fbpx

เมื่อนานมาแล้ว Internet ก็เคยถูกวิจารณ์ว่าเป็นภัยเช่นเดียวกับ Cryptocurrency

บทความนี้เป็นบทความแปลที่ผมไปเจอในเพจ Crypto Excellent Thailand! คุณ Trakarn Buris เป็นคนที่นำมาแบ่งปันผมพบว่ามันน่าสนใจมากเลยได้ขออนุญาติมาลงเป็นบทความครับ เนื้อความคือในอดีตแล้วก็มีคนมองว่าอินเทอร์เนตจะไม่ใช่คำตอบของอนาคตเหมือนที่มีคนพูดถึง Cryptocurrency ในทุกวนนี้ครับ

เมื่อนานมาแล้ว Internet ก็เคยถูกวิจารณ์ว่าเป็นภัยเช่นเดียวกับ Cryptocurrency

18 Oct 2018

บทความนี้เป็นบทความแปลที่ผมไปเจอในเพจ Crypto Excellent Thailand! คุณ Trakarn Buris เป็นคนที่นำมาแบ่งปันผมพบว่ามันน่าสนใจมากเลยได้ขออนุญาติมาลงเป็นบทความครับ โดยต้นฉบับมาจาก newweeks โดยบทความชื่อว่า WHY THE WEB WON’T BE NIRVANA  หรือแปลว่าทำไมเว็ปไซต์ถึงจะไม่เกิดที่เผยแพร่ในปี 1995 ลองไปชมได้เลยครับ

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

 

นั่งแปลบทความจากนิตยสาร Newsweek ที่เขียนถึง internet ไว้เมื่อ 23 ปีที่แล้วมาให้อ่านกันฮะ

จริงๆเป็นบทความที่ดังพอสมควร คนในสายITน่าจะเคยผ่านตากันมามั่งแล้ว
ความน่าสนใจคือ คนเขียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และinternetสูงมาก และสามารถที่จะบรรยายถึงพลังของinternetในอนาคตได้แม่นมาก จองตั๋วเครื่องบิน ซื้อของออนไลน์ นั่งเรียนผ่านเน็ท แต่กลับพูดถึงโดยบอกว่าสิ่งพวกนั้นเป็นไปไม่ได้

พอมาถึง Blockchain ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่internetโดนโจมตีในยุคนั้น มีความใกล้เคียงกับ Blockchain มาก (เต็มไปด้วยอันตราย แดนเถื่อนไร้คนควบคุม load ช้า มีแต่เนื้อหาคุณภาพต่ำ ไม่มีคนใช้จริง ไม่มีประโยชน์แทนของเดิมๆที่มีอยู่แล้วไม่ได้)

ก่อนอื่นต้องบอกว่า จริงๆใจความของคนเขียนก็ถูกที่ว่าinternetไม่สามารถแทนทุกอย่างได้ แต่ก็อย่างที่เห็นกันถึงตระกูล Walton เจ้าของ Walmart asset รวมกันก็ยัง top โลกอยู่ แต่ Amazon Alibaba ก็โตขึ้นมาระดับโลกเหมือนกัน ถ้ายุคนั้น Jeff Bezos Jack Ma นั่งอ่านบทความนี้แล้วเชื่อทั้งหมด ความสำเร็จก็เปลี่ยนไปอยู่ในมือคนอื่นแทน

———————————————————————————–

หลังจากใช้อินเตอร์เน็ทมา20กว่าปี ผมค่อนข้างข้องใจ ไม่ใช่ว่าไม่มีความสุขกับการเล่นอินเตอร์เน็ท อินเตอร์เน็ททำให้ผมมีโอกาสได้เจอคนใหม่ๆ นอกจากนี้ ผมก็ยังเคยจับ hacker มาแล้วคนสองคน แต่วันนี้ผมรู้สึกไม่สบายใจกับชุมชนที่ทันสมัยที่สุดแห่งนี้ถูกพูดถึงในมุมที่เกินความจริงไปมาก คนบางคนที่มีวิสัยทัศน์พูดถึงว่าอีกหน่อยคนงานจะไม่ต้องทำงานที่ออฟฟิศอีกต่อไปแล้ว ห้องสมุดจะไปอยู่บนโลกออนไลน์ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นผ่านมัลติมีเดียแทน พวกเค้ายังพูดไปถึงการพบเจอคนผ่านเมืองออนไลน์และชุมชนดิจิตอล การค้าและธุรกิจจะเปลี่ยนผ่านจากสำนักงานและร้านค้าไปเป็นผ่านอินเตอร์เน็ทแทน และความสามารถในการเข้าถึงข่าวสารจะทำให้รัฐบาลทั่วโลกต้องฟังเสียงประชาชนมากขึ้น

บ้าไปแล้ว ทำไมถึงขาดสามัญสำนึกกันได้ขนาดนี้ ในโลกแห่งความเป็นจริงฐานข้อมูลไม่มีวันทดแทนการอ่านหนังสือพิมพ์ได้ CD-ROM ไม่มีวันทดแทนครู และเครือข่ายอินเตอร์เน็ทไม่มีทางเปลี่ยนวิธีการทำงานของรัฐบาลได้

ลองนึกถึงโลกทุกวันนี้ดู USENET หรือเครือข่ายเว็บบอร์ดทั่วโลกเปิดโอกาสให้ใครก็ตามในโลกสามารถส่งข้อความข้ามประเทศได้ สิ่งที่คุณพูดจะถูกส่งออกไปโดยไม่ผ่านบรรณาธิการและสำนักพิมพ์ ทุกเสียงจะถูกส่งได้ในราคาถูกและรวดเร็ว ผลที่ตามมาคือโลกจะเต็มไปด้วยเสียงของทุกคน สิ่งเหล่านี้ก็จะเหมือนกับวิทยุเถื่อน เต็มไปด้วยการกลั่นแกล้ง การข่มขู่โดยที่ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แล้วเมื่อทุกคนตะโกนพร้อมกัน ก็จะไม่มีใครฟังเสียงใครรู้เรื่อง แล้วถ้าพูดถึงโลกของการเผยแพร่เนื้อหาผ่านอินเตอร์เน็ท ลองไปอ่านหนังสือบน CD ดูซักครั้ง ดีที่สุดก็เป็นได้แค่สิ่งที่น่าเบื่อและทรมาน แสงจากคอมพิวเตอร์ที่ทิ่มแทงสายตาเทียบกันไม่ได้เลยกับหน้ากระดาษของหนังสือ แล้วถามจริงๆว่าจะแบกคอมพิวเตอร์ไปนั่งที่ชายหาดยังไง แต่คนอย่าง Nicholas Negroponte หัวหน้าใหญ่ของ Media Lab มหาวิทยาลัย MIT ดันออกมาบอกว่าอีกหน่อยเราจะซื้อหนังสือและหนังสือพิมพ์ผ่าน Internet ได้เลย เออ เอางั้นเลย

สิ่งที่คนที่เชียร์อินเตอร์เน็ทไม่ได้บอกคุณคืออินเตอร์เน็ทมันคือมหาสมุทรกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่ผ่านการกลั่นกรอง และไม่ครบถ้วน ไม่มีบรรณาธิการคอยแก้ไข ไม่ผ่านการวิเคราะห์วิจารณ์ อินเตอร์เน็ทก็เหมือนกับทะเลทรายกว้างใหญ่ไปด้วยข้อมูลแต่กลับว่างเปล่า คุณไม่มีทางรู้เลยว่าอะไรที่ควรข้ามอะไรที่ควรอ่าน ลองพยายามเข้าอินเตอร์เน็ทแล้วหาวันที่ที่ Battle of Traflgar เกิดขึ้น จะพบไฟล์เป็นร้อยๆไฟล์ ซึ่งใช้เวลากว่า15นาทีถึงจะดูได้หมด อันนึงเป็นเรียงความของเด็กม.2 อีกอันเป็นเกมที่เล่นไม่ได้จริง และอีกอันเป็นแค่รูปของรูปปั้นในลอนดอน ไม่มีอันไหนเลยที่ช่วยตอบคำถามให้ได้ และนอกจากนี้เวลาที่searchไปก็เจอแต่ข้อความขึ้นมาเตือนเรื่อยๆว่า “มีคนใช้งานมากเกินไป ให้ลองใหม่ทีหลัง”

แล้วในมุมของรัฐบาลล่ะ เอาอินเตอร์เน็ทมาใช้จะมีประโยชน์มั๊ย คนที่เสพติดอินเตอร์เน็ทพยายามพูดถึงรายงานต่างๆจากรัฐบาล แต่เมื่อ Andy Spano ลงเลือกตั้งที่ Westchester County รัฐ New York เค้าลงข้อมูลหาเสียงมากมายในเว็บบอร์ด ขนาดในชุมชนที่ร่ำรวย มีบริษัทคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่ในท้องที่มากมาย คิดว่ามีกี่คนกดเข้าไปดู บอกให้ว่าไม่ถึง 30คน ไม่ใช่สัญญาณที่ดีเลย

“แค่ชี้แล้วก็คลิก”

นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะผลักดันให้โรงเรียนใช้คอมพิวเตอร์กัน เราถูกบอกว่าสื่อใหม่ต่างๆจะทำให้การเรียนง่ายขึ้นและสนุกขึ้น นักเรียนจะเต็มใจที่จะเรียนผ่านตัวการ์ตูนและsoftware ใครจะต้องการครูเมื่อเราสามารถเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ได้.. เอาจริงดิ
ของเล่นราคาแพงพวกนี้ใช้งานยากมาก ครูก็ต้องผ่านการอบรมอย่างหนักถึงจะสามารถใช้งานได้ ถึงแม้เด็กจะชอบเล่นเกม แต่ลองนึกถึงตัวคุณเองสิ เคยนึกถึงบทเรียนผ่านฟิล์มได้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาได้มั๊ย แต่สิ่งที่คุณจำได้แน่ๆคือ ครูที่ยิ่งใหญ่หลายคนที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จขึ้นมาได้

และก็เรื่องของธุรกิจไซเบอร์อีก เค้าสัญญากับเราว่าอีกหน่อยจะซื้อของผ่านแคตาล็อกออนไลน์ได้ทันที แค่ชี้แล้วก็คลิก เราจะสามารถซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านอินเตอร์เน็ทได้ เราจะจองร้านอาหารและเจรจาการค้าได้ ร้านค้าofflineจะกลายเป็นของโบราณ นี่คือสิ่งที่คนพูดกันแต่ความเป็นจริงคือห้างในชุมชนผมห้างเดียวมียอดขายครึ่งวันมากกว่ายอดขายจากอินเตอร์เน็ททั้งโลกทั้งเดือนรวมกัน เรื่องนี้จะเป็นจริงได้ถ้าเราสามารถส่งเงินหาคนอื่นผ่านอินเตอร์เน็ทได้ -แต่มันทำไม่ได้- อินเตอร์เน็ทขาดสิ่งที่สำคัญที่สุดของโลกทุนนิยม “เซลแมน”

สิ่งที่อินเตอร์เน็ทขาดไปคือ สัมผัสของมนุษย์ มองข้ามชุมชนออนไลน์ที่มีแต่เสียงดังระงมฟังไม่รู้เรื่อง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทแยกเราออกจากมนุษย์คนอื่น การพูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ทไม่สามารถทดแทนการนั่งคุยกับเพื่อนที่ร้านกาแฟได้ จอคอมพิวเตอร์ไม่สามารถจะทดแทนการไปดูคอนเสิร์ต และเซ็กซ์ออนไลน์ล่ะจะมีใครต้องการ ถึงแม้ว่าอินเตอร์เน็ทจะดูสว่างไสว ส่องแสงดึงดูดคนด้วยการเป็นสัญลักษณ์ว่าความรู้คือพลัง สถานที่ที่ไม่มีอยู่จริงนี้หลอกให้เรายอมทิ้งเวลาบนโลกจริง อินเตอร์เน็ทเป็นได้แค่สิ่งทดแทนชั้นเลว โลกออนไลน์เต็มไปด้วยสิ่งน่ารำคาญ เป็นโลกที่การเรียนรู้และวิวัฒนาการซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของมนุษยชาติ ถูกทำลายอย่างไม่หยุดยั้ง

———————————————————————-

ปัจจัยที่สำคัญคือ เค้ามองสถานการณ์ของอินเตอร์เน็ทในยุคนั้น ผ่านมุมมองจากโลกในยุคก่อน โดยที่ไม่ได้คิดถึงความสามารถในการพัฒนาไปข้างหน้าของเทคโนโลยี แล้วก็สภาพเศรษฐกิจสังคมที่ปรับไปตามเทคโนโลยีใหม่

BTC ช้า ค่าธรรมเนียมแพง”
“Cryptocurrency เป็นแดนเถื่อนไร้การควบคุม”
Ethereum รองรับ แค่10txต่อวิ”
“Dapps ไม่เห็นจะมีใครใช้”
“Cryptokittens appเดียวทำnetworkค้างกระจาย”

ขอขอบคุณผู้แปล Trakarn Buris 

Article
Writer

Maybe You Like