fbpx

[แปล] Bitcoin Standard เมื่อระบบการเงินไม่ต้องขึ้นกับตัวกลาง บทที่ 6 ระบบการสื่อสารของระบบทุนนิยม Part 3

 Thank you for reading this post, don't forget to subscribe! ในโลกของเงินที่มั่นคง สินค้าและเงินทุนไหลเข้าออกระหว่างแต่ละประเทศในลักษณะเดียวกับที่มันไหลเข้าออกระหว่างแต่ละพื้นที่ในประเทศเดียวกันได้ กล่าวคือ มันไหลเข้าออกผ่านการแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันอย่างลงตัวระหว่างเจ้าของของพวกมัน  ไม่ว่าจะภายใต้ระบบเงินออริอุสของจูเลียส ซีซาร์ หรือภายใต้ระบบมา

[แปล] Bitcoin Standard เมื่อระบบการเงินไม่ต้องขึ้นกับตัวกลาง บทที่ 6 ระบบการสื่อสารของระบบทุนนิยม Part 3

7 Oct 2020

 

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

ในโลกของเงินที่มั่นคง สินค้าและเงินทุนไหลเข้าออกระหว่างแต่ละประเทศในลักษณะเดียวกับที่มันไหลเข้าออกระหว่างแต่ละพื้นที่ในประเทศเดียวกันได้ กล่าวคือ มันไหลเข้าออกผ่านการแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันอย่างลงตัวระหว่างเจ้าของของพวกมัน  ไม่ว่าจะภายใต้ระบบเงินออริอุสของจูเลียส ซีซาร์ หรือภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำของธนาคารแห่งอัมสเตอร์ดัมในศตวรรษที่สิบเจ็ด หรือภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำในศตวรรษที่สิบเก้าก็ตาม อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการค้าขายคือความยากลำบากในการขนส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในเชิงกายภาพเท่านั้น  ภาษีศุลกากร และ กำแพงการค้าแทบจะไม่มีให้เห็น และหากจะมีก็มีเพียงค่าธรรมเนียมที่จ่ายเพื่อเป็นค่าบริหารจัดการและบำรุงรักษาจุดข้ามพรมแดนและท่าเรือต่างๆเท่านั้น

 

ในยุคสมัยของเงินไม่มั่นคง ดังเช่นยุคสมัยที่ยุโรปตกต่ำลงสู่การปกครองระบอบศักดินา หรือที่โลกสมัยใหม่ตกต่ำลงสู่ลัทธิชาตินิยมทางการเงิน การค้าก็จะไม่ใช่เรื่องที่อยู่ภายใต้การตัดสินใจของคู่ค้าอีกต่อไป และกลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในระดับชาติที่จำเป็นต้องมีการกำกับควบคุมโดยเจ้าเมืองหรือรัฐบาลที่เข้ามายึดครองอธิปไตยทางการค้าขายไปจากปัจเจกบุคคล การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของการค้าขายนี้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์อย่างน่าตกใจ โดยในศตวรรษที่ยี่สิบคำว่าการค้าเสรีได้กลายเป็นคำที่หมายถึงการค้าข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลสองฝ่ายภายใต้ข้อตกลงที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ข้อตกลงระหว่างคู่ค้าอีกต่อไป!

 

การทิ้งระบบมาตรฐานทองคำในปีค.ศ. 1914 ด้วยการระงับและจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินกระดาษเป็นทองคำเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคสมัยที่ฮาเย็คเรียกว่ายุคชาตินิยมทางการเงิน แทนที่มูลค่าของเงินจะถูกเปรียบเทียบเป็นหน่วยทองคำซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตราปริมาณ-ต่อ-กระแสที่สูงที่สุดที่ส่งผลให้มีความยืดหยุ่นทางราคาของอุปทานต่ำที่สุดซึ่งทำให้มันมีมูลค่าที่คงที่และคาดเดาได้ง่ายที่สุด มูลค่าของเงินกลับถูกปล่อยให้แกว่งไกวไปตามนโยบายทางการเงินและการค้าต่างประเทศที่ยากที่จะคาดเดา  อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำหรืออุปทานของเงินที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้มูลค่าของเงินลดลงเช่นเดียวกับการใช้จ่ายของภาครัฐที่สนับสนุนทุนโดยการกู้เงินจากธนาคารกลาง 

 

แม้ว่าทั้งสองปัจจัยนี้โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลผู้ซึ่งอย่างน้อยก็สามารถหลอกตัวเองได้ว่าพวกเขาจะสามารถบริหารจัดการพวกมันเพื่อให้เกิดความมั่นคงได้ แต่ปัจจัยที่สามคือปัจจัยที่บังเกิดขึ้นจากผลของการตัดสินใจของประชาชนทุกๆ คนรวมถึงประชาชนชาวต่างชาติด้วยนั่นเอง  โดยเมื่ออัตราการส่งออกสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่งสูงกว่าอัตราการนำเข้า (เกิด trade surplus) สกุลเงินของประเทศนั้นก็จะแข็งค่าขึ้นในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และมันจะอ่อนค่าลงเมื่อการนำเข้าเจริญเติบโตขึ้นสูงกว่าการส่งออก (เกิดการขาดดุลทางการค้า)  แต่แทนที่ผู้ออกนโยบายจะมองเหตุการนี้เป็นสัญญานบอกว่าพวกเขาควรเลิกยุ่งวุ่นวายกับค่าเงินและปล่อยให้ผู้คนมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกเอาสินค้าที่มีความผันผวนทางราคาน้อยที่สุดมาเป็นเงิน พวกเขากลับเห็นมันเป็นคำเชื้อเชิญให้พวกเขาเข้ามาบริหารจัดการล้วงลูกลงไปถึงรายละเอียดเล็กๆต่างๆนาๆยิ่งกว่าเดิม 

 

มูลค่าของเงินที่เคยหน่วยวัดมูลค่าที่ใช้ในการคำณวนและวางแผนกิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด เปลี่ยนสถานะจากการเป็นมูลค่าของสินค้าที่มีความผันผวนทางราคาน้อยที่สุดในตลาดไปเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดโดยผลรวมของเครื่องมือทางนโยบายทั้งสามของรัฐบาล ได้แก่ นโยบายทางการเงิน นโบบายการคลัง และ นโยบายการค้า และที่โดยสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ยิ่งไปกว่านั้นนั่นก็คือปฏิกิริยาตอบสนองของผู้คนต่อการใช้นโยบายต่างๆเหล่านี้  การที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกำหนดมาตรวัดมูลค่าด้วยตนเองนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการที่รัฐบาลพยายามที่จะกำหนดมาตรวัดระยะทางโดยใช้หน่วยเป็นความสูงของผู้คนและอาคารสิ่งปลูกสร้างในเขตการปกครองของพวกเขา  ลองนึกถึงความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นต่อโครงการวิศวกรรมทั้งหมดหากความยาวของระยะหนึ่งเมตรแปรเปลี่ยนขึ้นลงไปตามประกาศของสำนักงานมาตรวัดกลางของรัฐบาลในแต่ละวันดูสิ

 

มีเพียงแต่คนบ้าที่หลงตัวเองเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนมาตรวัด  การทำให้หน่วยเมตรสั้นลงอาจทำให้คนที่มีบ้านที่มีพื้นที่ 200 ตารางเมตรเชื่อว่าเขามีบ้าน 400 ตารางเมตรได้ แต่มันก็ยังเป็นบ้านหลังเดิมอยู่ดี สิ่งเดียวที่การเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความของหน่วยเมตรทำให้เกิดขึ้นคือการทำให้วิศวกรไม่สามารถสร้างหรือดูแลบ้านได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง  เช่นเดียวกัน การลดค่าเงินอาจทำให้ประเทศใดประเทศหนึ่งดูร่ำรวยขึ้น หรือทำให้มูลค่าสินค้าส่งออกของเขาดูสูงขึ้นได้ แต่มันไม่ได้ทำให้ประเทศนั้นเจริญรุ่งเรืองขึ้นแต่อย่างใด

 

เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้บัญญัติสิ่งที่เรียกว่า ‘สามเหลี่ยมอันเป็นไปไม่ได้ (impossible trinity)’ ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงสภาพของนักธนาคารกลางสมัยใหม่ โดยระบุว่า: มันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีรัฐบาลใดที่สามารถมีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่คงที่ มีการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างเสรี และมีนโยบายทางการเงินที่ไม่ขึ้นต่อชาติอื่นใดในขณะเดียวกันได้ หากรัฐบาลอนุญาตให้มีการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างเสรี แต่มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ รัฐบาลนั้นก็จะไม่สามารถมีนโยบายทางการเงินของตนเองได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้มีเงินทุนหลั่งไหลเข้า หรือ ออกจากประเทศจนทำให้พวกเขาไม่สามารถคงอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ได้ และเราก็รู้ดีว่านักเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ชื่นชอบการมีนโยบายทางการเงินเอาไว้เป็นเครื่องมือในการ “บริหารจัดการ” เศรษฐกิจมากขนาดไหน 

 

ทางเดียวที่จะสามารถมีนโยบายทางการเงินเป็นของตนเอง และมีอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ได้นั้น คือการจำกัดควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในช่วงค.ศ. 1946 – 1971 แต่ถึงกระนั้นมันก็ไม่สามารถยั่งยืนอยู่ได้เนื่องจากกระแสการหลั่งไหลของสินค้ากลายเป็นช่องทางที่อัตราแลกเปลี่ยนสามารถใช้เพื่อตอบสนองต่อความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้นได้ โดยเมื่อบางประเทศทำการส่งออกสินค้ามากเกินไป ในขณะที่บางประเทศกลับนำเข้าสินค้ามากเกินไป ส่งผลให้รัฐบาลของทั้งสองประเทศต้องทำการเจรจาเพื่อปรับอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ แต่มันกลับไม่มีจุดที่แต่ละองค์กรนานาชาติต่างๆสามารถเจอกันตรงกลางได้ในการเจรจาเหล่านี้ เนื่องจากรัฐบาลของแต่ละประเทศก็จะพยายามทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาในการเจรจาดังกล่าว หลังจากค.ศ. 1971 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกจึงเปลี่ยนไปใช้นโยบายทางการเงินของตนเอง และเปิดให้มีการหลั่งไหลของเงินทุนอย่างเสรีในขณะที่ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศลอยตัว

 

สถานะดังกล่าวมีข้อได้เปรียบในการให้เหล่านักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนเซียนยังสามารถเล่นกับเครื่องมือชิ้นโปรดของพวกเขาในการ “บริหารจัดการ” เศรษฐกิจได้และยังสามารถตอบสนองความต้องการของสถาบันการเงินระหว่างประเทศและนายทุนใหญ่ได้ในขณะเดียวกัน มันยังเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่เป็นผู้สร้างตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เปิดให้มีการซื้อขายเงินตราสกุลต่างๆ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยมีมูลค่าซื้อขายเป็นล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในแต่ละวัน  แต่สภาวะนี้กลับไม่ค่อยสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มคนอื่นๆเท่าใดนัก โดยเฉพาะกลุ่มผู้คนที่มีองค์กรธุรกิจที่สร้างผลผลิตเป็นสินค้าที่มีคุณค่าต่อสังคม 

 

ในโลกโลกาภิวัฒน์ที่อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งในและนอกประเทศจำนวนมาก การทำธุรกิจที่มีผลผลิตมีคุณค่ากลายเป็นเรื่องที่ท้าทายโดยไม่จำเป็น  บริษัทที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจย่อมมีการนำเข้าและส่งออกผลผลิตทางธุรกิจไปมาระหว่างหลายๆประเทศ การตัดสินใจซื้อและขายสินค้าทุกการตัดสินใจขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ในโลกนี้ บริษัทที่มีแม้จะมีความสามารถในการแข่งขันสูงก็ยังอาจต้องประสบกับการขาดทุนครั้งใหญ่เพียงเพราะการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น ทั้งที่มันอาจไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเทศของเขาเสียด้วยซ้ำ ถ้าประเทศที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบรายใหญ่ของบริษัทนั้นประสบกับเหตุการณ์ที่ค่าเงินของเขาเพิ่มสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าของบริษัทก็มีโอกาสที่จะเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้บริษัทเกิดการขาดทุนได้ เหตุการณ์เดียวกันยังสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ประเทศผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ของบริษัทมีค่าเงินที่ลดลง บริษัทที่ใช้เวลาหลายทศวรรษในการพัฒนาข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของพวกเขาอาจได้เห็นทุกอย่างพังทลายลงภายใน 15 นาทีเมื่อเกิดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สามารถคาดเดาได้ขึ้น  สถานการณ์ดังกล่าวมักถูกโบ้ยให้เป็นความผิดของระบบการค้าเสรี โดยนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ต่างจะพากันใช้มันเพื่อเป็นข้ออ้างในการออกนโยบายการคุ้มครองทางการค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็มีผลเสียร้ายแรงมากเช่นกัน

 

เมื่อการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างเสรีและการค้าเสรีตั้งอยู่บนฐานรากอันไม่มั่นคงของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวที่เปรียบเสมือนหลุมทรายดูด  จึงทำให้จำเป็นต้องมีธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่ต้องคอยระวังการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินอยู่ตลอดเวลาในสัดส่วนที่สูงขึ้น  ธุรกิจและกิจการต่างๆล้วนต้องอุทิศทรัพยากรและแรงงานไปกับการพยายามทำความเข้าใจเรื่องที่สำคัญมากแต่อยู่เหนือการควบคุมของพวกเขา  ผู้คนจำนวนมากหันมาทำงานเกี่ยวกับการคาดเดาการกระทำของธนาคารกลาง รัฐบาล และการเคลื่อนไหวของค่าเงิน  กลไกอันสลับซับซ้อนของการวางแผนควบคุมโดยส่วนกลางและพิธีกรรมในการมีส่วนร่วมนี้มักจะเข้ามาขัดขวางกิจกรรมทางเศรฐกิจอยู่เสมอ  ข้อเท็จจริงที่น่าประหลาดใจที่สุดของโลกสมัยใหม่อาจเป็นขนาดของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างผลผลิตที่แท้จริงก็เป็นได้ The Bank of International Settlements20 คาดเดาว่าตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 5.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯต่อวันในเดือนเมษายน ค.ศ. 2016 ซึ่งเปรียบได้ราว 1,860 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี  ในปีค.ศ. 2016 ธนาคารโลกทำการคาดการณ์ผลผลิตมวลรวมของทุกประเทศในโลกเอาไว้ที่ราวๆ 75 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ  ซึ่งนี่หมายความว่าตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศมีมูลค่าสูงกว่าผลผลิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว21 

 

สิ่งสำคัญในประเด็นนี้ที่ลืมไม่ได้คือการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศนั้นไม่ใช่กระบวนการในการผลิตผลผลิต จึงทำให้ปริมาณมูลค่าการซื้อขายของมันไม่ปรากฎรวมอยู่ในตัวเลขผลผลิตมวลรวม การแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งกับเงินตราอีกสกุลหนึ่งนั้นไม่ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแม้แต่น้อย มันเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเพื่อก้าวข้ามความยากลำบากของการมีสกุลเงินที่แตกต่างกันมากมายในแต่ละประเทศ  สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ ฮานส์-เฮอร์แมนน์ ฮอปป์ ได้เรียกว่า “ระบบของการแลกเปลี่ยนอย่างไม่สมบูรณ์ระดับโลก22” ระหว่างเขตพรมแดนนานาชาติคือสิ่งที่กำลังบ่อนทำลายคุณประโยชน์ที่การค้าขายระดับโลกสามารถสร้างให้กับประชาชน ด้วยการขูดรีดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมที่สูงลิบเพื่อที่จะลดความรุนแรงของผลกระทบที่ตามมา  ไม่เพียงแต่โลกกำลังผลาญเงินทุนและแรงงานอันมากมายมหาศาลในการพยายามข้ามผ่านกำแพงทางการค้าเหล่านี้  ยังมีธุรกิจ และ ผู้คนจำนวนมากทั่วทั้งโลกที่ยังประสบกับความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญอยู่บ่อยครั้งจากความผิดพลาดในการคำนวณทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากความผันผวนของหลุมทรายดูดของอัตราแลกเปลี่ยน

 

ในตลาดเสรีสำหรับเงินตรา ผู้คนสามารถเลือกสกุลเงินที่เขาต้องการใช้ได้ และผลก็คือพวกเขาจะเลือกเงินที่มีอัตราส่วนระหว่างปริมาณ-ต่อ-กระแสที่สูงและมั่นคงที่สุด เงินนี้จะเป็นเงินที่มีความผันผวนน้อยที่สุดเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน และมันจะกลายเป็นสื่อกลางทางการแลกเปลี่ยนอันเป็นที่ต้องการของผู้คนทั่วทั้งโลก ส่งผลให้มันสามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยในการคำนวณทางเศรษฐกิจทั้งหมดได้ กลายเป็นหน่วยวัดมูลค่าที่สามารถทำงานได้ผ่านกาลเวลาและระยะทางไกล  ยิ่งสินค้ามีความสามารถในการขายมากเท่าใดมันก็จะยิ่งเหมาะสมกับการทำหน้าที่นี้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น  ทั้งเงินออริอุสของชาวโรมัน เงินโซลิดัสของชาวบิแซนทีน หรือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ล้วนแล้วแต่เป็นตัวอย่างของปรากฎการณ์ดังกล่าวในระดับหนึ่งแม้แต่ละสกุลเงินจะมีข้อเสียของตัวมันเอง  เงินที่เกือบจะมีสถานะดังกล่าวคือทองคำในช่วงปีหลังๆของระบบมาตรฐานทองคำ แต่ถึงกระนั้นบางประเทศและบางสังคมก็ยังคงยึดติดอยู่กับโลหะเงินหรือเงินโบราณรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

 

มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจของชีวิตในยุคสมัยใหม่ ที่ผู้ประกอบกิจการในปีค.ศ.1900 สามารถวางแผนการและทำการคำนวณทางเศรษฐกิจในระดับโลกได้ด้วยหน่วยเงินระดับนานาชาติใดก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเลยแม้แต่น้อย แต่ผ่านมาอีกศตวรรษหนึ่ง การที่ผู้ประกอบกิจการลักษณะเดียวกันจะทำการวางแผนธุรกิจข้ามพรมแดนสักแผนหนึ่งนั้นเขากลับต้องเผชิญกับอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนรุนแรงหลายต่อหลายคู่ที่อาจทำให้เข้าคิดไปว่าเขาได้เดินเข้าไปในภาพวาดของซัลวาดอร์ ดาลีเสียด้วยซ้ำ  นักวิเคราะห์คนใดก็ตามที่ยังมีสติดีอยู่ก็สามารถสรุปได้ว่าทางออกที่ดีที่สุดคือการผูกโยงค่าเงินกลับเข้าสู่ทองคำอีกครั้งแล้วเลิกเล่นละครสัตว์บ้าๆนี้เสีย ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาสามเหลี่ยมอันเป็นไปไม่ได้ โดยกำจัดเอาความต้องการนโยบายทางการเงินที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลออกไป และเปิดให้เงินทุนและการค้าสามารถไหลเข้าออกได้อย่างเสรี การกระทำเช่นนี้จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และปลดปล่อยทุนและทรัพยากรจำนวนมากให้สามารถไหลเข้าสู่กระบวนการการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่า แทนที่จะเอามาเสียเวลากับการเก็งกำไรจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

 

แต่ทว่าอย่างไรก็ตาม เหล่าผู้คนที่มีอำนาจควบคุมนโยบายทางการเงินในปัจจุบันล้วนมีแต่ผลประโยชน์จากการที่มันจะดำเนินต่อไปเช่นนี้ และพวกเขายินดีที่จะพยายามหาทางที่จะบริหารจัดการมันให้ได้ และหาวิธีใหม่ๆที่จะใช้ในการปัดความสนใจและป้ายสีให้ระบบมาตรฐานทองคำเป็นผู้ร้ายอยู่เรื่อยมา  ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากเพราะอาชีพของพวกเขานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่ารัฐบาลสามารถที่จะพิมพ์เงินขึ้นมาตบรางวัลให้พวกเขาได้นั่นเอง 

 

ผลรวมของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและอุดมการณ์แนวความคิดแบบเคนเซียนได้นำมาซึ่งปรากฎการณ์สงครามค่าเงินในรูปแบบใหม่อย่างสิ้นเชิง: เนื่องจากบทวิเคราะห์ตามแนวคิดเคนเซียนกล่าวว่าการเพิ่มอัตราการส่งออกนำมาสู่การเพิ่มสูงขึ้นของ GDP และ GDP ก็เป็นจอกศักดิ์สิทธิ์ของความมั่งมีทางเศรษฐกิจ จึงทำให้ ในความคิดของเหล่าเคนเซียนนั้นอะไรก็ตามที่สนับสนุนการส่งออกเป็นเรื่องที่ดีเสมอ เนื่องจากเงินที่มีมูลค่าลดลงทำให้สินค้าส่งออกมีราคาถูกลง ประเทศใดก็ตามที่กำลังเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจก็จะสามารถกระตุ้น GDP และอัตราการจ้างงานของพวกเขาได้ด้วยการลดค่าเงินและเพิ่มอัตราการส่งออก

 

การมองโลกในมุมมองนี้มีสิ่งที่ผิดแปลกอยู่หลายประการด้วยกัน การลดค่าเงินไม่ได้มีผลใดๆในการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมต่างๆอย่างแท้จริง แต่มันกลับเป็นเพียงการลดราคาของผลผลิตของพวกเขาเพียงชั่วขณะเท่าน้้นด้วยการเสนอขายมันแก่ชาวต่างชาติในราคาที่ต่ำกว่าในประเทศ สร้างความอับจนยากแค้นให้แก่คนในประเทศ ขณะที่สงเคราะห์ช่วยเหลือชาวต่างชาติ  มันยังส่งผลให้สินทรัพย์ต่างๆในประเทศมีราคาถูกลงสำหรับชาวต่างชาติอีกด้วย ทำให้พวกเขาสามารถเข้ามาซื้อที่ดิน เงินทุน และทรัพยากรณ์ในประเทศได้ในราคาถูกเป็นพิเศษ  ในหลักของเศรษฐศาตร์แบบเสรีนิยมการที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาซื้อสินทรัพย์ในประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ในหลักเศรษฐศาสตร์แบบเคนเซียนนั้น ชาวต่างชาติจะได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันในการเข้าซื้อประเทศต่างๆในราคาพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จมากทึ่สุดในยุคหลังสงครามอย่างเช่นประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น และ สวิตเซอร์แลนด์ สามารถยกระดับการส่งออกสินค้าของพวกเขาได้อย่างมีนัยสำคัญในขณะที่ค่าเงินของพวกเขายังแข็งตัวอย่างต่อเนื่อง

 

พวกเขาไม่จำเป็นต้องลดค่าเงินลงอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเพิ่มอัตราการส่งออก แต่พวกเขาพัฒนาความสามารถในการแข่งขันขึ้นจนทำให้สินค้าของพวกเขาเป็นที่ต้องการไปทั่วทั้งโลก และนั่นทำให้ค่าเงินของพวกเขามีมูลค่ามากขึ้นส่งผลให้ประชาชนของพวกเขามีความมั่งคั่งสูงขึ้นด้วย  การที่ประเทศคู่ค้าของพวกเขาคิดว่าพวกเขาเองก็สามารถเพิ่มอัตราการส่งออกได้ด้วยการลดค่าเงินนั้นเป็นความคิดที่ไม่สร้างสรรค์เลย เนื่องจากพวกเขาจะทำลายความมั่งคั่งของประชาชนโดยการอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาจับจองเป็นเจ้าของสินทรัพย์ในประเทศของพวกเขาได้ในราคาพิเศษ  มันจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญเลยที่ประเทศที่ทำการลดค่าเงินมากที่สุดในยุคหลังสงครามจึงเป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับกับความซบเชาและถดถอยทางเศรษฐกิจมากที่สุด

.

แต่ถึงแม้ว่าข้อมูลที่บ่งชี้ว่าการลดค่าเงินไม่ใช่หนทางสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยเหล่านี้ทั้งหมดไม่เป็นจริง มันก็ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลง่ายๆที่ทำให้มันไม่สามารถทำงานได้ และนั่นก็คือ: หากวิธีการดังกล่าวใช้งานได้ และทุกประเทศต่างลองทำมัน เงินทุกสกุลย่อมเสื่อมมูลค่าลงและจะไม่มีประเทศใดที่มีข้อได้เปรียบเหนือประเทศอื่นๆนั่นเอง เหตุผลดังกล่าวนำมาสู่สถานะของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่รัฐบาลส่วนใหญ่ล้วนพยายามที่จะลดค่าเงินของตนเองลงเพื่อกระตุ้นการส่งออก และในขณะเดียวกันรัฐบาลทุกรัฐบาลก็พร่ำบ่นว่าประเทศอื่นๆ “ควบคุมแทรกแซง” ค่าเงินอย่างไม่เป็นธรรม  ในทางปฏิบัตินั้น แต่ละประเทศกำลังสร้างความแร้นแค้นยากจนให้แก่ประชาชนของพวกเขาเพื่อที่จะกระตุ้นธุรกิจของผู้ส่งออกและเพิ่มตัวเลข GDP และโวยวายเมื่อประเทศอื่นๆต่างลุกขึ้นกระทำเช่นเดียวกัน สิ่งที่ร้ายแรงเพียงพอกับความไร้เดียงสาทางเศรษฐกิจนี้มีเพียงแต่ความเจ้าเล่ห์หลอกลวงของนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์ที่พร่ำสอนความคิดเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา การประชุมทางเศรษฐกิจระดับโลกถูกจัดขึ้นเพื่อให้เหล่าผู้นำโลกเจรจาต่อรองอัตราการลดค่าเงินที่รับได้ของแต่ละประเทศ ทำให้มูลค่าของเงินกลายเป็นประเด็นสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์

 

ความวุ่นวายเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเลยหากโลกนั้นตั้งอยู่บนระบบการเงินระดับโลกที่มั่นคงที่สามารถทำหน้าที่เป็นหน่วยและมาตรวัดมูลค่ากลางของโลก ที่จะทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคทั่วทั้งโลกสามารถทำการประเมินต้นทุนและรายได้ของพวกเขาอย่างแม่นยำ ทำให้เรื่องของผลกำไรทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่แยกออกจากนโยบายของรัฐบาล  ด้วยการดึงเอาเรื่องเกี่ยวกับอุปทานของเงินออกจากเงื้อมมือของรัฐบาลและนักเศรษฐศาตร์โฆษณาชวนเชื่อทั้งหลาย เงินที่มั่นคงจะบังคับให้ทุกคนมุ่งสร้างผลผลิตที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมแทนที่จะแสวงหาความร่ำรวยผ่านการพยายามควบคุมค่าเงินอย่างไร้ประโยชน์

 

Notes

 

1 Ben Rooney, “Copper Strikes After Chile Quake,” CNN Money (March 1, 2010). Available at http://money.cnn.com/2010/03/01/markets/copper/

 

2 Stephane Courtois, Nicolas Werth, Karel Bartosek, Andrzej Paczkowski, Jean‐Louis Panné, and Jean‐Louis Margolin, The Black Book of Communism: Crimes, Terror, Repression (Harvard University Press, 1997).

 

3 Ludwig von Mises. Socialism: An Economic and Sociological Analysis. Ludwig von Mises Institute. Auburn, AL. 2008 (1922).

 

4 There is a lot wrong with Keynesian economics, but perhaps nothing is as ridiculous as the complete absence of any conception of how the structure of capital production functions.

 

5 Ludwig von Mises, Human Action, pp. 703–704.

 

6 The main tools that central banks use are: setting the Federal Funds rate, setting the required reserve ratio, engaging in open market operations, and determining lending eligibility criteria. A detailed explanation of the mechanism of operation of these tools can be found in any preliminary macroeconomics textbook. To summarize: the central bank can engage in expansionary monetary policy by (1) reducing interest rates, which stimulates lending and increases money creation; (2) lowering the required reserve ratio, allowing banks to increase their lending, increasing money creation; (3) purchasing treasuries or financial assets, which also leads to money creation; and (4) relaxing lending eligibility criteria, allowing banks to increase lending and thus money creation. Contractionary monetary policy is conducted by reversing these steps, leading to a reduction of the money supply, or at least a reduction in the rate of growth in the money supply.

 

7 It is always fun to teach my senior students about a hypothetical free market in capital, if only for watching the reaction on their faces when they compare the neat logic of how a free market in capital could work, versus the pseudoscientific Keynesian central planning theories they had the misfortune of learning in their monetary theory class.

 

8 There is no shortage of alternatives to the Austrian capital theory as an explanation of recessions, yet all of these are largely just the rehashed arguments of monetary cranks from the early 20th century. One does not even need to read modern rebuttals of the latest line of Keynesian and pop psychology theories. Reading Hayek’s Monetary Theory and the Trade Cycle, from 1933, or Rothbard’s America’s Great Depression, from 1963, is sufficient.

 

9 Ludwig von Mises, Human Action, p. 560.

 

10 Friedrich Hayek, A Tiger by the Tail, p. 126.

 

11 A highly recommended historical account of the disastrous and yet grimly hilarious consequences of price controls across history is Forty Centuries of Price and Wage Controls: How Not to Fight Inflation, by Robert Schuettinger and Eamonn Butler.

 

12 Source: Federal Reserve Economic Data, available at https://fred.stlouisfed.org

 

13 See Table 10 on p. 206 of the Friedman and Schwartz book.

 

14 Murray Rothbard, America’s Great Depression, 5th ed., p. 186.

 

15 An excellent detailed treatment of this depression is found in James Grant’s book, The Forgotten Depression: 1921: The Crash That Cured Itself (Simon & Schuster, 2014).

 

16 Murray Rothbard, America’s Great Depression.

 

17 “Fisher Sees Stocks Permanently High,” New York Times, October 16, 1929, p. 8.

 

18 See Murray Rothbard, Economic Depressions: Their Cause and Cure (2009).

 

19 Friedrich Hayek, Denationalization of Money (1976).

 

20 Bank of International Settlements (2016), Triennial Central Bank Survey. Foreign Exchange Turnover in April 2016.

 

21 For more on this, see George Gilder, The Scandal of Money: Why Wall Street Recovers but the Economy Never Does (Washington, D.C. Regnery, 2016).

 

22 Hans‐Hermann Hoppe, “How Is Fiat Money Possible?” The Review of Austrian Economics, vol. 7, no. 2 (1994).

ผู้แปล: พิริยะ สัมพันธารักษ์ MD CDC ChalokeDotCom และ พีรพัฒน์ หาญคงแก้ว CEO Blockchain Review

Article bitcoin-standard
Writer

Maybe You Like