โครงการอินทนนท์ คือ โครงการทดสอบระบบต้นแบบการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินซึ่งใช้สกุลเงินดิจิทัลจาลองที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนาเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบการชาระเงินของประเทศ และมุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง
สาหรับโครงการฯ ระยะที่ 1 (สิงหาคม 2561 – มกราคม 2562) เป็นการออกแบบ พัฒนาและทดสอบการนาเทคโนโลยี DLT มาใช้กับการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินและการบริหารสภาพคล่อง อันเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บริษัท R3 และธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการฯ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จากัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จากัด (มหาชน) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จากัด (มหาชน) และธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ผลการทดสอบโครงการอินทนนท์ ระยะที่ 1
พบว่าเทคโนโลยี DLT มีศักยภาพในการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบ การชาระเงิน ทั้งการลดต้นทุนการบริหารจัดการสภาพคล่อง การขยายเวลาการโอนเงิน และการชาระดุลระหว่างสถาบันการเงินนอกเวลาทาการ อย่างไรก็ดี การนาระบบต้นแบบดังกล่าวมาใช้จริงอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากจาเป็นต้องทดสอบขีดความสามารถและศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อาทิ ความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมที่มีจานวนมาก ความปลอดภัยด้านข้อมูล และความเสถียรของระบบโดยรวม
ทั้งนี้ ผลการทดสอบโครงการฯ ระยะที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์สาหรับการออกแบบและพัฒนาระบบการชาระเงินในระยะต่อไป (รายงานผลการทดสอบของโครงการฯ ระยะที่ 1 สามารถดาวน์โหลดได้ที่www.bot.or.th/English/FinancialMarkets/ProjectInthanon/Documents/Inthanon_Phase1_Report.pdf
ขอบเขตโครงการอินทนนท์ ระยะที่ 2
สาหรับโครงการอินทนนท์ ระยะที่ 2 นั้น ธปท. บริษัท R3 และธนาคารพาณิชย์ทั้ง 8 แห่ง
จะยังคงร่วมกันทดสอบการนาเทคโนโลยี DLT มาใช้ โดยต่อยอดใน 2 ด้านหลัก คือ (1) ธุรกรรมซื้อขายและ
ซื้อคืนระหว่างสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้ ธปท. (Interbank Trading and Repurchase
Transaction) เพื่อลดระยะเวลาการส่งมอบและการชาระราคา และ (2) การกากับดูแลและตรวจสอบข้อมูล
การโอนเงินสาหรับลูกค้า (Regulatory Compliance and Data Reconciliation) เพื่อช่วยลดภาระ
การตรวจสอบและข้อผิดพลาดในการโอนเงินของลูกค้า
ทั้งนี้ โครงการฯ ระยะที่ 2 จะเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 3
ของปี 2562 ซึ่ง ธปท. จะเผยแพร่รายงานสรุปผลการดาเนินงานของโครงการฯ ต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทย
29 มกราคม 2562