CORDA Blockchain เป็นแพลทฟอร์มที่มีชื่อเสียงมากในโลกการเงิน ในโลกการเงินเรามักจะได้ยินชื่อของ Swift ที่เป็นระบบเก่ามาบ้าง และชื่อของ Ripple ในช่วงหลัง แต่มีอีกแพลทฟอร์มนึงที่น่าสนใจไม่แพ้ Swift หรือ Ripple นั่นคือ CORDA Blockchain ที่เป็นธนาคารกว่า200แห่งสนับสนุนและเป็นพาร์ทเนอร์ เพื่อที่ว่าจะนำนวัตกรรมมาใช้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินของตนในอนาคต รวมถึงสถาบันที่พัฒนาด้านการเงิน (DFIs : Development Finance Institute) หนึ่งในนั้นคือ BOT (Bank of Thailand) ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย โดยเราจะคุ้นหูในชื่อสั้นว่า “แบงก์ชาติ” และโปรเจคที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำมาใช้คือ โครงการอินทนนท์
ปล. R3 คือ กลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สนใจในบล็อกเชน Blockchain ซึ่งประกอบไปด้วยการรวมกลุ่มระหว่างองค์กรต่างๆ ซึ่งสมาชิกส่วนมากอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน และใช้แพลทฟอร์มของ CORDA ส่วนมากเป็นธนาคารชั้นนำระดับโลก ธนาคารกลางของแต่ละประเทศบนโลก และสถาบันการเงิน
จะเห็นว่า Ripple มีพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวกับธนาคารส่วนนึงเท่านั้น แต่ธนาคารส่วนมากกลับไปซบสมาคม R3 ซะงั้น หากดูจากขนาดของธนาคารทั้งหมดแล้ว กลุ่มธนาคาร TOP10 เกือบทั้งหมดเลือก Corda จนกลายเป็นชื่อที่คุ้นหูว่า Corda R3 อย่างเช่นพวกธนาคาร TOP5 ของอเมริกาก็อยู่ในสมาคมนี้เช่นกัน J.P.Morgan, Bank of America, Citi, Barclays, UBS ที่น่าสนใจคือ มีบริษัทประกันที่มีธนาคารของตัวเองอย่าง Ping An ด้วย Ping An เป็นบริษัทที่เจ้าสัวCP ไปลงทุนไว้จำนวนมาก ทำให้เจ้าสัวมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพราะบริษัทประกันทำกำไรได้ดีมาก แล้ว Ping An คือหมายเลข1ในจีน ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมเจ้าสัว CP รวยขึ้น แต่ที่แปลกใจคือ ทำไมเลือก R3 หากดูจากสมาชิก R3 จะสัมผัสได้ถึงความครบเครื่องในอุตสาหกรรมการเงินตั้งแต่ ธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศ สถาบันการเงิน จนถึงบริษัทประกัน Corda คือผลงานที่โดดเด่นของ R3 ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มประเภท Open Source เปิดตัวคัร้งแรกปี 2016 ภายใต้ชื่อ Corda for Enterprise หรือ Corda สำหรับธุรกิจ
คุณสมบัติของ Corda
เป็น Software Platform แบบ Open Source ด้านการจัดการข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจที่ใช้นวัตกรรม Distribute Ledger Technology (DLT) ที่สร้างด้วยบล็อกเชน จุดเด่นคือ นอกจากจะสามารถทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางแล้ว ยังช่วยให้ธุรกรรมที่บันทึกไว้ปลอดภัย เพราะจะต้องได้รับอนญาตจากผู้เกี่ยวข้องใน ธุรกรรมนั้นก่อนที่จะเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้
สิ่งที่พิเศษคือ Corda ได้ตัดขั้นตอนการตรวจสอบจากทุกคนในระบบออกไป เปลี่ยนเป็นการยืนยันข้อมูลระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกรรมครั้งนี้เท่านั้น ซึ่งผู้เกี่ยวข้องมีมากกว่า2ฝ่ายได้ เช่นการซื้อของผ่านระบบเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ที่มีทั้งผู้ซื้อ (Buyer) และผู้ขาย (Seller/Supplier) โดยผู้ซื้อจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขาย และมีธนาคารกลางคอยช่วยเช็คเงินในกระเป๋าผู้ซื้อว่ามีพอจ่ายหรือไม่
ทำไม Corda ถึงอนุมัติธุรกรรมโดยผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น หากเป็น Public Blockchain อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum การที่เราโอนเงินผิดหรือโดนหลอกโอนเงิน ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายจากความประมาทของผู้ใช้งาน (Human Error) หากเกิดใน Public Blockchain จะทำการแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อมีการขอให้อีกฝ่ายส่งรายการอัพเดตเข้าไปยังระบบของทุกคนเพื่อแก้ไขธุรกรรมที่ผิดพลาดดังกล่าว ซึ่งการตัดต่อคนทั้งระบบก็ยากมาก เพราะกระจัดกระจายอยู่แต่ละส่วนของโลก อีกทั้งพวกเค้าอาจไม่เห็นด้วย กับการแก้ไขอะไรเล็กน้อยเพื่อผลประโยชน์ของคนคนเดียว
ผู้เขียนเชื่อว่า คนของทุกคนมีความสำคัญ ระบบที่ดีควรมีช่องทางที่ช่วยแก้ไขตรงนี้ ไม่งั้น หากโอนเงินผิด เศรษฐีก็เป็นยาจกได้เลย เพราะโอนเงินผิดแล้วเอากลับคืนมาไม่ได้ยังไงหล่ะ กรณีแบบนี้มีขึ้นบ่อยครั้งในโลกการเงินที่ธนาคารมีเลขบัญชีเดียวกัน แล้วมีการกดเลือกธนาคารผิด ทำให้โอนเงินผิด หรือในโลกบล็อกเชน อาจมีไวรัสที่คอยแก้ Address ทำให้ Address ต้นทางที่เราก็อปไป กับ Address ปลายทางที่เรากดวางเพื่อโอนเงินหรือทำธุรกรรมไม่ตรงกัน โดยไวรัสจะทำการเปลี่ยเลขเหล่านั้น
ดังนั้นในระบบของ Corda หากข้อมูลเกิดความผิดพลาด จะสามารถแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อมีการขอให้อีกฝ่ายส่งรายการอัพเดทเข้าไปยังระบบของทุกคนใหม่ เพื่อแก้ไขของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และระบบของ Corda ใช้ระบบการยืนยันความน่าเชื่อถือ มาผสานกับ Liquidity ของ Blockchain โดยขออนุมัติจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละธุรกรรม เช่นในกรณีการซื้อขายที่กล่าวไปข้างต้น ผู้ซื้อกับผู้ขาย ผู้ซื้อกับธนาคาร ธนาคารกับผู้ขาย หรืออาจจะมีบริษัทตรวจสอบเข้ามาเกี่ยวข้องก็ได้ เพื่อยืนยันฝ่ายซื้อว่าได้รับสินค้าจริง ดังนั้นเมื่อระบบสามารถยืนยันความน่าเชื่อถือระหว่างกันได้ ก็ไม่จำเป็นต้องสร้าง Consensus อีกต่อไป