fbpx

GameFi WTF EP.4 ทำความรู้จักกับ Bunicorn เกม Ponzinomic แห่งโลก GameFi

ยาวไปอยากเลือกอ่าน แสดง เกม Bunicorn คืออะไร? เกมรูปแบบ Ponzinomic คืออะไร? DeFi Gaming การลงทุน, เกมเพลย์ และ ROI ระบบ Token ภายในเกม สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเกมที่ไม่น่าเรียกได้เต็มปากว่าเกม เพราะเกมเพลย์อันน้อยนิด และระบบการเล่นที่มีอยู่จำกัด แต่จะเน้นหนักไปที่ระบบเศรษฐกิจของเกม Play to Earn ที่มีการแจกรางวัลให้กับผู้เล่น(หรือผู้เข้ามากดๆ

GameFi WTF EP.4 ทำความรู้จักกับ Bunicorn เกม Ponzinomic แห่งโลก GameFi

9 Nov 2021

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเกมที่ไม่น่าเรียกได้เต็มปากว่าเกม เพราะเกมเพลย์อันน้อยนิด และระบบการเล่นที่มีอยู่จำกัด แต่จะเน้นหนักไปที่ระบบเศรษฐกิจของเกม Play to Earn ที่มีการแจกรางวัลให้กับผู้เล่น(หรือผู้เข้ามากดๆ ในหน้าเว็บ) ซึ่งถ้าหากใครสามารถเข้าเกมนี้ตอนต้นสายได้ ก็จะคืนทุนเร็วและมีโอกาสสร้างกำไรได้มหาศาล ซึ่งเกมที่พูดถึงก็คือเกม Bunicorn นั่นเอง

เกม Bunicorn คืออะไร?

เกม Bunicorn คือเกมรูปแบบ Click-to-earn บน Binance Smart Chain โดยเกมรูปแบบนี้ จะมีเกมเพลย์ที่ค่อนข้างเรียบง่าย เพียงแค่ซื้อตัวละครที่จำเป็นมา แล้วผู้เล่นก็คลิกเลือกศัตรูที่ต้องการต่อสู้ แล้วระบบจะสุ่มผลลัพธ์ออกมา ถ้าผลออกมาชนะก็จะทำให้เราได้รับเหรียญคริปโตเป็นรางวัล ซึ่งจุดสำคัญของเกมรูปแบบนี้คือระบบเศรษฐกิจของเกมที่เป็น Ponzinomic หรือกึ่งๆแชร์ลูกโซ่ซึ่งจะมีการอธิบายในหัวข้อถัดไป สำหรับเกม Bunicorn ที่เปิดตัวเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่เกม Click-to-earn รุ่นพี่อย่าง Cryptoblades ส่อแววล่มสลายเพราะผู้เล่นใหม่หดหาย ทำให้ราคาเหรียญตกต่ำ ไม่พอจ่ายให้กับผู้เล่นเก่า เกม Bunicorn จึงได้นำเอาบทเรียนนี้มาใช้พัฒนาระบบโทเคนภายในเกมให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยผู้เล่นมีหน้าที่ซื้อเทรนเนอร์และน้องกระต่ายที่เป็น NFT มาต่อสู้เพื่อได้รับรางวัลเป็นเหรียญของเกมที่มีชื่อว่า $BUR นอกจากนี้ ตัวเกมยังมีโหมดอื่นๆเพิ่มขึ้นมานอกเหนือจากเกม Click-to-earn ทั่วๆไป เช่นโหมด Raid boss และ Lottery ที่ช่วยในการลดปริมาณ Supply ของเหรียญอีกทางหนึ่ง

เกมรูปแบบ Ponzinomic คืออะไร?

เกมที่มีรูปแบบ Ponzinomic จะมีลักษณะที่คล้ายกับแชร์ลูกโซ่ คือคนที่เข้าก่อนก็จะอิ่มก่อน หรือคืนทุนไว ในขณะที่คนเข้าเล่นหลังๆ อาจจะคืนทุนช้าหรือแม้กระทั่งไม่คืนทุน ติดดอยไปเลยก็มี ซึ่งเราสามารถศึกษาเรื่องพวกนี้ผ่านหน้า Tokenomic ใน Whitepaper ของเกม

สำหรับเกมแนว Ponzinomic ผู้เล่นจำเป็นต้องซื้อเหรียญของเกมแล้วเอาเหรียญเหล่านี้ไป Mint NFT มาใช้ในการเล่นเกม ซึ่งการลงทุนในเกมนี้ รายได้ของเราจะแปรผันตามเงินที่ลงทุน คือลงมากก็จะได้มาก ลงน้อยก็จะได้น้อย ตรงจุดนี้เองที่ทำให้เกิด Demand ของเหรียญ ในขณะเดียวกัน เงินของผู้เล่นใหม่ที่เอาไป Mint NFT แล้วก็จะถูกนำไปจ่ายให้ผู้เล่นเก่าเป็นรางวัลจากการเล่นนั่นเอง ซึ่งตรงจุดนี้ทุกอย่างก็ดูจะปกติถ้าวงจรนี้สามารถไปต่อได้เรื่อยๆ แต่ถ้าถึงจุดหนึ่งที่ไม่มีผู้เล่นหน้าใหม่ๆเข้ามา หรือรางวัลจากการเล่น (Emission rate) มากกว่าที่ถูกนำไป Mint NFT (Burn rate) ก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของเกมพังลง ส่งผลให้เหรียญราคาตก ยกตัวอย่างเช่น เกม Cryptoblade ที่รายได้จากการเล่นแทบจะไม่คุ้มกับค่าแก๊สที่เสียไปในการกดแล้ว

DeFi Gaming

นอกจากเกมเพลย์ Click-to-earn ปกติแล้ว เกม Bunicorn ยังมีการเปิด DEX และฟาร์มของเหรียญ Governance token โดยเราสามารถนำ $BUNI และ $BUR ไป stake ที่ Ancient Monster Farm แล้วจะได้รับ Reward เป็นเหรียญ $BUNI นอกจากนี้ ถ้าเรา Stake จนได้ reward ถึงยอดที่กำหนดก็จะได้รับ NFT แถมมาด้วย ซึ่งเราสามารถ redeem NFT เป็นเหรียญ $BUNI หรือสามารถนำไปฟาร์มต่อที่ NFT ฟาร์มเช่นกัน

การลงทุน, เกมเพลย์ และ ROI

ผู้เล่นสามารถมีคู่กระต่ายและเทรนเนอร์ได้ทั้งหมด 4 คู่ โดยที่กระต่ายจะมีระดับความหายาก(ดาว) ที่แตกต่างกันไป ยิ่งดาวสูงก็จะยิ่งมีราคาแพงและเก่งขึ้น สำหรับใครที่จะเริ่มเล่นแนะนำให้ซื้อเทรนเนอร์และกระต่ายระดับ 2 ดาวขึ้นไปจากในตลาด ไม่แนะนำให้สุ่มเพราะจะแพงกว่า และที่สำคัญคือควรเลือกธาตุของเทรนเนอร์ให้ตรงกับกระต่ายเพราะจะทำให้เราได้โบนัสพลังโจมตีเพิ่ม โดยทีมเทรนเนอร์-กระต่าย 2 ดาวจะอยู่ที่ 240 $BUNI หรือมูลค่าประมาณ 1400 บาท และถ้าเรานำไปตีมอนสเตอร์ชนะ จะได้รับเหรียญ $BUR เป็นรางวัลประมาณครั้งละ 7 $BUR หรือ 3 บาท โดยในวันหนึ่งเราจะสามารถตีได้ประมาณ 5 ครั้งก็จะตกวันละประมาณ 15 บาท(ในกรณีที่ชนะทุกครั้ง) ดังนั้น ROI จะประมาณ 3 เดือนในกรณีที่เหรียญ $BUR มีมูลค่าคงที่

ระบบ Token ภายในเกม

อย่างที่ได้บอกไปในช่วงต้นว่าเกม Bunicorn ได้นำเอาจุดบกพร่องของเกม Cryptoblades มาเป็นบทเรียน โดยการใช้ระบบ 2 tokens ได้แก่เหรียญ $BUNI และเหรียญ $BUR

$BUNI – เป็น Governance token ของเกม มีจำนวนจำกัดคล้ายๆกับเหรียญ $AXS ของเกม Axie Infinity        จำเป็นใช้ในการ Mint NFT (trainers, Bunicorns) และใช้ซื้อ-ขายบน Marketplace

$BUR –  เป็นเหรียญแจกที่ได้จากการเล่น คล้ายๆกับ $SLP ของเกม Axie Infinity มีอยู่จำนวนไม่จำกัดใช้ในการ Mint trainers(คู่กับ $BUNI), เพิ่มพลัง Bunicorn, ปลดล็อคเลเวลของเทรนเนอร์, เล่น Lottery และ Stake $ BUR เพื่อรับ $BUNI ในหน้า DeFi ของเกม

https://blog.buni.finance/bunicorn-in-game-tokenomic-announcement-ee6aa1b5ea56

ถึงแม้ว่าเกมจะมีระบบที่ดูดี แต่การที่ทีม Developer มีการปรับระบบ Tokenomics ในเกมหลายครั้ง ซึ่งส่วนมากเป็นการลด Reward ของผู้เล่นเก่า ทำให้ผู้เล่นไม่พอใจและเริ่มเทขายเหรียญในที่สุด ส่งผลให้ราคาของเหรียญ $BUR และ $BUNI ตกต่ำอย่างน่าใจหาย ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ทำให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมา คือเมื่อราคาเหรียญในเกมตกต่ำ ผู้เล่นใหม่ก็จะไม่กล้าเข้าเล่นเพราะไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป เมื่อไม่มีเงินใหม่เข้ามาซื้อเหรียญสำหรับเล่นเกม ราคาเหรียญก็จะยิ่งลดต่ำลงไปอีก นับว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องระวังในการเล่นเกมที่มีเศรษญกิจแบบ Ponzinomic เลยทีเดียว ถ้าหากใครที่คิดจะเล่นเกมนี้ ก็ควรจะศึกษาความเสี่ยงโดยการอ่าน Whitepaper ของโปรเจค หรือสอบถามจากในคอมมูนิตี้ก่อนตัดสินใจลงทุน

อย่าลืมกดไลค์ Page Guild Fi Thailand ด้วยนะ https://www.facebook.com/GuildFiThailand

เข้าร่วม Discord GFI ได้ที่ https://discord.gg/SAeCEMAw

0 0 votes
Article Rating
Article
,
Writer
การสมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนสำหรับ
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments

Maybe You Like

0
Would love your thoughts, please comment.x