fbpx

ไขข้อข้องใจเรื่อง พรก.เงินดิจิทัล หักภาษี ตอนเทรดหรือตอนถอน

ภายหลังจากมีการประกาศใช้พระราชกำหนดให้จัดเก็บภาษีกำไรจากการเทรด Cryptocurrency ในอัตราร้อยละ 15 ประเด็นที่พูดกันในสังคมมากมายก็คือ ภาษีร้อยละ 15 ที่ว่านี้จัดเก็บตอนไหน เถียงกันอยู่ว่าจะเก็บตอนถอนเงินสดจากเว็บเทรด หรือเก็บทุกธุรกรรมที่มีการเทรด Cryptocurrency ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงอยากแบ่งปันหลักกฎหมายภาษีในมุมของผู้เขียนก่อนว่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในกรณีของบุคคลธรรมดาอย่างเรา ปกติแล้วจัดเก็บตอนไหน (เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ผู้อ่านสามารถแบ่งปันความคิดเห็นได้น่ะครับ)

ไขข้อข้องใจเรื่อง พรก.เงินดิจิทัล หักภาษี ตอนเทรดหรือตอนถอน

17 May 2018

ภายหลังจากมีการประกาศใช้พระราชกำหนดให้จัดเก็บภาษีกำไรจากการเทรด Cryptocurrency ในอัตราร้อยละ 15 ประเด็นที่พูดกันในสังคมมากมายก็คือ ภาษีร้อยละ 15 ที่ว่านี้จัดเก็บตอนไหน เถียงกันอยู่ว่าจะเก็บตอนถอนเงินสดจากเว็บเทรด หรือเก็บทุกธุรกรรมที่มีการเทรด Cryptocurrency ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงอยากแบ่งปันหลักกฎหมายภาษีในมุมของผู้เขียนก่อนว่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในกรณีของบุคคลธรรมดาอย่างเรา ปกติแล้วจัดเก็บตอนไหน (เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ผู้อ่านสามารถแบ่งปันความคิดเห็นได้น่ะครับ)

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

เริ่มต้นกันที่มาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนครับ บัญญัติว่า

“ให้บุคคล  … ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน …”

บทบัญญัตินี้ชัดเจนมากครับ ทุกครั้งที่จ่าย “เงินได้พึงประเมิน” คนจ่ายต้องหักภาษี

แล้วเงินได้พึงประเมินที่ว่านี้มันคืออะไร ต้องไปต่อกันที่มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า

“เงินได้พึงประเมิน หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน …”

กฎหมายเขียนแบ่งเงินได้พึงประเมินเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ น่ะครับ คือ เงินสดกับทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ทองคำ ข้าวสาร หรือสิ่งอื่นใดที่ตีราคาเป็นเงินได้ ทุกอย่างเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งหมด ตรงนี้ต้องประกอบด้วย 2 ส่วนครับ คือ

  1. เป็นทรัพย์สิน
  2. คำนวณเป็นเงินได้ (สงสัยว่าคนร่างกฎหมายภาษีกะว่าเอาให้ครอบจักรวาลไว้ก่อนครับ)

 

เท่ากับว่าไม่ว่าคุณนำไข่ไก่หรือทองคำไปจ่ายเงินเดือนให้ลูกน้อง ถ้าไข่ไก่หรือทองคำคำนวณเป็นเงินได้ ก็ถือว่าคุณได้จ่าย “เงินได้พึงประเมิน” ให้แก่ลูกน้องไปแล้วครับ ยกตัวอย่างเช่น คุณจ่ายเงินเดือนลูกน้องเป็นทองคำมูลค่า 30,000 บาท เท่ากับลูกน้องคุณได้รับเงินได้พึงประเมินจำนวน 30,000 บาท ในขณะที่จ่ายก็ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากรแล้วครับ (ส่วนต้องคำนวณยังไงค่อยว่ากันครับ)

ทีนี้ปัญหาอยู่ที่ว่า Cryptocurrency เป็น

  1. ทรัพย์สินและ
  2. คำนวณเป็นเงินได้รึเปล่า

ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับออกมา สรรพากรก็ยังคงสงสัยว่า Cryptocurrency เป็นทรัพย์สินรึเปล่า เพราะมันไม่มีกฎหมายรองรับ แล้วถ้าเป็นทรัพย์สินแล้ว จะคำนวณเป็นเงินยังไง เพราะมันไม่มีราคากลางแบบทองคำหรือเงินตราต่างประเทศที่มีสมาคมทองคำหรือธนาคารกลางประกาศราคากลาง

มันจึงเป็นที่มาว่า เมื่อไม่มีกฎหมายรับรอง ก็ยังไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สิน แล้วไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินด้วย เมื่อคุณนำเงินสดไปแลก BTC แล้วต่อจากนั้นก็เอา BTC ไปแลก ETH แลกกันไปมาในเว็บเทรด ตราบใดที่ยังไม่แลกกลับมาเป็นเงินสด ก็ยังถือเหมือนเล่นเกมส์ออนไลน์แล้วแลกไอเท็ม สะสมไอเท็มแล้วไปแลกเงินอยู่ครับ เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินสดเมื่อใด ก็ถือว่าคำนวณเป็นเงินได้แล้ว ก็ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตอนแลกเป็นเงินสดแล้ว สมัยก่อนจึงมีบางท่านบอกว่า ใส่เงินเข้าเว็บเทรดเท่าไหร่ เมื่อถอนเป็นเงินสดถึงคำนวณเป็นเงินได้ ค่อยเสียภาษีจากกำไรตรงนี้ คือ เอาเงินที่ถอนหักด้วยเงินที่ฝากเข้า แล้วได้กำไรเท่าไหร่ ค่อยนำมาเสียภาษีครับ

แต่ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ในมาตรา 3 รับรองว่า Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล และในมาตรา 8 บัญญัติว่า

“ในกรณีที่จำเป็นต้องคำนวณราคาสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินไทย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด”

ชัดเจนว่าปัจจุบัน Cryptocurrency ได้รับการรับรองเป็นทรัพย์สินตามกฎหมายฉบับนี้ แถมมาตรา 8 ยังช่วยเราบอกอีกว่าถ้าจะตีราคาเป็นเงินไทย ก็ตีได้น่ะ

ทีนี้ก็ครบองค์ประกอบเงินได้พึงประเมินแล้วครับ Cryptocurrency เป็นทรัพย์สินตามพระราชกำหนดนี้ ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงินได้

ตอนนี้หลายคนคงสงสัย เขียนมาตั้งยาว คำตอบของผู้เขียนคืออะไร

เมื่อคุณ A เข้าไปในเว็บเทรด ใช้เงินซัก 200,000 บาท แลกกับ 1 BTC ของคุณ B

เท่ากับคุณ A ได้ 1 BTC ในราคา 200,000 บาท

ผ่านมา 1 สัปดาห์ คุณ A เอา 1 BTC ไปแลกกับ 10 ETH ของคุณ C ซึ่งตอนนั้น 10 ETH ตีราคาเป็นเงินไทยได้ 250,000 บาท (ตรงนี้ต้องบอกก่อนว่ายังไม่รู้ว่า ก.ล.ต. จะตีราคาแบบไหน)

เท่ากับคุณ A ได้ 10 ETH ซึ่งตีราคาเป็นเงินไทย 250,000 บาท

ตรงนี้ชัดน่ะครับ 10 ETH เป็นเงินได้พึงประเมิน เพราะเป็นทรัพย์สินที่ตีราคาได้

เท่ากับคุณ A ได้กำไรแล้ว 50,000 บาท

คุณ C ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินให้คุณ A เมื่อคุณ A มีกำไรก็ต้องหักภาษีเงินได้จากกำไร จำนวน 50,000 บาท นำเงิน 7,500 บาทส่งให้สรรพากร

ตรงนี้หลายคนเริ่มสงสัย จ่ายกันเป็น Cryptocurrency แล้วจะหักเงินจากไหน

ตรงนี้เลยครับที่เป็นปัญหา เพราะกฎหมายมันยังไม่สอดคล้องกัน จะหักเงิน 7,500 บาท จากบัญชีเงินสดของนาย A ที่เปิดอยู่กับเว็บเทรด หรือต้องบังคับขาย 10 ETH ให้ได้เงิน 7,500 บาทแล้วนำส่งกรมสรรพากร

ตรงนี้ขอพักไว้ก่อนครับปัญหาเรื่องไม่มีเงินสดแล้วนำส่งภาษียังไง คำนวณภาษียังไง คุณ C หรือกระดานเทรดต้องเป็นคนหักภาษี หรือปัญหาว่าการเทรด (แลกเปลี่ยน) ถือว่าเป็นการขายรึเปล่าไว้เขียนครั้งหน้าครับ แต่ถ้ากฎหมายฉบับนี้ยังประกาศใช้อยู่ ไม่ว่ามันจะหักภาษีได้ในทางปฏิบัติหรือไม่ ก็ต้องถือตามหลักกฎหมายปัจจุบันว่าต้องหักภาษีทุกครั้งที่เทรดแล้วครับ    

 

 

Article News
Writer

Maybe You Like