fbpx

สรุปงาน Libra Developer Meetup งาน Meet up ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการ Blockchain Developer ในเมืองไทย

โดยงานดังกล่าวได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยมด้วยผู้ลงทะเบียนกว่า 5000 คนจนต้องมีการทำ Challenge ให้เหลือผู้ร่วมงานเพียง 200 คน

สรุปงาน Libra Developer Meetup งาน Meet up ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการ Blockchain Developer ในเมืองไทย

1 Aug 2019
ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมผ่านมาได้มีอีเว้นที่น่าสนใจมากในวงการ Blockchain นั้นคือ Libra Developer meetup ที่จัดโดยทีมงาน Katinrun โดยมีคุณ พลากร ยอดชมญาณ CEO of KULAP เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดที่ Tencent Thailand โดยภายในงานเป็นงาน Meet up และให้ความรู้เกี่ยวกับ Libra ซึ่งเป็น Cryptocurrency จาก Facebook ในเชิง Technical โดยงานดั่งกล่าวนั้นได้รับผลตอบรับดีมากด้วยการที่มีผู้ตอบรับกว่า 5000 คน ทำให้ต้องทำ Challenge รวมถึงจับฉลากให้เหลือ 200 คนเลยทีเดียว

ก่อนจะไปเล่าถึงรายละเอียดในตัวงานก็ขอกล่าวถึงทางผู้จัดเสียหน่อย Katinrun นั้นเป็นเป็นคอมมูนิตี้ด้าน Tech และ Developer ด้าน Blockchain ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่ม Developer ที่สนใจด้าน Blockchain โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างนักพัฒนาด้าน Blockchain ที่จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาประเทศต่อ และที่สำคัญผลผลิตจาก Product ของเขาเหล่านั้นจะสร้างระบบเศรษฐกิจให้กับประเทศ 

โดยทาง Katinrun นั้นเคยจัดงานที่เกี่ยวกับ Blockchain developer หลายครั้งรวมทั้งงาน Pizza Hackathon และงาน Security Token Deep Drive ก่อนหน้านี้ที่พูดถึงแนวคิดของ Security Token ในปีที่แล้วเช่นกันรวมถึง Meet up จำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งสามารถพูดได้ว่า Katinrun เป็น Developer ที่ขับเคลื่อนวงการ Blockchain ของประเทศไทย และทุกครั้งที่มีการจัดงานก็ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานมากมายทุกครั้งไปเลยทีเดียว

 

Session 1 Libra Blockchain Architecture by Bank, CEO of Smart Contract Thailand

 

ในส่วนแรกของนั้นจะเป็นการบรรยายเชิงโครงสร้างของ Libra จาก คุณ เเบ๊งค์ ที่จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างของ Libra Blockchain ว่ามันมีความแตกต่างอย่างไรและทำงานอย่างไรในเชิงโครงสร้างต่างๆ เช่น การส่งธุรกรรมไปยัง Address ที่ไม่มีอยู่จะทำการสร้างที่อยู่ Address ขึ้นมาหรือการที่ Road map ในอนาคตจะกลายเป็น Proof of stake รวมไปถึง Reserve

“สิ่งที่จะตอบว่ามูลค่าจริงๆของ Libra มาจากอะไร เราจะต้องดูว่าในที่สุดแล้วสินทรัพย์ที่ Libra Association ลงทุนจริงๆนั้นคืออะไร”

อีกส่วนที่สำคัญคือคุณ เเบ๊งค์ ได้อธิบายถึง Libra Reserve ที่เป็นเหมือนสิ่งที่ทำให้ Libra มีมูลค่าว่าตัว Libra Reserve นี้เกิดจากเงินของนักลงทุนที่ลงทุนใน Investment Token โดยสินทรัพย์ที่ทางสมาคมไปลงทุนจะเป็น Low-Risk asset เช่นพันธบัตรรัฐบาล และผู้ใช้งานธรรมดาจะไม่มีการยุ่งเกียวกับเงินในกองทุนเลยเพราะคนที่จะทำในจุดนั้นจะเป็น Authorized Dealer

Session 2 Deep dive into LibraBFT consensus by Bright, Lead Blockchain of G-Able

 

ช่วงที่ 2  จะเป็นการบรรยายจาก ไบร์ท Lead Dev จาก G-Able โดยในหัวข้อนี้จะลงลึกไปในเชิงเทคนิคว่าระบบ Consensus ของ Libra ที่เป็น LibraBFT นั้นทำงานอย่างไรรวมถึงเหตุผลที่ Libra ใช้ Consensus ประเภทนี้ 

“การที่จะเป็น Validator Node ของ Libra ได้จะต้องถูก approve จาก Libra Association เท่านั้น”

คุณไบร์ทได้กล่าวว่าระบบของ Libra นั้นถูกพัฒนามาจาก Hot stuff โดยมีระบบที่มี Incentive ให้แก่คนที่ run node และสามารถรับ Validator ที่คิดจะโจมตีระบบได้ไม่เกิน ⅓ ของระบบ และสามารถ scale ในรูปแบบ linear ได้

 

Session 3 Demo Libra validator node by Dom, CEO of DomeCloud

ช่วงที่ 3 จะเป็นการ Demo การทำงานของ Libra Validator node จากคุณโดม CEO ของ DomeCloud คุณโดมจะมากล่าวถึงการทำงานในรายละเอียดของ Libra Validator node 

“config ของ libra ไม่ได้ดู node ว่าแต่ละคน stake เงินไว้เท่าไหร่เหมือน proof of stake แต่ดูว่าใครเป็น signer คล้าย Stellar”

คุณโดมยังได้อธิบายการทำงานของ proof of authority ในเชิงการ config ว่าการเชื่อถือนั้นมาจาก node ไหนบ้างและการ config ควรจะทำอย่างไร การ config voter ,watcher และสร้าง signer ของระบบต้องทำอย่างไร

 

Session 4 The First Libra Wallet: How to build your own wallet by Tot, CTO of KULAP

ช่วงที่ 4 จะเป็นการทำงานของ Libra Wallet จากคุณโต้ด CTO ของ Kulap โดยคุณโต้ดได้อธิบายถึงความแตกต่างในการทำงานระหว่าง Cryptocurrency Wallet กับ E-Wallet ในปัจจุบัน อย่างเช่น E-wallet ต้องผ่าน Centralized Server เท่านั้นแต่ในทาง Cryptocurrency Wallet จะมีการผ่าน Validator ทั่วโลก

“Stablecoin จะช่วยทำให้เกิด Mass adoption แก่ End User”

ทำให้การ Update state จะต้องผ่าน Address เพื่อที่จะทำให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น คุณโต้ดยังได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง Validator และ Watcher โดย Watcher คือ node ที่เก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ในขณะที่ Validator จะมีการยืนยันธุรกรรมด้วย ทำให้ Cryptocurrency Wallet เป็นรูปแบบ Wallet ที่ไม่ต้องใช้ Custodian และผู้ใช้งานเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นจริง

 

Session 5 Hacking on Libra Blockchain with Rust by Phoom, Developer of OmniVirt 

ช่วงที่ 5 จะเป็นการอธิบายการทำงานของ Libra ด้วยภาษา Rust จากคุณภูมิ Developer จาก OmniVirt โดยคุณภูมิได้อธิบายว่า Libra นั้นถูกสร้างด้วย Rust 100% ซึ่งภาษา Move ที่ออกแบบมาเพื่อ Libra Blockchain นั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Rust โดย Move นั้นเป็นแค่ภาษา Low-Level ภาษาที่ High Level และเขียนง่ายกว่านี้กำลังจะมาในอีก 3 ปี 5ปี (ขอเวลาอีกไม่นาน)

“Memory safety ก็เหมือนถุงยางที่ถ้าคุณไม่กังวลเกี่ยวกับมันคงไม่เป็นไร แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดความฉิบหายวายป่วง เพราะอย่างนั้นปลอดภัยไว้ก่อนใช้ Rust ดีกว่า ”

และนั้นทำให้ผู้ที่เขียน Smart contract ของ Libra นั้นจะต้องเรียนรู้ภาษา Rust อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเหตุผลที่ภาษา Rust ถูกใช้ใน Libra คือการจัดการ undefind behavior ได้ก่อนที่จะ complie ด้วย Borrow checker ทำให้มีความปลอดภัย

 

Session 6 Writing custom transaction with Move Smart Contract by Swit, CTO of Band Protocol

ช่วงสุดท้ายจะเป็นการสอนเขียน transaction จากคุณสวิต CTO Band Protocol (จบจาก MIT 5.0 ซะด้วยยอดมนุษย์ชัดๆ) โดยคุณสวิตได้มาสอยเขียน transaction script ของ Libra ให้ผู้เข้าร่วมงานเข้าใจวิธีการเขียนและยังเปรียนเทียบรูปแบบของ Transaction script ใน Bitcoin Ethereum และ Libra 

“Custom Transaction ใน move ไม่ใช่เป็นแค่การส่งเงินแต่เราต้องเขียนภาษา Move ลงไปว่า Transaction นั้นจะทำอะไรบ้าง”

คุณสวิตยังได้ลองทำการเชื่อมต่อเข้ากับ Libra Testnet และได้ลองเปิด Local note ที่ต่อกับ Testnet จริงๆให้ดูกัน

นอกเหนือจากนี้ภายในงานยังมีกาแฟจาก class cafe ให้ลองซื้อด้วย Libra Wallet ที่เป็น Testnet จากที่ม Kulap อีกด้วย 

งานมีทอีพครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งงานมีทอัพด้าน Blockchain ที่ได้รับเสียงการตอบรับอย่างดีแม้จะเป็นงานสำหรับ Developer อย่างไรก็ตาม Developer นั้นเป็นทรัพยากรหลักในวงการ Blockchain ที่ขาดเสียไม่ได้ ทาง Blockchain Review ก็หวังว่าจะมีงานดีๆแบบนี้ให้เห็นกันอีกเรื่อยๆและยังไงก็ต้องขอบคุณผู้จัดงานรวมไปถึงพาร์ทเนอร์และสปอนเซอร์ทุกรายที่สนับสนุนงานครั้งนี้

Article
,
Writer

Maybe You Like