จิตวิทยาเชิงพฤติกรรมเป็นเรื่องที่บอกเล่าความสัมพันธ์จากการกระทำของมนุษย์ บางครั้งเราอาจทำเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นได้ บางครั้งเราอาจทำเรื่องที่ไม่น่าทำโดยที่เราไม่รู้ตัวได้ ซึ่งทั้งหมดเกิดจากส่งที่เรียกว่าอารมณ์ สัตว์ทุกชนิดมาอารมณ์เป็นองค์ประกอบหลักของชีวิตอยู่แล้ว แตกต่างกันที่มนุษย์นั้นจะมีความซับซ้อนมากกว่า เพราะมนุษย์สามารถคิดเรื่องซับซ้อนที่สิ่งมีชีวิตปกติทำไม่ได้
Thank you for reading this post, don't forget to subscribe!เม่าในประวัติศาสตร์
ย้อนกลับไปช่วงปี 2008 ที่ประเทศอเมริกาส่งออกความชิบหายจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ไปทั่วโลก
(1) จากการปล่อยกู้จำนองบ้านเป็นหนี้เสีย
(2) และนำมาทำการเกลี่ยหนี้จนกลายเป็น CDOs เพื่อขาย
(3) CDOs ขายดีและเก็งกำไรราคาดี จนบ้านสร้างไม่ทัน
เลยออกพอร์ทจำลอง CDOs ที่มี CDOs เป็นสินทรัพย์อยู่ข้างล่างอีกที
สาเหตุที่เกิดขึ้นหลักเลย คนคิดว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจะเกิดขึ้นอีก” ตามหลักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ของ Richard Thaler ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ จากงานเขียนเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ที่ว่าด้วยการทำตามอารมณ์อันไม่สมเหตุผลของมนุษย์ในบางครั้ง หรือการมองข้ามปัจจัยบางประการก็ล้วนเกิดจากพฤติกรรมทางอารมณ์ของมนุษย์ทั้งนั้น
จากรายงานเกี่ยวกับตลาด_ลักทรัพย์อแห่งประเทศไทยมีระบุไว้ชัดเจนว่า ในบรรดานักเทรดหุ้น จะมีเพียง 5% ที่ชนะ หรือส่วนน้อย ตัวเลขไม่ตายตัว อาจน้อยกว่านี้ ถ้าเทียบจาก Active Portfolio ในอดีตที่เลือกเทรดกันไปนับแสนพอร์ท แต่เรื่องผู้ชนะเป็นส่วนน้อยนั้นคือสถิติในอดีตที่ตายตัวแน่นอน เพราะไม่งั้นเราคงมีบทสัมภาษณ์คนแบบ ดร.นิเวศ ออกมาสักหลายแสนพอร์ท แต่ในความเป็นจริง เรากลับพบคนแบบดร.นิเวศเพียงไม่เกิน 20คนในไทย ที่ลงทุนจนกลายเป็นบุคคลผู้มั่งคั่ง (โดยผู้เขียนจะตัดนักสร้างธุรกิจออกไป เพราะเราจะเทียบมุมมองของนักลงทุนคริปโต กับนักลงทุนหุ้น ในด้านที่เป็นนักลงทุนเหมือนกัน ถ้านำนักธุรกิจมาเทียบ ควรจะนำมาเทียบกับคนสร้างเหรียญที่เป็นเหมือนคนสร้างหุ้นนั้นมาตั้งแต่ต้น)
สิ่งที่เหมือนกันของ
(1) ดร.นิเวศ ตำนานแห่งตลาด_หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(2) วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์2008ของอเมริกา
(3) ตลาดคริปโตแหล่งรวมนักเก็งกำไร
คือ . . . . . .
“ส่วนมากจะเป็นผู้แพ้ (ภาษาการเงินจะเรียกว่า “เม่า”)
และคนส่วนน้อยที่จะเป็นผู้ชนะ (บางท่านในนี้อาจผันตัวเป็น ”กูรู” ในภายหลัง)”
ทุกคนจำรูปนี้กันได้ไหม ผมนำรูปนี้ไปเขียนบทความอยู่2-3ครั้งในบทความก่อนหน้า
และเสนอเรื่องจิตวิทยาการปั่นราคา โดยเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมไป
กลยุทธ์สร้างเม่าเข้าตลาดกับประวัติศาสตร์เม่าหน้าใหม่
ช่วงที่บิทคอยน์ยังราคาไม่ขึ้น ช่วงต้นปี ตั้งแต่เดือนมกราเป็นต้นมา จนถึงเดือนมีนาคม เราจะเห็นว่ามีการซื้อขายในระดับที่ต่ำ และมีการยกตัวของราคาขึ้นมา จนราคายืนแถวๆ 5,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ ทำให้เกิดความโลภขึ้นในหมู่นักลงทุน ที่พร้อมจะนำเงินไปเปย์แบบไม่อั้น แต่เท่านั้นยังไม่พอ เพราะยังไม่มีสัญญาณขาขึ้นให้คนทั่วไปหรือนักลงทุนเก่าหวนคืนสู่ตลาด เพราะเราต้องการความแน่นอน (ที่ไม่เคยมีอยู่จริง แต่มนุษย์จะสร้างภาพมันขึ้นมาเองแหละ)
ธรรมชาติของมนุษย์
ใช่ครับ ที่ผมอยากจะบอกเพิ่มคือ ธรรมชาติของมนุษย์จะใช้อารมณ์คิดไปก่อน หรือทำอะไรบางอย่างตามอารมณ์ โดยจะหาเหตุผลมาเสริมในภายหลัง และบางครั้งเราเรียกมันว่า “ข้ออ้าง”
ความแน่นอนที่ไม่เคยมีอยู่จริง
หลังจากที่สร้างภาพขึ้นมาในหัวแล้ว สิ่งควรทำลำดับถัดมาคือ “สร้างความแน่นอน” ระยะสั้น ดังนั้นถ้าพวกรายใหญ่ที่มีเงินหนาอยากจะดันราคา แล้วไปขายแพงๆจะต้องสร้างกราฟในช่วงแรก หรือก็คือ ทยอยซื้อเพื่อให้เกิดทรงกราฟขาขึ้น แปลว่าต้องทำราคาให้มากขึ้นจากจุดแรกที่เข้าซื้อใช่ไหม เพราะเงินเยอะมาก เมื่อซื้อจะเกิด Gap หรือช่องว่างราคา ต้องไล่ราคาขึ้นไปเรื่อยๆ
คำถามสำคัญ จากเหตุการณ์นี้ ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง (คนรวยที่ไม่โง่จะคิดครบทุกมิติ)
“ราคาต้องขึ้นใช่ไหม สร้างเหตุการณ์ระยะยาว ให้คนอยากซื้อได้ไหม โดยสร้างหลักฐานระยะสั้น” แล้วนั่นก็กลายเป็นรูปขึ้นมา รูปของ 4chan ที่ออกมาทำนายราคาว่า ณ เดือนไหน ราคาของบิทคอยน์ จะเป็นเท่าไหร่ เมื่อมันถูกครั้งแรก คนจะเริ่มสนใจ เมื่อมันถูกครั้งที่สองคนจะเริ่มใส่ใจ และเมื่อราคามันขึ้น คนจะเริ่มอยากใส่เงิน ก็เป็นปกติของมนุษย์ที่อยากได้ผลตอบแทน หรือเกิดอาการ Search for yield
ไทม์ไลน์แห่งหายนะ
JAN 2019 รูปออกมาเดือนมกราคม ซึ่งบิทคอยน์เริ่มทำทรงขาขึ้น
FEB 2019 เกิด Divergence ในกราฟช่วงเวลา D1 ที่ค่อนข้างชัดเจน
MAR 2019 ราคาเริ่มทดสอบที่แนวต้าน 4,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์
APR 2019 ราคาถึงเป้าแรก ทำให้คนเริ่มสนใจ (หรือรายใหญ่สร้างข่าวผสมโลงด้วยกันนะ)
MAY 2019 Binance โดนแฮกเกอร์เจาะระบบปล้นเงิน แต่มีการดันราคาหลังจากนั้นไม่กี่วัน
JUN 2019 เหรียญหลายตัวเริ่มฟื้นตัว มีการดีดตัวทางราคาในหลายเหรียญสลับกัน
JUL 2019 ราคาถึงเป้าสอง ทำให้คนเริ่มมั่นใจ ใส่ใจ และให้ความสำคัญ เม่าจะเริ่มใส่เงิน
AUG 2019 ราคาเริ่มตกลงมาเรื่อยๆ เม่ามั่นใจ เป้าต่อไป 16,000 ดอลลาร์ต่อบิทคอยน์ตามเป้าแน่นอน
SEP 2019 ราคาเริ่มลดลงมาอีก แต่เม่ามั่นใจ ซื้อถัวเฉลี่ยด้วยเงินเดือนเลย เดือนหน้ามาตามเป้าแน่
OCT 2019 เม่าเริ่มลุ้นอีกครั้ง ว่าจะถึงเป้าอีกไหม (แต่ดูเหมือนว่า เจ้าจะขายหมดแล้วนะ เพราะถ้าขายไม่หมด เจ้าจะดันราคาต่อ หรืออีกกรณีคือราคาเฉลี่ยตรงนี้ ทำให้เจ้ากำไรแล้ว การดันราคามากกว่านี้ จะสร้างความเสี่ยง เพราะเม่าบางกลุ่มอาจแตกทัพขายที่เป้า 16,000 ดอลลาร์ ทำให้เจ้าเลือกที่จะไม่ไปต่อ)
เป้าหมายในความฝัน
แม้จะมีการเตือนในบทความอยู่ทุกเดือน แต่ก็ดูเหมือนว่า หลายคนอยากจะได้ราคาตามเป้าที่รูปนั้นบอก หลายคนที่เข้ามาเพราะรูปนั้นอาจต้องลุ้น เพราะเดือนนี้จะหมดเดือนแล้ว ราคาอาจไม่เป็นไปตามเป้า
ความหวังอันริบรี่
ตลาดนี้ไม่มีเพดานจำกัด รายใหญ่อาจจะดันราคาไปก่อนหมดเดือนก็ได้ แต่ถ้าเป็นรายใหญ่ที่ไม่โง่ เค้าจะไม่ดันราคาไปหรอก เพราะต้องจ่ายให้เม่ารอบวง ที่เริ่มใจสั่นพร้อมขายทุกราคาที่เท่าทุนและกำไร แล้วต้องไปลุ้นกับการขายที่จุดราคาสูงกว่านี้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ รอลุ้น ขอให้ผมทายผิด ทุกคนจะได้รอดตาย