Asset Tokenization คืออะไรนะ? ?
Asset Tokenization คือการนำเอาทรัพย์สินที่มีอยู่จริงบนโลก (Asset) มาไว้บน Blockchain โดยการที่ให้ข้อมูลบน Blockchain นั้นเป็นตัวแทนของทรัพย์สินนั้นๆครับ
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!ตัวอย่างเช่น การนำเอาอสังหาริมทรัพย์ต่างๆมาไว้บน Blockchain โดยคอนโดหรือบ้านแต่ละหลังต่างก็มี Token ที่อยู่บน Blockchain เป็นตัวแทนของทรัพย์สินนั้นๆ, หรือจะเป็นการนำเอาทองคำมาไว้บน Blockchain, หรือแม้แต่รูปภาพงานศิลปะต่างๆก็สามารถเอามาไว้บน Blockchain ได้
แล้วทำแบบนี้ไปเพื่ออะไร? มีประโยชน์อะไรหรอ? ?
ซึ่งการทำแบบนี้ทำให้ตัว Asset หรือทรัพย์สินที่ถูก tokenized นั้นมีคุณลักษณะแบบเดียวกับ Cryptocurrency ซึ่งก็คือ
- สามารถซื้อขายและแลกเปลี่ยนได้อย่างปลอดภัยและไม่ต้องพึ่งตัวกลาง
- ค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายต่ำกว่าการโอนทรัพย์สินนั้นๆในโลก offline
- ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการจัดการเรื่องของความเป็นเจ้าของๆทรัพย์สินนั้น เพราะทรัพย์สินที่ถูก tokenized จะผูกกับ Wallet Address หรือ Public Key ของเจ้าของ ซึ่งจะถูกยืนยันความเป็นเจ้าของอีกทีโดย Private Key ที่เจ้าของเก็บไว้กับตัวเอง
ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยปกติแล้ว ถ้าหากเราซื้อบ้านเราก็ต้องจ่ายค่าโอนให้กับตัวกลางเป็นจำนวนประมาณ 2% เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการโอน “ความเป็นเจ้าของ” ของเราไปให้กับอีกคน..
เพราะงั้นแปลว่า ถ้า Alice ต้องการขายบ้านราคา 8,000,0000 บาท ให้กับเพื่อนชื่อ Bob ทั้ง Alice และ Bob ก็ต้องมาตกลงอีกทีว่า 2% ในส่วนของค่าธรรมเนียมในการโอนเนี้ย ใครจะจ่าย? ถ้า Bob จะออก แปลว่า Bob ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 160,000 บาท ถ้า Alice จะออกให้ ก็แปลว่า Alice ต้องจ่าย 160,000 บาท หรือจะหารกันคนละครึ่ง แต่ก็แปลว่าต้องจ่ายกันอีกคนละ 80,000 บาท ซึ่งก็ไม่ใช่ solution ที่ดีอีก..
เหตุผลหลักๆที่ตัวกลางต้องการค่าธรรมเนียมก็เป็นเพราะวิธีการดำเนินงานแบบเดิมนั้นต้องมีทั้งนายทะเบียน และพนักงานอื่นๆมาจัดเก็บแบบฟอร์มหรือเอกสารต่างๆในรูปแบบของกระดาษ และถึงแม้ว่าจะนำข้อมูลทั้งหมดจัดเก็บ Online นายทะเบียนต่างๆก็ยังคงอยู่ เพราะถ้าไม่มีหน้าทะเบียนก็จะมีปัญหาเรื่องของการยืนยันว่าเจ้าของๆบ้านหรือคอนโดนั้นๆทำการโอนความเป็นเจ้าของให้กับอีกคนจริงๆ ด้วยเหตุผลตรงนี้การที่เรา tokenized อสังหาริมทรัพย์เลยเป็นอีก use-case ที่น่าสนใจอีกอันนึงของ blockchain ครับ
สมมติว่าทั้งวงการอสังหาริมทรัพย์และรัฐบาลเกิดยอมรับ Blockchain กันขึ้นมา แปลว่าบ้านของ Alice ถูก tokenized ไปด้วย ทีนี้ภาพรวมด้านบนทั้งหมดก็จะเปลี่ยนไปเป็นคนละเรื่องเลย
จากการที่ Alice จะขายบ้านให้ Bob ในราคา 8,000,000 บาท และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้ตัวกลางอีก 160,000 ไปเป็น Alice โอนความเป็นเจ้าของบน Blockchain ให้กับ Bob ตรงๆ และเสียค่าธรรมเนียมในจำนวนที่น้อยมากๆ น้อยกว่า 160,000 บาทหลายเท่า ทั้ง Alice และ Bob ก็ happy ไม่ต้องเสียตังค่าธรรมเนียมในการโอน “ความเป็นเจ้าของ” ในราคา 160,000 บาท แต่เสียแค่เงินอาจจะเป็นหลัก 10 หรือหลัก 100 บาท เพียงเท่านั้นเอง และในการโอนนั้นก็สามารถยืนยันได้ว่า Alice โอนบ้านที่ถูก tokenized ให้ Bob จริงๆ
จริงๆ นอกจากการตัดค่าธรรมเนียมออกไปแล้ว ถ้าเรามองภาพที่ไกลกว่านั้น การทำ Asset Tokenization ยังสามารถนำไปใช้กับเรื่องของ IoT ได้อีก.. เช่น ถ้าเรา toknized รถ และ token ที่แสดงรถของเราอยู่ใน wallet ของเรา ทีนี่เราสามารถใช้ private key ที่เราถืออยู่เป็นตัวปลดล็อครถได้เลย ถ้าเราขายให้อีกคน หรือให้คนอื่นเช่าก็แค่เซ็นอนุญาติให้คนที่ถืออีก wallet ได้ใช้รถของเราด้วย.. ละจำล้ำไปกว่านั้นถ้า private key ของเราคือลายนิ้วมือ แปลว่าการโจรกรรม private key ก็จะยากไปอีกนิ้ดดด.. เพ้อนิดๆ แต่นั้นทำให้เห็นว่าการนำเอา IoT + Asset Tokenization เป็น use-case ที่น่าสนใจมากกกในอนาคต ?
โอเคเจ๋งดี.. แล้วถ้าต้องการอะไรแบบนี้ ต้องทำยังไงบ้างอ่ะ? ?
ทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นนั้นสามารถทำผ่าน Smart Contract ได้ครับ.. โดยบน Ethereum (Blockchain platform สำหรับสร้างสัญญาอัจฉริยะ) นั้นมีมาตราฐานอย่าง ERC-721 ที่เอาไว้จัดการเรื่องของการ tokenize asset ที่แต่ละหน่วยไม่สามารถทดแทนกันได้ครับ.. เดี๋ยวผมขอยกในส่วนนี้ไปอีกบทความนึงจะดีกว่าฮะ จะได้อธิบายวิธีการเขียน ERC-721 แบบลงลึกพร้อมโค้ดตัวอย่างการเขียน Smart Contract ของ ERC-721 ?
สำหรับใครที่สนใจว่าจะเขียน Smart Contract ของ ERC-721 ยังไง ตามไปอ่านต่อได้ที่ ? https://medium.com/100x-studio/understanding-erc721-asset-tokenization-f1e83f59e2cb
สำหรับหน่วยงานหรือบริษัทไหนสนใจอยากจะปรึกษาว่ามีส่วนไหนที่ใช้ Blockchain แก้ปัญหาได้บ้างหรือสนใจอยากให้ 100x Studio ไปแชร์ความรู้เกี่ยวกับ Blockchain สามารถติดต่อพวกเราได้ที่ boss@r0ix.com หรือเพจ “อายุน้อยร้อยเอ็กซ์” ได้เลยครับ! ?