Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!
เมื่ออินเทอร์เนตเกิดขึ้นมาแนวคิดที่จะสร้างระบบการเงินที่ผูกกับอินเทรอร์เนตนั้นก็เกิดขึ้นมาด้วย แต่มันก็มีสาเหตุที่มันกลับไม่ประสบความสำเร็จเลยจนมาถึงในยุคของ Bitcoin หากเงินตราสามารถส่งได้ด้วยความเร็วเท่ากับอินเทอร์เนต หากเงินตราเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ อะไรจะเกิดขึ้น
Bitcoin เป็นเทคโนโลยีที่ได้ก้าวข้ามผ่านเทคโนโลยีทางการเงินอื่น ๆ มากมายที่ทั้งยังคงอยู่ และล้มเลิก โดยรายชื่อจากภาพที่เห็นด้านล่างคือรายชื่อของเทคโนโลยีที่เป็นระบบการจ่ายเงินโดยใช้การเข้ารหัส (Cryptographic Payment) กว่า 100 รายการ
ทั้งที่เป็นรูปแบบเงินอิเล็กทรอนิกส์และการ์ด โดยบางรายการก็ได้รับการพัฒนาและทดลองใช้งาน และบางรายการก็ถูกล้มเลิกไปก่อนที่จะได้ใช้งานจริง ซึ่งชื่อที่เราคุ้นเคยกันดีที่สุดคงหนีไม่พ้น Paypal ที่เป็นผู้ให้บริการการชำระเงินออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง โดย Paypal นั้นอยู่รอดมาได้เนื่องจากการเปลี่ยนจุดยืนของตนจากระบบจ่ายเงินโดยใช้การเข้ารหัสไปเป็นระบบจ่ายเงินโดยใช้อุปกรณ์พกพา ซึ่งรายชื่อเหล่านี้เปรียบเสมือนบรรพบุรุษของ Bitcoin โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ทำการลองผิดลองถูกกับหลากหลายปัญหามากมายซึ่งประสบทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวมานักต่อนัก และบทเรียนสำคัญเหล่านี้ถูกนำมาพัฒนาเพื่อสร้างเป็น Bitcoin ขึ้นมา
ซึ่งสาเหตุสำคัญของความล้มเหลวของเงินดิจิทัลในอดีตนั้นเกิดจากปัญหาหลักอยู่สามประการคือ
Double spending เป็นปัญหาที่มีมายาวนานในความพยายามในการพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล เนื่องจากเงินนั้นกลายเป็นข้อมูลดิจิทัลไม่เหมือนกับเงินใน ปัจจุบันที่สามารถจับต้องได้ ข้อมูลที่เป็นเงินดิจิทัลนั้นง่ายต่อการคัดลอก คำถามคือจะสร้างระบบอย่างไรที่เราจะสามารถตรวจสอบการปลอมแปลงของข้อมูลได้ หากใครนึกภาพไม่ออกให้เราลองคิดว่าถ้าเรามีรูปภาพหนึ่งในมือถือ และเมื่อเรารูปผ่านไลน์หรือแอปพลิเคชั่นอื่นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นว่าตัวเราก็มีรูป และคนที่ได้รับก็มีรูป แล้วถ้าเกิดมันไม่ใช่รูปแต่กลายเป็นเงินหละอันไหนเป็นของจริง ทำให้เงินที่เราโอนกันผ่าน Mobile Banking นั้นไม่ใช่การโอนเงินดิจิทัลจริงๆ แต่แค่เป็นการเปลี่ยนเจ้าของเงินโดยธนาคารยังต้องมีการเก็บรักษาเงินจริงๆอยู่ในธนาคาร
- ความล้มเหลวของระบบรวมศูนย์ (Centralized)
คำว่ารูปแบบรวมศูนย์นั้นหมายถึงตัวกลางที่จะควมคุมระบบทั้งหมด เช่นระบบธนาคาร ที่เมื่อมีผู้ใช้งานต้องการทำธุรกรรมข้อมูลทุกอย่างจะวิ่งเข้าไปหาธนาคารแห่งเดียวเท่านั้น ข้อดีคือธนาคารสามารถทำทุกอย่างได้ง่ายดายในการควบคุม แต่ข้อเสียนี้คือหากระบบธนาคารขัดข้องหรือล้มละลาย ทุกอย่างก็จะหยุดทำงานหรือหายไปด้วย ทำให้การจะสร้างองกรณ์รวมศูนย์หรือแม้แต่ธนาคารนั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่มหาศาลมากในการรักษาความปลอดภัยและระบบ ระบบการเงินในปัจจุบันนั้นจึงไม่ได้เป็นระบบที่ทำงานด้วย Computer 100% บางส่วนนั้นยังต้องมีการจัดการด้วยเอกสารและบุคลากร ทำให้เกิดความล่าช้า
3.ปัญหาด้านกฎหมาย
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่วื่งนำหน้ากฎหมายมาตั้งแต่ไหนแต่ไร กฎหมายมักจะเป็นสิ่งที่ชลอเทคโนโลยีเสมอๆ ไม่ว่าจะรถยนต์เครื่องบินโทรศัพท์หรืออินเทอร์เนต เงินดิจิทัลก็เช่นกันรูปแบบการทำธุรกรรมของเงินดิจิทัลนั้นมีปัญหาในอดีต หลายอย่างที่ไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายและบ่อยครั้งทำให้มันล่มสลายไปและยังรวมถึงปัญหาด้านผลประโยชน์อีกด้วย
E-Gold เงินดิจิทัลที่ล่มสลาย
หนึ่งในตัวอย่างของเงินดิจิทัลที่ล่มสลายไปแล้วคือ E-Gold ซึ่งเป็นเงินดิจิทัลที่มีทองคำเป็นหลักประกัน บริหารโดยบริษัท Gold & Silver Reserve Inc. ภายใต้ E-Gold Ltd. โดยผู้ใช้สามารถเปิดบัญชีกับ E-Gold บนเว็บไซต์และซื้อทองคำตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยทองคำที่ซื้อไปนั้นจะสามารถส่งไปให้ผู้ใช้คนอื่นได้อย่างรวดเร็วผ่านทางระบบออนไลน์ โดย E-Gold ได้ทำการเปิดตัวในปี ค.ศ. 1996 และมีผู้ใช้งานสูงสุดกว่า 5 ล้านคนในปี ค.ศ. 2009 ทั้งนี้ในปี ค.ศ. 2006 นั้น E-Gold มีปริมาณการซื้อขายต่อปีถึง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าจำนวนทองคำสำรองที่บริษัทมีมูลค่า 71 ล้านดอลลาร์ถึง 28 เท่า
E-gold เงินดิจิทัลที่ล่มสลายไปในปี ค.ศ. 2005
ความสำเร็จของ E-Gold นั้นนำมาซึ่งปัญหามากมายในระบบ ทั้งหน้าเว็บไซต์ของ E-Gold ที่มีผู้ใช้มากมายจนกลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีของมัลแวร์และ Phishing Scam (การโจรกรรมโดยสร้างอีเมลล์หรือเว็บไซต์ปลอมหลอกให้ผู้ใช้ใส่รหัสผ่าน) ทำให้ผู้ใช้ E-Gold มากมายโดนหลอกด้วย Email Phishing ในปี ค.ศ. 2001
E-Gold ประสบปัญหาในเรื่องของ Hacker ที่มีปริมาณมาก รวมถึง Hacker ยังขโมยข้อมูลของผู้ใช้ผ่านทาง Microsoft Windows และ Internet Explorer อีกด้วย โดยมีคอมพิวเตอร์กว่าล้านเครื่องโดนโจรกรรมข้อมูล และยังมีปัญหาในเรื่องความไม่มีประสิทธิภาพในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการต้มตุ๋นที่ใช้ประโยชน์จากระบบของ E-Gold และมีเครือข่ายการหลอกลวงที่คล้ายกับแชร์ลูกโซ่โดยใช้ E-Gold เป็นเครื่องมืออีกมากมาย รวมถึงการขายสินค้าหลอก ๆ บน eBay และรับชำระด้วย E-Gold อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาทำการตรวจสอบ แต่ปัญหาคือหน่วยงานของรัฐบาลก็ไม่ได้มีความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบัญชีเงินฝากปกติกับบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของ E-Gold รวมถึงการที่ E-Gold มีปัญหากับระบบธนาคารมากมายเพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เข้ากับระบบดิจิทัลของธนาคารส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
นอกจากปัญหาดังกล่าว E-Gold ยังประสบกับปัญหาเรื่องใบอนุญาตในการขนส่งเงิน เนื่องจากทางกฎหมายยังไม่ยอมรับว่าการโอน E-Gold นั้นเป็นการโอนเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงไม่ได้รับการยอมรับให้เป็นสกุลเงิน ทำให้เงินดิจิทัลที่เป็นทางเลือกอย่าง E-gold ถูกจับตามอง
ในขณะที่ E-Gold กำลังสร้างระบบควบคุมที่ดีขึ้นในปี ค.ศ. 2005 ก็ได้เกิดปัญหาที่ผู้ใช้งานในระบบได้ทำการขายรูปภาพโป๊ของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ทำให้ผิดต่อข้อกฎหมายและยังโดนข้อหาการฟอกเงินเพิ่มอีกด้วย สุดท้าย E-Gold ก็ถูกสอบสวนในเรื่องการทำธุรกรรมที่ขัดต่อข้อกฎหมาย เพราะว่าระบบ E-gold นั้น สามารถทำธุรกรรมได้อย่างไม่มีจำนวนจำกัดและไม่มีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ทำให้สำนักงานของ E-gold ถูกปิดตัวลงและทองคำที่มีอยู่ก็ถูกยึดโดยรัฐบาล เป็นการปิดตำนานเงินดิจิทัล E-Gold ที่เคยเฟื่องฟูที่สุดในเวลาหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามนั้นตัว E-Gold นั้นก็ไม่ใช่เงินดิจิทัลที่แท้จริงเพราะยังมีการใช้ทองคำที่จับต้องได้สำรองระบบยังไม่ได้เป็นอิเล็คทรอนิคส์ทุกอย่าง
Digicash เงินดิจิทัลที่เกือบจะประสบความสำเร็จ
Digicash เป็นชื่อบริษัทเงินดิจิทัลที่ก่อตั้งโดยโดย Devid Choum ในปี 1989 ซึ่งสามารถพูดได้ว่ามันคือเงินดิจิทัลสกุลแรกที่ทำงานบนระบบอิเล็คทรอนิส์ และยังเป็นต้นแบบของ Bitcoin เพราะ Digicash นั้นมีทั้งระบบ Privatekey Publickey รวมถึง Blind Signature ที่จะสามารถรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ในขณะที่ทำ ธุรกรรมได้โดยใช้ Cryptography หรือการเข้ารหัสมาช่วยปกปิด ทำให้ไม่ว่าธนาคารหรือแม้แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้
Digicash นั้นได้รับการสนับสนุนมากมายจากธนาคารต่างๆมากมายเช่น Mark Twain Bank ในปี 1995 Deutsche ในปี 1996 ตามด้วย Bank of Austriai รวมถึงความพยายามในการนำไปใช้งานจริงแต่สุดท้ายมันกลับประสบปัญหาด้านการเงินและล้มละลายลงในปี 1998
ซึ่งสาเหตุคือ Digicash ประสบกับความล้มเหลวในการพยายามที่จะนำระบบไปใช้ในร้านค้าและธนาคาร เพราะระบบของ Digicash นั้นสามารถทำธุรกรรมได้เพียงร้านค้าและผู้ใช้งานเท่านั้น มันไม่ได้รอบรับการใช้งาน ระหว่างบุคคลต่อบุคคล และร้านค้าในขณะนั้นก็ยังนิยมในการใช้เงินสดและความเป็นส่วนตัวในการใช้งานก็ยังไม่ได้เป็นปัญหามากขนาดนั้นในสมัยนั้น
แม้ Digicash จะล้มเหลวในเชิงธุรกิจแต่มันก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเข้ารหัส (Cryptographer) และ Hacker หลายคนมารวมตัวกันในชื่อว่า Cypherpunk ซึ่งมี Nick Szabo ที่เป็นผู้สร้าง E-gold ซึ่งเป็นต้นแบบของ Bitcoin ด้วย
จบกันไปแล้วนะครับกับความล้มเหลวของเงินดิจิทัลในยุคเริ่มต้นทั้งนี้ผู้อ่านจะได้เห็นแล้วว่าเมื่อการเงินเป็นระบลบอิเล็คทรอนิคส์แล้วทุกอย่างไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป และในตอนต่อไปเราจะมาเล่าให้ฟังว่าแม้ Digicash กับ E-gold จะล้มเหลวแต่มันกลับจุดประกายให้คนกลุ่มนึงที่ชื่อว่า Cypherpunk ซึ่งคนกลุ่มนี้แหละที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิด Bitcoin ขึ้นซึ่งเราจะมาเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้นครับ