยกำลังการประมวลผลของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของตนเอง ซึ่งในทุกๆ 10 นาทีโดยเฉลี่ย จะมี miner ที่สามารถตรวจสอบและบันทึกธุรกรรมที่เกิดขึ้นในช่วง 10 นาทีก่อนหน้าได้สำเร็จ และได้รางวัลเป็น Bitcoin ที่เกิดขึ้นใหม่ กล่าวคือ Bitcoin กระจายศูนย์กลางอำนาจในการผลิตเงินใหม่ และการสรุปบัญชีธุรกรรมทั้งหมดของระบบธนาคารกลางผ่านกระบวนการ mining จึงเป็นเหตุให้ไม่จำเป็นต้องมีธนาคารกลางใดๆ
Bitcoin มีระบบขั้นตอนวิธีการบริหารจัดการการขุดอยู่ภายในระบบทั้งโครงข่าย โดยระดับความยากในการประมวลผลที่นักขุดจะต้องทำนั้น จะปรับตามกำลังการขุด ทำให้โดยเฉลี่ยแล้ว จะมีนักขุดที่สามารถขุดได้สำเร็จทุกๆ 10 นาที โดยไม่สนใจว่าในขณะนั้นจะมีนักขุดที่กำลังแข่งขันกันอยู่กี่คน (และกำลังขุดเท่าใดก็ตาม) นอกจากนั้น ระบบจะยังปรับลดอัตราการผลิต Bitcoin ใหม่ ลงครึ่งหนึ่งทุกๆ 4 ปี และกำหนดจำนวน Bitcoin ที่สามารถผลิตได้สูงสุดไว้เพียง 21 ล้าน Bitcoin เท่านั้นอีกด้วย ส่งผลให้จำนวน Bitcoin ทั้งหมดที่หมุนเวียนในกลุ่มผู้ใช้งาน จะมีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่คาดเดาได้ง่าย ตามกราฟเส้นโค้งที่วิ่งเข้าหาจำนวน 21 ล้านในปีค.ศ. 2140 และด้วยอัตราการผลิต Bitcoin ที่ลดลงเรื่อยๆนี้ ส่งผลให้ Bitcoin เป็นเงินที่มีลักษณะ Deflationary (อยู่ในภาวะเงินฝืด) และไม่สามารถถูกทำให้เฟ้อได้ด้วยการ ‘พิมพ์’ เงินเพิ่มในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดได้
เห็นได้ว่า ในเบื้องหลังนั้น คำว่า Bitcoin เป็นชื่อเรียกโพรโตคอล, ระบบโครงข่าย peer-to-peer และนวัตกรรมทางระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจายศูนย์ (distributed computing) สกุลเงิน Bitcoin นั้น โดยแท้จริงแล้วเป็นเพียงรูปแบบการใช้งานรูปแบบแรก ของสิ่งประดิษฐ์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ Bitcoin เป็นตัวแทนแห่งบทสรุปของงานศึกษาวิจัยหลายทศวรรษ ทางด้าน cryptography และ distributed systems และประกอบด้วยนวัตกรรมทั้งสี่ด้าน ที่มารวมตัวกันในรูปแบบเฉพาะที่ทรงพลัง ได้แก่:
- โครงข่ายไร้ศูนย์กลาง แบบ peer-to-peer (the bitcoin protocol)
- สมุดบัญชีบันทึกธุรกรรมสาธารณะ (the blockchain)
- ชุดของกฏเกณฑ์ในการตรวจสอบธุรกรรมอย่างอิสระ (โดยไม่อาศัยตัวกลาง) และการผลิตเงิน (กฎฉันทามติ consensus rules)
- กลไกสำหรับการได้มาซึ่งฉันทามติองค์รวมอย่างไร้ศูนย์กลางบน blockchain ที่ถูกต้องตามกฎ (Proof-of-Work algorithm)
ในฐานะนักพัฒนา ผมมอง Bitcoin เป็นเสมือนอินเตอร์เน็ตสำหรับเงิน (internet of money) เป็น network สำหรับการแพร่ขยายมูลค่า การรักษาความเป็นเจ้าของของทรัพย์สินดิจิทัลผ่านระบบ distributed computation. Bitcoin เป็นอะไรหลายต่อหลายอย่าง มากกว่าที่เราคิด
ในบทนี้ เราจะเริ่มด้วยการอธิบายแนวความคิดหลัก ๆ และคำศัพท์ที่จะได้พบบ่อยๆ รวมถึงการเตรียมซอฟต์แวร์ที่จำเป็น และการใช้งาน ฺBitcoin เพื่อการทำธุรกรรมอย่างง่ายๆ ส่วนในบทต่อๆไป เราจะค่อยๆแกะเปลือกของเทคโนโลยีที่ทำให้ Bitcoin เกิดขึ้นได้ทีละชั้น และเรียนรู้กลไกการทำงานของโพรโตคอล และระบบโครงข่ายของ Bitcoin
เมื่อเราพิจารณาถึงความท้าทายในระดับพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการนำเอาหน่วยข้อมูล (bits) มาใช้เป็นตัวแทนมูลค่าในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ แล้ว จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ ที่การเกิดขึ้นของเงินดิจิทัลที่สามารถใช้งานได้จริงนั้น มีความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับการพัฒนาทางด้านศาสตร์ของการเข้ารหัส (cryptography) โดยคำถามพื้นฐาน ที่ใครก็ตามที่ต้องการรับเงินดิจิทัลจะต้องถาม มีอยู่สามข้อหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่:
1. จะมั่นใจได้อย่างไรว่าเงินนั้น เป็นของแท้ ไม่มีการปลอมแปลง?
2. จะมั่นใจได้อย่างไรว่าเงินจำนวนนั้นสามารถใช้จ่ายได้เพียงครั้งเดียว? (หรือที่เรียกกันว่าปัญหาการจ่ายซ้อน หรือ “double-spend” )
3. จะมั่นใจได้อย่างไรว่าไม่มีผู้ใดสามารถอ้างสิทธิ์ในเงินจำนวนนี้ได้นอกจากเรา?
ผู้ผลิตเงินกระดาษ หรือธนบัตรนั้น ต่อสู้กับปัญหาการแพร่ระบาดของธนบัตรปลอมโดยอาศัยการใช้เทคโนโลยีทางการพิมพ์ และชนิดกระดาษที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่เงินที่จับต้องได้ในเชิงกายภาพ ก็มีข้อได้เปรียบในด้านการแก้ปัญหา double-spend ได้ เนื่องจากธนบัตรใบเดียวกัน ไม่สามารถอยู่ได้หลายที่ในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เงินตราทั่วไปก็มักถูกเก็บและใช้งานในรูปแบบดิจิทัลด้วยเช่นกัน โดยในกรณีนี้ จำเป็นต้องมีผู้มีอำนาจที่ศูนย์กลาง ซึ่งสามารถมองเห็นการหมุนเวียนของเงินทั้งหมด คอยทำหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมเพื่อป้องกันการปลอมแปลงและการ double-spend อยู่ตลอดเวลา ในทางกลับกัน เนื่องจากเงินดิจิทัล ไม่สามารถใช้หมึกพิเศษ หรือแถบโฮโลแกรมในการพิสูจน์ตัวตนได้ จึงต้องอาศัยหลักการทาง cryptography เป็นฐานในการสร้างความเชื่อถือสิทธิการครอบครองเงินของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะการใช้ลายเซ็นต์ดิจิทัลแบบเข้ารหัส (cryptographic digital signatures) เพื่อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินดิจิทัล และด้วยการออกแบบระบบที่เหมาะสม ลายเซ็นต์ดิจิทัลยังสามารถใช้ป้องกันปัญหา double-spend ได้อีกด้วย
เมื่อวิทยาการทางการเข้ารหัสได้รับการแพร่ขยายและมีผู้เข้าใจในวงกว้างขึ้นในช่วงท้ายยุค 1980s มีนักวิจัยจำนวนมากพยายามที่จะสร้างสกุลเงินดิจิตัลโดยใช้ cryptography ซึ่งเงินดิจิตัลในยุคแรกนี้ มักจะอาศัยสกุลเงินของชาติ หรือโลหะมีค่าเช่นทองคำ เป็นสิ่งค้ำมูลค่าอยู่เบื้องหลัง
เงินดิจิทัลในยุคแรก มีระบบสำนักหักบัญชีกลาง (clearinghouse) ที่ทำหน้าที่ชำระสะสางบัญชีธุรกรรมทั้งหมดอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับระบบของธนาคารทั่วๆไป ทำให้ถึงแม้ว่าเงินดิจิทัลในยุคแรกจะสามารถใช้งานได้ แต่ยังคงมีศูนย์กลางในการควบคุม ซึ่งทำให้ง่ายต่อการตกเป็นเป้าการโจมตีจากรัฐบาลและเหล่าแฮคเกอร์ทั้งหลาย และเป็นที่น่าเสียดายที่สกุลเงินดิจิทัลที่เพิ่งเกิดใหม่เหล่านี้ ต่างตกเป็นเป้าการดำเนินคดีจากรัฐบาลที่หวั่นวิตก จนต้องล้มหายตายจากไป หรือบางสกุลก็พังทลายลงอย่างไม่เป็นท่าเมื่อบริษัทผู้เป็นเจ้าของตัดสินใจขายกิจการทิ้งอย่างกะทันหัน และเพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากการแทรกแซงของผู้ประสงค์ร้าย ไม่ว่าจะจากรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ ปัจจัยทางอาชญากรรม สกุลเงินดิจิทัลที่ไร้ศูนย์กลาง ไม่มีจุดใดจุดหนึ่งเป็นเป้าของการโจมตี จึงเป็นสิ่งจำเป็น และ Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกออกแบบให้ไม่มีศูนย์กลาง ปราศจากซึ่งตัวกลางหรือจุดควบคุมใดๆที่จะสามารถตกเป็นเป้าได้ ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวความคิดดังกล่าวนั่นเอง
ประวัติศาสตร์ Bitcoin
Bitcoin ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 2008 ด้วยการเผยแพร่เอกสาร “Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System” โดยผู้เขียนที่ใช้นามปากกาว่า Satoshi Nakamoto Nakamoto ได้รวบรวมเอาสิ่งประดิษฐ์ในอดีตหลายๆอย่าง เช่น b-money และ HashCash เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างระบบเงินดิจิทั ที่ปราศจากศูนย์กลางโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องมีตัวกลางคอยบริหาร ควบคุม การตรวจสอบธุรกรรม และการผลิตเงินแต่อย่างใด นวัตกรรมที่เป็นกุญแจสำคัญ คือการใช้งานระบบการประมวลผลแบบกระจายตัว (distributed computation system) (หรือที่เรียกว่าอัลกอริทึ่ม “Proof-of-Work”) เพื่อกระทำการ “เลือกตั้ง” ในระดับโลกทุกๆ 10 นาที ส่งผลให้ระบบที่ไม่มีศูนย์กลางสามารถสรุปสถานะของธุรกรรมต่างๆได้โดยฉันทามติ (consensus) นวัตกรรมนี้ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาการใช้เงินซ้อน (double-spend problem) ได้อย่างสง่างาม ซึ่งในอดีต ปัญหา double-spend เป็นจุดอ่อนสำคัญของระบบเงินดิจิทัล ที่ทำให้จำเป็นต้องมีศูนย์กลางที่คอยกำกับดูแลธุรกรรมต่างๆ ผ่าน clearinghouse
ระบบเครือข่ายของ bitcoin นั้นได้เริ่มเปิดใช้งานเมื่อปี 2009 โดยมันถูกพัฒนาจาก Whitepaper ที่ Satoshi Nakamoto เขียน ซึ่งถูกแก้ไขโดย Programmer จำนวนมาก การพัฒนาระบบ Proof-of-Work ที่เป็นส่วนที่รักษาความปลอดภัยและทำให้ระบบ bitcoin ยืดหยุ่นได้ (resilience) ทำให้พลังงานที่ใช้ในการประมวลผลนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้กำลังประมวลของ bitcoin นั้นมีมากกว่า Supercomputer ที่ติดท๊อป 10 ของโลกเสียอีก มูลค่าทางการตลาดของ Bitocin มีมลค่ามากกว่า $135 พันล้านตามอัตราแลกเปลี่ยน bitcoin และ ดอลลาร์ ซึ่งธุรกรรมที่มีมูลค่ามากที่สุดที่เคยมีการส่งในระบบนั้นมีมูลค่าสูงถึง $400 ล้าน โดยเสียค่าธรรมเนียมให้กับระบบเพียง $1
Satoshi Nakamoto นั้นหายตัวไปเมื่อเดือนเมษายนปี 2011 โดยส่งต่อความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบและเครือข่ายให้แก่กลุ่มอาสาสมัคร ตัวตนของหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่เบื๊องหลัง bitcoin นั้นยังเป็นปริศนาอยู่ อย่างไรก็ตามไม่ว่า Satoshi Nakamoto หรือใครก็ตามนั้นไม่ได้มีความสามารถในการควบคุมระบบ bitcoin ที่ทำงานอย่างโปร่งใสโดยใช้ หลักการทางคณิตศาสตร์ ระบบโอเพ่นซอร์สและระบบฉันทมติ (consensus) จากผู้ที่เข้าร่วมระบบ การพัฒนาระบบ Bitcoin ขึ้นมานั้นทำลายแนวคิดเดิมๆและสร้างศาสตร์ใหม่ของระบบ distributed computing, เศรษฐศาสตร์และเศรษฐมิติ
สิ่งที่ Satoshi Nakamoto สร้างนั้นได้แก้ไขปัญหาในระบบ distributed computing ที่มีมาตั้งแต่ในอดีตซึ่งปัญหานั้นคือ “Byzantine Generals’ Problem.” ซึ่งเป็นลักษณะของปัญหาว่าระบบพยายามจะยอมรับหรือทำอะไรซักอย่างโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบที่ไม่น่าเชื่อถือและมีโอกาสที่ข้อมูลจะถูกปลอมแปลง โดยวิธีแก้ไขของ Satoshi Nakkamoto คือการใช้แนวคิดของ Proof-of-work ในการสร้างฉันทมติโดยไม่ต้องอาศัยความเชื่อถือจากตัวกลางใดๆ ซึ่งมันกลายเป็นความก้าวหน้าของระบบ distributed computing และสามารถใช้ประโยชน์มากกว่าการเป็นแค่สกุลเงิน มันสามารถสร้างฉันทามติในระบบที่ไม่มีตัวกลางอย่างการตรวจสอบความโปร่งใสของการเลือกตั้ง ล็อตตารี่ การลงทะเบียนสินทรัพย์การรับรองระบบดิจิทัล และอื่นๆอีกมากมาย
การใช้ Bitcoin ผู้ใช้งาน และเรื่องราวของพวกเขา
Bitcoin นั้นเป็นนวัตกรรมของวิทยาการที่มีมาตั้งแต่โบราณอย่างเงินตรา โดยเนื้อแท้แล้วเงินคือสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งมูลค่าระหว่างบุคคล เพราะฉะนั้นในการที่จะเข้าใจใน Bitcoin อย่างครบถ้วนนั้นว่ามันใช้งานยังไง เราจะเล่าจากมุมมองของผู้คนที่ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนก็มีเรื่องราวของตัวเอง ตามที่ระบุไว้ โดยจะอธิบายกรณีการใช้งานเฉพาะอย่างหนึ่งอย่างหรือหลายกรณี ซึ่งเราเราจะกล่าวถึงพวกเขาในหนังสือเล่มนี้
Bitcoin นั้นเป็นนวัตกรรมของวิทยาการที่มีมาตั้งแต่โบราณอย่างเงินตรา โดยเนื้อแท้แล้วเงินคือสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งมูลค่าระหว่างบุคคล เพราะฉะนั้นในการที่จะเข้าใจใน Bitcoin อย่างครบถ้วนนั้นว่ามันใช้งานยังไง เราจะเล่าจากมุมมองของผู้คนที่ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนก็มีเรื่องราวของตัวเอง ตามที่ระบุไว้ โดยจะอธิบายกรณีการใช้งานเฉพาะอย่างหนึ่งอย่างหรือหลายกรณี ซึ่งเราเราจะกล่าวถึงพวกเขาในหนังสือเล่มนี้
ร้านค้าปลีกรายย่อย
Alice อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของ California’s Bay Area เธอได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ Bitcoin จากเพื่อนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีคนหนึ่งเธอจึงตัดสินใจที่จะลองใช้ bitcoin ดู เราจะมาติดตามเรื่องราวของ Alice กันว่าเธอเรียนรู้เกี่ยวกับ bitcoin อย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะได้ bitcoin มาจากไหน และจะใช้ bitcoin ในการซื้อกาแฟแก้วหนึ่งในร้านกาแฟของ Bob ที่อยู่ที่ Palo Alto อย่างไร โดยเรื่องราวที่จะเล่านี้เราจะพูดถึงระบบซอฟต์แวร์ สถานที่แลกเปลี่ยน (exchange) และรูปแบบการทำธุรกรรมพื้นฐานจากมุมมองของลูกค้ารายย่อย
ร้านค้าปลีกรายใหญ่
Carol เป็นเจ้าของห้องแสดงศิลปะใน San Francisco เธอได้ขายรูปภาพที่มีราคาแพงดโดยแลกกับ bitcoin เรื่องราวของเธอจะอธิบายถึงความเสี่ยงของ การโจมตี 51% จากการซื้อขายสินค้าที่มีมูลค่าสูง
สัญญาว่าจ้างงานบริการข้ามชาติ
Bob เป็นเจ้าของร้านคาเฟ่ใน Palo Alto โดยเขากำลังสร้าง Website ใหม่อยู่ เขาได้ทำสัญญากับนักพัฒนาเว็บไซต์ขาวอินเดียคนหนึ่งที่ชื่อว่า Gopesh โดยเขาอาศัยอยู่ที่ Bangalore ในอินเดีย ซึ่ง Gopesh ได้ตอบตกลงที่จะได้รับค่าแรงเป็น bitcoin โดยเรื่องราวของเขาจะเล่าถึงตัวอย่างการใช้งาน bitcoin สำหรับ การจ้าง outsource การทำสัญญา และการส่งเงินข้ามประเทศ
ร้านค้าออนไลน์
Gabriel เป็นวัยรุ่นไฟแรงใน Rio de Janeiro ที่มีร้านค้าออนไลน์เล็กๆที่ขายสินค้าที่มีแบรนด์ bitcoin อย่างเสื้อ T-shirts แก้วกาแฟ สติกเกอร์ Gabriel นั้นอายุน้อยเกินกว่าจะมีบัญชีธนาคารแต่พ่อแม่ของสนับสนุนในความตั้งใจของเขา
การบริจาคเพื่อการกุศล
Eugenia เป็นผู้อำนวยการด้านการกุศลสำหรับเด็กในฟิลิปปินส์ เมื่อไม่นานมานี้เธอได้รู้จักกับ bitcoin และเธออยากใช้มันในการระดมทุนทางการกุศลจากคนที่อยู่ในต่างประเทศและผู้คนในประเทศ เธอได้ศึกษาเกี่ยวการใช้งาน bitcoin ในการกระจายเงินทุนไปยังพื้นที่ที่ต้องการ เรื่องราวของเธอจะเล่าถึงการใช้งาน bitcoin สำหรับการระดมทุนข้ามโลกผ่านสกุลเงินและพรหมแดนต่างๆ และการใช้บัญชีสารธารณเพื่อความโปร่งใสในองค์กรการกุศล
การนำเข้า/ส่งออก
Mohammed เป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ใน ดูไบ เขาได้ลองใช้ bitcoin เพื่อเร่งกระบวนการจ่ายเงินสำหรับ การซื้ออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์มาจากสหรัฐอเมริกาและจีนและนำเข้ามาสู่อาหรับ โดยเรื่องราวของเขาจะเล่าถึงว่า bitcoin สามารถใช้สำหรับการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในธุุรกิจขนาดใหญ่ได้
การขุด Bitcoin
Jing เป็นนักศึกษาวิศวะคอมพิวเตอร์ในเซี่ยงไฮ้ เขาได้ประกอบริกขุด bitcoin โดยอาศัยทักษะทางวิศวะของเขาในการสร้างรายได้จากการขุด โดยเรื่องราวจะเล่าถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ bitcoin ที่ใช้อุปกรณ์ชนิดพิเศษในการรักษาระบบความปลอดภัยของ bitcoin ที่ใช้ในการสร้างสกุลเงิน
เรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้อ้างอิงจากบุคคลและธุรกิจที่มีตัวตนอยู่จริงๆและได้ใช้ bitcoin ในการสร้างตลาดใหม่ อุตสาหกรรมใหม่ และนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหาเศรษฐศาสตร์ระดับโลก
เริ่มต้นใช้งาน bitcoin
การใช้งาน Bitcoin สามารถทำได้ผ่าน client application ใดก็ได้ ที่สามารถติดต่อสื่อสารกับ Bitcoin protocol ได้ เช่นเดียวกับที่ web browser เป็นเป็นช่องทางหลักสำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่าน HTTP protocol “กระเป๋าสตางค์ Bitcoin (Bitcoin wallet)” ก็เป็นช่องทางหลักที่เราจะสามารถติดต่อสื่อสารกับ Bitcoin protocol นั่นเอง โดยในปัจจุบัณ มี wallet ถูกพัฒนาขึ้นมาจำนวนมาก หลากหลายยี่ห้อ ไม่ต่างกับที่ในปัจจุบันมี web browser ให้เลือกหลากหลายยี่ห้อเช่นกัน (ตัวอย่างเช่น Chrome, Safari, Firefox, และ Internet Explorer) และเช่นเดียวกันกับการที่เราทุกคนมี browser ในดวงใจ (Mozilla Firefox เย่!) และศัตรูตัวร้าย (Internet Explorer อี๋..) Bitcoin ก็มี wallet ที่แตกต่างกันทั้งในเชิง คุณภาพ สมรรถนะความสามารถ ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และความเสถียร ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอ้างอิงสำหรับการประยุกต์ใช้ Bitcoin protocol ที่รู้จักกันในชื่อว่า “Satoshi Client” หรือ “ฺBitcoin Core” ที่มาพร้อมกับ wallet ซึ่งพัฒนามาจากต้นแบบการใช้งานดั้งเดิมที่เขียนขึ้นโดย Satoshi Nakamoto
การเลือก Bitcoin wallet
Bitcoin wallet เป็นหนึ่งใน application ที่มีการพัฒนาอย่างแข็งขันที่สุดในระบบนิเวศน์ของ Bitcoin ภายใต้การแข่งขันอันดุเดือด ส่งผลให้ขณะที่ wallet application ใหม่ๆ กำลังถูกพัฒนาอยู่ในขณะนี้ ก็ยังมี wallet อีกจำนวนมากที่ถูกละทิ้ง ไม่ได้รับการดูแลปรับปรุง ทั้งๆที่ wallet เหล่านั้นเพิ่งถูกสร้างขึ้นในเวลาไม่ถึงปี นอกจากนั้น Wallet บางส่วนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์เฉพาะด้าน เพื่อทำงานบนบาง platform โดยเฉพาะ เพื่อง่ายต่อการใช้งานสำหรับมือใหม่ หรืออัดแน่นไปด้วย feature สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ การเลือก wallet ที่เหมาะสม จึงต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย รวมทั้งรูปแบบการใช้งาน และระดับความเชี่ยวชาญของผู้ใช้งานอีกด้วย ดังนั้น การจะแนะนำ wallet บางยี่ห้อ ให้กับทุกคนจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เราสามารถจำแนกประเภทของ wallet ออกเป็นประเภทต่างๆได้ พร้อมทั้งให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ wallet แต่ละประเภท และที่ดียิ่งกว่านั้นคือ การที่จะย้าย keys หรือ seeds ระหว่าง wallets นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถทดลองใช้ wallet ต่างๆ จนกว่าจะพบ wallet ที่ตอบโจทย์ความต้องการ
เราสามารถจัดกลุ่มประเภทของ Bitcoin wallet ได้ ตาม platform การใช้งานได้ดังนี้:
Desktop wallet::
desktop wallet เป็นกระเป๋า bitcoin ประเภทแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นรูปแบบอ้างอิงในการพัฒนา และมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ที่ใช้งาน desktop wallet เนื่องจากความอิสระในการใช้งาน ความสามารถที่จะควบคุมการทำงาน และ feature ต่างๆ ที่ desktop wallet มีให้ อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าการที่ desktop wallet จำเป็นต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการทั่วไปอย่างเช่น Windows หรือ Mac OS นั่นย่อมส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้งาน เนื่องจาก ระบบปฏิบัติการเหล่านี้ มักมีปัญหาทางด้านความปลอดภัย และมีการติดตั้งอย่างไม่ถูกต้องนัก
Mobile wallet::
Wallet ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ smart-phone เช่น Apple iOS และ Android เป็น wallet ที่สามารถพบเห็นได้มากที่สุด โดย wallet เหล่านี้มักถูกออกแบบมาเพื่อความง่าย และสะดวกในการใช้งาน จึงมักจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ใช้งานที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษา แต่ก็มี mobile wallet ที่มี feature ขั้นสูงสำหรับผู้ใช้งานที่มีความเชี่ยวชาญด้วยเช่นกัน
Web wallet::
Web wallets เป็น Wallet ที่สามารถใช้งานได้ผ่าน web browser โดย wallet ของผู้ใช้งานจะถูกเก็บอยู่บน Server ที่ถูกควบคุมโดยตัวกลาง คล้ายๆกับ webmail ที่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่บน Server ของตัวกลาง ซึ่ง Web wallet บางส่วนนั้นใช้ระบบของ client ในการทำงานบน Browser ซึ่งจะทำให้การควบคุม bitcoin key จะอยู่ในมือของผู้ใช้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็มีระบบ Web wallet ที่ Exchange เป็นผู้ควบคุม Bitcoin keys แทนที่จะเป็นผู้ใช้งานเช่นกัน ซึ่งการเก็บ bitcoin จำนวนมากไว้กับตัวกลางนั้นเป็นสิ่งที่ควรต้องระวังอย่างยิ่ง
Hardware wallet::
Hardware wallet เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในสำหรับเก็บรักษา Bitcoin wallet ด้วย hardware ที่ถูกสร้างมาเฉพาะทาง ตัว Hardware wallet จะใช้งานร่วมกับ web browser ผ่านสาย USB หรือ NFC และด้วยการที่ การทำงานทุกอย่างที่เกี่ยวกับ bitcoin จะอยู่บนอุปกรณ์ที่ถูกสร้างมาอย่างเฉพาะทาง ทำให้ Wallet รูปแบบนี้นั้นมีความปลอดภัยและมีความเหมาะสมอย่างมากในการเก็บรักษา bitcoin จำนวนมาก
กุญแจที่ใช้สำหรับจัดการ bitcoin นั้นสามารถการพิมพ์ออกมาเพื่อเก็บรักษาในระยะยาวได้ Wallet ประเภทนี้มักถูกเรียกว่า paper wallet แม้ว่ามันจะถูกเก็บอยู่บนวัสดุอื่นๆ เช่นไม้หรือโลหะได้เช่นกัน Paper wallet นั้นไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอะไรที่ล้ำหน้า แต่มีความปลอดภัยสูงมากในการเก็บรักษา bitcoin ระยะยาว การเก็บ bitcoin แบบใดก็ตามที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับ internet นั้นเราจะเรียกมันว่า _cold storage_
นอกจากนี้เราสามารถจำแนกประเภทของ Bitcoin wallet ได้จากการพิจารณาระดับความเป็นอิสระในการทำงาน และรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับระบบโครงข่าย Bitcoin ได้ดังนี้:
Full-node client::
full client หรือ “full node” เป็น client ที่จะเก็บธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้น (ทุกๆธุรกรรมที่เกิดจากผู้ใช้งานทุกคน) จัดการ wallet ของผู้ใช้งานและสามารถส่งธุรกรรมโดยตรงไปยังเครือข่าย bitcoin ได้ full node นั้นจะจัดการทุกอย่างที่เกี่ยวกับ protocol สามารถตยืนยันความถูกต้องของ blockchain รวมถึงธุรกรรมใดๆก็ตาม การจะเป็น full node นั้นต้องใช้ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ (เนื้อที่ 125 GB และ RAM 2 GB) แต่มันก็แลกมาด้วยการเป็นเจ้าของข้อมูลและการที่สามารถยืนยันธุรกรรมได้อย่างอิสระ
Lightweight client::
lightweight client หรือที่รู้จักกันในชื่อของ SPV client (simple-payment-verification) ซึ่งตัว client จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ full node ของ bitcoin .นการเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมของ bitcoin แต่ยังเก็บ wallet ของผู้ใช้งานไว้ใน client รวมถึงสามารถ สร้าง ยืนยันความถูกต้อง และส่งธุรกรรมได้อย่างอิสระ Lightweight client นั้นสามารถโต้ตอบกับเครื่อข่ายของ bitcoin ได้โดยตรงโดยไม่ต้องมีตัวกลาง
Third-party API client::
third-party API client คือ client ที่ทำงานโต้ตอบกับเครือข่ายของ bitcoin ผ่านทางระบบ API ของตัวกลางแทนที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของ bItcoin โดยตรง wallet นี้อาจจะถูกเก็บโดยผู้ใช้งานหรือตัวกลางผู้ให้บริการก็ได้ แต่ธุรกรรมทั้งหมดจะต้องผ่านตัวกลางผู้ให้บริการ
ถ้าเรารวมการจัดประเภทสองแบบนี้ไว้ด้วยกัน bitcoin wallet จำนวนมากจะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ทั่วไปอย่าง desktop full client, mobile lightweight wallet และ web third-party wallet สิ่งที่แบ่งแยกว่า Wallet แต่ละประเภทนั้นควรอยู่ในหมวกหมู่ไหนนั้นก็มักไม่ชัดเจน เนื่องจากมี wallet จำนวนมากที่ทำงานอยู่หลาย platform และสามารถโต้ตอบกับเครือข่ายของ bitcoin ได้หลายวิธี
โดยในหนังสือเล่มนี้จะเราจะนำเสนอการใช้งานของ bitcoin client ประเภทต่างที่สามารถ download ได้ อ้างอิงจากการพัฒนา (ของ Bitcoin core) ไปสู่ mobile และ Web ตัวอย่างบางตัวอย่างอาจจะต้องใช้ Bitcoin core ที่เป็น full client หรืออาจจะเป็นอะไรอย่างอื่นเช่น API ของ wallet เครือข่าย และตัวกลางผู้ให้บริการในการทำธุรกรรม ถ้าคุณอยากสนใจที่จะสำรวจการเขียนโปรแกรมของระบบ bitcoin คุณจะต้องมี Bitcoin core หรือ client ตัวอื่นๆ
Quick Start
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงอลิส ผู้ซึ่งไม่ได้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีและได้ยินเรื่องราวของ bitcoin มาจาก Joe ในงานปาร์ตี้ ตอนนั้น Joe กำลังอธิบายให้หลายๆคนในงานปาร์ตี้รวมถึงสาธิตวิธีการใช้งาน Alice รู้สึกทึ่งมากและได้ถามว่าเธอจะเริ่มใช้ bitcoin ได้อย่างไร Joe บอกเธอว่า mobile wallet นั้นเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานหน้าใหม่และเขาก็ได้แนะนำ Wallet ที่เขาชอบแก่เธอ Alice จึงได้ดาวโหลด “Mycelium” บน Android และติดตั้งลงบนมือถือของเธอ
เมื่อ Alice เริ่มใช้งาน Mycelium ครั้งแรก Apllication ก็ได้สร้าง Wallet ให้เธออัตโนมัติเหมือน Wallet อื่นๆ เธอเห็น wallet บนหน้าจออย่างที่แสดงใน <<mycelium-welcome>>(คำเตือนอย่างส่ง bitcoin มาที่ address ตัวอย่างนี้มันจะหายไปตลอดกาล)
ส่วนที่สำคัญที่สุดบนหน้าจอคือ bitcoin address ของอลิส ซึ่งมันเป็นข้อความที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขปรากฎอยู่บนหน้าจอว่า 1Cdid9KFAaatwczBwBttQcwXYCpvK8h7FK ถัดไปจาก address คือ QR code มันเป็น barcode รูปแบบหนึ่งที่ประกอบด้วยจุดสีดำและขาวโดยสามารถ Scan ข้อมูลได้จากกล้องของ Smart Phone อลิสสามารถ คัดลอก bitcoin address หรือ QR code ไปยัง clipboard ได้โดยการกดที่ QR code หรือปุ่ม Receieve ซึ่งใน Wallet ส่วนใหญ่การกดที่ QR code จะเป็นการขยายรูปให้มันสามารถถูก Scan ได้ง่ายขึ้นจากกล้องของ smart phone
ตอนนี้ Alice ก็พร้อมที่จะรับ bitcoin แล้ว Wallet ของเธอได้สร้าง private key ออกมาด้วยการสุ่ม รวมถึง bitcoin address ด้วย ในตอนนี้ bitcoin address ของเธอนั้นยังไม่ได้รับการรู้จักจากเครือข่ายอขง bitcoin หรือมันยังไม่ได้ถูกลงทะเบียนในระบบของ bitcoin ในส่วนใดก็ตาม bitcoin address ของเธอเป็นเพียงตัวเลขที่เชื่อมกับ key ที่เธอสามารถใช้เพื่อเข้าถึงเงินของเธอ address ของเธอนั้นถูกสร้างจาก wallet ของเธอโดยไม่ต้องสมัครบริการใดๆหรือใส่ข้อมูลส่วนตัว ซึ่งจริงๆแล้ว wallet ส่วนใหญ่นั้นจะไม่มีความเชื่อมโยงใดๆระหว่างข้อมูลส่วนตัวกับ bitcoin address มันเป็นเพียงสิ่งที่ใช้อ้างอิงมูลค่าการโอนเงินของธุรกรรมที่อยู่ในบัญชี bitcoin, bitcoin address นั้นเป็นเพียงแค่ตัวเลขที่เป็นไปได้ที่สามารถใช้ได้ในระบบ bitcoin เมื่อ bitcoin address นั้นมีการเชื่อมโยงกับธุรกรรมในระบบของ bitcoin แล้วมันก็จะกลายเป็น address ที่ระบบรู้จัก
ตอนนี้ Alice ก็พร้อมที่จะใช้ bitcoin wallet ของเธอแล้ว
เป็นเจ้าของ Bitcoin ครั้งแรก
การเป็นเจ้าของBitcoin เป็นครั้งแรก มักเป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับผู้ใช้งานใหม่ เนื่องจากในปัจจุบัณ คุณยังไม่สามารถเดินไปซื้อ Bitcoin จากธนาคารหรือตู้แลกเปลี่ยนเงินทั่วไปได้เหมือนสกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ
ระบบชำระเงินอิเล็คโทรนิคส่วนมาก เช่น บัตรเครดิต, Paypal, หรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร เป็นธุรกรรมที่สามารถแก้ไขย้อนกลับได้ ต่างจาก Bitcoin ที่ธุรกรรมทั้งหมดไม่สามารถย้อนกลับได้ ซึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการขาย Bitcoin นั้น ความแตกต่างนี้จึงกลายเป็นความเสี่ยงสำคัญ เนื่องจากผู้ซื้อ สามารถที่จะทำการฉ้แโกงผู้ขาย โดยการดึงเงินกลับหลังจากที่ได้รับ Bitcoin ไปแล้วได้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทที่รับแลก Bitcoin ผ่านระบบชำระเงินอิเล็คโทรนิคส์ทั่วไป จึงมักบังคับให้ผู้ซื้อจำเป็นต้องยืนยันตัวตน และผ่านการตรวจสอบเครดิต ก่อที่จะสามารถทำการซื้อ Bitcoin ได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจใช้เวลานานเป็นวัน หรือสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้งานใหม่ จะยังไม่สามารถซื้อ Bitcoin ได้ทันทีผ่านบัตรเครดิต อย่างไรก็ตาม หากคุณมีความอดทน และความคิดสร้างสรรค์สักนิด คุณอาจไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตเลยตั้งแต่แรก
ต่อไปนี้คือบางวิธีที่ผู้ใช้งานใหม่ สามารถเป็นเจ้าของ Bitcoin ได้:
- ซื้อ Bitcoin จากเพื่อนที่มี Bitcoin อยู่แล้วโดยตรง ผู้ใช้งานจำนวนมากเริ่มต้นด้วยวิธีนี้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด โดยวิธีหนึ่งที่เราสามารถพบปะผู้คนที่มี Bitcoin ได้คือการเข้ารวมงานพบปะของกลุ่มผู้ใช้ Bitcoin ใกล้บ้านคุณ https://bitcoin.meetup.com[Meetup.com].
- ใช้บริการจัดหาผู้ซื้อผู้ขายเช่น pass localbitcoins.com เพื่อหาผู้ขาย Bitcoin ในพื้นที่เดียวกับคุณแล้วนัดเจอกันเพื่อทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน
- รับ Bitcoin ผ่านการขายสินค้าหรือบริการ ถ้าคุณเป็นโปรแกรมเมอร์ ก็ขายความสามารถในการเขียนโปรแกรมของคุณ ถ้าคุณเป็นช่างทำผม ก็ลองตัดผมแลก Bitcoin ดูสิ
- ใช้ตู้แลก Bitcoin คุณสามารถซื้อ Bitcoin ผ่านตู้ Bitcoin ATM ที่สามารถรับเงินสด และส่ง Bitcoin เข้ายัง wallet บน smartphone ของคุณ หาตู้ ATM ใกล้ตัวได้จากแผนที่ออนไลน์นี้ http://coinatmradar.com[Coin ATM Radar].
- ใช้ exchange สำหรับแลก bitcoin ที่เชื่อมไปสู่บัญชีธนาคาร ในหลายๆประเทศนั้นมีผู้ให้บริการแก่ผู้ซื้อและผู้ขายมาแลกเปลี่ยน bitcoin เป็นสกุลเงินท้องถิ่น ผู้ให้บริการอัตราแลกเปลี่ยนเช่น https://bitcoinaverage.com[BitcoinAverage] ที่จะแสดงถึงอัตราแลกเปลี่ยน bitcoin ในแต่ละสกุลเงิน
Alice นั้นรู้จัก bitcoin ผ่านเพื่อนของเธอ เธอจึงสามารถหา bitcoin ได้ไม่ยาก ต่อไปเราจะมาดูกันว่าเธอจะซื้อ bitcoin จาก Joe และ Joe จะส่ง bitcoin มาที่ wallet ของเธออย่างไร
การหาราคาปัจจุบันของ bitcoin
ก่อนที่ Alice จะซื้อ bitcoin จาก Joe พวกเขาต้องตกลงกันก่อนว่าจะซื้อขาย bitcoin ที่ _อัตราแลกเปลี่ยน_ เท่าไหร่ระหว่าง bitcoin และ ดอลลาร์ ซึ่งมันทำให้มีคำถามเกิดขึ้นว่า “ใครเป็นคนกำหนดราคาของ bitcoin” ซึ่งคำตอบสั้นๆ ของคำถามนี้คือตลาดเป็นผู้กำหนดราคา
เช่นเดียวกับสกุลเงินส่วนมาก Bitcoin นั้นมี _อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว_ หมายความว่ามูลค่าของ bitcoin เมื่อเปรียบกับเงินสกุลอื่นๆ นั้นจะผันผวนตามความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) ในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนนั่นเอง เช่น ราคาของ bitcoin ต่อดอลลาร์จะถูกคำนวณจากราคาตลาดที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันล่าสุดระหว่าง bitcoin กับดอลลาร์ จึงทำให้ราคามีความผันผวนเล็กน้อยตลอดเวลาทุกครั้งที่มีการซื้อขาย ผู้ให้บริการด้านอัตราซื้อขายจึงมักใช้ค่าเฉลี่ยที่แบ่งน้ำหนักตามปริมาณการซื้อขาย จากหลายๆตลาดแลกเปลี่ยน เป็นตัวแทนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน (เช่น BTC/USD)
กว่า 100 แอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่สามารถบอกราคาตลาดได้ ที่นิยมมีดังนี้
Bitcoin Average
เป็นเว็บไซต์ที่แสดงถึงปริมาณซื้อขายเฉลี่ยโดยให้น้ำหนักตามปริมาณซื้อขายในแต่ละสกุลเงินแบบง่ายๆ
CoinCap
เป็นบริการที่แสดงข้อมูล มูลค่าตามราคาตลาด (narket capitalization) และอัตราแลกเปลี่ยนของ crypto-currencies กว่าร้อยสกุลรวมถึง bitcoin
Chicago Mercantile Exchange Bitcoin Reference Rate
เป็นข้อมูลที่จัดทำโดยหน่วยข้อมูลการลงทุนจาก CME แสดงราคาอ้างอิง สำหรับใช้งานในระดับสถาบัน และการทำสัญญา
นอกเหนือจากเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นมากมายเหล่านี้ bitcoin wallet ส่วนใหญ่ก็สามารถเปลี่ยน bitcoin เป็นสกุลเงินทั่วไปโดยอัตโนมัติได้ Joe จึงใช้ wallet ของเขาในการแปลงราคาอัตโนมัติก่อนจะส่ง bitcoin ให้ Alice
การส่งและการรับ Bitcoin
Alice ตั้งใจที่จะซื้อ bitcoin ด้วยเงิน 10 ดอลลารฺ์ เนื่องจากมันเป็นเงินจำนวนน้อยที่สามารถเสี่ยงได้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ เธอจึงมอบเงินสดจำนวน 10 ดอลลาร์ให้ Joe เปิดแอปพลิเคชั่น Mycelium wallet บนโทรศัพท์ของเธอและกด Receive ซึ่งจะทำให้หน้าจอมือถือของ Alice นั้นแสดง QR code ของ bitcoin address ของเธอ
จากนั้น Joe กดปุ่ม Send บน smartphone wallet ของเขา ซึ่งจะปรากฎช่องสำหรับกรอกข้อมูลขึ้นมาสองช่องด้วยกัน ได้แก่:
- bitcoin address ปลายทางที่ต้องการจะส่ง
- จำนวนเงินที่ต้องการจะส่งในหน่วย bitcoin (BTC) หรือสกุลเงินท้องถิ่น (USD)
ในค่าแรกคือ bitcoin address ซึ่งจะเป็นไอคอนเล็กๆเหมือน QR code ที่จะให้ Joe สามารถสแกนมันได้ด้วยกล้องของ smartphone เขาจึงไม่ต้องพิมพ์ bitcoin address ของ Alice ซึ่งค่อนข้างยาวและยากต่อการพิมพ์ โดยเมื่อ Joe กดที่สัญลักษณ์ QR code และเปิดกล้องบน smartphone ของเขา ก็จากสามารถแสกน QR code ที่แสดงอยู่บนหน้าจอมือถือของ Alice ได้
ตอนนี้ Joe ก็มี bitcoin address ของ Alice ที่ตั้งเป็นผู้รับเรียบร้อยแล้ว Joe จึงใส่จำนวนเงิน $10 ดอลลาร์ลงไปใน wallet ของเขา ซึ่ง wallet จะทำหน้าที่แปลงค่าจำนวนเงิน โดยอาศัยอัตราแลกเปลี่ยนที่อ้างอิงจากตลาด ผ่านผู้ให้บริการออนไลน์ อัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้นอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อ 1 bitcoin เพราะอย่างนั้น 10 ดอลลาร์จึงมีค่าเท่ากับ 0.10 bitcoin (ฺBTC) หรือ 100 millibitcoin (mBTC) ตามที่แสดงบนหน้าจอ wallet ของ Joe
หน้าจอของ Airbitz mobile bitcoin wallet
ในขณะเดียวกัน, กระเป๋าของ Alice ก็กำลังรอฟังว่าธุรกรรมที่ถูกส่งออกไปยังเครือข่ายของ bitcoin แล้วจะเชื่อมต่อเข้ากับ address ใน wallet ของเธอเมื่อไหร่ ภายในอีกไม่กี่วินาทีหลังจาก wallet ของ Joe ส่งธุรกรรมออกไป wallet ของ Alice ก็แสดงให้เห็นว่าเธอได้รับ 0.10 BTC
Alice ภูมิใจมากที่ตอนนี้เธอเป็นเจ้าของ 0.10 BTC ที่เธอสามารถนำไปใช้ได้ ในบทถัดไปเราจะมาดูการซื้อของด้วย bitcoin ครั้งแรกของเธอ รวมถึงเล่าเกี่ยวกับรายละเอียดของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานในการทำธุรกรรมและการกระจายข้อมูล
แปลโดย Peeraphat Hankongkaew, Piriya Sambandaraksa