Cloud Mining คือธุรกิจรูปแบบนึง ที่นำแรงขุดมาปล่อยขายแก่ผู้ที่อยากซื้อแรงขุดออนไลน์ โดยที่มาของแรงขุด อาจจะมาจากเครื่องขุดของทางCloudเจ้านั้นเอง หรืออาจมาจากการซื้อแรงขุดมาอีกทีก็ได้
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!บริการพวกนี้ส่วนมากในช่วงตลาดขาขึ้น(ช่วงที่ราคาคริปโตพุ่งขึ้น)จะยังไม่เกิดปัญหา แต่ส่วนมากจะเกิดปัญหาในขาลง(ช่วงที่ราคาคริปโตลดลง) ขึ้นชื่อว่าธุรกิจผลกำไรย่อมไม่เกินปลายจมูก ธุรกิจเหล่านี้ได้ส่วนแบ่งจากเหรียญที่ขุดออกมาได้
โดยเหรียญที่ได้จากการขุดมักแบ่งออกเป็น3-4ส่วน ส่วนแรกคือค่าซ่อมบำรุงหรือค่าบำรุงรักษา ซึ่งจะรวมค่าไฟ และค่าเสื่อมสภาพอุปกรณ์ในนี้ ส่วนที่2คือส่วนแบ่งในการดูแลCloud ส่วนนี้อาจแยกออกมาจากส่วนที่1 หรือคิดรวมกับส่วนที่1ก็ได้ ส่วนที่3คือค่ากำลังขุด ในกรณีที่Cloudบางเจ้าซื้อกำลังขุดมาขาย อาจมีค่าใช้จ่ายตรงนี้เพิ่มขึ้นมานอกเหนือค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา และส่วนที่4กำไรหลังหักค่าใช้จ่าย ส่วนนี้ถึงจะเป็นกำไรของนักลงทุนที่ลงทุนใน Cloud
โดยพวก Cloud Mining เหล่านี้มักมีเงื่อนไขเบื้องลึกในสัญญา หากอ่านสัญญาไม่ดี ก็ถือเป็นความเสี่ยงอย่างนึงในการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น Hashing24 ที่ขายสัญญาแบบตลอดชีพ (Lifetime Contract) ซึ่งค่าบำรุงรักษาก็แพงระดับนึงเลย ในสัญญาจะคิดค่าบำรุงรักษาเป็นดอลลาร์สหรัฐหรือสกุลเงินอื่น เพื่อจ่ายในการซื้ออุปกรณ์มาซ่อมบำรุง จ่ายค่าไฟ ค่าพนักงานที่เข้าไปทำการดูแลเครื่องขุดเหล่านี้ และในสัญญาระบุว่า หากBitcoinที่ขุดมา เมื่อคิดเป็นเงินดอลลาร์แล้วไม่เพียงพอต่อการบำรุงรักษา ผู้ซื้อบริการจะต้องจ่ายส่วนต่างนี้เพื่อให้สัญญายังมีผลอยู่ หากไม่จ่ายสัญญาก็เป็นอันยกเลิกสัญญานี้
ในกรณีของ Hashflare หากเลยจุดคุ้มทุนติดต่อกันเป็นเวลา 28วัน ทำให้สัญญาถูกบังคับให้สิ้นสุด ซึ่งเคสนี้เกิดขึ้นจริงกับทาง Hashflare แล้ว โดยเมื่อวันที่20กรกฎาคม2018 Hashflare ได้ประกาศยุติสัญญาการขุดบิทคอยน์ ทำให้กำลังขุดบางส่วนหายไปจากสารระบบ ในเคสนี้ไม่ได้ส่งผลกับ Cloud Mining เท่านั้น ยังกระทบมาถึงนักขุดทุกระดับด้วย ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ราคาของคริปโตในมุมมองของนักขุด อยู่ใกล้จุดคุ้มทุนเต็มที่ มีกระแสออกมาอย่างมากมายว่า “ชักปลั๊กดีไหม” ซึ่งก็หมายถึงเลือกขุด
ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาในการซื้อกำลังขุด
1.ซื้อกำลังขุดมาแล้ว เมื่อไหร่คืนทุน
2.มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาแบบไหนได้บ้าง
3.มีการจ่ายตรงเวลา และตามที่คำนวณไว้หรือไม่
4.บริษัทมีเครื่องขุดจริง ไม่ได้หลอกมาทำแชร์ลูกโซ่
5.ในกรณีเลวร้าย บริษัทปิดตัวลงไป ก็อาจสูญเงินทั้งหมดได้
เรามักพบการหลอกลวงเป็นปกติในกลุ่มอุตสาหกรรมเกิดใหม่ และเมื่อมันเกี่ยวข้องกับเงิน อัตราการหลอกลวงมันจะมากขึ้น หากท่านประโยคข้างบนจนเข้าใจ จะพบว่าพวก Cloud Mining อาจมีการวางยาในสัญญา และธุรกิจพวกนี้มีโอกาสขาดทุนมาก เพราะค่าซ่อมบำรุงส่วนนึงก็มาชดเชนทุน ทำให่ธุรกิจ Cloud Mining สามารถคำนวณจุดคุ้มทุนที่แน่นอนได้ และเมื่อคุ้มทุนแล้วหลังจากนั้น ก็จะเป็นกำไรของ Cloud Mining แบบเต็มหน่วย โดยกินส่วนแบ่งจากการขุดผ่านการคิดค่าซ่อมบำรุงไปเรื่อยๆ เมื่อเริ่มไม่กำไร ก็ยกเลิกสัญญา