จากรูปเราจะเห็นว่า จักรวาลของ Bitcoin และเหล่า Cryptocurrency นั้นเล็กมาก เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ตัวอื่นที่รัฐบาลเข้ามาอุ้ม แล้วจักรวาลของ Bitcoin จะเติบโตเทียบเท่าพวกนั้นได้จริงหรอ เราต้องดูปัจจัยหลายด้าน เพราะหลายครั้งที่คนส่วนมากมองแค่ Capital Size หรือ ขนาดของฟองสบู่แต่ละลูก แล้วบอกเลยว่ามันจะโตอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นการตัดสินใจด้วยหลักฐานสนับสนุนที่น้อยมาก โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจด้วยองค์ประกอบเพียงเท่านั้นครับ
กฎข้อที่1 ฟองสบู่เหล่านั้น จะต้องไม่ค้านกันเอง
ใช่ครับ เหล่าฟองสบู่ขนาดมหาศาลของประเทศต่างในระบบการเงินล้วนเป็นฟองสบู่ที่สนับสนุนกัน เป็นกลไกที่สอดคล้องกันทั้งสิ้น ยกเว้น Cryptocurrency ที่เป็นกลไกอิสระนอกกฎทางการเงิน (Freedom Mechanism) ดังนั้นการที่รัฐให้นำ Bitcoin เข้ามาอยู่ในระบบการเงิน มันจะส่งผลต่อฟองสบู่ลูกอื่นแน่
คำถามแรกคือ ถ้าให้ฟองสบู่แตก รัฐจะเลือกลูกไหน ซึ่งแน่นอนอยู่แล้ว มันคือลูกที่ความเสียหายต่ำกว่า คำถามต่อมา ให้ทั้งสองระบบอยู่ด้วยกันได้ไหม คำตอบคือได้ครับ แต่การบริหารทั้งสองกลไกในเวลาเดียวกันจะยากมาก เพราะ Bitcoin จะกลายเป็น หนึ่งตัวแปร ที่เข้ามาประกอบการตัดสินใจโดยตรงในการใช้นโยบายการคลัง และเป็นตัวแปรทางอ้อมในนโยบายการคลัง (เพราะรัฐผลิตและควบคุมปริมาณ Bitcoin ไม่ได้จึงใช้นโยบายการเงินต่อ Bitcoin ไม่ได้ แต่นโยบายการเงินจะส่งผลทางอ้อมสู่ Bitcoin อยู่ดี ดังนั้น รัฐจะเหลือเพียง นโยบายการคลัง เพียงเท่านั้น)
กฎข้อที่2 อำนาจคือสิ่งที่ดำรงไว้ ซึ่งการเติบโต
อำนาจคือสิ่งที่ดำรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งการแลกเปลี่ยน ใครจะคิดว่ากระดาษ1แผ่นจะมีอิทธิพลต่อคนได้ขนาดนี้ วันนี้เราอาศัยในประเทศ น้ำประปาและไฟฟ้าถือเป็นพื้นฐานแห่งชีวิตในยุคนี้ และสิ่งเหล่านี้จ่ายเป็นเงินสกุลท้องถิ่น เมื่อคุณอยู่ประเทศไหนก็ใช้เงินสกุลนั้น ดังนั้นคุณเลยต้องหาเงินกระดาษเหล่านี้เพื่อมาซื้อสาธารณูปโภคยังไงหล่ะ ไม่เพียงสาธารณูปโภคเท่านั้น สิ่งอื่นก็ต้องใช้เงินกระดาษทั้งสิ้น สัมปทานที่โรงงานไฟฟ้าได้ ก็ต้องจ่ายรัฐเป็นเงินท้องถิ่น ดูสิ… คนต้องใช้เงินสกุลท้องถิ่นอีกแล้ว
ความต้องการมันเพิ่มขึ้นอีกแล้ว แล้วโรงงานหรือการค้าต่างๆหล่ะ จ่ายเงินพนักงานยังไง ก็เงินสกุลท้องถิ่นอีกแล้ว เพราะมีอำนาจบังคับในแต่ละส่วน ทำให้เงินสกุลท้องถิ่นเป็นที่ต้องการ แม้เราจะมีหนี้เยอะขนาดไหน หากหนี้นั้นเป็นเงินสกุลท้องถิ่น รัฐก็สามารถจัดการปัญหานั้นได้ ดังนั้นเราจะเห็นหลายประเทศทำขาดดุล (ใช้เงินมากกว่าที่เก็บภาษีได้) ทำให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นในระบบ และก้อนหนี้ที่เราเรียกว่าหนี้สาธารณะ ก็จะเติบโตขึ้นไป พร้อมกับการหล่อเลี้ยง GDP ดังนั้นอำนาจดำรงไว้ซึ่งการเติบโตทั้งปริมาณเงิน การค้า หนี้ และมูลค่าเศรษฐกิจ
ที่สำคัญคือ เสถียรภาพ เงินต้องถูกเก็งกำไรในอัตราที่น้อยมาก (เพราะความถูกแพงของสินค้าจะถูกมองผ่านกระจกที่ชื่ออัตราแลกเปลี่ยน) เพื่อให้คนที่ซื้อขายสินค้าสามารถทำธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นคนที่หวังเก็งกำไรค่าเงินจะต้องเก็งผ่านการกู้ (Margin Leverage)
กฎข้อที่3 มันจะขยายตัว จนกว่าระบบจะพัง
การเติบโตเหล่านี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าระบบการเงิน หรือเงินสกุลท้องถิ่นของรัฐจะมีปัญหา กล่าวอีกนัยนึงก็คือ จนกว่าอำนาจของรัฐจะมีปัญหา ดังนั้นมันอาจใช้อีกนาน จนกว่าระบบการเงินของรัฐจะมีปัญหา เพราะรัฐมีทางแก้เพื่อทำให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้อีกมาก ซึ่งประชาชนหรือคนส่วนใหญ่จะไม่เห็น และส่วนมากไม่เข้าใจมัน ดังนั้นยากมากที่ Bitcoin จะมีบทบาทต่อเงินรัฐในช่วง 4-5ปีต่อจากนี้
ระบบเป็นแบบนี้มาหลายพันปี ตั้งแต่สมัยจีนสร้างเงินกระดาษแล้วเกิดเงินเฟ้อ ที่โด่งดังคือเงินปลิว ซึ่งทำด้วยกระดาษ เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่8 ต้นศตวรรษที่9 เมื่อราชวงศ์สิ้น อำนาจของเงินที่ผลิตโดยราชวงศ์นั้นก็สิ้นไปด้วย สิ่งที่นำพามูลค่าข้ามราชวงศ์ได้ในยุคนั้นคือทองคำ