เจ เวนเจอร์ส ประกาศ ! พร้อมนำ JFIN เข้าเทรดบน Bitkub ในวันอังคารที่ 30 เมษายน 2562 เป็นวันแรก ย้ำความคืบหน้าในการพัฒนาระบบสินเชื่อแบบดิจิทัลที่ไม่มีตัวกลาง คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนกำหนดอย่างแน่นอน
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!นายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน และสร้าง JFIN ดิจิทัลโทเคน เพื่อนำมาสร้างเทคโนโลยีบล็อกเชน และพัฒนาด้าน Digital Transformation ให้กับกลุ่มบริษัทเจมาร์ท เผยถึงการเข้าเทรดในตลาด Bitkub ว่า
“JFIN พยายามจะลิสต์เข้าทุกๆ Exchange โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ได้ลิสต์เช้าที่ Satang Pro และ วันที่ 30 เมษายนนี้พร้อมที่จะลิสต์บน Bitkub”
ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ของไทย ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยเรามีความเชื่อมั่นในระบบ และความปลอดภัยของ Bitkub
JfinCoin คืออะไร ?
JfinCoin เป็นเหรียญที่ถูกระดมทุน ICO ในปี 2018 เป็นโทเคนที่จะถูกนำมาใช้บนแพลตฟอร์ม Decentralized Digital Lending Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการกู้ยืม โดยมุ่งเป้าไปที่ และขอสินเชื่อแบบ Peer to Peer ถือเป็น ICO ของไทยแห่งแรกที่ระดมทุนสำเร็จ และเมื่อเร็วๆนี้ก็เพิ่มมีประกาศกฎหมายเรื่อง peer to peer lending จากธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วย
กระแสของ JfinCoin
JfinCoin นั้นถูกระดมทุนในปี 2018 ในช่วงก่อนการระดมทุนนั้น เป็นช่วงที่ตลาดคริปโตอยู่ในสภาวะตลาดกระทิง นับเป็นช่วงที่ทุกคนให้ความสนใจในการระดมทุน ICO ถึงแม้ระหว่างการระดมทุนนั้น ตลาดคริปโตนั้นจะเปลี่ยนมาอยู่ในสภาพซบเซา แต่การระดมทุนนั้นสามารถประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี
อย่างไรก็ตามในปี 2018 เมื่อ Jfin ถูกเปิดให้เทรดบนกระดานเทรดอย่าง Coinasset หรือ Tdax (ปัจจุบันคือ Satang Pro) ด้วยสภาวะตลาดหมีที่เกิดขึ้น อีกทั้ง JfinCoin นั้นเป็น Project ที่มีลักษณะไม่ต่างจาก StartUp จึงทำให้ราคาของเหรียญ Jfin ตกจากราคา 6 บาท ไปอยู่ที่ราคาประมาณ 3 บาท ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับวงการ ICO เพราะเหรียญนั้นยังไม่มี Utility ให้นำไปใช้งาน
ในช่วงเดือนตุลาคมปี 2018 ทาง Jfin ได้ทำการเปิดตัว Jfin Wallet และได้อัพเดทความคืบหน้าของ Project รวมถึงออกแคมเปญต่าง เพื่อให้เหรียญของ Jfin นั้นถูกนำไปใช้ที่ร้านในเครือของ Jfin รวมถึงการใช้เหรียญแลกมือถือที่ Shop Jmart ทำให้ราคา Jfin ในกระดานเทรดพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ราคาประมาณ 3.5 บาท ทันทีบนกระดาน Coinasset
ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจาก Coinasset ถูกปฏิเสธใบอนุญาต จากคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ราคาของ Jfin นั้นตกลงไปอยู่ที่ราคา 1.5 บาท ก่อนที่กระดานเทรด Coinasset จะปิดตัวลงและถูกนำมาเทรดใหม่ที่ Satang Pro ราคาเฉลีย 2.5-3 บาท
ในเดือนเมษายน Jfin ได้ทำแคมเปญแลกมือถือด้วย Jfin อีกครั้ง ในงาน 30 ปี Jmart รวมถึงเริ่มอัพเดทความคืบหน้า ข่าวสารที่ผ่านมาเกี่ยวกับระบบ DDLP ของ Jfin และการนำเหรียญ Jfin ไปใช้ประมูลมือถือในแอปพลิเคชัน Vfin รวมถึงสินค้าของเหล่าไอดอล ต่างๆอีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ากระแสนี้จะยังไม่มากพอที่จะดันราคา Jfin ได้เนื่องจากราคาของเหรียญ Jfin บนกระดานเทรด Satang Pro ยังอยู่ที่ราคา 3 บาท
และเมื่อ Jfin ถูกลิสลงบน Bitkub ราคาในปัจจุบันของ Jfin นั้นก็อยู่ที่ 2.50 บาท แต่ว่าหากดูจากปริมาณการซื้อขายก็ดูจะมีปริมาณที่มากขึ้น
Jfin จะเป็นอย่างไรต่อไป
โดยส่วนตัวผู้เขียนมีความเชื่อว่า เหรียญ Jfin นั้น เป็นเหรียญที่มีทั้ง ความโชคดีและความโชคร้ายอยู่ในตัว สิ่งที่ผู้อ่านต้องทำความเข้าใจ คือ ตลาดคริปโทเคอร์เรนซี่ในปัจจุบันนั้น อยู่ในสภาวะตกต่ำ เป็นเรื่องธรรมดาที่ Jfin จะราคาตกเพราะ
“ICO นั้นเป็นตลาดที่เล่นกับมูลค่าในอนาคต
คล้าย StartUp ที่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำใช้งานได้”
การตลาดของ ICO ที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ใช้วิธีการทำ Marketing เพื่อสร้างภาพลักษณ์รวมถึงการทำ Market Maker เรียกง่ายๆว่าการ “ปั่นราคา” เพื่อให้ราคาของเหรียญนั้น อยู่ในสภาพ FOMO (แห่ซื้อตามกัน)
แต่อย่างไรก็ตาม Jfin เป็นเหรียญที่ถูกลิสต์บน Exchange ของไทยเท่านั้น และถูกกำกับดูแลอย่างเข้มงวดจาก ก.ล.ต. ประเทศไทย จึงทำให้การ “ปั่นราคา” ไม่สามารถทำได้
ในด้าน Platform DDLP และระบบ Lending ของ Jfin อย่าง “ป๋า.คอม” นั้น ก็เริ่มทำ Beta Test ไปบ้างตาม Road Map
อย่างไรก็ตาม จนกว่าแพลตฟอร์มจะเสร็จสมบูรณ์ในระดับที่ใช้งานได้ ก็ยังยากที่จะดึงความเชื่อมันจากนักลงทุน แม้ Beta Test จะเริ่มมีการปล่อย Lending แล้ว เราก็ต้องคอยติดตาม Road Map ต่อไปว่าจะมีฟีเจอร์อะไรน่าสนใจอีกในอนาคต
ในความโชคร้ายยังมีความโชตดีอยู่ตรงที่ Jfin นั้นเป็น ICO เดียวที่มีบริษัทลิสต์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์และมีธุรกิจมากมายในเครือ จุดนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจของ Jfin เพราะตัว Jventure นั้น มีธุรกิจทางสินเชื่ออื่นๆอีกมากมาย นอกเหนือไปจากธุรกิจมือถือของ Jmart
แม้ Jfin จะไม่สามารถ “ปั่น” ราคาได้ แต่ Jfin นั้นสามารถถูกนำไปใช้ในธุรกิจ หลายๆอย่างได้ในอนาคต เช่นเดียวกับ เหตุการณ์ที่ผ่านๆมาที่ทาง Jfin จัดกิจกรรมให้มีการใช้งาน Jfin จริงๆ
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Jfin สามารถนำไปใช้ธุรกิจอื่นๆได้ ?
ตรงนี้เป็นจุดเเข็งของ Jfin ที่น่าสนใจ เพราะมันต่างจาก ICO ตัวอื่นๆที่ “ต้องรอให้มี Product ก่อนถึงจะมีการใช้งาน” แต่ Jfin นั้นมีธุรกิจให้นำเหรียญไปใช้งานได้ ขึ้นอยู่กับทางบริษัท Jventure จะออกนโยบายต่อไป
โดยส่วนตัวแล้ว ในมุมมองของผู้เขียน เหรียญ Jfin อาจจะไม่ได้มีความหวือหวาเท่ากับ ICO ของต่างประเทศ แต่กลับกัน ถ้ามองจากธุรกิจ มูลค่าพื้นฐาน มันกลับน่าเชื่อถือมากว่า ICO ของต่างประเทศหลายๆตัว
รวมถึงเป็น ICO เดียวในไทยที่มีธุรกิจรองรับ ถึงแม้ราคาจะตกลง 50-60% แต่ในตลาดหมีเช่นนี้มี ICO อีกมากมายที่ล้มหายตายจากไป และอีกหลายๆตัวที่ราคาตกถึง 90-95%
บางโปรเจคถึงกับหายไปเงียบๆ หลังการระดมทุน หากมองในความเป็นจริงแล้ว Jfin นั้นไม่ได้ขี้เหร่ซักเท่าไหร่ เพียงแต่มัน “ไม่หวือหวาเท่าที่ควรจะเป็นเท่านั้นเอง”