Block by Block และ ห่วงโซ่อุปทาน
Block by Block เป็นชุดที่เราจะลงไปในอุตสาหกรรมต่างๆและตรวจสอบตั้งเเต่จุดเริ่มต้นสำหรับการกระจายอำนาจ
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!หนึ่งในการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี blockchain ยอดนิยม คือ ห่วงโซ่อุปทาน(supply chain) เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการสำรวจของ Deloitte พบว่า ผู้บริหาร 53% จาก 1,000 คน ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า บริษัทของเขากำลังทำงานใน“ blockchain use cases” สำหรับ ห่วงโซ่อุปทาน
และไม่ยากที่จะเดาว่าทำไมบริษัทหลายแห่งกำลังดิ้นรน เพื่อที่จะเพิ่มความชัดเจนและเก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้าของพวกเขาตลอดห่วงโซ่อุปทาน ปัญหาเหล่านี้มาคู่กับความกังวลในการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ไม่ดี และตลาดของ software ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานสูงถึง $ 12 billion จึงดึงดูดนักลงทุนและผู้ประกอบการให้สนใจการแก้ไขปัญหาห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยี blockchain
จุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มห่วงโซ่อุปทานแบบ blockchain อยู่ที่ไหน
ข้อจำกัดในการมองเห็น : การมองเห็นห่วงโซ่อุปทานจำเป็นสำหรับบริษัทอย่างไม่ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม การมองเห็นตลอดห่วงโซ่อุปทานนั้นยากมากแต่เป็นไปได้ ในปี 2017มีการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านห่วงโซ่อุปทาน พบว่ามีบริษัทเพียง 6% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จใน“ การมองเห็นห่วงโซ่อุปทานอย่างเต็มรูปแบบ” การสำรวจ Deloitte ยังแสดงให้เห็นว่าการมองเห็นนั้นเป็นหนึ่งในความท้าทายอันดับต้น ๆ สำหรับการจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน
การมองเห็นอย่างจำกัดอาจสร้างผลลัพธ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีข้อบกพร่องอาจหลุดเข้าไปในห่วงโซ่อุปทานและไปอยู่ในมือของผู้บริโภค
ตัวอย่างที่มีให้เห็น เช่น การระบาดของเชื้อ E. coli ล่าสุดที่เชื่อมโยงกับผักกาดหอม romaine ซึ่งมีผู้ติดเชื้อ 59 คนในสหรัฐอเมริกา หรือการทะเลาะกันอย่างรุนแรงของ Firestone และ Ford ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 270 รายและบาดเจ็บ 800 คนในสหรัฐอเมริกา
การโกงในห่วงโซ่อุปทาน : ความซับซ้อนและคลุมเครือของห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้เกิดการโกงได้ในหลายกิจกรรม เช่น การขโมยและการปลอมแปลง เนื่องจากบริษัทต้องทำงานกับเว็บซัพพลายเออร์และผู้รับเหมาช่วงต่อ ทำให้โอกาสมากมายสำหรับการโกง
การโกงเหล่านี้ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์เเบบ เพชรแห่งความขัดแย้ง (conflict diamond) และยาปลอมเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานอย่างผิดกฎหมายได้ การโกงที่มีการโจรกรรมมาเกี่ยวข้องยังส่งผลให้บริษัทเดินเรือขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ ทาง SAP Center for Business Insight ประมาณความเสียหายไว้ที่ $ 3.7 Trillion เนื่องจากการโกงที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน
ปัญหาการชำระเงินและค่าใช้จ่ายในการบริหารที่สูง : อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานต้องเผชิญกับต้นทุนการบริหารที่สูง จากข้อมูลของ EY “บริษัท Fortune 100 โดยเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา มียอดขายมากกว่า 60 วัน” นั่นคือ บริษัทต่างๆต้องรอ 60 วัน เพื่อรับเงินหลังจากส่งมอบผลิตภัณฑ์ หรือหลังจากทำงานเสร็จ EYกล่าวว่านี่เป็นสที่แปลก เพราะ “ เกือบทุกบริษัท มีการความสัมพันธ์กันในสัญญาที่ระบุว่า ชำระเงินเมื่อได้รับสินค้าหรืออย่างมากภายใน 30 วัน”
EY อ้างถึง “ ช่องว่างแบบอะนาล็อก (analog gap)” ที่ก่อให้เกิดความล่าช้านี้ สำหรับสัญญาห่วงโซ่อุปทาน ลูกค้ามักป้อนใบแจ้งหนี้ด้วยตนเองและตัดสินใจว่าจะจ่ายเมื่อใด ลูกค้าเหล่านี้มีแรงจูงใจที่จะจ่ายหนี้ของพวกเขาโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อใช้ประโยชน์จากบริการที่ส่งมอบและเงินสดในมือที่จัดสรรให้สำหรับการชำระเงินใน 60 วัน นับเป็นเรื่องดีสำหรับลูกค้า เเต่สถานการณ์นี้ทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพคล่อง ไม่สามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการที่พวกเขาได้ส่งมอบในระยะสั้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานยังเผชิญกับต้นทุนสูงของกระบวนการเอกสารของพวกเขา ตามที่ Forbes กล่าวไว้ “ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลเอกสารการค้าและการบริหารคาดว่าจะเท่ากับต้นทุนการขนส่งทางกายภาพที่เกิดขึ้นจริง”
จากปัญหาที่ต้องเผชิญเนื่องจากแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ (centralized supply chain platforms) เเล้ว แพลตฟอร์มห่วงโซ่อุปทานแบบ blockchain จะแก้ปัญหาได้อย่างไร
ข้อจำกัดในการมองเห็น →การมองเห็นที่เพิ่มขึ้น : โซลูชันที่เปิดใช้งาน blockchain แจกจ่ายบันทึกและส่งข้อมูลบนซัพพลายเชนไปยังผู้ใช้ทั้งหมดของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานแบบเรียลไทม์ ในทางทฤษฎีหมายความว่า การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุด A ไปยังจุด B นั้นได้รับการอัพเดตตลอดเวลาสำหรับสมาชิกของเครือข่ายเพื่อตรวจสอบ นอกจากนี้เนื่องจากเครือข่ายบ blockchain โดยทั่วไปมีกลไกที่ต้องการให้สมาชิกทุกคนเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงก่อนที่เครือข่ายจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ โดยไม่ได้รับการยืนยันจากสมาชิกทุกคนในเครือข่าย
การโกงในห่วงโซ่อุปทาน→ลดโกง : “ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้” เป็นผลประโยชน์หลักของโซลูชัน blockchain ในทางทฤษฎีแล้วข้อมูลที่ถูกบันทึกลงใน blockchain นั้นจะไม่ถูกลบหรือแก้ไขได้ การที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคู่กับ RFID tags และเซ็นเซอร์ที่ใช้ในบริษัทอยู่แล้วทำให้ยากสำหรับการโกงที่จะเกิดขึ้น ความพยายามใด ๆ ในการเปลี่ยนจุดข้อมูลของ blockchain จะสังเกตได้ทันทีจาก node บนเครือข่ายและถูกปฏิเสธไป
ปัญหาการชำระเงินและค่าใช้จ่ายในการบริหารที่สูง→เปลี่ยนเป็นเอกสารดิจิทัลผ่าน Smart Contracts : ระบบ blockchain บางระบบ (Hyperledger, Ethereum และอื่น ๆ )สามารถใช้ smart contracts ที่สามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติเมื่อจบกิจกรรมตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ล่วงหน้า หากใช้อย่างถูกต้องหลักฐานการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการจะทำการชำระเงินสำหรับการจัดส่งนั้นโดยอัตโนมัติ นี่จะลดค่าใช้จ่ายรายวันสำหรับบริษัทที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้ นอกจากนี้การเปลี่ยนเอกสารให้เป็นดิจิทัลสามารถลดค่าใช้จ่ายของกระบวนการเอกสารได้อย่างมาก
แล้วอะไรคืออุปสรรคในการเข้าถึง
มุมมองของผู้คน : แม้ว่าเครือข่าย blockchain สามารถแก้ไขปัญหาในขอบเขตดิจิทัลได้ แต่พวกเขาไม่สามารถแก้ไขปัญหาในขอบเขตทางกายภาพ blockchain ไม่ได้หยุดผู้คนจากการกระทำที่ไม่ดี ผู้คนเหล่านี้อาจไม่สามารถแก้ไขฐานข้อมูล blockchain ได้ แต่พวกเขาสามารถจัดการกับผลิตภัณฑ์ทางกายภาพที่ติดตามห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้ สมมติว่า บริษัทต้องการติดตามความถูกต้องของกระเป๋าถือสุดหรูที่มี RFID tag ซึ่งบันทึกรายละเอียดของกระเป๋าลงใน blockchain เพื่อยืนยันความถูกต้อง ผู้คนที่ไม่ดีพยายามเอากระเป๋าปลอมให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานสามารถใส่ RFID tag ของกระเป๋าแท้ลงบนถุงของปลอมได้ ทั้งหมดนี้ทำในขอบเขตทางกายภาพโดย blockchain ไม่สามารถช่วยได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เครือข่าย blockchai ที่ติดตาม RFID tag ที่แนบมากับกระเป๋าปลอมนั้นเป็นของแท้ไป
การที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ : “ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้” ถูกขนานนามว่าเป็นประโยชน์ของระบบ blockchain มันอาจเป็นข้อเสียสำหรับผู้จัดการห่วงโซ่อุปทาน มีหลายสถานการณ์ที่จำเป็นต้องอัปเดตข้อมูลเก่า ตัวอย่างเช่น หากชิ้นส่วนเครื่องบินติดฉลากผิดผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานจะต้องการความสามารถในการอัปเดตฉลากใหม่ ยกเว้นว่าพวกเขาต้องการจัดส่งชิ้นส่วนที่ไม่ถูกต้องนี้ หรือ การเก็บบันทึกธุรกรรมทางการเงินที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การเเข่งขันของ Startup : แพลตฟอร์มห่วงโซ่อุปทาน blockchain ไม่เพียงแต่แข่งขันกับบริษัทเก่าแก่อย่าง IBM แต่ยังมี Startup หลายร้อยรายที่พยายามแย่งส่วนแบ่งตลาด Startupเหล่านี้ได้ระดมเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ เพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดเช่นเดียวกับบริษัทห่วงโซ่อุปทาน blockchain นอกจากนี้ startups เหล่านี้ยังได้พัฒนาโซลูชัน blockchainless ซึ่งลูกค้าจะจ่ายอย่างงาม หากโซลูชันเหล่านี้สามารถใช้กับปัญหาห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันผู้ใช้ที่มีศักยภาพของโซลูชั่น blockchain ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้
Blockchain และ ห่วงโซ่อุปทาน ดูเหมือนจะเข้ากันได้อย่างดี อย่างไรก็ตามดังที่เราได้เห็นด้วยการเปิดตัวล่าสุดของ IBM ของแพลตฟอร์มซัพพลายเชนที่ใช้งาน blockchain ชื่อ TradeView เเละยังต้องมีการพัฒนาต่อไปอีก บริษัทต่างๆจะเริ่มใช้โซลูชันเหล่านี้มาใช้ สรุปโดยรวม ในขณะที่ blockchains ทำประโยชน์ให้กับผู้จัดการโซ่อุปทาน เเต่พวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนการกระทำของมนุษย์ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานของห่วงโซ่อุปทานได้