fbpx

แชร์ลูกโซ่เงินดิจิทัล ข้อกฎหมาย และสิ่งที่ควรรู้

หนึ่งในสิ่งที่หลายคนควรจะรู้คือทั้งเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency นั้นเป็นเรื่องที่ใหม่มาก มันเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นได้เพียง 10 ปี ซึ่งนับเป็นเวลาที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีต่างๆที่เกิดขึ้นมาบนโลก ทำให้มันกลายเป็นหนึ่งใน Story ที่เป็นที่นิยมมากในการนำไปใช้ในการหลอกลวง

แชร์ลูกโซ่เงินดิจิทัล ข้อกฎหมาย และสิ่งที่ควรรู้

10 Oct 2019

หนึ่งในสิ่งที่หลายคนควรจะรู้คือทั้งเทคโนโลยี Blockchain และ Cryptocurrency นั้นเป็นเรื่องที่ใหม่มาก มันเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นได้เพียง 10 ปี ซึ่งนับเป็นเวลาที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีต่างๆที่เกิดขึ้นมาบนโลก ทำให้มันกลายเป็นหนึ่งใน Story ที่เป็นที่นิยมมากในการนำไปใช้ในการหลอกลวงหรือแม้แต่การทำแชร์ลูกโซ่เพราะมันเป็นสิ่งที่เข้าใจยากนั้นเองสำหรับคนทั่วไปนั่นเอง

Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!

 

แชร์ลูกโซ่คืออะไร (ponzi scheme)

คำว่าแชร์ลูกโซ่นั้นต้นกำเนิดของมันคือคำว่า Ponzi scheme หรือปีรามิด Ponzi ที่ตั้งชื่อตามชาร์ล พอนซี่ ที่ได้ทำสร้างแผนหลอกลวงนักลงทุนมากมายด้วยการเสนอผลตอบแทนที่สูงในในช่วงปี 1920 โดยลักษณะของปีรามิดแชร์ลูกโซ่จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือการสร้างแผนธุรกิจที่อ้างว่ามีผลตอบแทนที่สูง เมื่อรวมรวมเงินจากนักลงทุนได้ก็จะจ่ายค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ จากเงินนักลงทุนที่มาลงทุนเรื่อยๆไปเรื่อยๆ โดยเงินนั้นไม่ได้เอาไปทำธุรกิจจริงๆ หรือเอาไปทำแต่ผลตอบแทนของธุรกิจไม่ได้มากมายตามที่กล่าวอ้าง และเมื่อไม่สามารถหาเงินนักลงทุนหน้าใหม่ได้ก็จะไม่มีเงินจ่ายให้แก่นักลงทุนเดิมๆ จนทำให้แชร์แตกในที่สุด

 

กรณีแชร์ลูกโซ่ในไทย

ในไทยเองก็มีกรณีแชร์ลูกโซ่มากมายอย่างเช่นกรณีที่โด่งดังอย่าง Od Capital ที่มีมูลค่าความเสียหายกว่า 120 ล้านบาทโดยการกล่าวอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนในบริษัทต่างประเทศก่อนที่จะถูกจับในปีที่แล้ว

 

รวมไปถึงกรณีแชร์ลูกโซ่โทรศัพท์ Iphone ที่อ้างว่าจะนำเงินไปซื้อ Iphone ในราคาถูกและทำให้สามารถสร้างแผนธุรกิจที่มีผลตอบแทนในปริมาณสูงได้ หรือจะเป็นในกรณีตั๋วเครื่องบินมูลค่าความเสียหาย 400 ล้านที่หลอกคนไปยังสนามบินจำนวนมากเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวคือแชร์ลูกโซ่สามารถสร้างรูปแบบการหลอกลวงได้ไม่จำกัด เราจะเห็นว่าโดยเนื้อแท้ กองทุน Iphone ตั๋วเครื่องบิน หรือแม้แต่เงินดิจิทัลนั้นไม่ใช่สิ่งผิดกำหมาย แต่มันก็กลายเป็นเครื่องมือในการทำแชร์ลูกโซ่ได้

 

Bitcoin Saving and Trust แชร์ลูกโซ่เงินดิจิทัลตัวเเรกของโลก

แชร์ลูกโซ่เงินดิจิทัลตัวแรกของโลกมีชื่อว่า Bitcoin Saving and Trust ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2011 โดยโพสลงบน Bitcointalk โดยอ้างว่าจะนำเงินลงที่ได้ไปซื้อ Bitcoin ในราคาถูกและขายในราคาที่แพง โดยให้ผลตอบแทนถึง 7% ต่อสัปดาห์ โดยระดมทุนได้ถึง 500,000 BTC ก่อนที่จะจ่ายผลตอบแทนน้อยลงเรื่อยๆ ก่อนที่จะไม่สามารถจ่ายผลตอบแทนได้และถูกจับกุมในที่สุด

 

แชร์ลูกโซ่เงินดิจิทัล

 

ปัจจุบันแชร์ลูกโซ่เงินดิจทัลที่ระบาดในไทยและจบลงไปแล้วอย่าง Onecoin หรือ FXtrading แต่ก็ยังมีแชร์ลูกโซ่เงินดิจทัลแบบใหม่ๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ และบ่อยครั้งที่แม่ข่ายก็ใช้กลโกงหรือคำพูดเดิมๆเช่น

Ai และ Bot Trade ทำกำไร

ในบรรดาแผนการหลอกลวงทั้งหลายของแชร์ลูกโซ่ แผนการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือการกล่าวอ้างว่าจะนำเงินที่ได้นั้นไปลงทุนใน Ai สำหรับการเทรดและจ่ายผลตอบแทน ซึ่งกรณีตัวอย่างนั้นมีให้เห็นมากมายอย่าง Bitconnect แชร์ลูกโซ่ระดับโลกที่เคยมาจัดสัมนาในเมืองไทย หรือ FXtrading ที่ปิดตัวลงไปในไทยเมื่อไม่นานมานี้

ระบบ Ai Trade นั้นจริงๆแล้วไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่รูปแบบ Ai Trading ที่ถูกต้องจริงๆต้องมีลักษณะดังนี้

  • เงินของผู้ลงทุนจะอยู่ที่ผู้ลงทุนหรือ Custodian ที่เชื่อถือได้เสมอ จะไม่มีการนำเงินของนักลงทุนไปฝากไว้ที่ใคร เพราะเงินที่เอาไปฝากนั้นไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่าเอาไปทำอะไรบ้าง
  • นักลงทุนสามารถถอนเงินได้ตลอดเวลา Bot ที่ได้นั้นนักลงทุนสามารถเปิดปิดรวมถึงปรับแต่งได้ตามใจชอบ
  • ไม่มีการรับรองผลตอบแทนแต่อาจจะมีผลการทดสอบย้อนหลังให้นักลงทุนดูซึ่งส่วนมากมันได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1-3% ต่อเดือน

จริงๆแล้วเรื่องราวของ Bot Trade นั้นเป็นสิ่งที่สามารถรู้เท่าทันได้ง่ายมากๆกับ ตรรกะที่บอกว่า “ถ้า Bot ทำงานได้ผลดีจริงทำไมต้องหาเงินเพิ่ม?” เพราะเมื่อ Ai นั้นมีคนแห่มาใช้เป็นจำนวนมาก ตลาดก็จะทำการปรับตัวตามสภาพทำให้วิธีการเทรดนั้นได้ผลตอบแทนที่น้อยลง หากบนโลกนี้มี Ai ที่ทำผลตอบแทนได้ในปริมาณมากได้ ผู้สร้าง Ai ควรจะเก็บไว้ใช้มากกว่าที่จะนำออกมาขาย เพื่อทำให้ Ai ของตัวเองได้ผลตอบแทนน้อยลง

 

เหรียญของเราจะถูกยอมรับจากร้านค้ามากมาย

อีกหนึ่งคำพูดที่บอกว่าเหรียญใดเหรียญหนึ่งจะได้รับการยอมรับจากร้านค้ามากมาย เป็นอีกเรื่องราวที่ใช้ในการหลอกลวงบ่อยครั้ง เนื่องจากคนทั่วไปนั้นมีแนวคิดที่ว่า “อะไรที่ได้รับการยอมรับมากมันกจะมีมูลค่าเสมอ” ซึ่งแนวคิดนี้กูถูกต้องแต่แค่ส่วนเดียวเท่านั้น ในทางเศรษฐศาสตร์มูลค่าของสิ่งๆใดๆสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นจาก Demand กับ Supply การทำให้เหรียญสามารถถูกยอมรับเป็นการสร้างเสริม Brand และเพิ่ม Demand 

แต่ปัญหาใหญ่คือ Supply คุณเคยคิดไหมทำไมเงินดอลลาร์หรือเงินบาทมถึงมีมูลค่าที่คงที่หรือน้อยลงในทุกๆปีแม้จะมีการยอมรับมากแค่ไหน นั้นเพราะ Supply ของมันสามารถผลิตได้เรื่อยๆ ในเงินดิจิทัลที่ทำการหลอกลวงนั้นผู้บริโภคจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะมีการเสกเหรียญเพิ่ม Supply มากเท่าไหร่

 

มีผู้ใช้งานกว่า XXX คนและมีการซื้อขายและมีนักเทรดกว่า XXX คน

อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องราวที่ถูกอ้างคือการกล่าวอ้างว่า มีจำนวนผู้ใช้งานมากเท่าไหร่และมีผู้ซื้อขายมากเท่าไหร่ ซึ่งจุดๆนี้คุณสามารถตรวจสอบได้ง่ายมากคือการที่คุณเข้าไปที่ Coinmarketcap แล้วตรวจสอบมูลค่าการซื้อขายต่อวันคุณก็จะพบตัวเลขที่คุณสามารถคาดคะเนได้ว่าคำกล่าวอ้างของพวกเขาเป็นจริงหรือไม่ บางครั้งทีมแม่ข่ายอาจจะบอกว่าส่วนใหญ่ไปซื้อขายนอกตลาด ซึ่งนั้นเป็นเพียงคำกล่าวอ้างที่ไม่สามารถทำการตรวจสอบใดๆได้

 

Bitcoin Killer

นี่เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่คนที่ศึกษา Blockchain และ Cryptocurrency จะรู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ไร้สาระมาก ปัจจุบัน Bitcoin เป็น Cryptocurrency ที่ได้รับการเชื่อถือสูงที่สุดด้วยมูลค่ากว่า 150 Billion USD และเป็นรากฐานของเงินดิจิทัลชนิดอื่นๆ กินส่วนแบ่งการตลาดเงินดิจิทัลกว่า 68% ซึ่งมีมูลค่าใกล้เคียงกับบริษัท Alipay ที่เป็นบริษัท Payment gateway ระดับโลก การที่มีโปรเจคต์ใดที่อ้างว่าจะสร้างระบบการโอนเงินที่สามารถ ฆ่า Bitcoin ได้เท่ากับว่ามันต้องมีมูลค่ามากกว่าบริษัท Alipay,Paypal,Mastercard, American Express ซึ่งเป็นบริษัท Payment ระดับโลกซึ่งมีโอกาสต่ำมมาก

 

ไม่ได้ใช้ Blockchain ไม่มี Block Explorer ไม่มี Source code

เงินดิจิทัลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแชร์ลูกโซ่นั้นมักจะอ้างว่ามีระบบ Blockchain แต่ว่าไม่เคยมีการเปิดเผย Block explorer ซึ่ง Block explorer คือบัญชีสาธารณะที่มีอยู่ในเงินดิจิตอลปกติแทบทุกตัว โดยมันคือหน้าเวปไซติตัวนึงที่อนุญาติให้คนเข้ามาดูธุรกรรมต่างๆอย่างอิสระทำให้เราเห็นได้ว่าเงินในระบบมีการหมุนเวียนไปที่ไหนบ้าง 

ซึ่งมันทำขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่มา Buy นั้นเกิดความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสว่าเงินแต่ละจุดมีที่มาที่ไปยังไง ยกตัวอย่างเช่น เวปไซต์ Blockchain.info ซึ่งถ้าไม่มี Block explorer จะทำให้ผู้ที่มาลงทุนไม่สามารถรู้เลยว่าตอนนี้มีเงินในระบบจริงๆเท่าไหร่ มีการโอนมีการใช้งาน เงินไม่ได้มีการถูกปลอมแปลง ไม่ได้มีการเสกเงินเข้าระบบ ทำให้เงินดิจิทัลที่ถูกกล่าวหามีอันตรายมาก

อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่อง sourcecode ที่โดยทั่วไปโปรเจคต์ส่วนใหญ่จะมีการเปิดเผยการทำงานของเหรียญหรือโปรเจคต์ ที่ทำให้โปรเจคต์นั้นสามารถถูกตรวจสอบได้จากโปรแกรมเมอร์ทั่วโลกซึ่งโปรเจคต์ที่หลอกลวงส่วนใหญ่จะไม่มีในจุดนนี้ หรือมีแต่ก็ไม่ได้มี Source code ที่น่าเชื่อถือ

 

เลื่อนๆ ไปเรื่อยๆ

ซึ่งมักจะเกิดกรณีแบบนี้บ่อยๆเเม่ข่ายก็มักจะอ้างว่าบริษัทอยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างรวมไปถึงเรื่องราวต่างๆ ที่จะเลื่อนการแจกเหรียญหรือการขายอกไปเรื่อยๆ ปกติแล้วการลงทุนใน Cryptocurrncy ที่ถูกต้องนั้นเหรียญจะอยู่ที่ตัวผู้ซื้อ หรืออยู่ในศูนย์ซื้อขายที่สามารถถอนเหรียญได้ทันที หรือถ้าเป็นโปรเจคต์ระดมทุนหลังจากเราลงเงินไปแล้วเหรียญจะถูกล็อคอยู่ใน Smart Contract ที่จะแจกจ่ายเหรียญตามวันที่กำหนดอย่างถูกต้อง หากเราซื้อขายเหรียญใดแล้วไม่ได้รับเหรียญก็ให้คิดไว้เลยว่ามีโอกาสเป็นเรื่องหลอกลวง เช่นในกรณี onecoin ที่บอกว่าจะเปิดเทรดในปี 2017 และปัจจุบันก็ยังไม่เปิดเทรด ซึ่งก็เป็นเรื่องราวเดิมๆ

 

การซื้อเหรียญผ่านนายหน้า

โดยปกติแล้วการซื้อขายเหรียญเงินดิจิทัลที่น่าเชื่อถือนั้น นักลงทุนสามารถซื้อได้ที่ตลาดแลกเปลี่ยนโดยตรง เหมือนเราเดินไปตลาดแล้วซื้อสินค้าและเก็บสินค้าไว้เป็นของตัวเอง หากมีกรณีใดที่นักงทุนต้องซื้อขายเหรียญผ่านนายหน้า และเหรียญของเราอยู่ที่นายหน้า ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่เพราะนายหน้าจะได้ค่าตอบแทนจากการซื้อขอเรา

 

Cloud Mining

โดยปกติแล้ว Cloud Mining ไม่ใช่ธุรกิจที่เป็นแร์ลูกโซ่หรือเรื่องหลอกลวง โดยทั่วไปมันคือธุรกิจที่ผู้ลงทุนทำสัญญาเช่าซื้อกำลังขุดโดยมีผลตอบแทนที่มาจากการขุด ซึ่งไม่ได้มีการรับรองผลตอบแทนที่แน่นอนแต่อย่างใด ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือกรณีที่เกิดบ่อยๆคือ นักลงทุนไม่สามารถรู้ได้ว่าเงินที่จ่ายไปนั้นได้มีการนำไปขุดตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ กรณีการหลองลวงเรื่อง Cloud Mining ที่อือฉาวที่สุดคือ HashOcean ที่มีมูลค่าความเสียหายถึง 44 ล้านดอลลาร์ และในขณะนั้นเป็น Clound Mining ที่มีชื่อเสียงที่สุดหรือในกรณี Cryptomining Farm ที่รู้จักกันดีโดยมีการฟ้องร้องมู,ค่ากว่า 500 ล้านบาทในไทย วิธีตรวจสอบที่ดีที่สุดคือการตรวจสอบว่า Cloud mining นั้นไม่ได้หลอกลวงคือการตรวจสอบว่า เงินดิจิทัลที่เป็นผลตอบแทนแก่นักลงทุนนั้น ได้มาจากการขุดจริงๆที่เป็น Block Reward หรือไม่โดยดูจาก Block Explorer ในบางกรณีก็มีบริษัท Cloud mining ที่อนุญาติให้ซื้อขายสัญญาได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดการหลอกลวงการขายสัญญานั้นแก่ผู้ที่รับซื้อโดยกล่าวอ้างว่าจะได้ผลตอบแทนสูง ปัจจุบันธุจกิจการขุดเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนอยู่ที่ค่าไฟ ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจที่น่าลงทุนหากผู้ประกอบการนั้นไม่ได้มีต้นทุนค่าไฟที่ถูก

 

ความน่ากลัวของแชร์ลูกโซ่เงินดิจิทัล

โดยปกติแล้วแชร์ลูกโซ่ไปนั้นมูลค่าความเสียหายจะถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ เท่าที่แม่ข่ายสามารถหาลูกข่ายได้เท่านั่น ซึ่งมักจะถูกจะจำกัดอยู่ในระดับจังหวัดหรือประเทศเท่านั้น แต่เมื่อมันถูกผนวกเข้ากับเงินดิจิทัลที่มีคุณสมบัติในการโอนอย่างไรพรหมแดน เท่ากับว่ามันวงของแชร์นั้นจะกว้างมากมันอาจจะแตกเช้าแต่ว่ามูลค่าความเสียหายจะมีมูลค่ามหาศาล อย่างในกรณีของ Bitcoinnect ซึ่งเป็นแชร์ลูกโซ่ระดับโลกที่มีความเสียหายโดยเหรียญทำ ATH ที่ 463 USD ก่อนจะตกลงเหลือ 0.5 USD ในเวลาถัดมา

 

ข้อกฎหมายที่ควรรู้

โดยปกติแล้วการทำแชร์ลูกโซ่ส่วนใหญ่จะผิดกฎหมาย มาตรา ๔ ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการ

เงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชนตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไปผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

 

ปัญหาในใช้กฎหมายในความเป็นจริง

ในความเป็นจริงๆนั้นการบังคับใช้กฎหมายจัดการแชร์ลูกโซ่นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเมื่อยังไม่มีผู้เสียหายก็จะยังไม่มีผู้ฟ้องร้อง นั้นเท่ากับว่าทันที่มีผู้เสียหายฟ้องร้องมูลค่าความเสียหายก็มากมายมหาศาลแล้ว และเมื่อมีผู้ฟ้องร้องก็จะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายที่จะพิสูจน์ว่าธุรกิจนั้นสามารถทำกำไรและปฏิบัตตามที่ตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ก็จะถูกจับไปอย่างในกรณี แชร์ลูกโซ่ Iphone นั้นศาลพิสูจน์โดยการนำตัวเลขประมาณการของผู้ค้าโทรศัพท์ในมาบุญครองมาเทียบกับตัวเลขของผู้กล่าวอ้าง เมื่อพบว่าเป็นตัวเลขที่เป็นไปไม่ได้จึงถูกศาลตัดสิน

แต่ในกรณีแชร์ลูกโซ่เงินดิจิทัลนั้นต่างกันโดยทางทีมงานได้ไปสัมภาษณ์ พท. ปองพล เอี่ยมวิจารณ์ เกี่ยวกับกรณีการหลอกลวงด้วยเงินดิจิทัล ด้ใจความดังนี้

ตามกฎหมาย แต่ละคนต้องแยกกันไปแจ้งความในคดีฉ้อโกงประชาชน ณ สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ ใครโอนเงินที่ไหนก็แจ้งที่ท้องที่นั้น  แต่วิธีนี้ไม่ค่อยได้ผลครับ เนื่องจาก วัตถุประสงค์หลักของผู้เสียหายคืออยากได้เงินคืน แต่เงินของผู้เสียหายทั้งหมดถูกโอนไปให้กับบริษัท ซึ่งอยู่ต่างประเทศ นอกเขตอำนาจของศาลไทย ตำรวจจึงไม่สามารถติดตามมาคืนให้ได้ อย่างมากทำได้แค่ดำเนินคดีคนที่มาชักชวนให้เราสมัครเพื่อเรียกร้องให้จ่ายเงินคืน แต่ก็คงไม่มีเงินพอที่จะชดใช้ให้ทุกคนอยู่ดี เพราะโอนต่อไปยังบริษัท FOIN แล้ว ก็ต้องจำคุกใช้หนี้ไป

อีกวิธีหนึ่งที่พอทำได้คือ รวมตัวกันให้ได้จำนวนหนึ่งทำบัญชีความเสียหายให้เห็นตัวเลขว่ามีนัยยะสำคัญ นำไปยื่นที่ศูนย์ดำรงธรรม เพื่อกดดันให้ตำรวจหรือ DSI รับดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ ให้รับแจ้งความรวม อย่างนี้คดีจะได้ผลมากกว่าแจ้งของใครของมัน เพราะตำรวจแต่ละคนที่รับเรื่องมีความชำนาญแตกต่างกันโอกาสจะประสบความสำเร็จจึงไม่เท่ากัน และการแจ้งความรวม อาจดำเนินคดีเฉพาะแม่ทีมคนสำคัญที่ชักชวนคนอื่นให้สมัครเป็นจำนวนมาก คนที่ชวนคนอื่นไม่กี่คนหรือจำนวนเงินไม่เยอะ อาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นเหยื่อถูกหลอกให้ทำ

แต่ถึงจะรวมตัวกันไปแจ้งความเป็นหมู่คณะ ก็ไม่สามารถเอื้อมถึงตัวการที่ได้เงินไป ก็คือบริษัท FOIN ซึ่งอยู่ในต่างประเทศอยู่ดี ทำได้แค่ จับกุมแม่ทีมคนสำคัญ โอกาสได้เงินคืนก็แทบมองไม่เห็นอยู่ดี  ด้วยเหตุนี้พี่จึงได้ออกมาเตือนตั้งแต่ต้นแล้วว่าอย่าเข้าไปยุ่ง เพราะโอกาสได้เงินคืนมองไม่เห็นเลย

อยากแนะนำให้รวมตัวกันแล้วไปปรึกษาคุณจ๊อบ ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่ เพราะคุณจ๊อบ เป็นคณะอนุกรรมการแก้ไขกฎหมายแชร์ลูกโซ่ จะได้รายงานต่อรัฐบาล ถ้ารัฐบาลเห็นว่ามูลค่าความเสียหายสูง อาจจะสั่งงการให้ตำรวจหรือ DSI ดำเนินคดีเป็นกลุ่มก็ได้ ซึ่งจะได้ผลกว่าการไปแจ้งความแบบตัวใครตัวมันครับ

 

สรุปสัญญาณอันตรายแชร์ลูกโซ่ Cryptocurrency ที่คุณต้องรู้

  1. อ้างว่าได้กำไรสูง สม่ำเสมอ และรวดเร็ว
  2. การได้กำไร หรือได้ผลตอบแทน มีการนำระบบของการเชื้อเชิญคนเพิ่มเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลัก ทั้งนี้ อย่าสับสนระหว่างระบบ Affliate หรือ Referral ของเว็บเทรดต่างๆ ซึ่งเป็นแค่การตลาดของการเพื่อนชวนเพื่อนธรรมดา ที่เราจะได้ประโยชน์เพียงเล็กน้อยในฐานะผู้เชิญชวน แต่ถ้ารายได้หลักมาจากการเชิญชวน หรือยิ่งมีการสร้างลำดับขั้นแตกกิ่งแบ่งสายอัพไลน์ดาวน์ไลน์แล้วล่ะก็ ให้มั่นใจได้เลยว่านี่คือแชร์ลูกโซ่แน่นอน เพราะ Cryptocurrency มีมูลค่าได้จากการแลกเปลี่ยน และความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี ไม่ใช่รูปแบบจากการเชื้อเชิญแบบนี้
  3. ไม่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง หรือใครเป็นเจ้าของ โดยมักจะมีการอ้างชื่อคนนู้นคนนี้ว่ามีชื่อเสียง เป็นนักลงทุนชื่อดังจากต่างประเทศ แต่ลองเสียเวลาหาข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาสักนิด อาจจะเจอข่าวไม่ดี พัวพันกับการฉ้อโกง
  4. ไม่มีแหล่งข้อมูลสาธารณะที่เข้าถึงง่าย เช่น เว็บไซต์แบบ Bitcoin.org จำเป็นต้องเข้าร่วมกลุ่มจึงจะได้ข้อมูล เพราะถ้าเปิดข้อมูลให้เข้าถึงได้ง่ายๆ เดี๋ยวก็รู้กันหมดว่าโกง
  5. Blockchain เป็น Closed Source หรือเป็น Blockchain แบบส่วนตัว ถ้า Search Google ว่า “ชื่อเหรียญ source code” แล้วไม่เจอเว็บที่เก็บ Source Code ของโปรแกรม Blockchain ของเหรียญนั้นๆ ให้ระวังไว้ และบางเหรียญใช้ Private Blockchain ไม่เหมือน Public Blockchain แบบ Bitcoin หรือ Ethereum ก็ให้ระวังไว้เช่นกัน เพราะเหตุผลที่พวกเขาไม่เปิดเผย Source Code หรือ Blockchain สู่สาธารณะ เพราะพวกเขาอาจมีความลับบางอย่างอยู่ ว่าเหรียญนั้นอาจจะไม่ได้ทำงานแบบที่โฆษณาไว้จริงๆ
  6. มีแต่ระบบแลกเปลี่ยนกันภายใน ไม่มีกระดานเทรดที่รองรับ
  7. ไม่มีชื่อใน Coinmarketcap และ/หรือ มีชื่อใน
  8. BadBitcoinไม่มีการแจกแจงข้อมูลในการทำธุรกิจอย่างชัดเจนและโปร่งใส เช่น การโชว์เหมือง Cloud Mining ให้ดู หรือ การโชว์จำนวน และ Transaction ของเหรียญในกระดานเทรดนั้นๆ
  9. ไม่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท หรือเพิ่งจดทะเบียนใหม่ๆ หรือจดทะเบียนมานานพอสมควรแต่ไม่เห็นผลประกอบการ สำหรับ Cryptocurrency ที่ถูกสร้างใหม่มักจะไม่มีใครจดบริษัทมาเป็นเจ้าของมันเนื่องมาจากความไร้ศูนย์กลาง แต่สำหรับ Cloud Mining หรือ เว็บเทรด แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา
  10. ถามผู้เชี่ยวชาญหรือคอมมูนิตี้ที่เกี่ยวข้องปัจจุบันมีกลุ่มคอมมูนิตี้มากทายที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสารเช่นกลุ่ม Thai Digital Asset Club หรือกลุ่ม Bitcoin Manifesto Thailand

สรุป

จริงๆแล้ว Blockchain และ Cryptocuurency นั้นเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจแต่มันไม่ได้เเปลว่าธุรกิจที่นำมันมาใช้จะมีผลตอบแทนที่มหาศาลอย่างที่แชร์ลูกโซ่หลายๆที่กล่างอ้างกับ มันก็เหมือนกับการจดทะเบียนบริษัท บริษัทที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้แปลว่ามันจะมีผลตอบแทนที่ดีหรือจะไม่ฉ้อโกง มันขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้ เราจะเห็นว่าปัญหาเรื่องแชร์ลูกโซ่นั้นอยู่กับเรามาทุกยุคสมันตามความโลภของคนเรา ซึ่งเมื่อเกิดความเสียหายเกิดขึ้นโอกาสที่จะได้รับเงินคืนนั้นน้อยมาก ทางที่ดีเราควรระมัดระวังภัยด้วยตัวเราเอง

 

 

 

Article
Writer

Maybe You Like