fbpx

ประวัติศาสตร์ Bitcoin ตอนที่ 3 Cypherpunk นักปฎิวัติเงินดิจิทัล

หลังจากบทที่แล้วเราได้พูดถึงเงินดิจิทัลที่ล้มเหลวในยุคเริ่มต้นมาแล้วตอนนี้เราจะมาเล่าถึงสาเหตุในการเกิด Bitcoin ครับว่าในช่วงก่อนปี 2008 ที่ White Paper ของ Bitcoin จะถูกเผยแพร่มันเกิดอะไรขึ้นบ้างแต่ก่อนอื่นเราจะขอเล่าย้อนไปถึงคนกลุ่มหนึ่งๆที่ได้รวมตัวกันตั้งแต่สมัยยุคแรกๆของอินเทอร์เนตเลยทีเดียว โดยคนกลุ่มนี้นั้นมีแนวคิดค่อนข้างเป็นเสรีนิยมที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลหรือใครก็ตามมายุ่งเกี่ยวกับพวกเขาซึ่งคนกลุ่มนี้มีชื่อว่า “Cypherpunk”

ประวัติศาสตร์ Bitcoin ตอนที่ 3 Cypherpunk นักปฎิวัติเงินดิจิทัล

9 May 2018
ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง

หลังจากบทที่แล้วเราได้พูดถึงเงินดิจิทัลที่ล้มเหลวในยุคเริ่มต้นมาแล้วตอนนี้เราจะมาเล่าถึงสาเหตุในการเกิด Bitcoin ครับว่าในช่วงก่อนปี 2008 ที่ White Paper ของ Bitcoin จะถูกเผยแพร่มันเกิดอะไรขึ้นบ้างแต่ก่อนอื่นเราจะขอเล่าย้อนไปถึงคนกลุ่มหนึ่งๆที่ได้รวมตัวกันตั้งแต่สมัยยุคแรกๆของอินเทอร์เนตเลยทีเดียว โดยคนกลุ่มนี้นั้นมีแนวคิดค่อนข้างเป็นเสรีนิยมที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลหรือใครก็ตามมายุ่งเกี่ยวกับพวกเขาซึ่งคนกลุ่มนี้มีชื่อว่า “Cypherpunk”

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

Cypherpunk นักปฏิวัติแห่งเงินดิจิทัล

 

Eric Hughes
Eric Hughes

 

ปลายปี  1992 Eric Hughes, Timothy C. May และ John Gilmore ได้จัดตั้งกลุ่มเล็ก ๆ ขึ้นมากลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า Cypherpunk ซึ่งมาจากคำว่า Cipher (การเข้ารหัส) และคำว่า Punk (กลุ่มเด็กวัยรุ่น)

พวกเขาได้สร้าง Mailing List (เครือข่ายสมาชิกที่ส่งข้อมูลกันผ่าน E-mail) ที่มีสมาชิกกว่า 700 คน ซึ่งในกลุ่มนั้นจะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้เชิงคณิตศาสตร์ ศาสตร์แห่งการเข้ารหัส (Cryptography) ความรู้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ปรัชญา และความเห็นทางการเมือง  โดยในปี 1997 หรืออีก 5 ปีถัดมา ปรากฏว่ามีสมาชิกเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าวถึง 2,000 คนเลยทีเดียว และแนวคิดของ Bitcoin ที่สามารถโอนเงินได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนจึงเกิดขึ้นที่นี่

 

กลุ่ม Cypherpunk  ร่วมถกเถียงกันถึงแนวคิดที่จะออกจากระบบการเงินเดิมๆ ที่มีรัฐบาลเป็นผู้ควบคุม และหลีกหนีจากปัญหาที่เงินในรูปแบบปัจจุบันนั้นขาดความเป็นส่วนตัว รวมถึงได้พูดถึงการใช้เทคโนโลยี Cryptography หรือการเข้ารหัสเพื่อทำให้การใช้เงินนั้นมีความเป็นส่วนตัวขึ้น ซึ่งในประกาศของกลุ่ม Cypherpunk  นั้น Eric Hughes  ได้พูดถึงอุดมการณ์ของกลุ่มไว้ว่า

 

“ความเป็นส่วนตัวนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับสังคมในยุคอิเล็กทรอนิกส์ พวกเราไม่สามารถคาดหวังให้รัฐบาลหรือหน่วยงานใดๆ มาดูแลเราได้ พวกเราต้องปกป้องความเป็นส่วนตัวของตัวเอง โดยกลุ่ม Cypherpunk จะเขียนซอฟต์แวร์ที่สามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวของเรา และเราจะสร้างมันขึ้นมา”

ในปี 1993 นิตยสาร Wired ของอเมริกาได้ลงบทความเกี่ยวกับ Cypherpunk โดยพาดหัวข้อว่า Crypto Rebel หรือนักปฏิวัติทางการเข้ารหัสโดยมีเนื้อความว่า

 

 

“กลุ่ม Cypherpunk นั้นคาดหวังถึงโลกที่ข้อมูลของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นความคิดเห็น ข้อมูลส่วนตัวทางการแพทย์ นั้นสามารถเปิดเผยได้หากเจ้าตัวต้องการจะเปิดเผย เพราะโลกในตอนนี้นั้นข้อมูลสามารถส่งข้ามโลกได้ด้วยเนตเวิร์คและคลื่นไมโครเวฟ แต่แล้วรัฐบาลกลับพยายามพรากมันไปจากเรา เราอยากเห็นโลกที่มีอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือในเรื่องความเป็นส่วนตัวแก่เรา

และสิ่งเดียวที่สามารถทำได้คือเทคโนโลยีการเข้ารหัส แล้วเทคโนโลยีนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือเปล่า เพราะแน่นอนว่ามันจะต้องมีปัญหาเรื่องการเมืองมาเป็นอุปสรรค รัฐบาลคงพยายามใช้อำนาจที่มีเพื่อควบคุมแน่นอน ดูๆไปแล้วมันก็เหมือนเป็นสงครามระหว่างนักปฎิวัติที่จะใช้การเข้ารหัสเป็นเครื่องมือกับผู้ที่จะปราบปรามเทคโนโลยีนี้ และกลุ่ม Cypherpunk ดูเหมือนจะเป็นแนวหน้าในสงครามครั้งนี้ แม้สงครามครั้งนี้อาจจะใช้เวลานาน แต่พนันได้เลยว่า ผลลัพท์ของสงครามครั้งนี้หมายถึงอิสระเสรีที่ผู้คนมากมายจะได้รับในศตวรรตที่ 21 แด่ Cypherpunk อิสระนั้นคุ้มค่ากับความเสี่ยง”

ซึ่งด้วยข้อมูลเหล่านี้เราจะเห็นได้ว่ากลุ่ม Cypherpunk นั้นเป็นกลุ่มเสรีนิยมที่ต้องการกระจายอำนาจในการควบคุมข้อมูลส่วนตัวของตัวเองแก่มือประชาชนและผู้คนในกลุ่มนี้ยังถกเถียงกันถึงความเป็นไปได้ในการสร้างสกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency แล้วก็ได้สร้างมันออกมาจริงๆ  ซะด้วย แต่น่าเสียดายที่ไม่มี Cryptocurrency ตัวไหนประสบความสำเร็จเลย

Adam Back
  • ในปี 1997 Adam Back ได้สร้าง Hashcash ที่สามารถต่อต้านการโจมตีจาก Spam โดยใช้กำลังการประมวลผลในการส่งอีเมล์เป็นเหมือนต้นทุน ผู้ที่จะส่งอีเมล์จะต้องเสียกำลังประมวลผลส่วนนึงเพื่อส่งอีเมล์ถึงจะส่งได้และนี้เป็นต้นแบบของ Proof of work ใน Bitcoin
  • Wei dai

    ในปี 1998 Wei dai ได้ส่งงานวิจัย “B-money” ไปในกลุ่ม Cypherpunk มันคือ “ระบบเงินสดดิจิทัลแบบกระจายตัวและมีความเป็นส่วนตัว” หละงจากเขาได้อ่านบทความของ Tim May ในงานวิจัยนั้นเอ่ยถึง Protocal สองอย่างนและหนึ่งในนั้คือ Proof of work ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างในภายหลังถึงแนวคิดที่ผู้ที่มีสิทธิผลิตเงินเพิ่มนั้นต้องเป็นผู้ที่ยืนยันธุรกรรม

  • Hal Finney (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)

    Hal FInney ได้คิดค้น RPOW (Reusable Proof of Works) ที่ถูกสร้างจากระบบของ Hashcash และเป็นระบบเงินที่ถูกเข้ารหัสที่สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียว แต่อย่างไรมันก็ตามระบบป้องกันปัญหา Double spending นั้นจะต้องถูกควบคุมโดยตัวกลาง

  • Devid Choum

    Digicash ที่สร้างโดย David Chaum  และถูกนำเสนอในปี 1989 เกือบจะประสบความสำเร็จอยู่แล้วเชียว   ด้วยความที่มันเป็นระบบชำระเงินดิจิทัลที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถชำระเงินผ่านอินเทอร์เนตได้โดยไม่ระบุตัวตน รวมถึงมีความพยายามในการพัฒนาระบบที่สามารถป้องกันปัญหา Double Spending ได้อีกด้วย  ถือเป็นระบบแรกที่พอจะสามารถเรียกว่าเป็น Ecash หรือเงินสดดิจิทัลได้ และได้มีการนำไปใช้จริงจากบริษัทมากมาย เช่น Microsoft หรือ IBM แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพฤติกรรมของผู้บริโภคในสมัยนั้นไม่ได้สนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวมากเท่าไร  จึงทำให้บริษัท Digicash ขาดเงินทุนและล้มละลายลงในปี 1998

  • Nick Szabo

    Nick Szabo ได้เผยแพร่งานวิจัยที่ชื่อว่า Bitgold ในปี 2005 โดยอ้างอิงจากระบบ RPOW ว่ามูลค่าของเงินดิจิทัลนั้นควรจะมาจากพลังในการประมวลผลในการสร้าง เขายังต้องการให้ระบบการเงินเป็นรูปแบบกระจายศูนย์แบบที่ไม่ต้องมีตัวกลางอย่างธนาคารและรัฐบาลมายุ่งเกี่ยว แต่อย่างไรก็ตาม Bitgold นั้นไม่ได้มีการจำกัดจำนวนเหมือนทองคำ แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยของเขากลับมีข้อกังขามากมาย เช่นคำถามจากผู้คนในคอมมูนิตี้ว่า Cryptocurrency นั้นยากที่จะได้รับการยอมรับในมูลค่าและใช้งานจริง

Subprime mortage 1998-2008

อันที่จริงแล้วทั้งอุดมการณ์และแนวคิดของกลุ่ม Cypherpunk นั้นก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจนกระทั่งในปี  2008 ที่เกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์  หรือที่รู้จักกันในชื่อ  “วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์”   ที่เกิดจากการล้มตัวลงแบบเฉียบพลันของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สถาบันการเงินทั่วโลกได้รับความเสียหายกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ธนาคารมากมายต่างพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเงินเข้าระบบและผลิตเงินเพิ่มโดยผลักภาระหนี้ให้แก่ประชาชนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในเวลาต่อมา  

 

แนวคิดของ  Cypherpunk จึงกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งว่า

จริง ๆ แล้วระบบการเงินที่เราใช้อยู่นั้นดีพอแล้วหรือไม่ ?

การมีตัวกลางที่คอยควบคุมเงินอย่างรัฐบาลอาจนำมาซึ่งความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรงหรือเปล่า ?

 

และหลังจากนั้นในวันที่ 31 ตุลาคม ปี  2008 White Paper ที่ชื่อว่า “Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System” ก็ถูกโพสต์ลงบนเว็บไซต์ metzdown.com  โดยผู้ที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto โดยในเนื้อหาได้กล่าวถึงเงินดิจิทัลของกลุ่ม Cypherpunk อาทิ Hashcash และ B-money ด้วย

 

แล้วก็จบกันไปแล้วนะครับกับกับตอนนี้หวังว่าผู้อ่านจะได้รู้จักแนวคิดที่เกิดขึ้นว่าจริงๆแล้ว Bitcoin นั้นได้ผ่านอะไรมามากมายกว่าจะมาเป็นถึงทุกวันนี้และในตอนหน้าเราจะไปเล่าให้ถึงวิกฤติ Subprime ที่เป็นต้นเหตุให้แนวคิดของกลุ่ม Cypherpunk กลับมาพูดถึงจนต้องมีบุคคลปริศนาที่ชื่อว่า Satoshi Nakamoto คิดค้น Bitcoin ขึ้นมา

 

Bitcoin Bitcoin History ประวัติศาสตร์ Bitcoin
, ,
Writer

Maybe You Like