วันที่13พฤศจิกายน2018 , Amazon ได้รับอนุมัติสิทธิบัตรเกี่ยวกับการเข้ารหัส2ใบ บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านค้าปลีกออนไลน์แห่งนี้มีรายได้กว่า 177พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าจะได้สิทธิบัตรมาถือครองเพิ่ม แต่Amazonก็ยังเพิกเฉยต่อคริปโต ปัจจุบันAmazonไม่มีช่องทางการชำระเงินด้วยคริปโต ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin (BTC) หรือ Altcoins อื่นแม้ว่าเงินดิจิทัลเหล่านั้นจะได้รับความสนใจจากสาธารณชนก็ตาม
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!ในความเป็นจริง Amazon.com ยังไม่ได้นำ Blockchain เข้ามาใช้งานมากนัก แต่Amazon Web Services (AWS) บริษัทในเครือของ Amazon.com เป็นบริษัทด้านเซอร์เวอร์ได้ให้ความสำคัญและยอมรับ Blockchain ไปใช้งาน
สิทธิบัตรฉบับแรกระบุถึงวิธีการ “Singature Delegation” สำหรับการปกป้อง การเข้ารหัสดิจิทัล การส่งข้อมูลดิจิทัล การกระจายข้อมูลดิจิทัล การตรวจสอบและความโปร่งใสของข้อมูลดิจิทัล ขั้นตอนตรงนี้ก็เหมือนที่Bitcoinมี คือมีการเข้ารหัส มีการบันทึกข้อมูล มีการกระจายไปยังโหนดต่างๆ มีการตรวจสอบและมีความโปร่งใส โดยสิทธิบัตรตัวนี้กล่าวถึงการเข้ารหัสครั้งเดียว หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า Merkle Tree ซึ่งเป็นหลักผัง Binary
Best Practice ของ Bitcoin ก็กล่าวเช่นเดียวกันว่า Address ของ Bitcoin ถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ครั้งเดียว ดังนั้น Address ที่ไม่เคยมีการโอนก็จะไม่มี ECDSA ให้ไปแก้รหัสนั้นเอง
สิทธิบัตรตัวที่ของ Amazon เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลแบบกระจาย โดยเสนอ”เทคนิคการเข้ารหัสตาราง” และแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆ จากนั้นกระจายมันออกไปเก็บยังที่ต่างๆ เมื่อต้องการเรียกไฟล์ข้อมูล ก็ต้องดึงข้อมูลที่กระจายออกไปมาประกอบกัน จากนั้นแก้รหัสอีกที ถึงจะได้ Original ไฟล์ที่ต้องการ การยื่นขอรับสิทธิบัตรบ่งชี้ว่าวิธีการนี้สามารถช่วยลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูลได้
ในขณะที่ Amazon มีสิทธิบัตรเพิ่มขึ้น กลุ่มเทคโนโลยีอื่นก็กำลังยื่นขอสิทธิบัตรเพิ่มอีกเช่นกัน ปัจจุบัน Amazon มีสิทธิบัตรในครอบครองน้อยกว่า18ใบ และไม่ติด1ใน10บริษัทที่ครอบครองสิทธิบัตรมากที่สุด
แม้ว่าตอนนี้ Amazon ยังไม่ได้ยิ่งใหญ่และถือครองสิทธิบัตรมากในวงการบล็อกเชน แต่ก็เริ่มตื่นตัวและก้าวเข้ามากินส่วนแบ่งของอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน โดยบริษัทลูกของ Amazon คือ Amazon Web Service (AWS) บริษัทในเครือ มีแผนที่จะขยายธุรกิจเข้ามาสู่วงการบล็อกเชนเพิ่ม และบริษัทที่กำลังขยายนี้ต้องการวิศวะบล็อกเชนเพิ่ม บางทีวิศวะที่อนาคตจะต้องการ อาจเป็นวิศวะบล็อกเชนก็ได้ (Blockchain Engineering)